此網頁需要支援 JavaScript 才能正確運行,請先至你的瀏覽器設定中開啟 JavaScript。

This webpage requires JavaScript to function properly. Please enable JavaScript in your browser settings.

Cette page web nécessite JavaScript pour fonctionner correctement. Veuillez activer JavaScript dans les paramètres de votre navigateur.

Esta página web requiere JavaScript para funcionar correctamente. Por favor, habilite JavaScript en la configuración de su navegador.

Diese Webseite benötigt JavaScript, um ordnungsgemäß zu funktionieren. Bitte aktivieren Sie JavaScript in Ihren Browser-Einstellungen.

Для корректной работы этой веб-страницы требуется поддержка JavaScript. Пожалуйста, включите JavaScript в настройках вашего браузера.

このウェブページを正常に動作するにはJavaScriptが必要です。ブラウザの設定でJavaScriptを有効にしてください。

이 웹 페이지는 올바르게 작동하려면 JavaScript가 필요합니다. 브라우저 설정에서 JavaScript를 활성화하십시오.

Tato webová stránka vyžaduje pro svůj správný chod podporu JavaScriptu. Prosím, povolte JavaScript v nastavení vašeho prohlížeče.

Ez a weboldal a megfelelő működéshez JavaScript támogatásra szorul. Kérjük, engedélyezze a JavaScript használatát a böngészőjében.

Questa pagina web richiede JavaScript per funzionare correttamente. Si prega di abilitare JavaScript nelle impostazioni del browser.

Šī tīmekļa lapa darbībai ir vajadzīgs JavaScript atbalsts. Lūdzu, ieslēdziet JavaScript savā pārlūkprogrammas iestatījumos.

Esta página da web requer JavaScript para funcionar corretamente. Por favor, ative o JavaScript nas configurações do seu navegador.

Deze webpagina vereist JavaScript om correct te functioneren. Schakel JavaScript in uw browserinstellingen in.

Ta strona wymaga obsługi JavaScript, aby działać prawidłowo. Proszę włączyć obsługę JavaScript w ustawieniach przeglądarki.

Laman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan betul. Sila aktifkan JavaScript dalam tetapan pelayar anda.

Halaman web ini memerlukan JavaScript untuk berfungsi dengan baik. Harap aktifkan JavaScript di pengaturan browser Anda.

เว็บไซต์นี้ต้องการ JavaScript เพื่อทำงานอย่างถูกต้อง โปรดเปิด JavaScript ในการตั้งค่าบราวเซอร์ของคุณ

Bu web sayfasının düzgün çalışması için JavaScript gereklidir. Lütfen tarayıcı ayarlarınızda JavaScript'i etkinleştirin.

Trang web này yêu cầu JavaScript để hoạt động đúng. Vui lòng kích hoạt JavaScript trong cài đặt trình duyệt của bạn.

Эн вэб хуудас нь зөв ажиллахын тулд JavaScript дэмжлэг авах шаардлагатай. Таны броузерын тохиргоонд JavaScript-ийг идэвхжүүлнэ үү.

ဒီဝန်ဆောင်မှုစာမျက်နှာကိုမှားယွင်းရန် JavaScript ကိုလိုအပ်ပါ။ သင့်ရဲ့ဘောဒီကိုပြင်ဆင်ရန် JavaScript ကိုဖွင့်ပါ။

ບໍ່ສາມາດເຮັດວຽກເວັບໄຊນີ້ໄດ້ຖ້າບໍ່ມີການສະຫລັບ JavaScript. ກະລຸນາໃຊ້ການຕັ້ງຄ່າຂອງເວັບໄຊໃຫ້ເປີດ JavaScript ກ່ອນ.

ទំព័រវេបសាយនេះត្រូវការ JavaScript ដើម្បីដំណើរការប្រើប្រាស់បានល្អ។ សូមបើក JavaScript នៅក្នុងការកំណត់របស់អ្នកក្នុងក

  ดร.จางจงโหมว ตัวแทนผู้นำไต้หวัน พร้อมด้วยคณะตั... - สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย Taipei Economic and Cultural Office in Thailand :::
:::

ดร.จางจงโหมว ตัวแทนผู้นำไต้หวัน พร้อมด้วยคณะตัวแทนที่ประกอบด้วยประธานคกก.เพื่อการพัฒนาแห่งชาติและรมว.ประจำสภาบริหาร เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเปค หวังบรรลุเป้าหมายตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากปธน.ไช่อิงเหวิน

การประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (APEC Economic Leaders' Meeting, AELM) ประจำปี 2022 เตรียมเปิดฉากขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 18 - 19 พ.ย. โดยดร.จางจงโหมว ผู้ก่อตั้งบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้นำไต้หวัน ได้เดินทางไปถึงประเทศไทยในช่วงบ่ายของวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยก่อนออกเดินทาง ดร.จางฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน ระบุว่า การเดินทางในครั้งนี้ ตนคาดหวังที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้มอบหมายไว้ โดยจะอาศัยทุกโอกาสในการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำประเทศอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการประชุม เพื่อนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น

 

ดร.จางฯ แถลงว่า ในระหว่างที่เข้ารับมอบหมายภารกิจนั้น ปธน.ไช่ฯ ได้ชี้แนะแนวทางที่หวังจะให้ตนส่งสารไปสู่ผู้นำในกลุ่มประเทศเอเปค ซึ่งตนจะมุ่งมั่นดำเนินการตามการมอบหมายที่ได้รับในครั้งนี้ ด้วยการแสดงความคิดเห็นในมุมมองของไต้หวันให้มากที่สุด นอกจากนี้ ดร.จางฯ ยังมีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาผู้นำประเทศในเวทีการประชุม และการประชุมรอบนอกอย่างไม่เป็นทางการ โดยดร.จางฯ หวังว่าจะใช้โอกาสทั้งหมดนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาผู้นำ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มากที่สุดในการประชุมที่จัดขึ้นในสถานที่จริง หลังจากที่เว้นช่วงมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี

 

โดยคณะตัวแทนที่เดินทางไปไทยในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยนายกงหมิงซิน ประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ และนายเติ้งเจิ้นจง รัฐมนตรีประจำสภาบริหาร สาธารณรัฐจีน  (ไต้หวัน) เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting, AMM) ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของไต้หวันเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (AELM) ที่เตรียมจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18 – 19 พ.ย. นี้ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ดร.จางจงโหมว ในการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมของเอเปคด้วย

 

โดยนายกงฯ ได้ชี้แจงในเวทีการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 1 ของการประชุม AMM ภายใต้หัวข้อ “สมดุล การยอมรับซึ่งกันและกัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน” (Balanced, Inclusive and Sustainable Growth) ดังนี้

 

1.เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ ห่วงโซ่อุปทาน ความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางพลังงาน ไต้หวันยังคงมุ่งมั่นในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ของประชาคมโลก โดยไต้หวันได้มุ่งมั่นในการอุทิศคุณประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่เอเปคอย่างกระตือรือร้นเสมอมา โดยในปีนี้ ไต้หวันได้บริจาคเงินจำนวน 2.2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่เอเปค เพื่อให้การสนับสนุนต่อโครงการด้านความร่วมมือแบบข้ามแวดวงที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางดิจิทัล การบริหารจัดการขยะทางทะเล และผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจ (SMEs) เพื่อยกระดับศักยภาพด้านการวิจัยและวิเคราะห์ให้แก่เอเปค

 

2.สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลให้เกิดการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลและผู้ประกอบการภาคธุรกิจ มุ่งแสวงหาระบบห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น มั่นคงและโปร่งใส โดยการย้ายฐานธุรกิจที่ก้าวสู่การเป็นต้นแบบเหล่านี้ จำเป็นต้องยึดมั่นในหลักการของประสิทธิภาพทางดิจิทัลและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย “สิ่งแวดล้อม”(Environment) “สังคม” (Social) และ “ธรรมาภิบาล” (Governance)

 

3.นวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยไต้หวันมุ่งมั่นในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพแรงงาน เพื่อคว้าโอกาสงานด้านดิจิทัล เมื่อต้องเผชิญกับการผันผวนทางเศรษฐกิจที่รุนแรงเช่นในปัจจุบัน ไต้หวันได้มุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งกลุ่มแรงงานรวมถึงสตรีและกลุ่มด้อยโอกาส ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความสมดุลในการพัฒนาสังคม และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจแบบยอมรับซึ่งกันและกัน

 

4.เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และแนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (NET-ZERO) ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไต้หวันจึงได้เสนอแนะ “แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2050” รวม 4 มิติ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ ไต้หวันจึงยินดีที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าภาพในปีนี้ ได้ผลักดัน “เป้าหมายกรุงเทพฯ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว” (Bangkok Goals on Bio-Circular-Green (BCG) Economy) พร้อมทั้งเรียกร้องให้เอเปควางแผนและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมาย “แผนปฏิบัติการวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ปี 2040” (APEC Putrajaya Vision 2040) โดยเร็ววัน

 

หลังจากการแสดงความคิดเห็นของนายกงฯ เจ้าภาพผู้จัดการประชุมเอเปคได้แสดงความขอบคุณต่อไต้หวันสำหรับการบริจาคเงินสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องของเอเปค พร้อมทั้งยังเห็นด้วยต่อแนวทางการบรรลุเป้าหมาย NET – ZERO ที่เสนอโดยรัฐบาลไต้หวัน ซึ่งระบุถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรมและการไม่ละทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง อันสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยอมรับซึ่งกันและกันของเอเปคในปีนี้

 

หัวข้อหลักของการประชุมเอเปคที่จัดโดยไทย ประจำปีนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” (Open. Connect. Balance) โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนหลังยุคโควิด – 19 ด้วยการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว ผ่านการบูรณาการทรัพยากรภาคสังคมและกลไกต่างๆ มาบรรลุเป้าหมายแห่งความสมดุลถ้วนหน้า เพื่อใช้สำหรับการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคต่อไป

 

นอกจากนี้ นายกงฯ ยังได้ร่วมพูดคุยหารือกับ Ms. Michaela Browning รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Google ฝ่ายกิจการรัฐบาลในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกและนโยบายสาธารณะ ในช่วงรอบนอกของการประชุม โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงกว้างในประเด็นการเสริมสร้างศักยภาพฮาร์ดพาวเวอร์ด้านความยืดหยุ่นในระบบห่วงโซ่อุปทาน และศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานในประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อดึงดูดให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพภายในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

chang1