ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
บทเพลงจากริมฝีปาก คู่ดูโอพ่อลูก จับมือสร้างสรรค์เพลงผิวปากสู่นานาชาติ
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-08-13

บทเพลงจากริมฝีปาก คู่ดูโอพ่อลูก จับมือสร้างสรรค์เพลงผิวปากสู่นานาชาติ

 

เมื่อมีโอกาสได้ออกไปเที่ยวนอกเมือง เหล่านักเดินทางทั้งหลายมักอดไม่ได้ที่จะผิวปากเพื่อทักทายกับนกน้อยที่ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วอย่างสนุกสนาน  ลักษณะของเสียงผิวปากเช่นนี้เป็นเสียงที่เกิดจากลมในช่องท้องส่วนล่างส่งผ่านระหว่างช่องของริมฝีปาก ท่าทางการผิวปากที่ดูแล้วน่าจะทำได้ไม่ยากเท่าไรนัก คือท่วงท่าการแสดง ìเสี้ยวเยว่î ของเหล่าปัญญาชนยามพบปะสังสรรค์กันเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน 

ปัจจุบันทักษะที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงความสามารถเล็กน้อยในสายตาของคนนอก แท้ที่จริงแล้วกลับแฝงไว้ด้วยความรู้เชิงลึกอย่างมาก จากความชอบนำไปสู่ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง คุณหลี่ เจินจี๋ 
(李貞吉) ได้ให้นิยามของการผิวปากขึ้นใหม่ว่า "เสียงเพลงจากริมฝีปาก"  เขาใช้ริมฝีปากของเขาผิวปากเป็นเสียงเพลงต่างๆ ซึ่งนอกจากเขาจะเป็นชาวจีนที่ออกอัลบั้มเพลงผิวปากเป็นคนแรกแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่นำเอาเสียงดนตรีจากการผิวปากขณะนั่งบนหลังวัว มาเปิดการแสดงบนเวทีของ National Concert  Hall ในกรุงไทเปอีกด้วย และตลอดระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา หลี่เจินจี๋ ผู้หลงใหลใน "ริมฝีปาก" ได้จับคู่กับลูกชาย หลี่อวี้หลุน (李育倫) ออกตระเวนเปิดการแสดงเพลงผิวปากทั่วทั้งในและต่างประเทศ

 

ìเพลงผิวปากî เสียงที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด

คนมักจะฮัมเพลงกันบ่อยๆ ในยามที่อารมณ์ดี และบางครั้งอาจจะมีการผิวปากอย่างสนุกสนานควบคู่ไปด้วย การเล่นดนตรีแบบด้นสดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว กลับมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในคัมภีร์ ìซือจิงî (詩經) หนังสือที่รวบรวมบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของจีน เรียกเสียงเพลงเช่นนี้ว่า ìเสี้ยวเยว่î ซึ่งหมายถึงเสียงดนตรีหรือเสียงเพลงที่เกิดจากการผิวปาก ในสมัยก่อน บรรดากวีและนักปราชญ์ทั้งหลาย เช่น ขงเบ้ง เถาเฉียน และเฉาจื๋อ นิยมสร้างเสียงเพลงจากการผิวปาก กล่าวได้ว่าเสียงผิวปากเป็นการสร้างสรรค์เสียงดนตรีที่ขาดไม่ได้ในยามที่พวกเขาได้มาพบปะสังสรรค์กัน

การผิวปากเป็นวิธีการแสดงออกโดยการใช้เสียงอย่างหนึ่งที่หลายๆ คน ทำได้ตั้งแต่เด็กๆ คุณหลี่เจินจี๋ ชาวตำบลวั่นตัน เมืองผิงตง ก็เช่นเดียวกัน ยามที่เขามีเวลาว่างจากการเรียน เขามักจะออกไปเลี้ยงวัวที่ริมแม่น้ำและสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจด้วยการผิวปากให้วัวฟัง ขณะที่นั่งอยู่บนหลังวัว บรรดาวัวทั้งหลายต่างรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ฟังเสียงผิวปากที่ไพเราะ บางครั้งถึงกับลืมกินหญ้าก็มี โดยที่ตัวเขาเองก็ค่อยๆ เกิดความสนใจในการผิวปากตามมา

ìเพลงผิวปากî เสียงที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด

การที่หลี่เจินจี๋ ผู้ได้รับฉายาว่า "เจ้าพ่อแห่งเพลงผิวปาก" ได้ใกล้ชิดและคุ้นเคยกับดนตรี มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวของเขาไม่มากก็น้อย

บิดาและพี่ชายของเขาเป็นนักดนตรีที่มีความเชี่ยวชาญใน หูฉิน (เครื่องดนตรีประเภทซอ) และคลาริเน็ต สมัยก่อนการซื้อเครื่องดนตรีเช่นนี้ได้ต้องใช้เงินจำนวนมาก และยังถือเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพของพวกเขาอีกด้วย หลี่เจินจี๋ซึ่งยังเป็นเด็กในขณะนั้นจึงถูกห้ามไม่ให้จับต้องโดยเด็ดขาด กระนั้นก็ตาม ก็ไม่อาจห้ามความหลงใหลที่มีต่อดนตรีให้เกิดขึ้นในตัวหลี่เจินจี๋ได้

จากความชอบนำไปสู่ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง คุณ หลี่เจินจี๋ได้ให้นิยามของการผิวปากขึ้นใหม่ว่า “เสียงเพลงจากริม ฝีปาก” เขาใช้ริมฝีปากของเขาผิวปากเป็นบทเพลงต่างๆ เป็นชาวจีน ที่ออกอัลบั้มเพลงผิวปากเป็นคนแรก และยังเป็นคนแรกที่นำเอาเสียง ดนตรจี ากการผวิ ปากขณะนงั่ บนหลงั ววั มาเปดิ การแสดงบนเวทขี อง National Concert Hall ในกรุงไทเปอีกด้วยจากความชอบนำไปสู่ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง คุณ หลี่เจินจี๋ได้ให้นิยามของการผิวปากขึ้นใหม่ว่า “เสียงเพลงจากริม ฝีปาก” เขาใช้ริมฝีปากของเขาผิวปากเป็นบทเพลงต่างๆ เป็นชาวจีน ที่ออกอัลบั้มเพลงผิวปากเป็นคนแรก และยังเป็นคนแรกที่นำเอาเสียง ดนตรจี ากการผวิ ปากขณะนงั่ บนหลงั ววั มาเปดิ การแสดงบนเวทขี อง National Concert Hall ในกรุงไทเปอีกด้วย

ขณะที่เขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อนนักเรียนพากันเชียร์ให้เขาขึ้นเวทีแสดง และนั่นก็คือการแสดงผิวปากครั้งแรกของหลี่เจินจี๋ต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก ในขณะที่เขาได้รับเสียงปรบมือ เขาเกิดความรู้สึกขึ้นว่า ìสามารถทำให้การผิวปากกลายเป็นเสียงเพลงî ได้ และเริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

"ดังเช่นคำกล่าวของคนโบราณที่ว่า เสียงจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไม่ไพเราะเท่าเสียงจากเครื่องเป่า เสียงจากเครื่องเป่าไหนเลยจะสู้เสียงมหัศจรรย์ของมนุษย์ได้ เสน่ห์ที่ดึงดูดใจของบทเพลงจากริมฝีปากคือ เสียงที่ออกมาจากร่างกายมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติและลึกซึ้งกินใจมากที่สุด" หลี่เจินจี๋สามารถพูดถึงความน่าสนใจของบทเพลงริมฝีปากได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ทำให้เพลงผิวปากแตกต่างจากเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ขลุ่ยหรือพิณ ที่จำเป็นต้องใช้นิ้วกดเพื่อปิดรูบังคับเสียง หรือการเสียดสีเส้นสายให้เกิดเป็นทำนองเพลง คือ อาศัยริมฝีปากอย่างเดียวในการทำให้เกิดเสียง ใครก็ตามที่รู้เทคนิคและหลักการก็สามารถสร้างเสียงเพลงจากริมฝีปากได้

จากเด็กเลี้ยงวัวที่ชื่นชอบการผิวปากเติบโตมาเป็นนักผิวปากขั้นเทพ หลี่เจินจี๋พากเพียรฝึกฝนด้วยตัวเองจวบจนกระทั่งเขาค้นพบเคล็ดลับต่างๆ  ตลอดจนเทคนิคการผิวปากที่เป็นของตัวเองขึ้นมา เช่น การใช้กล้ามเนื้อช่องท้อง การควบคุมลมหายใจ และการควบคุมการปล่อยลมเข้าออก เป็นต้น

ใช้เทคนิคที่หลากหลาย ท้าทายเพลงยากๆ

"หยางหมิงชุนเสี่ยว (陽明春曉)î คือบทเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลี่เจินจี๋ โดยเป็นเพลงประกอบรายการ "ภาษาจีนวันละคำ (每日一字)" ซึ่งเป็นรายการที่รู้จักกันดีในไต้หวัน ท่วงทำนองเพลงดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนจำนวนมาก ดนตรีที่ไพเราะเสนาะหูทำให้คนฟังรู้สึกราวกับได้ไปเดินอยู่บนเขาหยางหมิงซันจริงๆ  เขาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อใช้เทคนิคการผิวปากที่เขาคิดค้นขึ้น มาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงที่ไพเราะประกอบการแสดงดนตรี

ทำนองดนตรีทั่วไปใน 1 นาทีจะมี 60-70 จังหวะ จุดที่ยากที่สุดของเพลง ìหยางหมิงชุนเสี่ยวî คือ ใน 1 นาที ท่อนเร็วจะมีจังหวะมากถึง 180 จังหวะ ขณะที่จังหวะในท่อนช้ามีเพียง 40 จังหวะต่อนาที หลี่เจินจี๋อธิบายให้เห็นถึงความท้าทายของท่วงทำนองที่มีทั้งจังหวะช้าและเร็วว่า ìจังหวะเร็วก็เร็วจนหายใจแทบไม่ทัน ส่วนจังหวะช้าก็ต้องชะลอลมหายใจให้ยาวออกไปî

หลี่เจินจี๋เขียนบทกลอน “หลีเหอฉางโถว” ด้วยลายมือพู่กันเพื่อนำไป รวมไว้ในอัลบั้มภาพเขียนพู่กัน “บทเพลงเหนือคำบรรยาย” (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)หลี่เจินจี๋เขียนบทกลอน “หลีเหอฉางโถว” ด้วยลายมือพู่กันเพื่อนำไป รวมไว้ในอัลบั้มภาพเขียนพู่กัน “บทเพลงเหนือคำบรรยาย” (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)

"ในจังหวะเร็วจะต้องเปล่งเสียงให้สม่ำเสมอและชัดเจน" หลี่เจินจี๋จึงใช้เทคนิค "การควบคุมกล้ามเนื้อช่องท้อง" มาช่วยควบคุมการเปล่งเสียง ขณะที่การสร้างเสียงทุ้มหรือแหลมในระดับต่างๆ เขาจะใช้การควบคุมลมที่ผ่านเข้าออกริมฝีปากเพื่อทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ หรือที่เรียกว่าเทคนิค "การควบคุมการปล่อยลมเข้าออก" สำหรับเทคนิค "การควบคุมลมหายใจ" เป็นเทคนิคที่อาศัยการหายใจในการเปลี่ยนลมที่ปล่อยผ่านออกจากลำคอให้สามารถยืดเสียงยาวออกไปได้ไม่สิ้นสุด ทำให้ได้เสียงยาวที่มีความนุ่มนวลและเสนาะหู

การจะควบคุมเทคนิคต่างๆ ให้ได้ดังใจนั้น สัมพันธ์กับการเก็บ "ลม" ได้มากเพียงพอหรือไม่ หากเก็บลมได้มากพอก็จะสามารถหายใจและเปลี่ยนลมหายใจได้สะดวก ระหว่างเปลี่ยนลมจะมีเสียงคล้ายกับเสียงลูกสุนัขหายใจถี่ดังขึ้น ซึ่งก็คือการร้องเพลงตามหลักทฤษฎี

หลี่เจินจี๋ใช้เวลานานกว่า 2 ปี จึงฝึกเพลง ìหยางหมิงชุนเสี่ยวî ได้สำเร็จ เขายังได้พยายามฝึกฝนการใช้เทคนิคต่างๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และเป็นบุคคลที่บรรดาผู้ที่ชื่นชอบในเพลงผิวปากทั้งจากในและต่างประเทศมาขอคำปรึกษาจากเขาอยู่เสมอ

เขาไม่เพียงนำเอาเพลงผิวปากที่คุ้นหูมาถ่ายทอดเป็นเสียงดนตรีและแสดงบนเวทีของ National Concert Hall เท่านั้น เนื่องจากเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีที่มีความเหมาะสมและสามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการผิวปากได้มีค่อนข้างจำกัด แต่ด้วยความที่หลี่เจินจี๋ชอบทดลองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เขาจึงหันมาทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์ให้เกิดความแปลกใหม่ในเสียงเพลง

งานสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะท่วงทำนองดนตรีที่ต้องไม่เรียบง่ายจนเกินไปนัก รูปแบบของดนตรีต้องหลากหลายและให้ความรู้สึกลึกซึ้งกินใจ หลี่เจินจี๋ซึ่งมีความชำนาญในศิลปะการเขียนพู่กันจีน ได้ใช้แรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากเรื่องราวความรักระหว่างซูตงพอ (蘇東坡) กวีเอกในสมัยราชวงศ์ซ่ง และหวางเฉาหยุน (王朝雲) มาสร้างสรรค์เป็นบทเพลง ìเฉาหยุนโยวม่ง (朝雲幽夢)î  เขาอธิบายว่า ìการแต่งเพลงผิวปากที่มีท่วงทำนองยาวถึง 4 นาทีให้ได้สักเพลง ยังยากกว่าการคลอดลูกเสียอีกî สิ่งที่ยากที่สุดระหว่างเขียนเพลงคือ การถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ออกมาเป็นเสียงเพลง ซึ่งต้องอาศัยการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนขอคำแนะนำจากนักร้องและนักแต่งเพลงหลายต่อหลายครั้ง จึงสามารถแต่งทำนองเพลงออกมาได้สำเร็จ

หลี่อวี้หลุน (ซ้าย) ร่วมกับหวงอวี้เสียง (黃裕翔) และ หลูซินหมิน (盧欣民) ก่อตั้งวง “Trio” (ภาพจาก หลี่อวี้หลุน)หลี่อวี้หลุน (ซ้าย) ร่วมกับหวงอวี้เสียง (黃裕翔) และ หลูซินหมิน (盧欣民) ก่อตั้งวง “Trio” (ภาพจาก หลี่อวี้หลุน)

หลี่อวี้หลุน กับความประทับใจที่มีต่อ
ความมุ่งมั่นของบิดา

หลี่เจินจี๋ทุ่มเทให้กับงานเพลงผิวปากมานานหลายปี และตอนนี้ลูกชายของเขา หลี่อวี้หลุน (李育倫) พร้อมที่จะสืบทอดและรับช่วงต่อจากเขา และเมื่อครั้งที่ลูกชายและลูกสาวทั้งสองของเขายังเล็ก หลี่เจินจี๋มักจะผิวปากให้พวกเขาฟังอยู่บ่อยๆ  ตัวหลี่อวี้หลุนในวัยเด็กก็ชอบที่จะทำปากเลียนแบบพ่อของเขา จนกระทั่งอายุได้ 4 ขวบ เขาก็สามารถผิวปากออกมาเป็นเสียงได้เป็นครั้งแรก สร้างความดีใจให้กับพ่อของเขาเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 7 ขวบ หลี่อวี้หลุนได้ร่วมแสดงเพลง "กุ้ยเหอต้าเฉียว (桂河大橋)" (สะพานข้ามแม่น้ำแคว) กับพ่อของเขาบนเวทีเป็นครั้งแรก โดยที่ไม่ได้ตระเตรียมและฝึกซ้อมมาก่อน เสียงปรบมือที่ดังกึกก้อง ทำให้หลี่อวี้หลุนเข้าใจผิดคิดไปว่าการผิวปากได้เป็นความสามารถที่เยี่ยมยอด

เมื่อหลี่อวี้หลุนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา เขาบอกกับใครๆ ว่าเขาเคยขึ้นแสดงบนเวทีมาแล้ว แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือคำเยาะเย้ยแบบเด็กๆ ว่า "แบบนี้เรียกว่าเป็นศิลปะไม่ได้หรอก" และนับแต่นั้นมาหลี่อวี้หลุนจะไม่ยอมผิวปากต่อหน้าผู้คนอีกเลย

สองพ่อลูกคู่ดูโอ หลี่เจินจี๋และหลี่อวี้หลุนพลิกรูปแบบการผิวปากจากแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคย และทุ่มเทให้กับการเผยแพร่ด้านการศึกษาเพลงผิวปาก ของไต้หวันอย่างเต็มตัวสองพ่อลูกคู่ดูโอ หลี่เจินจี๋และหลี่อวี้หลุนพลิกรูปแบบการผิวปากจากแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคย และทุ่มเทให้กับการเผยแพร่ด้านการศึกษาเพลงผิวปาก ของไต้หวันอย่างเต็มตัว

วันหนึ่ง ขณะที่หลี่เจินจี๋ฝึกซ้อมเพลง "หยางหมิงชุนเสี่ยว" ในระหว่างขับรถ  จู่ๆ หลี่อวี้หลุนซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ ก็ประสานเสียงขึ้นพร้อมกับพ่อของเขา ร่วมบรรเลงเป็นบทเพลงประสานเสียงที่มีท่วงทำนองอันไพเราะ รวมทั้งเกิดกลเม็ดและเทคนิคต่างๆ เพิ่มขึ้น จนพ่อของเขาถึงกับกล่าวขึ้นด้วยความยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่งว่า "พ่อยังฝึกได้ไม่ดีเท่าไร แต่เจ้ากลับฝึกสำเร็จแล้ว" หลี่เจินจี๋จึงชวนลูกชายร่วมกันเปิดการแสดงประสานเสียงคู่ดูโอพ่อลูกบนเวทีเดียวกันอย่างเป็นทางการครั้งแรก

ทั้งคู่ยังร่วมกันบรรเลงบทเพลงที่ได้รับความนิยมหลายต่อหลายเพลง การแสดงชุด "The Whistler and His Dog" ซึ่งเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากกิริยาท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้าที่ดูตลกขบขันของเขาทั้งสองคน ตลอดจนลักษณะของการโต้ตอบไปมา เรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมที่อยู่ด้านล่างเวทีได้ตลอดเวลา ฝีมือการแสดงที่เข้าถึงอารมณ์ของคนทั้งคู่สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังอย่างมากจนยากจะลืมเลือนภาพของพ่อลูกคู่นี้

ความเข้าใจและรู้ใจกันระหว่างพ่อกับลูก เห็นได้จากทั้งบนเวทีและนอกเวที ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงผิวปากของหลี่เจินจี๋ ลูกชายอย่างหลี่อวี้หลุนก็ทราบได้ทันทีว่าพ่อของเขาอยู่ในอารมณ์แบบใด ซึ่งก็คือคุณสมบัติของคู่หูที่ดีนั่นเอง

หลี่เจินจี๋เปรียบเสมือนเป็นบุคคลสำคัญของวงการเพลงผิวปาก และมีผู้สืบทอดที่มีความสามารถมากที่สุดก็คือหลี่อวี้หลุน หลี่อวี้หลุนเป็นสมาชิกของวงประสานเสียงตั้งแต่ยังเล็ก มีความเข้าใจและสันทัดในทฤษฎีดนตรีเป็นอย่างดี ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการประยุกต์ใช้เพลงผิวปากได้อย่างเชี่ยวชาญ เขาไม่เพียงสามารถผิวปากเพลงจีนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถผิวปากทำนองดนตรีแบบตะวันตกได้อีกด้วย ทั้งเพลงคลาสสิก เพลงแจ๊ส และเพลงฮิตยอดนิยมอื่นๆ นอกจากนี้ เขายังสามารถบอกเล่าและแบ่งปันประสบการณ์ถึงแนวคิดของเพลงผิวปากได้อย่างน่าฟัง อันเป็นการถ่ายทอดให้เห็นว่าเสียงที่เกิดจากร่างกายมนุษย์คือเสียงที่เป็นธรรมชาติ ลึกซึ้งและกินใจมากที่สุด

เสียงผิวปากในช่วงท้ายของเพลงโฆษณาของแมคโดนัลด์ที่ทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความสนุกสนานไม่สิ้นสุด หรือเสียงผิวปากที่ปรากฏในเพลงประกอบภาพยนตร์  "The Village of No Return" ถือเป็นผลงานของหลี่อวี้หลุนทั้งสิ้น นอกจากนี้ เขายังออกอัลบั้มเพลงผิวปากที่ชื่อว่า "Make Me A Channel" ในสไตล์แจ๊ส โดยร่วมกับเพื่อนที่ชื่นชอบดนตรีก่อตั้งวง "Trio" ขึ้นอีกด้วย

ซูเจาซิง (ขวา) ผู้ที่ได้รับฉายาว่า “เทพบุตรกีตาร์แห่งตะวันออก” คือผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันเพลงผิวปากของหลี่เจินจี๋ (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)ซูเจาซิง (ขวา) ผู้ที่ได้รับฉายาว่า “เทพบุตรกีตาร์แห่งตะวันออก” คือผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันเพลงผิวปากของหลี่เจินจี๋ (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)

เรามักจะเห็นภาพของหลี่อวี้หลุนปรากฏอยู่ในแวดวงการศึกษาเสมอ เขาร่วมกับสำนักพิมพ์จัดทำหนังสือเกี่ยวกับการผิวปาก โดยเน้นให้มีเนื้อหาที่เข้าใจง่ายควบคู่กับการใช้ภาพประกอบ นับเป็นคู่มือที่ช่วยให้ครูสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ทันที ขณะเดียวกัน เขายังช่วยฝึกสอนให้นักผิวปากที่เข้าร่วมการแข่งขันผิวปากระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันอีกด้วย

ครอบครัวและเพื่อนคือ
ผู้อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ

หลี่เจินจี๋คลุกคลีอยู่กับเพลงผิวปากมาทั้งชีวิต นอกจากพ่อและพี่ชายของเขาที่เป็นผู้จุดประกายความฝันให้กับเขาแล้ว คุณซูเจาซิง (蘇昭興) ผู้ที่ได้รับฉายาว่า "เทพบุตรกีตาร์แห่งตะวันออก" นับเป็นอีกบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังและผลักดันเขาในเรื่องของดนตรี

หลี่เจินจี๋รู้จักกับซูเจาซิงตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาที่เมืองผิงตง เนื่องจากทั้งคู่ชอบวาดภาพเหมือนกัน หลังจบการศึกษาแล้วยังคงติดต่อกันอยู่ ซูเจาซิงมักจะเชิญหลี่เจินจี๋มาแสดงฝีมือเพลงผิวปากในการแสดงโชว์เล่นกีตาร์ของเขาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้คนค่อยๆ รู้จักกับศิลปะดนตรีแบบเพลงผิวปากมากขึ้น

หลี่เจินจี๋มักได้รับเชิญให้ไปเปิดการแสดงในงานเทศกาลดนตรีที่ต่าง ประเทศ เพื่อให้โลกได้รู้จักไต้หวันมากขึ้น (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)หลี่เจินจี๋มักได้รับเชิญให้ไปเปิดการแสดงในงานเทศกาลดนตรีที่ต่าง ประเทศ เพื่อให้โลกได้รู้จักไต้หวันมากขึ้น (ภาพจาก หลี่เจินจี๋)

คู่หูด้านดนตรีที่เปรียบเสมือนเป็นทั้งครูและเพื่อนของหลี่เจินจี๋อีกสองคนคือ ฟั่นอวี่เหวิน (范宇文) และ เฉิงหมิง
 (成明) ซึ่งโดยปกติ หลี่เจินจี๋มักจะเดินทางไปร่วมกิจกรรมของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในต่างประเทศพร้อมกับสองท่านนี้บ่อยๆ   เขาตอบรับคำเชิญของเฉิงหมิงเพื่อเปิดการแสดงที่ National Concert Hall ทำให้รูปแบบการแสดงของคณะนักร้องประสานเสียงมีความหลากหลายมากขึ้น และยังเป็นการเปิดตัวบทเพลงผิวปากบนเวทีระดับชาติเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็ได้รับเชิญให้ไปเปิดการแสดงทั้งจากในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

เขาเคยเดินทางไปเปิดการแสดงในหลายประเทศ เช่น ลิทัวเนีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน แอฟริกาใต้ มอริเชียส ฝรั่งเศส เบลเยียม ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น เมื่อชื่อเสียงของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น วาทยากรผู้ควบคุมวงเซี่ยงไฮ้ซิมโฟนีออร์เคสตราของจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ได้ทาบทามเพื่อขอให้เขาร่วมบันทึกทำอัลบั้มเพลงผิวปากอัลบั้มแรกที่เป็นของชาวจีน

สองพ่อลูกคู่ดูโอ หลี่เจินจี๋และหลี่อวี้หลุน ได้ร่วมกันสร้างเวทีให้กับเพลงผิวปากไต้หวัน ทั้งการปลูกฝังให้หยั่งรากลึกและการเผยแพร่สู่ภายนอก แบ่งปันเทคนิคเพลงผิวปากอย่างไม่ปิดบัง และก่อตั้งแฟนเพจ ìเพลงผิวปากî ขึ้นด้วย โดยคาดหวังว่าจะก่อตั้งสมาคมเพลงผิวปากขึ้นได้ในอนาคต และชักชวนผู้ที่ชื่นชอบเพลงผิวปากได้มาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อที่จะพลิกรูปแบบการผิวปากจากแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคย และมอบชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เพลิดเพลินใจให้กับเพลงผิวปาก