ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คำสนทนาระหว่าง เพลงและบทกวี หลัวซือหรงที่เดินอยู่บนทางกลับบ้าน
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-09-24

คำสนทนาระหว่าง เพลงและบทกวี หลัวซือหรงที่เดินอยู่บนทางกลับบ้าน

 

ฉายานามอย่าง "เสียงสตรีแห่งท้องทุ่ง" หรือ "นักร้องภาษาฮากกายอดเยี่ยม" รวมถึง "นักประพันธ์หญิงชาวฮากกา" ต่างก็ไม่สามารถอธิบายถึงความเป็นหลัวซือหรง 

(羅思容) ได้

นักประพันธ์หญิงผู้ซึ่ง "เปลี่ยนอาชีพ" ในวัยกลางคน  ได้ใช้บทกวี ภาพวาด และดนตรีมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารถึงความต้องการที่จะกลับสู่ชีวิต บ้านเกิด และธรรมชาติ แม้ว่าอัลบั้มเพลงชุด The Flower Beckon
 (攬花去) จะส่งให้หลัวซือหรงคว้ารางวัลอัลบั้มเพลงภาษาฮากกายอดเยี่ยมและรางวัลนักร้องภาษาฮากกายอดเยี่ยมประจำปีได้จากเวที Golden Melody Awards ครั้งที่ 23 ประจำปี 2012 แต่หากจะต้องหาคำบางคำมาอธิบายตัวตนของเธอแล้ว หลัวซือหรงอยากให้เอาคำว่า ìฮากกาî ออกไป และอยากจะหันไปสู่เส้นทางที่กว้างใหญ่ของ "เพลงกวี" และ "ผู้หญิง" มากกว่า

เรามาฟังกันดูว่านักประพันธ์หญิงผู้นี้ทำอย่างไรจึงสามารถใช้บทเพลงที่เหมือนกวีมาสนทนากับชีวิตได้อย่างเร่าร้อน

 

เราสามารถหนีจากบ้านเกิดได้ แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนสำเนียงเสียงภาษาของเราได้(1)เราสามารถหนีจากบ้านเกิดได้ แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนสำเนียงเสียงภาษาของเราได้(2)

สตูดิโอสำหรับทำงานที่อยู่ชั้นดาดฟ้าของบ้านตัวเอง คุณหลัวซือหรงปลูกต้นไม้ดอกไม้ไว้ที่ระเบียง พื้นที่ที่ดูไปแล้วไม่กว้างขวางนัก แต่กลับมีต้นไม้ปลูกไว้ 100 กว่าชนิด ส่วนกระถางที่วางอยู่ภายในบ้าน คือต้นเฟิร์นที่ชอบอากาศแบบชื้นๆ ในร่ม ดูราวกับว่าจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษจนเติบโตงอกงามเป็นอย่างมาก

ลูกเกดที่อยู่บนโต๊ะสำหรับใช้ต้อนรับแขกเหรื่อเป็นฝีมือของคุณหลัวซือหรงที่ทำขึ้นด้วยตัวเอง โดยนำองุ่นตากแห้งไปหมักกับเหล้าฮัวเตียว (เหล้าเส้าซิงเกรดพรีเมี่ยม) และน้ำส้มจากใบสน จนกลายเป็นลูกเกดชั้นเยี่ยมจากธรรมชาติที่ไม่มีสารเติมแต่งใดๆ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เมื่อเราเดินเข้าไปในสถานที่ที่คุณหลัวซือหรงใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานก็จะรู้สึกอย่างชัดเจนถึงสัญลักษณ์แห่งชีวิตที่สมดุล มีความเป็น "หยิน" ของสตรี แต่ก็มีความเป็นธรรมชาติและมีชีวิตชีวา ซึ่งคุณหลัวบอกกับเราว่า ìฉันหวังว่าชีวิตจะสามารถกลับคืนสู่ความเรียบง่ายแห่งธรรมชาติ ไม่ไขว่คว้าอะไรจนเกินเลยî

Gomoteu & The Gang

ในปี 2007 หลัวซือหรงที่อายุ 47 ปี ออกอัลบั้มเพลงชุดแรกในชื่อชุด Everyday ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเธอเป็นอย่างมาก ในปี 2011 อัลบั้มเพลงชุดที่ 2 คือ The Flower Beckon ก็ได้ออกวางตลาด แถมยังกวาดรางวัลใหญ่ของวงการดนตรีอย่างมากมาย ทั้ง Golden Melody Awards for Pop Music รางวัล Golden Indie Music Awards รางวัล Chinese Music Media Awards และรางวัล Chinese Music Awards ทำให้คุณจางเถี่ยจื้อ (張鐵志) นักวิจารณ์ดนตรีคนดังถึงกับยกย่องให้ผลงานของหลัวซือหรงเป็น ìบทสนทนาอันยอดเยี่ยมระหว่างเพลงภูเขาแบบฮากกากับเพลงบลูส์ของสหรัฐฯî

เมื่อปีที่แล้ว หลัวซือหรงได้พาตัวเองให้หลุดจากกรอบความเป็นผู้หญิงฮากกา ด้วยการเลือกผลงานของ 12 กวีหญิงชื่อดังของไต้หวัน จากแต่ละยุคสมัยและต่างเผ่าพันธุ์ ได้แก่ เฉินอวี้หง ตู้พานฟางเก๋อ เหยียนอ้ายหลิน ฝงชิง อาหมาง จางฟางฉือ หลิง
อวี่ อาอง ลี่อวี้ฟาง ไช่หวั่นเสวียน และอิ่นนี่ (หมายถึงนิรนาม) โดยนำเอาบทกวีเหล่านี้มาทำเป็นบทเพลง จนกลายมาเป็นอัลบั้มเพลงชุด More Than One ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงแบบ 3 ภาษา คือจีนกลาง ไต้หวัน และฮากกา

อัลบั้มเพลงชุดนี้ทำให้หลัวซือหรงได้รับรางวัลนักดนตรีโฟล์กยอดเยี่ยมประจำปีของ Chinese Music Media Awards ครั้งที่ 16 ประจำปี 2015 ซึ่งหม่าซื่อฟาง ดีเจคนดังได้พูดถึงผลงานชุดนี้ไว้ว่า การนำบทกวีมาทำเป็นบทเพลงไม่ใช่งานง่ายเลย ìบทกวีที่กลายมาเป็นบทเพลงซึ่งเปี่ยมไปด้วยจังหวะจะโคนในแบบบลูส์หลายเพลงนั้น ก็เหมือนกับน้ำที่ผุดขึ้นมาจากผืนดิน ถือเป็นความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นจากเบื้องลึกของจิตวิญญาณเท่านั้นî

“ความรู้สึกนิดหน่อย ความคิดถึงยาวๆ ยังมีอะไรติดอยู่ที่มุมปาก นั่นก็คือรสชาติของโหระพา ความหวังเพียงน้อยๆ ความต้องการที่มากๆ...”“ความรู้สึกนิดหน่อย ความคิดถึงยาวๆ ยังมีอะไรติดอยู่ที่มุมปาก นั่นก็คือรสชาติของโหระพา ความหวังเพียงน้อยๆ ความต้องการที่มากๆ...”

เปลี่ยนอาชีพในช่วงวัยกลางคน ก่อนจะประสบความสำเร็จในที่สุด หลัวซือหรงได้แสดงให้เห็นถึงสัญชาตญาณความเป็น Gomoteu (กูเหมา) ของเธอ

ìกูเหมาî เป็นคำในภาษาฮากกา (จีนแคะ) ที่สื่อความหมายถึงความสนิทชิดเชื้อในแบบประชดประชันและแฝงด้วยอารมณ์ขัน หากนำมาใช้กับคนแล้ว จะหมายถึงคนแปลกๆ ที่ขวานผ่าซาก ในขณะที่เจ้าตัวพูดถึงตัวเองว่าเป็นคนแปลกๆ ที่ชอบอิสรเสรี หลัวซือหรงมีเพลงอยู่เพลงหนึ่งที่มีชื่อว่า ìกูเหมาโถวî ซึ่งตอนหนึ่งของเนื้อเพลงเขียนไว้ว่า ìบนภูเขามีลิงนับสิบนับร้อยตัว ในใจของเธอก็มีลิงนับสิบนับร้อยตัวเช่นกัน คนแปลกๆ ที่ชอบอิสรเสรี ....î

กูเหมาโถวจึงกลายมาเป็นชื่อของวงดนตรีที่มีเอกลักษณ์แปลกๆ เป็นของตัวเอง สมาชิกทั้ง 5 คนของวง นอกจากหลัวซือหรงที่รับหน้าที่ทั้งแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง รวมถึงเป็นนักร้องนำแล้ว ก็ยังมีเฉินซือหมิง (陳思銘) ที่เล่นเครื่องสาย หวงอวี่ชั่น (黃宇燦) มือกีตาร์ ฟู่ปั๋วเหวิน (傅博文) ที่เล่นเมาท์ออร์แกน และเฉินจู่หุ้ย 
(陳主惠) ที่เล่นเชลโล

และแม้ว่าหลัวซือหรงจะเป็นผู้แต่งเพลงเป็นส่วนใหญ่ หากแต่ผลงานที่จะกลายมาเป็นเพลงที่ทุกคนชื่นชอบ ก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างในการช่วยกันปรับแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งหลัวซือหรงบอกกับเราว่า ìเสียงดนตรีของสมาชิกแต่ละคนในวงถือเป็นส่วนสำคัญทั้งนั้น ทุกคนจะแสดงความเห็นของตัวเองในระหว่างการพูดคุย แต่ก็จะรับฟังผู้อื่นî และหลังจากผ่านการพูดคุยและรับฟังแล้ว ท้ายที่สุดทำให้เกิดเป็นความเข้าใจระหว่างสมาชิกในวงได้เป็นอย่างดี

ผลงานของหลัวซือหรงมีไม่มาก หากแต่ แต่ละชุดต่างก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก(1)ผลงานของหลัวซือหรงมีไม่มาก หากแต่ แต่ละชุดต่างก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก(2)

ปลดปล่อยความเป็นแม่มด

แล้วหลัวซือหรงสามารถเข้ามาอยู่บนเส้นทางสายดนตรีในช่วงอายุเกือบครึ่งร้อยได้อย่างไร?

"คุณรู้สึกได้อย่างไรถึงการคงอยู่ของตัวเอง" หลัวซือหรงถาม

เธอบอกกับเราว่า "การสร้างสรรค์งานทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงการคงอยู่ของตัวเอง" เธอมักรู้สึกว่าต้องการปลดปล่อยอะไรบางอย่างอยู่ตลอดเวลา แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองเข้ากับโลกที่อยู่รอบๆ ตัวไม่ค่อยได้ บางครั้งก็เก็บตัวอยู่คนเดียว บางครั้งสามารถเข้ากับผู้อื่นได้ บางทีรู้สึกเร่าร้อน แต่บางครั้งก็รู้สึกว่างเปล่า "ความรู้สึกขัดแย้งในตัวเองถูกปลดปล่อยออกมาผ่านการสร้างสรรค์งาน"

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่หลัวซือหรงหันมาวาดภาพ และมีบางช่วงที่เธอแต่งบทกวี แต่ในหลายปีหลังมานี้ เธอใช้เวลาไปกับการแต่งเพลง ซึ่งสำหรับเธอแล้ว การใช้ตัวกลางอะไรในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือสามารถแสดงออกถึงความโหยหาและจินตนาการ ìในชั้นนี้ ต้องถือว่ามีผลงานด้านดนตรีและบทเพลงออกมามากที่สุดî หลัวซือหรงกล่าว

หม่าซือฟาง (馬世芳) เคยกล่าวไว้ว่า ดนตรีของหลัวซือ
หรงมีความเป็นแม่มดอยู่ในตัว มีจินตนาการที่หลุดพ้นจากความเป็นจริง และมีพลังที่ส่งให้ไปจนถึงอีกโลกหนึ่งได้

หลัวซือหรงได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ìบทกวีคือคำสวดของแม่มดในสมัยโบราณ และก็เป็นหัวใจของความศิวิไลซ์ และแม่มดมีความสามารถในการติดต่อกับฟ้าดินî โดยหลัวซือหรงเห็นว่า บางทีอาจเป็นเพราะพลังแห่งการโอนย้ายนี้เองที่ทำให้ผู้ประพันธ์รู้สึกเหมือนถูกปลดปล่อย และผู้ที่ได้ฟังก็รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน

ยังมีบางคนที่เห็นว่า ดนตรีของหลัวซือหรงเป็นเสมือนการผสมผสานระหว่างดนตรีแบบฮากกาเข้ากับดนตรีแบบบลูส์ ซึ่งหลัวซือหรงชี้ว่า เพลงบลูส์นำเข้าสู่สหรัฐฯ โดยชาวแอฟริกา เป็นบทเพลงที่ใช้แสดงออกในโอกาสที่จะต้องแยกจาก หรือไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร โดยมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันถึงความมีตัวตนของตัวเอง จึงไม่ใช่เพลงที่ร้องให้ผู้อื่นฟัง ในขณะที่เพลงของชาวฮากกาจะเป็นบทเพลงที่ร้องติดปากกันในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ร้องเพื่อการแสดง ìเป็นเรื่องบังเอิญที่บทเพลงทั้งสองแบบมาผสมผสานกันอยู่ในตัวของเธอได้อย่างลงตัวî

เราสามารถหนีจากบ้านเกิดได้ แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนสำเนียงเสียงภาษาของเราได้เราสามารถหนีจากบ้านเกิดได้ แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนสำเนียงเสียงภาษาของเราได้

ลองความคิดถึงบ้านสักชามไหม?

แม้ว่าจะไม่ค่อยชอบใจนักที่ถูกเรียกเป็นนักแต่งเพลงหญิงชาวฮากกา แต่หลัวซือหรงก็พูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่า เธอมาจากครอบครัวชาวฮากกาจริงๆ

"ภาษาเปรียบเสมือนรหัสทางวัฒนธรรม" หลัวซือหรงกล่าวไว้ ภาษาคือรูปแบบแนวคิดของแต่ละเผ่าพันธุ์ และถือเป็นคุณค่าที่ได้รับการยอมรับ หากยกตัวอย่างจากภาษาฮากกา
แล้ว จะเห็นได้ชัดว่ามีการใช้ความเคลื่อนไหวของมือมาช่วยเยอะมาก แถมยังมีการใช้คำวิเศษณ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน "เนื่องจากว่าชาวฮากกาเป็นชนชาติที่ขยันมาก ทำให้มีการแบ่งความหมายคำที่ละเอียดมาก จนต้องใช้มือมาช่วย"

บทเพลงของหลัวซือหรงก็ได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งที่ในตอนแรกไม่ค่อยได้รับความสำคัญ แต่สุดท้ายกลายเป็นสิ่งสำคัญมาก นั่นคือความคิดถึงบ้าน

"ลองชิมความคิดถึงบ้านสักชามไหม?" หลัวซือหรงถามไปหัวเราะไป อะไรคือรสชาติของความคิดถึงบ้าน สำหรับตัวเธอแล้ว ไข่ผัดโหระพาใส่เหล้าก็คือตัวแทนของความคิดถึงบ้านตลอดกาล

คำสนทนาระหว่าง เพลงและบทกวี หลัวซือหรงที่เดินอยู่บนทางกลับบ้าน-Gomoteu & The Gang

โหระพาในภาษาฮากกาเรียกว่า ชีเฉิงถ่า (七層塔) ซึ่งก็คือที่เราเรียกกันจนคุ้นปากในภาษาจีนกลางว่า จิ่วเฉิงถ่า 
(九層塔) ส่วนที่ว่าทำไมโหระพาของชาวฮากกาจึงมีแค่ 7 ชั้น (ชีเฉิง) ในขณะที่ของคนอื่นมี 9 ชั้น (จิ่วเฉิง) นั้น หลัวซือหรงอธิบายเพิ่มเติมว่า มีเรื่องเล่าว่าเป็นเพราะบรรพบุรุษของชาวฮากกาอพยพมาอยู่ในไต้หวันช้ากว่าคนกลุ่มอื่น จึงต้องไปอาศัยอยู่ในดินแดนที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นต้นโหระพาที่ปลูกเอาไว้จึงออกดอกแค่ 7 ชั้น ไม่ได้มี 9 ชั้นเหมือนของคนอื่น ประกอบกับเลข 7 และเลข 9 ต่างก็แสดงถึงจำนวนมากๆ เหมือนกัน แต่การออกเสียง 7 ในภาษาฮากกาจะง่ายกว่า 9 และไพเราะกว่าด้วย ดังนั้น ชาวฮากกาจึงเรียกโหระพาว่า ìชีเฉิงถ่าî ด้วยประการฉะนี้แล

ในยุคสมัยที่ยังอดอยากแร้นแค้น ชนชั้นใช้แรงงานที่เป็นชาวฮากกาก็จะใช้การรับประทานโหระพามาบำรุงร่างกาย "ยามที่คุณแม่รู้สึกอ่อนล้า ก็จะเด็ดโหระพามากำหนึ่ง แล้วหยิบไข่ไก่มาสองฟอง ทำไข่ผัดโหระพาใส่เหล้า เพื่อช่วยบำรุงร่างกายและจิตใจ"

รสชาติของโหระพาจึงเป็นสิ่งที่หลัวซือหรงมิอาจลืมเลือน จนแม้กระทั่งแต่งงานและมีลูกสาว คุณแม่ก็ยังเอาโหระพาที่ปลูกเองมาเยี่ยม และทำไข่ผัดโหระพาใส่เหล้าให้เธอกินเพื่อบำรุงร่างกาย ìฉันกินไปน้ำตาไหลไป เพราะได้ลิ้มลองรสชาติของความคิดถึงบ้านอย่างเต็มที่î โดยหลัวซือหรงยังเสริมอีกว่า "ชีวิตกับรากเหง้า มันผูกพันกันง่ายๆ แบบนี้นี่เอง ไม่ต้องมีอะไรแอบแฝงเลย"

"ชาวฮากกาที่เป็นผู้หญิงจะลำบากมาก" หลัวซือหรงบอกกับเราว่า ผู้หญิงชาวฮากกาต้องทำเป็นทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ เมื่อปี 2008 ตอนที่เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนในหมู่บ้านเป่ยซานของเขตกวนซี เมืองซินจู๋ ได้มีโอกาสนั่งฟังเหล่าคุณย่าคุณยายพูดถึงเรื่องราวของตัวเอง มีอาม่าคนหนึ่งที่อายุ 93 ปีแล้วเล่าให้ฟังว่า นอกจากการเป็นขโมยแล้ว ตัวเองนั้นทำได้ทุกอย่าง "เหมือนเป็นวัวเป็นม้า แต่ไม่มีหางแค่นั้นเอง"

คำสนทนาระหว่าง เพลงและบทกวี หลัวซือหรงที่เดินอยู่บนทางกลับบ้าน-ปลดปล่อยความเป็นแม่มด

ด้วยเหตุนี้ หลัวซือหรงจึงมีความคิดที่จะแต่งเพลงเพื่อเหล่าสตรีชาวฮากกามาโดยตลอด เพื่อปลอบประโลมพวกเขาเหล่านั้น ก่อนที่จะกลายมาเป็นเพลง "รสชาติของโหระพา"

"ความรู้สึกนิดหน่อย ความคิดถึงยาวๆ

ยังมีอะไรติดอยู่ที่มุมปาก

นั่นก็คือรสชาติของโหระพา

ความหวังเพียงน้อยๆ

ความต้องการที่มากๆ..."

จู่ๆ หลัวซือหรงก็ร้องเพลงขึ้นมา ในเสียงเพลงที่ได้ยิน รู้สึกได้ถึงความคิดถึงบ้านที่แฝงอยู่แบบตัดไม่ขาด ซึ่งก็เหมือนรสชาติอันจัด
จ้านของโหระพานั่นเอง

ความเขียวขจีที่รายล้อม ทำให้เกิดเป็นชีวิต หลัวซือหรงใช้การแต่งเพลงกวีมาเติมเต็มความ รู้สึกว่าตัวเองยังคงอยู่ (ภาพจาก หลัวซือหรง)ความเขียวขจีที่รายล้อม ทำให้เกิดเป็นชีวิต หลัวซือหรงใช้การแต่งเพลงกวีมาเติมเต็มความ รู้สึกว่าตัวเองยังคงอยู่ (ภาพจาก หลัวซือหรง)

เดินอยู่บนทางกลับบ้าน

"เส้นทางที่จากบ้าน สายลมที่จากบ้าน 
ฤดูกาลที่จากบ้าน ความฝันที่จากบ้าน  
ลูกสาวที่จากบ้าน เดินทางไปทั้งสี่ทิศ  
ลูกสาวที่จากบ้าน อยู่บนเส้นทาง 
ลูกสาวที่จากบ้าน ไม่เคยจากอ้อมอก..."

เพลงจากบ้าน คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองของหลัวซือหรง

หลัวซือหรงบอกกับเราว่า "เพราะว่าจากบ้าน จึงรู้ว่ายิ่งจากไปไกลเพียงใด เส้นทางกลับบ้านก็จะยาวเท่านั้น"

มีบางคนพูดว่า การประพันธ์งานก็เหมือนเดินอยู่บนทางกลับบ้าน และสำหรับหลัวซือหรงแล้ว การแต่งเพลงก็เหมือนกับเป็นหนึ่งในเส้นทาง ìกลับบ้านî ของเธอจริงๆ

ออกจากฮากกาที่เป็นรากเหง้าแห่งชีวิตของตัวเอง แต่หลัวซือหรงไม่ปล่อยให้ตัวเองถูกผูกมัดอยู่แต่เพียงกับฮากกาเท่านั้น ìชีวิตยังต้องเดินต่อไป เดินทางไปเรื่อยๆî เธอกล่าว และสิ่งที่เธอให้ความสำคัญกว่า คือชะตาชีวิตของผู้หญิงทุกคน

ภาษาฮากกาเป็นภาษาแม่ภาษาแรกที่หลัวซือหรงได้มีโอกาสสัมผัส หากแต่ทั้งภาษาจีนกลางและภาษาไต้หวันต่างก็เป็นภาษาในชีวิตประจำวันที่เธอคุ้นเคยเช่นเดียวกัน ทำให้เมื่อมาประพันธ์เพลง จึงไร้ซึ่งอุปสรรคใดๆ อัลบั้มเพลงชุด More Than One ที่ออกวางตลาดเมื่อปีที่แล้ว จึงมีทั้งเพลงกวีที่เป็นภาษาจีนกลาง ภาษาไต้หวัน และภาษาฮากกา รวม 3 ภาษาในชุดเดียว

อย่างแรกต้องคัดเลือกก่อน การเลือกบทกวีของหลัวซือ
หรง ช่างคล้ายคลึงกับผีเสื้อที่ดูดน้ำหวานจากดอกไม้จริงๆ เริ่มจากการอ่านบทกวีจำนวนมาก ก่อนจะใช้จินตนาการค้นหาว่า เสียงที่อ่านออกมานั้น มันมีความเป็นมิติทางเสียงอยู่หรือไม่ ซึ่งเธอบอกว่า ìฉันใช้ความรู้สึกที่บอกได้ทันทีว่า มันเป็นอะไรที่ใช่สำหรับฉันหรือไม่î

จากนั้น ก็ต้องอ่านผลงานของกวีอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อทำความเข้าใจต่อการใช้คำและการบอกเล่าของกวีแต่ละคนว่ามีมุมมองต่อโลกใบนี้อย่างไร มีความห่วงใยต่อปัญหาในด้านไหน เป็นต้น ìฉันหวังว่าจะเลือกผลงานของกวีที่แต่งขึ้นเอง และเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นî

การผสมผสานระหว่างสตรีกับบทกวี

การนำบทกวีมาใส่ในบทเพลงเป็นสิ่งที่ทำกันมายาวนานแล้ว ตั้งแต่ซือจิง ฉู่ฉือ เล่อฝู่ ถังซือ (บทกวีราชวงศ์ถัง) ซ่งฉือ (บทร้อยแก้วราชวงศ์ซ่ง) แต่การเข้าสู่ยุคของบทกวีที่นิยมใช้คำที่ชัดเจนเช่นในปัจจุบัน ก็ถือเป็นการปลดปล่อยอิสระของภาษา แม้จะไม่ใช่การทำให้เจือจาง แต่เมื่อเทียบกับการเข้าคู่และสัมผัสของบทกวีโบราณแล้ว ก็มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด

ไม่ว่าจะขึ้นเวทีที่ไหน หลัวซือหรงจะเดินขึ้นไปด้วยเท้าเปล่าเพื่อ ทำการแสดงทุกครั้ง เธอบอกว่าเพื่อเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับผืน แผ่นดิน และช่วยให้เธอสามารถแสดงออกถึงพลังแห่งชีวิตได้อย่าง เต็มที่ (ภาพจาก หลัวซือหรง)ไม่ว่าจะขึ้นเวทีที่ไหน หลัวซือหรงจะเดินขึ้นไปด้วยเท้าเปล่าเพื่อ ทำการแสดงทุกครั้ง เธอบอกว่าเพื่อเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับผืน แผ่นดิน และช่วยให้เธอสามารถแสดงออกถึงพลังแห่งชีวิตได้อย่าง เต็มที่ (ภาพจาก หลัวซือหรง)

ในสายตาของหลัวซือหรง เธอหวังว่าจะสามารถใช้การร้องเพลงกวีในการถ่ายทอดตัวหนังสือมาเป็นเสียงที่มีความหมาย เพื่อสะท้อนถึงความนัยที่แอบแฝงออกมาให้ทุกคนได้รับรู้ ìท่วงทำนองมิใช่มีเพื่อให้รับกับเนื้อร้อง และเนื้อร้องก็มิใช่เพื่อให้รับกับเพลง หากแต่มันเป็นโลกที่อยู่รวมกันอย่างลงตัวî

"ในฐานะคนร้องเพลงกวี สิ่งสำคัญคือต้องสามารถสื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความรู้สึกและวัฒนธรรมต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังของตัวหนังสือเหล่านี้ออกมาให้เป็นอะไรที่จับต้องได้" หลัวซือหรงบอกกับเราว่า ในการนำเอาบทกวีมาใส่ในบทเพลงอาจจะประสบกับปัญหาด้านจังหวะเพลงและเสียงสัมผัส ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทำการแก้ไขบทกวี เพื่อให้รับกับทำนองเพลง แต่สำหรับเธอแล้ว จะเลือกเก็บทุกอย่างของบทกวีไว้ดังเดิม และพยายามอย่างเต็มที่ที่จะหาหนทางให้ทั้งบทกวีและบทเพลงผสมผสานเข้ากันได้อย่างลงตัว เพื่อให้ก่อเกิดเป็นชีวิตใหม่หรือโลกใหม่ เธอจึงไม่หยุดยั้งที่จะทดลองใช้วิธีการต่างๆ กันในการแสดงออก จนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

คุณค่าของบ้านเกิด

ต้องข้ามเขากี่ลูก จึงผ่านศาลเจ้าที่ แห่งนั้น

ต้องผ่านศาลเจ้าที่กี่แห่ง จึงจะเห็นลำธาร สายนั้น

ต้องปลูกต้นสนกี่ต้น จึงจะไปถึงพงพนา...

สำหรับหลัวซือหรงแล้ว หนังสือเรื่อง Concerning the Value of Oneís Homeland ของหลิงอวี่ ก็เหมือนกับม้วนหนังสือที่ค่อยๆ คลี่ออกอยู่ตรงหน้า "ผู้เขียนค่อยๆ สอบถามไปเรื่อยๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่เรียกว่าบ้านเกิด ในตอนที่ฉันแต่งเพลงอยู่ ก็ไม่ได้เร่งร้อนที่จะค้นหาคำตอบอะไร แต่กลับมีความรู้สึกเหมือนกับว่า จะบอกให้ผู้อ่านจูงมือไปด้วยกัน ทำให้ชีวิตเปรียบเสมือนกับม้วนหนังสือ ที่ค่อยๆ คลี่ออกมา และค่อยๆ ม้วนกลับไป"

หลัวซือหรงมีความประทับใจในบทกวีบทนี้เป็นอย่างมาก ทำให้การแต่งเพลงเป็นไปอย่างราบรื่น "หลังจากที่ฉันอ่านบทกวีบทนี้จบ ภายในเวลา 5 นาที ก็สามารถร้องออกมาเป็นเพลงได้แล้ว"

เหล่ากวีที่ได้ยินเพลงของหลัวซือหรงต่างก็มีความรู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าเธอสามารถให้ชีวิตใหม่ ให้ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับบทกวี ในระหว่างงานสัมมนาครั้งหนึ่ง เฉินอวี้หง กวีร่วมสมัยชื่อดังของไต้หวัน ถึงกับพูดอะไรไม่ออก ได้แต่นั่งน้ำตาไหลพรากด้วยความซาบซึ้ง ในทันทีที่ได้ยินเสียงเพลงที่นำบทกวีของเธอคือ ìฉันเคยบอกกับเธอî ไปใช้ในการแต่งเป็นเพลง

ฉันเคยบอกกับเธอ หน้าของฉัน ผมของฉัน ต่างก็คิดถึงเธอ 
และเพราะก้อนเมฆต่างก็หวีให้กันและกันอยู่บนฟ้า คอของฉันติ่งหูของฉันคิดถึงเธอ 
และเพราะสะพานแขวนกับต้นหญ้าในตรอกซอกซอยทำให้อ้างว้าง...

หลัวซือหรงกับวงกูเหมาโถวของเธอก็เหมือนกับเป็น UN เล็กๆ ดังนั้นดนตรีที่ผ่านการกลั่นกรองของทุกคนออกมา จึงเป็นดนตรีที่มีความหลากหลาย และสมบูรณ์เป็นอย่างมากหลัวซือหรงกับวงกูเหมาโถวของเธอก็เหมือนกับเป็น UN เล็กๆ ดังนั้นดนตรีที่ผ่านการกลั่นกรองของทุกคนออกมา จึงเป็นดนตรีที่มีความหลากหลาย และสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

เนื้อเพลงเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ตัดพ้อ ราวกับจะเปิดเอาความรู้สึกภายในใจที่ถูกแอบแฝงไว้ออกมา หลัวซือหรงเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนกลาง ภาษาไต้หวัน และภาษาฮากกา ทำให้สามารถแต่งเพลงออกมาได้อย่างลึกซึ้ง เพลง Super Vending Machine ที่ใช้เนื้อเพลงภาษาจีนกลาง ก็เพื่อจะร่ำร้องกับความศิวิไลซ์ในยุคปัจจุบัน เป็นอารมณ์ร็อกแบบหนึ่ง ìในช่วงที่แต่งเพลงนี้ รู้สึกราวกับว่าตัวเองมีพลังมหาศาล มาต่อสู้กับยักษ์ใหญ่แห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันî

ในสายตาของหลัวซือหรงแล้ว บทเพลงแต่ละเพลงคือเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตเมล็ดหนึ่งที่เติบโตขึ้นมาเป็นตัวของตัวเอง

"แต่ละเพลง แต่ละกระถาง แต่ละคน ต่างก็มีสภาพแวดล้อมของตัวเอง ฉันหวังว่าฉันจะสามารถเข้าใกล้ และสามารถทำให้มันกลับคืนสู่ดังเดิม" หลัวซือหรงที่ห้อยไม้กางเขนไว้บนตัว ไม่ได้มีความเชื่อทางศาสนาใดๆ เป็นพิเศษ สิ่งที่เธอต้องการค้นหาคือจิตใจที่มีแต่ความสมดุล การประนีประนอม และการกลับสู่ธรรมชาติ "ก็เหมือนกับโลกใบนี้ แม้ว่ามันจะเอียง แต่ก็ยังโคจรไปตามวงโคจรของมัน"

แน่นอนว่าในสายตาของเธอแล้ว ทางโลกกับทางธรรมมิอาจแบ่งออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเธอบอกกับเราว่า ìผลงานที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา เป็นอะไรที่เหนือกว่ามนุษย์ เมื่อจิตวิญญาณเข้าสู่สภาวะแห่งการสรรค์สร้างแล้วไซร้ ก็ประหนึ่งเหมือนตัวเองกลายเป็นผู้ถ่ายทอดโองการจากสวรรค์î