ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
Taiwan Smile Folksong ชุบชีวิตใหม่ให้ “เพลงแจ๊สสไตล์ไต้หวัน”
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-08-06

Taiwan Smile Folksong ชุบชีวิตใหม่ให้ “เพลงแจ๊สสไตล์ไต้หวัน”

 

หลังมิวสิกวิดีโอ (MV) เพลงจากอัลบั้ม "What Are You Singing?" ซึ่งคว้ารางวัล Red Dot Design Awards 2016 ของเยอรมนีจบลง เสียงโห่ร้องและเสียงปรบมือจากผู้ชมดังกระหึ่มขึ้นทันที คุณฉู่เจี้ยนจื้อ (儲見智) หัวหน้าวง "Taiwan Smile Folksong" รู้สึกฉงนใจที่เห็นข้างล่างเวทีมีแต่ชาวต่างชาติ "ใน MV เป็นภาษาฮกเกี้ยนทั้งนั้น นี่ฟังกันรู้เรื่องด้วยเหรอ" ฟังไม่รู้เรื่องแน่นอน แต่ผลงานที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะการร้องเพลงแบบดั้งเดิมของไต้หวันที่เรียกกันว่า "เหลี่ยมกัว " 「唸歌」(คล้ายกับเพลงชานท์ของประเทศตะวันตก) กับไอเดียสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ทำให้ผลงานชิ้นนี้สามารถคว้ารางวัล Best of the Best Red Dot Award in Communication Design ส่งผลให้วัฒนธรรมไต้หวันกลายเป็นจุดสนใจของนานาชาติอีกครั้ง

 

ครูหยางซิ่วชิงอายุเกิน 80 ปีแล้ว ยังคงแสดง “เหลี่ยมกัว” โดยหวังจะสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านเก่าแก่ต่อไปครูหยางซิ่วชิงอายุเกิน 80 ปีแล้ว ยังคงแสดง “เหลี่ยมกัว” โดยหวังจะสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านเก่าแก่ต่อไป

"เหลี่ยมกัว" เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของไต้หวันที่สืบทอดกันมานานกว่า 300 ปี ในอดีตสถานที่จัดแสดงของเหล่าศิลปินคือ ใต้ต้นไม้ใหญ่ ลานหน้าศาลเจ้าหรือเวทีแสดงประจำหมู่บ้าน อุปกรณ์ที่ใช้มีพิณ 1 คัน กับเก้าอี้ 1 ตัว เพียงเท่านี้ก็สามารถเปิดการแสดงได้แล้วและสามารถดึงดูดผู้คนที่ผ่านไปมาให้หยุดชมได้มากมาย

"เหลี่ยมกัว" คือศิลปะการร้องเพลงสอดแทรกการเล่านิทานหรือเรื่องราวต่างๆ เข้าไป  ในอดีตใช้นักร้องเพียงคนเดียว แต่ปัจจุบันมักเป็นการแสดงร่วมกันของศิลปิน 2 คน คนหนึ่งสีซอต้ากว่าง (大廣弦 : ซอเสียงทุ้มต่ำ) อีกคนดีดพิณวงเดือน (月琴 : เยว่ฉิน ) เนื้อเพลงมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และกตัญญู ส่วนใหญ่ใช้ภาษาฮกเกี้ยน แต่งเป็นบทกลอนออกมาบทละ 4 วรรค วรรคละ 7 คำ เรียกกันว่า กลอน 7 ได้รับความนิยมมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีกลอนเจียงหู (江湖) กลอนตูหม่า (都馬) ซึ่งล้วนเป็นวิธีการแต่งบทกลอนแบบโบราณ (ในอดีตลักษณะของบทกลอนและทำนองดนตรีมักจะยึดตามแบบเก่าแก่ดั้งเดิม จะเปลี่ยนแปลงเพียงเนื้อร้องที่แต่งขึ้นมาใหม่เท่านั้น) ในยุคที่สื่อโทรทัศน์ยังไม่แพร่หลาย ìเหลี่ยมกัวî จึงเป็นกิจกรรมบันเทิงที่ได้รับความนิยมจากชาวบ้านโดยทั่วไป แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ศิลปะการแสดงประเภทนี้เสื่อมความนิยมไปมากจนถึงขั้นวิกฤต อันเป็นผลมาจากความแพร่หลายของสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ตลอดจนการขาดช่วงของภาษาฮกเกี้ยนในสังคมไต้หวัน ประกอบกับการล้มหายตายจากไปของศิลปินระดับครูเพลง ทำให้ศิลปะการแสดงประเภทนี้กำลังจะสูญหายไป

“ตำรางิ้ว” ซึ่งเป็นเนื้อร้องของการ เหลี่ยมกัวที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน มัก เป็นเร่อื งราวเก่ยี วกับความซ่อื สัตย์และ กตัญญู“ตำรางิ้ว” ซึ่งเป็นเนื้อร้องของการ เหลี่ยมกัวที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน มัก เป็นเร่อื งราวเก่ยี วกับความซ่อื สัตย์และ กตัญญู

หยางซิ่วชิง ศิลปินระดับชาติ

ครูหยางซิ่วชิง (楊秀卿) วัย 83 ปี เป็นศิลปิน "เหลี่ยมกัว" ระดับครูเพลงเพียงคนเดียวที่ยังยึดอาชีพนี้ เธอพิการทางสายตาตั้งแต่เด็ก เริ่มอาชีพร้องเพลงข้างทางตั้งแต่อายุ 13 ปี และเป็นผู้ริเริ่ม "การร้องเพลงงิ้วเป็นภาษาพูด"  ครูหยางซิ่วชิงได้รับการประกาศเกียรติคุณจากกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน ยกย่องให้เป็น "ผู้อนุรักษ์ศิลปะการแสดงเหลี่ยมกัว" ในปีค.ศ. 2009 ในความเป็นจริงแล้ว ครูหยางทุ่มเทความพยายามในการอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปะการแสดงเหลี่ยมกัวที่ฝึกฝนมาตลอดชีวิตจนมีความเชี่ยวชาญให้แก่คนรุ่นหลังตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980  เป็นต้นมา โดยคุณฉู่เจี้ยนจื่อ (儲見智) กับคุณหลินเถียนอาน (林恬安) สมาชิกวง Taiwan Smile Folksong คือลูกศิษย์ที่เพิ่งรับเข้ามาในช่วงบั้นปลายชีวิต ศิลปินรุ่นใหม่ทั้งสองไม่เพียงสืบทอดศิลปะการแสดงเก่าแก่ของไต้หวันประเภทนี้ให้คงอยู่ต่อไป แต่ยังทดลองนำไอเดียใหม่ๆ ผสมผสานลงไป เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแนวใหม่ออกมา

คุณฉู่เจี้ยนจื้อซึ่งทำหน้าที่สีซอต้ากว่าง ดูเผินๆ ราวกับเป็นพระเอกงิ้วเก่า เมื่อสอบถามจึงได้รู้ว่าเพิ่งจะอายุ 40 เศษๆ ส่วนคุณหลินเถียนอานเพิ่งจะอายุ  30 กว่าๆ หน้าตาน่ารัก เพิ่งจะเข้ามาเป็นลูกศิษย์ของครูหยางได้เพียง 6-7 ปี แม้จะเริ่มเรียนตอนอายุค่อนข้างมากแล้ว แต่จากการที่ทั้งคู่มีพื้นฐานความรู้ด้านดนตรีที่ดีมาก โดยคุณฉู่จบด้านการแสดงอุปรากรโบราณ ส่วนคุณหลินเรียนด้านดนตรีจีน  คุณฉู่เล่นดนตรีประกอบการแสดงของคณะงิ้วไต้หวันมานานหลายปี เขามักอาศัยเวลาว่างหยิบซอหูฉินและซอต้ากว่างมาสีเล่นเป็นประจำ เมื่อครูในคณะงิ้วเห็นเข้าจึงแนะให้จับคู่กับคุณหลิน คนหนึ่งฝึกสีซอต้ากว่าง อีกคนฝึกดีดพิณวงเดือน ไปเรียนการแสดง "เหลี่ยมกัว" ด้วยกัน  ในตอนนั้นคุณฉู่กับคุณหลินยังไม่เคยรู้จัก "เหลี่ยมกัวî มาก่อน คืนวันเดียวกันนั้นทั้งคู่ตรงดิ่งไปที่ "ร้านแผ่นเสียงร้านที่ 1" บนถนนเหยียนผิงเป่ยลู่ในกรุงไทเป ซื้อเทปเพลง "เหลี่ยมกัว" ของครูหยางซิ่วชิงกลับมาฟัง คุณฉู่เล่าถึงความรู้สึกที่ได้ฟัง "เหลี่ยมกัว" 
ครั้งแรกว่า "ตอนนั้นแม้แต่ชื่อของครูหยางซิ่วชิงก็ไม่เคยได้ยินมาก่อน ไม่คิดเลยว่าพอเปิดฟังก็รู้สึกโดนใจจริงๆ และรู้สึกคึกคักมาก"  ทั้งคู่ฟังไปเรียนไป  สองปีต่อมามีโอกาสได้เจอตัวจริงของครูหยางซิ่วชิงจึงฝากตัวขอเป็นลูกศิษย์

Taiwan Smile Folksong ชุบชีวิตใหม่ให้ “เพลงแจ๊สสไตล์ไต้หวัน”

ข้ามวงการร่วมมือกันเพื่อ
สร้างสรรค์ศิลปะการแสดงไต้หวัน

หลังเข้าเป็นลูกศิษย์ของครูหยางแล้ว ภารกิจสำคัญของคุณฉู่กับคุณหลินคือการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปะการแสดง "เหลี่ยมกัว" ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ในช่วงแรกๆ ทั้งสองได้ยื่นของบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตระเวนแสดงตามศาลเจ้าหรือวัดวาต่างๆ ใช้รถตู้เพียงหนึ่งคันบรรทุกอุปกรณ์ทุกอย่าง ตั้งเวทีแบบง่ายๆ กลางลานวัด ทั้งสองคนขึ้นนั่งบนเวที ตีฆ้องร้องป่าวเรียกผู้ชมให้ล้อมวงเข้ามาแล้วก็เปิดการแสดง บางครั้งแสดงไปได้ไม่นาน ข้างล่างเวทีเหลือผู้ชมเพียงอากงคนเดียวเท่านั้น แต่ก็ยังพยายามแสดงจนจบ ตอนนั้นคุณฉู่บอกอากงว่า ìอากง อย่าไปไหนนะครับ ที่นี่เหลืออากงคนเดียวแล้ว เรามาดวลกันแบบตัวต่อตัว ผมยังหนุ่มกว่า อากงไม่มีทางชนะผมแน่ๆ แต่ถ้าอากงจะไปห้องน้ำ ต้องขออนุญาตผมก่อนî เขาเล่าพลางยิ้มแบบฝืนๆ

เพื่อให้ผู้คนรู้จัก "เหลี่ยมกัว" มากขึ้น  "Taiwan Smile Folksong" ได้ร่วมมือกับวงดนตรีแนวอื่นมากมาย โดยหวังว่าความร่วมมือแบบข้ามวงการจะช่วยให้ศิลปะการแสดงดั้งเดิมนี้กลายเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้คนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการยืดชีวิตศิลปะการแสดง ìเหลี่ยมกัวî ให้ยืนยาวต่อไป

ปีค.ศ.2014 MI วงดนตรีจากเยอรมนี ซึ่งสมาชิกในวงประกอบด้วยนักดนตรีแจ๊สจากเยอรมนี สหรัฐอเมริกา อิตาลี สโลวัก และไต้หวัน เชี่ยวชาญเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด อาทิ ขลุ่ยไม้ไผ่ แซกโซโฟน กีต้าร์ เบส กล็อคเคนสปิล และกลองชุด พวกเขาต้องการจะใช้ดนตรีแจ๊สในการสะท้อนแนวคิดด้านดนตรีของไต้หวัน คุณฉู่ใช้เวลาตลอดช่วงซัมเมอร์แบ่งปันประสบการณ์และจิตวิญญาณของ ìเหลี่ยมกัวî ให้พวกเขาได้รับรู้ จนในที่สุดสามารถเปิดการแสดงดนตรีแจ๊ส
ภายใต้ชื่อ ìSong of Exhortationî  ที่ย่านต้าเต้าเฉิงซึ่งเป็นย่านเมืองเก่าในกรุงไทเป  นับเป็นการลองใช้ดนตรีแนวแจ๊สมาผสมผสานกับ ìเหลี่ยมกัวî ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมา ความร่วมมือกับวงการดนตรีแนวอื่นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ครูหยางและวง Taiwan Smile Folksong ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแสดงในงาน "Megaport Music Festival" ซึ่งเป็นเทศกาลดนตรีแนวอินดี้ (Independent music) ซึ่งจัดขึ้นที่ภาคใต้ของไต้หวัน เมื่อศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมปะทะกับดนตรีร็อก สิ่งที่บังเกิดขึ้นในงานครั้งนั้นก็คือ ความมันส์สุดขีด หลังจบการแสดง คุณฉู่ได้รับคำเชิญให้ร่วมงานต่างๆ มากมาย  คุณฉู่กล่าวว่า ìหนุ่มสาวยุคนี้ส่วนใหญ่ได้สัมผัสแต่วัฒนธรรมและดนตรีต่างชาติ พวกเขาอยากจะถ่ายทอดเอกลักษณ์ของไต้หวันแต่ไม่รู้จะทำยังไงî ด้วยเหตุนี้เอง ìเหลี่ยมกัวî ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไต้หวันแท้และดั้งเดิมจึงกลายเป็นสิ่งที่พวกเขาหลงรักทันทีที่ได้รู้จัก

ครูหยางซิวชิงดีดพิณพลางเปิดฉากร้องว่า “ฉันจะเหลี่ยมกัวให้พวกคุณฟัง...”ครูหยางซิวชิงดีดพิณพลางเปิดฉากร้องว่า “ฉันจะเหลี่ยมกัวให้พวกคุณฟัง...”

เสน่ห์ของแจ๊สสไตล์ไต้หวันอยู่ที่การด้นสด

นอกจากเป็นวัฒนธรรมแท้และดั้งเดิมของไต้หวันแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ของ "เหลี่ยมกัว" คือ การด้นสดหรืออิมโพรไวเซชัน (Improvisation) เนื้อเพลง "เหลี่ยมกัว" ยึดแนวเดียวกับ "เพลงงิ้ว" แต่เพิ่มเรื่องราวที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบันและประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมเข้าไปด้วยเพื่อดึงดูดผู้ชม แนวดนตรีเหมือนกันแต่ต่างกันที่เนื้อร้อง ท่วงทำนองหรือจังหวะจะมีการปรับให้ช้าลงหรือเร็วขึ้นตามปฏิกิริยาของผู้ชมในขณะนั้น  ศิลปิน ìเหลี่ยมกัวî ที่เก่งกาจสามารถสร้างสรรค์ผลงานแบบด้นสดหรือแต่งเนื้อเพลงออกมาได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมการล่วงหน้า คุณฉู่แสดงความเห็นว่า ìเหลี่ยมกัวคือดนตรีแจ๊สของไต้หวันî

ความสามารถในระดับนี้มาจากพื้นฐานและประสบการณ์การแสดงนับครั้งไม่ถ้วนที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ในอดีต
ศิลปิน "เหลี่ยมกัว" ร้องเล่านิทานเป็นกลอุบายดึงดูดผู้คน หยุดชมแล้วจึงนำเสนอสินค้า โดยที่พบบ่อยคือการขายยา คุณฉู่เล่าว่า "ในอดีตระหว่างแสดง ศิลปินเหลี่ยมกัวก็ไม่ต่างจากหมอจีนที่ต้องแมะชีพจรคนไข้เพื่อตรวจดูอาการและคอยสังเกตรูปลักษณ์ของคนไข้ แสดงไปได้ช่วงหนึ่งก็จะลองปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม เช่น "เอ๊ะ! คุณผู้ชายท่านนี้หมู่นี้หลับไม่ค่อยดี ระวังความดันสูงนะครับ แนะนำว่า......î " จุดประสงค์ก็เพื่อจะขายยานั่นเอง

ครูหยางซิ่วชิงซึ่งแรกเริ่มเดิมทีจะใช้วิธีร้องแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ต่อมา เธอได้สร้างสรรค์แนวการร้องแบบใหม่ที่ใช้การเล่าเรื่องราวต่างๆ สอดแทรกเข้าไปกลายเป็นการเหลี่ยมกัวแบบ ìพูดไปร้องไปî ไม่เพียงทำนองจังหวะกระชับ ยังทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายของเนื้อเพลงที่ร้องได้ดียิ่งขึ้น คุณหลินเถียนอานเล่าว่า ìอาจารย์ (หยางซิ่วชิง) มองไม่เห็น ดังนั้นระหว่างที่ท่านแสดงท่านกลัวว่าผู้ชมจะหนีหมด ก็เลยใช้วิธีเล่าผสมผสานกับการร้องเพื่อให้นิทานกระชับน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชมไม่อยากเดินจากไปî

 "เหลี่ยมกัว" กลายเป็นศิลปะการแสดงที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น อาทิ หวงอวี่เชียน (黃宇謙) จางฟางหรง 
(張芳榕) และหวังป๋อเหริน (王柏仁) นักศึกษาจากคณะการออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) ของมหาวิทยาลัย National Yunlin University of Science and Technology University (YunTech) ต้องการใช้ประเด็นเรื่อง ì...... ของไต้หวันî มาเป็นหัวข้อการทำโปรเจคก่อนจบการศึกษา หลังพูดคุยหารือกับฉู่เจี้ยนจื่อและฝึกฝนเรียนรู้เป็นเวลาครึ่งปี ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ออกมา

Taiwan Smile Folksong ชุบชีวิตใหม่ให้ “เพลงแจ๊สสไตล์ไต้หวัน”

เดิมทีวง "Taiwan Smile Folksong" มีความคิดที่จะออกอัลบั้มและถ่ายทำ MV เพลงเหลี่ยมกัวอยู่แล้ว การที่ทีมนักศึกษาจาก YunTech เข้ามาร่วมงานทำให้การออกแบบด้านนิเทศศิลป์ของอัลบั้มเพลง  ìWhat Are You Singing?î มีความสมบูรณ์มากขึ้น MV เพลงชุดนี้ใช้นิทานเรื่อง "องค์ชายนาจาอาละวาดวังมังกรที่ทะเลตะวันออก" เป็นหลักสอดแทรกเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหลอมรวมเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น นำเอาคำว่าตงไห่ (東海) ที่แปลว่าทะเลตะวันออกมาเชื่อมโยงเข้ากับตงไห่ (東海) ซึ่งเป็นชื่อไนท์บาร์ซาแห่งหนึ่งในนครไทจง เนื้อหาใน MV ที่เกี่ยวกับตำนานขององค์ชายนาจาอยู่ในครรภ์ของพระมารดา 3 ปี 6 เดือน จึงได้เชิญ ดร.เคอเหวินเจ๋อ ผู้ว่าการกรุงไทเป ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาช่วยตรวจครรภ์ นับเป็นเรื่องราวที่พลิกตำนานเก่าแก่ดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง  ทุกฉากใน MV ใช้เทคนิคการถ่าย Time Lapse และการตัดต่อภาพโดยใช้มือเขียนเนื้อเพลง ตัดกระดาษ และวาดรูปลงไป วิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนุกสนานครื้นเครง อีกทั้งทำให้ "เหลี่ยมกัว" ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่น่าสนใจและเป็นกันเองมากขึ้น

คุณฉู่ยังเล่าว่า ระหว่างถ่ายทำ MV เขา "ด้นสด" ออกมา 2 ตอน ซึ่งทำเอาทีมงานจากมหาวิทยาลัย YunTech ปวดหัวไปตามๆ กัน  โดยปกติผู้แสดง "เหลี่ยมกัว" สามารถนำเรื่องราวที่พบเห็น ณ สถานที่แสดงเพิ่มเข้าไปในเนื้อเพลงซึ่งต่างจากการถ่ายทำ MV ที่ทุกฉากจะออกแบบให้พอดีกับเนื้อเพลง แม้คุณฉู่จะหารือกับครูหยางเกี่ยวกับนิทานและบทใน MV ไว้ก่อนแล้วก็ตาม แต่เนื้อเพลงที่ครูหยางร้องในห้องอัดเสียงแต่ละครั้ง ไม่เคยเหมือนกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทำ

ทุกฉากใน MV อัลบั้ม “What Are You Singing?” ใช้เทคนิค การถ่าย Time Lapse และการตัดต่อภาพโดยใช้มือเขียนเนื้อ เพลง ตัดกระดาษ และวาดรูปลงไป วิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ ทำให้ผู้ชมรู้สึกครื้นเครงสนุกสนานทุกฉากใน MV อัลบั้ม “What Are You Singing?” ใช้เทคนิค การถ่าย Time Lapse และการตัดต่อภาพโดยใช้มือเขียนเนื้อ เพลง ตัดกระดาษ และวาดรูปลงไป วิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ ทำให้ผู้ชมรู้สึกครื้นเครงสนุกสนาน

ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากการระดมความคิดของคนรุ่นเก่ากับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ได้รับการพิสูจน์ความสำเร็จจากการที่สามารถคว้ารางวัล Best of the Best Red Dot Award in Communication Design มาครอง ทำให้ "เหลี่ยมกัว" มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไต้หวันสร้างชื่อเสียงในเวทีสากล

ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ แดดร่มลมตก เวลาบ่ายสี่โมงเย็นของวันหนึ่งในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ผู้คนจำนวนมากนั่งๆ นอนๆ ชมการแสดงของครูหยางซิ่วชิงในคอนเสิร์ต "เทศกาลดนตรีเสรีภาพ" ที่สนามหน้าพิพิธภัณฑ์ CMP Block Museum of Arts ครูหยางกล่าวทักทายผู้ชมว่า "มาฟังอา
ม่าอายุ 98 ปี ร้องเพลงกันเหรอ" เรียกเสียงฮาจากผู้ชมได้ไม่น้อย คุณฉู่กับคุณหลินซึ่งประกบอยู่สองข้างของครูหยาง คนหนึ่งสีซอต้ากว่าง อีกคนดีดพิณวงเดือน ขณะที่ครูหยางใช้มือซ้ายจับด้ามพิณเอาไว้ ส่วนมือขวาใช้ปิ๊ก เขาดีดสายพิณไปมาอย่างคล่องแคล่ว ไม่มีท่าทางเชื่องช้าแบบคนแก่เลยแม้แต่น้อย ระหว่างที่ครูหยาง ìเหลี่ยมกัวî คุณหลินจะสอดแทรกเรื่องตลกเข้าไปท่ามกลางเสียงซอและเสียงพิณที่บรรเลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่คุณฉู่จะคอยเตือนผู้ชมว่า ถึงเวลาที่ต้องปรบมือให้กำลังใจแล้ว ผู้ชมสนุกสนานเฮฮากันตลอดช่วงการแสดง

การแสดงในวันนั้นเป็นนิยายเรื่อง "ตำนานรักเหลียงซานป๋อกับจู้อิงไถ (ม่านประเพณี)" นิยายรักโรแมนติกของจีนที่โด่งดัง ครูหยางกล่าวก่อนเริ่มการแสดงว่า "ฉันจะเหลี่ยมกัวให้พวกคุณฟัง......" 

เราหวังว่า "เหลี่ยมกัว" มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไต้หวันจะมีการสืบสานให้คงอยู่ตลอดไป