ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
แสงแห่งนครา สาดส่องไปท่วั หล้า
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-10-22

มูลนิธิ CCAF จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปนักสืบแห่งแสง เพื่อให้คนรับรู้ถึงความคงอยู่ของแสงในชีวิตประจำวัน

มูลนิธิ CCAF จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปนักสืบแห่งแสง เพื่อให้คนรับรู้ถึงความคงอยู่ของแสงในชีวิตประจำวัน

 

ในยามที่พระอาทิตย์สาดส่อง แสงแดดส่องทะลุช่องระหว่างใบไม้ทอดยาวลงมา อยู่ระหว่างเงาของร่มไม้ที่เรียงรายอยู่เป็นทิวแถว ในยามค่ำคืน เมืองกรุงอันคึกคักที่เปี่ยมไปด้วยสีสันจากหลอดไฟหลากสี ในทุกขณะ แสงไฟที่เปลี่ยนแปลงไปสารพัดรูปแบบจะอยู่เคียงข้างเราตลอดเวลา แต่คุณล่ะ รู้สึกถึงมันหรือเปล่า มองเห็นมันหรือเปล่า?

มูลนิธิ Coretronic Culture and Arts Foundation (CCAF) ซึ่งก่อตั้งโดย บริษัท Coretronic Corporation ผู้ผลิตหลอดไฟ LED และอุปกรณ์ส่องสว่างชื่อดังของไต้หวัน ได้เปลี่ยน "แสง" ให้กลายเป็นสื่อกลางในการให้ความสว่างแก่พื้นที่และปลุกจิตสำนึกแห่งความรักและหวงแหนต่อท้องถิ่นที่ซ่อนอยู่ภายในใจของคนเราให้ตื่นขึ้นมา

 

ภายหลังการตกแต่งใหม่ กำแพงเมืองโบราณของเหิงชุนที่มีอายุนับร้อยปี ก็กลายมาเป็นงานศิลปะที่สวยบาดตา ในภาพคือคณะระบำ Naughty Swing ที่กำลังวาดลวดลายร่ายรำอยู่บริเวณลานกว้างหน้าประตูตะวันตกที่ถูกทำให้สว่างขึ้นมาภายหลังการตกแต่งใหม่ กำแพงเมืองโบราณของเหิงชุนที่มีอายุนับร้อยปี ก็กลายมาเป็นงานศิลปะที่สวยบาดตา ในภาพคือคณะระบำ Naughty Swing ที่กำลังวาดลวดลายร่ายรำอยู่บริเวณลานกว้างหน้าประตูตะวันตกที่ถูกทำให้สว่างขึ้นมา

คุณเหยาจื้อจ้ง (姚政仲) ประธานมูลนิธิ CCAF กล่าวว่า "วันเวลาที่ผันผ่าน ทำให้ปวงชนที่ชื่นชอบการไล่ล่าไขว่คว้าสิ่งแปลกใหม่มักจะลืมตัวตนของตัวเองและลืมที่จะมองย้อนมาดูชีวิตของพวกเขาดังนั้น คุณเหยาจึงได้ร่วมกับคุณหลินไฮว๋หมิน 
(林懷民) ผู้ก่อตั้งคณะระบำ Cloud Gate อ.เจี่ยงซวิน
 (蔣勳) ปรมาจารย์แห่งวงการวรรณกรรม อ.หลินต้าเหวย
 (林大為) นักออกแบบแสงไฟชื่อดัง  ในการช่วยกันหาจุดยืนของ CCAF โดยใช้แสงไฟเป็นสื่อกลางในการนำพาให้เราได้มีโอกาสรู้จักประวัติศาสตร์ของผืนแผ่นดินแห่งนี้ และค้นหาตัวเองจนพบ

แต่การจะเปลี่ยนแสงไฟเย็นๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีอันแข็งกระด้างให้กลายมาเป็นผลงานทางศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย ในขวบปีแรกของการจัดตั้งมูลนิธิ CCAF ได้มีการจัดกิจกรรม ìนักสืบแห่งแสงî โดยได้เชิญชวนให้ประชาชนทั้งที่อยู่ในเมืองใหญ่หรือตามชนบทมาร่วมกันรับรู้ถึงความรู้สึกแห่งแสงกัน

การเลือกใช้แสงเป็นหัวใจของการทำงาน ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งที่ไต้หวันแทบไม่เคยมีมาก่อน แม้แต่ทีมบริหารงานของ CCAF ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับแสงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในช่วงแรกของการจัดกิจกรรม คุณสวีฟาง
หยุน (徐芳筠) CEO ของ CCAF จึงรู้สึกกังวลเป็นอย่างมากว่า โครงการและหัวข้อหลักที่เปี่ยมไปด้วยความเป็นรูปธรรมเช่นนี้จะสามารถดึงดูดประชาชนทั่วไปได้หรือไม่ โชคดีที่มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมนับร้อยคน ทำให้ทีมงานรู้สึกวางใจได้ไม่น้อย อีกทั้งภูมิหลังของผู้ที่มาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมก็เป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับทีมงานไม่น้อยเช่นกัน เพราะมีทั้งข้าราชการ ทันตแพทย์ พนักงานขายประกัน และอื่นๆ รวมอยู่ด้วย

แสงไฟอันนุ่มนวลสาดส่องไปยังกำแพงเมือง ทำให้ประวัติศาสตร์นับร้อยปีของกำแพงแห่งนี้ กลับมาสว่างขึ้นอีกครั้ง นักเรียนของโรงเรียนประถม เหิงชุนกำลังบอกเล่าเรื่องราวของเหิงชุนโดยใช้แสงไฟเป็นเครื่องมือช่วยแสงไฟอันนุ่มนวลสาดส่องไปยังกำแพงเมือง ทำให้ประวัติศาสตร์นับร้อยปีของกำแพงแห่งนี้ กลับมาสว่างขึ้นอีกครั้ง นักเรียนของโรงเรียนประถม เหิงชุนกำลังบอกเล่าเรื่องราวของเหิงชุนโดยใช้แสงไฟเป็นเครื่องมือช่วย

การจัดเวิร์คช็อปครั้งแรก คุณหลินต้าเหวยขอให้เหล่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเอาเงิน 100 เหรียญไต้หวันไปซื้ออะไรก็ได้จากร้านสะดวกซื้อ และนำมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมร่วมกับไฟฉาย เพื่อใช้ ìแสงî เป็นสื่อในการแนะนำตัวเอง ซึ่งในจำนวนนี้ การแนะนำตัวเองของวิศวกรคนหนึ่งทำให้คุณสวีรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก และในทุกวันนี้ก็ยังจดจำได้เป็นอย่างดี แทนที่จะซื้ออะไรที่เกี่ยวกับแสงและเงา แต่เขาคนนั้นกลับซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่มาขวดหนึ่ง ก่อนจะใช้แสงไฟส่องผ่านทะลุของเหลวที่อยู่ในขวด ซึ่งแม้เรามองจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นสีขุ่นๆ หากแต่เมื่อถูกแสงไฟส่องเข้าไปแล้ว เรากลับเห็นเป็นแสงสีเหลืองใส ก็เหมือนกับความรู้สึกในยามที่เรามองเขาผู้นี้ว่า เมื่อดูจากภายนอกจะมองไม่ออกเลยว่าเจ้าตัวเป็นคนที่มีจิตใจที่อบอุ่นและเป็นมิตรเป็นอย่างมาก

นอกจากจะมีการจัดกิจกรรม "นักสืบแห่งแสง" เป็นประจำทุกปีแล้ว ทางมูลนิธิยังได้จัดงานสัมมนา โดยเชิญนักออกแบบแสงที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ อย่าง อ.โจวเลี่ยน 
(周鍊) มาให้ความรู้เกี่ยวกับ "แสงในชีวิตประจำวัน" และเชิญ อ.เจี่ยงซวิน มาบรรยายเกี่ยวกับ "แสงในบทกวีราชวงศ์ถัง" พร้อมทั้งยังได้สร้างความร่วมมือแบบข้ามวงการกับคณะกลอง U-Theater ในการแสดงชุด "ฟังเสียงกลอง ฟังเสียงแห่งแสง" ด้วย

และเพื่อให้ผู้ชมได้เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อใช้ในการรับรู้แสง ทางมูลนิธิได้ร่วมกับคณะกลอง U-Theater ทำการติดตั้งคบเพลิงตลอดทางที่จะเข้าไปชมการแสดง เพื่อให้ผู้ชมมีโอกาสได้สัมผัสกับแสง ตั้งแต่เริ่มนั่งบนรถรับส่ง และหลังจบการแสดงแล้ว บนทางเดินมืดๆ ในขากลับที่ผู้ชมจะเดินกลับมายังลานจอดรถ จะยังมองเห็นแสงจันทร์ที่สาดส่องเป็นประกาย ความงดงามของภาพที่เห็นอยู่ตรงหน้านี้ ช่างเป็นที่ประทับใจจนยากจะลืมเลือนจริงๆ  

ศาลเจ้าแห่งแสง กับความรุ่งเรืองที่กลับมาอีกครั้ง

เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม ตั้งแต่ปีค.ศ.2012 เป็น
ต้นมา ทางมูลนิธิได้ผลักดันโครงการ "สัมผัสแสงแห่งนครา" ขึ้นที่นครไถหนาน เมืองผิงตง และเมืองเจียอี้ ซึ่งสามารถสร้างกระแสส่องสว่างอันน่าตื้นตันใจให้กับแต่ละท้องที่เป็นอย่างมาก

คุณเหยาเจิ้งจ้ง ประธานมูลนิธิ CCAF หวังว่าจะใช้แสงเป็นสื่อกลางในการชักนำให้ผู้คนรู้สึกซาบซึ้งต่อถิ่นกำเนิดของตัวเอง (ภาพ: จวงคุนหรู)คุณเหยาเจิ้งจ้ง ประธานมูลนิธิ CCAF หวังว่าจะใช้แสงเป็นสื่อกลางในการชักนำให้ผู้คนรู้สึกซาบซึ้งต่อถิ่นกำเนิดของตัวเอง (ภาพ: จวงคุนหรู)

ไอเดียในการทำ "สัมผัสแสงแห่งนครา" มาจากคุณเจี่ยงซวิน ประธานมูลนิธิ โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่คุณเจี่ยงซวินได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่นครเซี่ยงไฮ้ของจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อโดยสารรถออกจากสนามบินเซี่ยงไฮ้ค่อยๆ มุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมือง ภาพของป้ายโฆษณาที่ใช้หลอดไฟ LED หลากสีสันอันดึงดูดสายตาที่ติดอยู่ตลอดสองข้างทางและตามสะพานทางด่วนต่างๆ นั้น ทำให้คุณเจี่ยงซวินอดสะท้อนใจไม่ได้ว่า "จริงๆ แล้วเทคโนโลยีควรเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเรา แต่ทำไมกลับกลายมาเป็นมลภาวะทางสายตาแบบนี้ไปได้"

การทบทวนความคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของคุณเจี่ยงซวินจึงกลายมาเป็นจุดกำเนิดของโครงการแสงแห่งนคราขึ้น โดยจุดแรกที่ทางมูลนิธิเลือกคือ ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยว 
(風神廟) ศาลเจ้าเก่าที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งอยู่ในนครไถหนาน

จริงๆ แล้วในไต้หวันมีศาลเจ้าอยู่มากมาย เหตุใดจึงเลือกศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวแห่งนี้? คุณเหยาเจิ้งจ้งอธิบายว่า สาเหตุที่เลือกศาลเจ้าแห่งนี้ เป็นเพราะความบังเอิญที่ลงตัวอย่างพอเหมาะพอเจาะ เพราะเมื่อเทียบกับศาลเจ้าแห่งอื่นแล้ว ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวซึ่งตั้งมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ถือเป็นศาลเจ้าที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจแฝงอยู่ไม่น้อย

อีกทั้งยังเป็นศาลเจ้าเพียงแห่งเดียวในไต้หวันที่เซ่นไหว้เทพแห่งลม ซึ่งทำให้เราสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่เปี่ยมไปด้วยความหวังแห่งอนาคตของเหล่าบรรพบุรุษที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งรกรากยังต่างถิ่นต่างแดนบนเกาะไต้หวัน ìการต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อของเหล่าบรรพชนที่เดินทางมาจากต่างถิ่น ก็คือจิตวิญญาณของความเป็นคนไต้หวันมิใช่หรือî คุณเหยาเจิ้งจ้งยังกล่าวอีกว่า จากการที่ปัจจุบัน คนเราไม่จำเป็นต้องไปไหว้พระขอพร เพื่อให้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาได้อย่างปลอดภัยอีกต่อไป ทางมูลนิธิจึงตัดสินใจที่จะค้นหานิยามใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยนี้ให้กับศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวอันเก่าแก่ ìจนทุกวันนี้ ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวก็ยังคงเป็นเสมือนเทพผู้พิทักษ์ของเหล่านักเดินทางทั้งหลายî ดังนั้น การจะนำอัตลักษณ์ใหม่แห่งยุคสมัยใหม่มาสู่ศาลเจ้า จึงยังต้องขออนุญาตจากเทพแห่งลมด้วย ทีมงานจึงเดินทางมายังศาลเจ้าเพื่อเซ่นไหว้และทำพิธีเสี่ยงทาย ก่อนจะเสี่ยงทายออกมาเป็น "เซิ่งปวย" ซึ่งหมายถึงการได้รับไฟเขียวจากเทพเจ้า

ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวในไถหนาน สร้างขึ้นตั้งแต่ปีที่ 4 ในรัชสมัยเฉียนหลงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง ผ่านการตกแต่งด้วยแสง ทำให้มีบรรยากาศแห่ง ความขลังอันเงียบสงบศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวในไถหนาน สร้างขึ้นตั้งแต่ปีที่ 4 ในรัชสมัยเฉียนหลงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง ผ่านการตกแต่งด้วยแสง ทำให้มีบรรยากาศแห่ง ความขลังอันเงียบสงบ

จากนั้นทางมูลนิธิจึงได้ติดต่อให้ อ.โจวเลี่ยนมาช่วยทำการออกแบบ และหลังจากผ่านไปสองปี ในเดือนกันยายนของปี 2013 ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวก็ได้โอกาสอวดโฉมใหม่ต่อสาธารณชน

ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวที่ผ่านการตกแต่งใหม่นี้ ได้ถอดเอาไฟทางเดินที่ให้ความรู้สึกบาดตาออกไปทั้งหมด โดยจะติดตั้งหลอดไฟทั้งหมดไว้ที่ด้านล่างของกำแพง ส่วนหอระฆังและหอกลองก็ไม่มีการใช้ไฟสว่างๆ มาส่องเข้าไปตรงๆ ส่งผลให้มองดูแล้วจะเห็นเป็นโครงสร้างอันสูงใหญ่ที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบสลัวๆ ส่วนโคมไฟใหญ่สีแดงที่บริเวณทางเข้าก็ถูกแทนที่ด้วยโคมแขวนรูปสี่เหลี่ยม ส่งผลให้ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวในยามค่ำคืนอบอวลไปด้วยแสงไฟสีเหลืองนวล ทำให้เกิดเป็นความขลังอันเงียบสงบที่ปกคลุมไปทั่วศาลเจ้าเก่าแก่นับร้อยปีแห่งนี้ และส่งผลให้ผู้มาเยือนสัมผัสได้ถึงการได้รับการปกป้องและคุ้มครองจากเหล่าปวงเทพทั้งหลาย

สำหรับคณะทำงานแล้ว การตกแต่งรูปลักษณ์ใหม่ให้กับศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ด้วยจุดประสงค์ที่จะใช้แสงเป็นสื่อในการชักนำเพื่อดึงดูดสายตาของผู้คนให้เปลี่ยนกลับมาอยู่ที่วัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งค่อยๆ ถูกลืมเลือนไปแล้ว และขอเพียงได้กลับมามองเห็นมันอีกครั้ง ความรู้สึกภาคภูมิใจที่แอบแฝงอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจก็จะผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติอย่างไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบาย

แสงไฟอันนุ่มนวลสาดส่องไปยังกำแพงเมือง ทำให้ประวัติศาสตร์นับร้อยปีของกำแพงแห่งนี้ กลับมาสว่างขึ้นอีกครั้ง นักเรียนของโรงเรียนประถม เหิงชุนกำลังบอกเล่าเรื่องราวของเหิงชุนโดยใช้แสงไฟเป็นเครื่องมือช่วยแสงไฟอันนุ่มนวลสาดส่องไปยังกำแพงเมือง ทำให้ประวัติศาสตร์นับร้อยปีของกำแพงแห่งนี้ กลับมาสว่างขึ้นอีกครั้ง นักเรียนของโรงเรียนประถม เหิงชุนกำลังบอกเล่าเรื่องราวของเหิงชุนโดยใช้แสงไฟเป็นเครื่องมือช่วย

เราสามารถเห็นตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงในแบบนี้ได้อย่างชัดเจนจากคุณเซี่ยหมิงฟง (謝明峰) ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารของศาลเจ้าแห่งนี้ โดยครอบครัวตระกูลเซี่ยได้ดูแลศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว  คุณเซี่ยหมิง
ฟงจะต้องจุดธูปเซ่นไหว้และทำความสะอาดภายในศาลเจ้าเป็นประจำทุกวัน ด้วยความหวงแหนและจิตศรัทธาอันแรงกล้า  แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แม้ความรู้สึกภาคภูมิที่อยู่ภายในใจไม่เคยลดลง หากแต่การได้เห็นว่าลูกสาวของตัวเองไม่มีความสนใจที่จะช่วยดูแลรักษาศาลเจ้าเลย อีกทั้งคนรุ่นใหม่ก็ไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอีกต่อไป ทำให้จิตใจรู้สึกห่อเหี่ยวเป็นอย่างมาก

แต่หลังจากการแปลงโฉมศาลเจ้าเสียใหม่แล้ว ก็สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ไม่น้อย จนทำให้บรรยากาศในศาลเจ้ากลับมาคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยผู้คนอีกครั้ง เหมือนในสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อน บริเวณลานหน้าวัดกลายมาเป็นตลาดนัดอีกครั้ง ลูกสาวของตระกูลเซี่ยซึ่งก่อนหน้านี้สนใจแต่เหล่าดารา K-Pop และ J-Pop ก็เริ่มพาเพื่อนมาเที่ยวชมศาลเจ้าที่ทางบ้านเป็นผู้ดูแล พร้อมทั้งมีความเข้าใจถึงความภาคภูมิใจและความหวงแหนที่คนในครอบครัวถึง 3 รุ่น ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ศาลเจ้าแห่งนี้

และนี่ก็คือวัตถุประสงค์ของทางมูลนิธิ ซึ่งคุณเหยาเจิ้งจ้งเห็นว่า "ในท้ายที่สุดแล้ว แสงจะเป็นเพียงแค่สื่อที่ชักนำ เพื่อให้ผู้คนได้มองเห็นอดีตอันน่าหวงแหน ซึ่งค่อยๆ ถูกลืมเลือนไปในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสามารถค้นพบพลังแห่งชีวิตใหม่จากผืนแผ่นดิน"

มูลนิธิ CCAF จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปนักสืบแห่งแสง เพื่อให้คนรับรู้ถึงความคงอยู่ของแสงในชีวิตประจำวันมูลนิธิ CCAF จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปนักสืบแห่งแสง เพื่อให้คนรับรู้ถึงความคงอยู่ของแสงในชีวิตประจำวัน

ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวถือเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของโครงการแสงแห่งนครา และดึงความสนใจจากรัฐบาลท้องถิ่นได้หลายแห่ง ส่งผลให้คณะทำงานมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่คุณสวีฟางหยุนเปิดเผยว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการของศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวนั้น คณะทำงานของมูลนิธิซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นได้ไม่นานนี้ ไม่มีประสบการณ์ด้านการตลาดเลย จนทำให้ตั้งชื่อโครงการได้ไม่น่าสนใจเลยว่า ìโครงการสาธิตแสงในสภาพแวดล้อมî ซึ่งในทันทีที่ตั้งชื่อนี้ ก็ถูกคัดค้านจาก อ.หลินไฮว๋
หมิน ซึ่งเป็นกรรมการบริหารของมูลนิธิว่า  "คนที่ไม่รู้เรื่อง พอฟังชื่อแล้ว จะนึกว่าเป็นชื่อโครงการรัฐบาลที่จะทำการเปิดประมูล" ก่อนที่สุดท้ายแล้ว อ.หลินจะได้รับแรงบันดาลใจจาก ìโบสถ์แห่งแสงî ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมชื่อดังที่เป็นฝีมือการออกแบบโดย อ. อันโดะ ทาดาโอะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นชื่อโครงการของศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวว่า ìศาลเจ้าแห่งแสงî

เมื่อความงดงามถูกปลุกให้ตื่น ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ผู้คนมีต่อผืนแผ่นดินจะกลับมา

เพยี งแคใ่ ชห้ ลอดไฟไมก่ ดี่ วงกส็ ามารถสรา้ งความเปลยี่ นแปลงให้ กับบรรยากาศยามราตรีของหมู่บ้านศิลปะเป่าจั้งเหยียนได้แล้วเพยี งแคใ่ ชห้ ลอดไฟไมก่ ดี่ วงกส็ ามารถสรา้ งความเปลยี่ นแปลงให้ กับบรรยากาศยามราตรีของหมู่บ้านศิลปะเป่าจั้งเหยียนได้แล้ว

ศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวที่มีอายุนับร้อยปีถูกจุดประกายให้เกิดใหม่อีกครั้ง มูลนิธิ CCAF จึงตัดสินใจที่จะปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งแสงในเมืองโบราณเหิงชุนที่อยู่ทางใต้สุดของไต้หวัน

เมื่อเทียบกับศาลเจ้าฟงเสินเมี่ยวแล้ว โครงการตกแต่งกำแพงเมืองโบราณเหิงชุน (恆春古城) ด้วยแสง ถือว่ามีความท้าทายสูงกว่ามาก กำแพงเมืองโบราณของเหิงชุนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 130 ปีแห่งนี้  ในอดีตถูกใช้สำหรับป้องกันการรุกรานจากศัตรูและปกป้องประชาชน หากแต่ในปัจจุบันไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ในด้านนี้อีกต่อไป กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของชาวเมืองเหิงชุน ลานกว้างด้านหน้าประตูตะวันตกกลายมาเป็นแหล่งชุมนุมสำหรับกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งคุณเหยาเจิ้งจ้งเห็นว่า "กำแพงเมืองเหิงชุน ไม่ได้เป็นเพียงแค่กำแพงเมืองอีกต่อไป เพราะมีผู้คนมาประกอบกิจกรรมอย่างพลุกพล่านอยู่ที่นี่ จึงทำให้มีความหมายในตัวของมันเอง"

ดังนั้น โครงการติดแสงให้เหิงชุนจึงมีความเกี่ยวพันกับผู้คนในวงกว้างและหลากหลายระดับมาก คุณเหยาเจิ้งจ้งเล่าว่า "ตอนเปิดประชุม ต้องเปลี่ยนจากโต๊ะตัวเดียวไปใช้ห้องประชุมใหญ่จึงสามารถบรรจุผู้คนได้หมด" ยังดีที่คณะทำงานซึ่งชื่นชอบการทำงานที่ท้าทายกลุ่มนี้มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี

มูลนิธิ CCAF ได้ดำเนิน โครงการ “แสงแห่งนครา” โดยปลกู เมลด็ พนั ธแุ์ หง่ แสงไวท้ ี่ ไถหนานและเหิงชุนมูลนิธิ CCAF ได้ดำเนิน โครงการ “แสงแห่งนครา” โดยปลกู เมลด็ พนั ธแุ์ หง่ แสงไวท้ ี่ ไถหนานและเหิงชุน

ในการทำงานเพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับวันเวลาและวัฒนธรรมที่ถูกลืมเลือนไปแล้ว คณะทำงานของมูลนิธิยึดมั่นไว้ในใจอยู่เสมอว่าจะไม่ดำเนินโครงการที่เป็นแบบชั่วแวบเดียว เหมือนการยิงพลุและดอกไม้ไฟที่สว่างไสวและสวยงามเพียงแวบเดียว ซึ่งคุณสวีฟางหยุนเห็นว่า "กิจกรรมที่สร้างความคึกคักเพียงครั้งคราว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว"

ในช่วงแรกของการผลักดันโครงการ มีผู้เสนอแนะว่า "ทำไมไม่ติดตั้งงานศิลปะสาธารณะไว้ที่ลานกว้างด้านหน้า? แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว" และยังมีคนถามอีกว่า "ทำไมไม่มีการจัดการแสดงโชว์แสงสีเสียงอันตระการตา?" จนทำให้โครงการตกแต่งกำแพงเมืองด้วยแสงนี้ถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีงบประมาณไม่เพียงพอหรือเปล่า

หลังจากผ่านไป 3 ปี โครงการแสงแห่งเหิงชุน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปีค.ศ.2013 ก็แล้วเสร็จ และปัจจุบันนี้ดำเนินโครงการมาเป็นปีที่ 3 แล้ว คืนวันที่ผันผ่านทำให้สีสันของกำแพงเมืองเหิงชุนจืดจางไปตามวันเวลา หากแต่ในทุกวันนี้ กลับกลายมาเป็นความภาคภูมิใจของผู้คนในพื้นที่ ในยามที่มีโอกาสได้แนะนำให้คนนอกได้รู้จัก ซึ่งคุณเหยาเจิ้งจ้งทิ้งท้ายว่า "ในวินาทีที่ความงดงามถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา ความรู้สึกขอบคุณ เชื่อมั่น และภาคภูมิใจที่ผู้คนมีต่อผืนแผ่นดิน ก็จะกลับมาอยู่ในใจของพวกเราทุกคน"