ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ เหยียนหรงจง ศิลปินนักล่าฝัน
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-11-19

นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ เหยียนหรงจง ศิลปินนักล่าฝัน

 

มีคำกล่าวที่ว่า แม้สวรรค์จะปิดประตู แต่ก็จะเปิดหน้าต่างเอาไว้ให้ ชีวิตคนเรามีขึ้นมีลง ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับเราจะเผชิญหน้ารับมือกับมันอย่างไร

คุณเหยียนหรงจง (嚴榮宗) ป่วยเป็นโรคโปลิโอมาตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้สมองใหญ่ สมองส่วนท้าย (เซรีเบลลัม) และกล้ามเนื้ออ่อนแรง อีกทั้งยังต้องทุกข์ทรมานด้วยโรคกระดูกพรุนอย่างรุนแรง เมื่อเขามีอายุ 19 ปี ได้เรียนพื้นฐานการวาดภาพสีน้ำมันเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมา 30 ปีให้หลัง เขาคิดค้นเทคนิคการวาดภาพที่เรียกว่า ìเทคนิคไล่แสงî ซึ่งเขาศึกษาการวาดแสงและสีในภาพอย่างละเอียด จนได้รับเลือกให้โชว์ผลงานภาพวาดในงานจัดแสดงผลงานศิลปะนานาชาติประจำปีของแคนาดา (Annual International Representational Show : AIRS) ติดต่อกันถึง 3 ปี  เมื่อปี 2016 เขายังได้รับตำแหน่งสมาชิกอาวุโสกิตติมศักดิ์ (Senior Signature Member) ของสหพันธ์ศิลปินแคนาดา (Federation of Canadian Artists : FCA) ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุดเทียบเท่ากับการเป็นสุดยอดจิตรกรร่วมสมัยแห่งยุคเลยทีเดียว

 

เหยียนหรงจงทุกข์ทรมานจาก อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยาม วาดภาพต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ประคองแขนลดการออกแรง กล้ามเนื้อ แต่เขาก็ยังยืนหยัด ที่จะวาดภาพต่อไปด้วยจิต วิญญาณอันลุกโชน (ภาพ: หลินหมินเซวียน)เหยียนหรงจงทุกข์ทรมานจาก อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยาม วาดภาพต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ประคองแขนลดการออกแรง กล้ามเนื้อ แต่เขาก็ยังยืนหยัด ที่จะวาดภาพต่อไปด้วยจิต วิญญาณอันลุกโชน (ภาพ: หลินหมินเซวียน)

เหยียนหรงจงเกิดเมื่อปีค.ศ.1959 ที่เถาหยวน (桃園) ในครอบครัวช่างทำกุญแจ เขาป่วยเป็นโรคโปลิโอเมื่ออายุ 1 ขวบ ในสมัยนั้นไต้หวันยังไม่มีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่ายุคปัจจุบัน พ่อแม่พาเหยียนหรงจงไปรักษาตามสถานที่ต่างๆ ทุกหนทุกแห่ง พยายามหาทางรักษาทุกวิธี ยอมจ่ายเงินไปมากมาย แต่อาการป่วยของเขากลับไม่ดีขึ้นเลย ทำให้ต้องทุกข์ทรมานจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องจากโรคโปลิโอไปตลอดชีวิต 

เจ้าพ่อนักทำกุญแจ แกะสลักราคาหลักหมื่น

กล้ามเนื้อขาของเหยียนหรงจงค่อยๆ อ่อนแรงลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถเดินเหินได้อย่างปกติ ตั้งแต่เด็กมักถูกเพื่อนที่โรงเรียนล้ออยู่เป็นประจำ แต่เขาไม่เคยยอมแพ้ ทั้งขยันตั้งใจเรียนและพยายามพิสูจน์ว่าถึงตนเองจะเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก แต่ก็สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติทั่วไป

เหยียนหรงจงเรียนหนังสือเก่งได้เกรดเฉลี่ยดี แต่เพื่อที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมต้น เขาจึงตัดสินใจไม่เรียนต่อ แต่ละวันเขาต้องลากขาทั้งสองที่ไร้เรี่ยวแรง พยายามขี่จักรยานเก่าๆ ผุๆ จากเถาหยวนไปอิงเกอ (鶯歌) ซันเสีย (三峽) และที่อื่นๆ เพื่อไปตั้งแผงลอยรับทำกุญแจ ซึ่งกุญแจแต่ละดอกเป็นงานฝีมือที่สร้างพื้นฐานทักษะการแกะสลักให้แก่เขา

“เจ้าชายกบ”“เจ้าชายกบ”

ธุรกิจร้านกุญแจแผงลอยเล็กๆ ของเขาค่อยๆ อยู่ตัว ต่อมา พ่อของเหยียนหรงจงจึงไปเช่าสถานที่ทำร้านชั่วคราวให้เขาตรงหัวมุมถนน พื้นที่ขนาดครึ่งผิง (1 ผิง = 3.33 ตร.ม.) บริเวณหน้าร้านขายเครื่องเขียนที่ซู่หลิน (樹林) เวลาทำกุญแจ 
เหยียนหรงจงจะสอบถามลูกค้าถึงความเคยชินในการใช้กุญแจและสังเกตจากความสึกหรอของกุญแจ เพื่อทำกุญแจดอกใหม่ที่เหมาะสมแก่การใช้งานของลูกค้า เมื่อกุญแจที่เขาทำออกมาใช้งานได้ดียิ่งกว่ากุญแจดอกเดิม ทำให้เขามั่นใจที่จะอวดกับลูกค้าว่า ถ้ากุญแจที่เขาทำนั้นใช้เปิดไม่ได้ ให้เอายาฆ่าแมลงมาให้เขากินได้เลย ทักษะในการทำกุญแจของเหยียนหรงจง ทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็น ìเจ้าพ่อกุญแจหมื่นดอกî ดึงดูดให้ผู้คนจำนวนมากมาฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอร่ำเรียนวิชา ซึ่งในทุกวันนี้มีลูกศิษย์ที่สืบทอดเทคนิคการทำกุญแจจากปรมาจารย์เหยียนจงหรงกระจายอยู่ทั่วไต้หวันเลยทีเดียว

ช่วงกลางวันเหยียนหรงจงศึกษาทักษะการทำกุญแจ พอตกกลางคืนเขาก็ฝึกฝนทักษะการแกะสลักตัวอักษรจีนในรูปแบบตัวอักษรต่างๆ ซึ่งก่อนที่เขาจะพัฒนาการแกะสลักขึ้นมาจนกลายเป็นงานศิลปะ เมื่อเหยียนหรงจงอายุ 19 ปี เขาได้เรียนการวาดภาพสีน้ำมันกับจิตรกรหลิ่วชิงซง (柳青松) โดยมีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะการวาดภาพสีน้ำมันขั้นพื้นฐาน และเขาได้นำสิ่งที่เรียนมาผสมผสานเข้ากับการแกะสลักตราประทับชื่อ ด้วยวิธีของตนเอง

“มีปลาทุกปี หรือเหลือกินเหลือใช้ทุกปี”“มีปลาทุกปี หรือเหลือกินเหลือใช้ทุกปี”

ตราประทับชื่อรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเพียงไม่กี่เซนติเมตร เหยียนหรงจงสามารถแกะสลักรูปมังกร หงส์ ต้นสน ต้นไผ่ นกกระเรียน และรูปภาพต่างๆ ตามศิลปะแบบตะวันออก ประดับคู่กับการแกะสลักตัวอักษรจีน เมื่อตราประทับชื่อเล็กๆ นี้ประทับด้วยหมึกสีแดงลงไป ทำให้ดูราวกับภาพวาด นอกจากนี้ เขายังท้าทายความสามารถของตนด้วยการนำบทกวีที่ชื่อว่า "กวีไร้หัวข้อ" (無題詩) ของหลี่ซางอิ่น (李商隱) กวีสมัยราชวงศ์ถัง จำนวน 56 ตัวอักษร มาแกะสลักลงบนตราประทับชื่อที่มีขนาดเล็กเพียง 1 ตร.ซม. ทำให้ผู้คนต่างทึ่งในฝีมือแกะสลักอันวิจิตรบรรจงของเขา

ฝีมือการแกะสลักที่มีคุณภาพดีและละเอียดประณีตได้สร้างชื่อเสียงให้แก่เหยียนหรงจง และด้วยเหตุที่ว่างานฝีมือแกะสลักตราประทับชื่อนั้น ต้องใช้เวลาและลงแรงค่อนข้างมาก แต่ปริมาณผลงานที่ออกมามีจำนวนจำกัด ทำให้ในตอนนั้น ผู้ที่อยากให้เหยียนหรงจงทำตราประทับชื่อให้จำเป็นต้องรอนานหลายเดือน อีกทั้งค่าจ้างแกะสลักตัวอักษรเพียงหนึ่งตัวก็สูงถึง 10,000 เหรียญไต้หวันเลยทีเดียว ทำให้บรรดานักสะสมต่างก็พากันพูดอย่างติดตลกว่า "อักษรตัวละเป็นหมื่น ขนาดจ่ายเป็นหมื่นยังขอยากเลย!"

ผลงานแกะสลักของเหยียนหรงจงเปรียบเสมือนผลงานศิลปะ ตรา ประทับชื่ออันเล็กๆ ปรากฏให้เห็นมนต์เสน่ห์ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมา อย่างไร้ขีดจำกัด (ภาพ: หลินหมินเซวียน)ผลงานแกะสลักของเหยียนหรงจงเปรียบเสมือนผลงานศิลปะ ตรา ประทับชื่ออันเล็กๆ ปรากฏให้เห็นมนต์เสน่ห์ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมา อย่างไร้ขีดจำกัด (ภาพ: หลินหมินเซวียน)

ก่ออิฐ ปูกระเบื้อง สร้างคฤหาสน์แห่งรักด้วยตัวเอง

จากประสบการณ์การเรียนวาดภาพตอนอายุ 19 ปี ในปีนั้น ไม่เพียงแต่เติมเต็มความรู้เรื่องการแกะสลักตราประทับให้เหยียนหรงจง ยังทำให้เขาได้รู้จักกับคุณซูตัน (書丹) คู่ครองในชีวิตเขาอีกด้วย ถึงเหยียนหรงจงจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก แต่โชคดีที่การใช้ชีวิตประจำวันของเขามีภรรยาคอยดูแล จึงทำให้เขาสามารถทุ่มเทในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแกะสลักตราประทับชื่อได้ ชื่อเสียงที่โด่งดังขจรกระจายไปไกลทำให้มีออร์เดอร์เข้ามาจำนวนมาก กินเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเหยียนหรงจง การใช้กล้ามเนื้อที่หนักหน่วงเกินไป ยิ่งทำให้อาการของเหยียนหรงจงย่ำแย่ลง จนเขามาตระหนักได้ว่าถึงจะร่ำรวยมีเงินทองแต่สุขภาพย่ำแย่ก็ไม่มีประโยชน์ เขาจึงตัดสินใจปลดเกษียณตัวเองและย้ายไปตั้งรกรากที่ประเทศแคนาดา

เพื่อเป็นการขอบคุณภรรยาที่คอยอยู่เคียงข้าง เหยียนหรงจง
จึงหาที่แถวชานเมืองในแวนคูเวอร์ แล้วสร้างคฤหาสน์ขึ้นมาด้วยตนเองเพื่อมอบเป็นของขวัญให้ภรรยา ตั้งแต่การจัดทำเลบ้าน ไปจนถึงการวางโครงสร้างและการเทคอนกรีต เขาเป็นคนจัดการเองทั้งหมด แม้เขาไม่มีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมมาก่อน แต่ก็ตั้งใจศึกษากฎหมายอาคารของแคนาดา อ่านหนังสือและดูวิดีโอทุกรูปแบบมาใช้ในการร่างแบบแปลนบ้านและซื้อหาวัสดุ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทั้งมวล

ตั้งแต่เริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างในปี 2002 เหยียนหรงจงผู้ทุกข์ทรมานจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและกระดูกพรุน ถึงแม้ว่าเคยกระดูกหักมาหลายครั้ง แต่เขาก็ยังใช้ไม้เท้าพยุงและทำงานก่อสร้างต่อไป ยืนกรานที่จะลงมือก่ออิฐ ปูกระเบื้องด้วยตัวเอง ไม่เพียงแต่ก่อกำแพงบ้าน เหยียนหรงจงยังตกแต่งภายในด้วยตัวเองคนเดียวทั้งหมด เขาไปเรียนวาดภาพสีน้ำมันกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยวาดลวดลายหินอ่อนลงบนเสา ออกแบบภายในด้วยสไตล์ยุโรป ด้วยฝีมือของเขา ทำให้บ้านหลังนี้ดูราวกับผลงานศิลปะชิ้นใหญ่ ศิลปะการก่อสร้างของเขาทำให้ผู้ตรวจสอบบ้านที่มาตรวจงานถึงกับชมเชยในคุณภาพการก่อสร้างของเขาว่า ทำได้ดีกว่าผู้รับเหมาท้องถิ่นเสียอีก

“ท่วงทำนองยามอาทิตย์อัสดง” ภาพวาดของเหยียนหรงจงดูมีมิติเป็นอย่างมาก ราวกับสามารถเดินเข้าไปในภาพและสูด อากาศจนได้กลิ่นของธรรมชาติ“ท่วงทำนองยามอาทิตย์อัสดง” ภาพวาดของเหยียนหรงจงดูมีมิติเป็นอย่างมาก ราวกับสามารถเดินเข้าไปในภาพและสูด อากาศจนได้กลิ่นของธรรมชาติ

จนกระทั่งในปี 2007 รวมระยะเวลา 5 ปี คฤหาสน์อันแสนงดงามก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยตั้งชื่อว่า "หยาดน้ำค้างของซูตัน" (書丹白露) ตามชื่อภรรยาของเขา

นักล่าฝัน ผู้ไม่เคยยอมแพ้

ความทรงจำสมัยที่เหยียนจงหรงเป็นวัยรุ่น ช่วงเรียนแกะสลักและหัดวาดภาพระยะเวลาสั้นๆ ในตอนนั้นผุดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อเขาไปชมงานนิทรรศการภาพวาดสีน้ำมันในปี 2008 เขาได้จับแปรงทาสีอีกครั้งหลังผ่านไป 30 ปี เหยียน
หรงจงผู้ไม่เคยได้รับการฝึกฝนวาดภาพตามแบบแผนที่ถูกต้อง เขาต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานตั้งแต่ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศึกษาองค์ประกอบทางสายตา สี แสง ฯลฯ เปรียบเปรยว่าตนเองต้องฝึกวิทยายุทธตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสังเกตรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา

ผลงานชิ้นแรกของเหยียนหรงจงมีชื่อว่า "อาทิตย์อัสดงบนอ่าวซูตัน" (書丹灣的夕陽) ผลงานชิ้นนี้เป็นที่ยอมรับจากจิตรกรคนอื่นๆ จนได้รับเลือกให้เป็นผลงานสำหรับการจัดแสดงชิ้นหลัก ผ่านการลงคะแนนโหวตของจำนวนจิตรกรกว่า 90 คน ในนิทรรศการภาพวาดประจำปีของสโมสรศิลปะการีบาลดี (Garibaldi Art Club) ของแคนาดา โดยภาพวาดของเหยียนหรงจงถูกนำไปจัดทำเป็นโปสเตอร์โปรโมทงานนิทรรศการ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเขาอันเป็นที่ประจักษ์

เมื่อมองเข้าไปในภาพจะเห็นแสงอาทิตย์ยามอัสดงทอประกายระยิบระยับ ผู้ชมที่ยืนชมอยู่เบื้องหน้าของภาพจะรู้สึกราวกับได้รับความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์ที่สาดส่อง อ่าวซูตันในภาพวาด จริงๆ แล้วอยู่ที่ใด? เหยียนหรงจงตอบพลางหัวเราะอย่างทะเล้นว่า อ่าวซูตันอยู่ในสมองของเขา ก็คือสถานที่ที่ในหัวใจของเขาอยากจะจูงมือภรรยาเดินเล่นไปด้วยกัน ที่แท้
เหยียนหรงจงใช้จินตนาการอันแสนโรแมนติกของตนใส่ลงไปในภาพวาดนี่เอง ถ่ายทอดให้เห็นความงดงามราวกับอยู่บนสวรรค์

เจ้าพ่อนักทำกุญแจ แกะสลักราคาหลักหมื่น

เหยียนหรงจงตั้งใจแสวงหาการเรียนรู้ที่จะทำให้ผลงานเกิดความโดดเด่น เขาตั้งใจศึกษาเรื่องแสงและเงาในภาพวาดอย่างต่อเนื่อง มีอยู่ครั้งหนึ่งในนิทรรศการภาพวาด ผลงานของ
เหยียนหรงจงถูกจัดวางในมุมมืด ภาพวาดซึ่งฉากหลังมีสีเข้มและขาดแสงสว่างส่องถึง ทำให้ภาพดูหมองลงเป็นอย่างมาก มองไม่เห็นมิติและรายละเอียดความสว่างในภาพ เขาเข้าใจว่าทุกคนมักนิยมใช้แสงจากหลอดไฟมาช่วยเพิ่มเอฟเฟกต์ของภาพ แต่เขาไม่อยากให้ผลงานของตัวเองต้องได้รับอิทธิพลจากแสงของหลอดไฟ สถานที่ หรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สีเดิมในภาพวาดเพี้ยนไป ดังนั้น เขาจึงคิดค้นเทคนิคการไล่แสง ทฤษฎีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และฉลาดในการเลือกใช้โทนสีทั้งร้อนและเย็นมาผสมผสานกัน ทำให้ไม่ว่าภาพวาดของเขาจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด ก็เสมือนมีการจัดแสงด้วยหลอดไฟภายในภาพเองโดยอัตโนมัติ

ก่ออิฐ ปูกระเบื้อง สร้างคฤหาสน์แห่งรักด้วยตัวเอง

เมื่อยืนอยู่เบื้องหน้าภาพของเหยียนหรงจง สายตาของผู้ชมจะถูกสะกดและรู้สึกทึ่งต่อความงดงามในผลงานของเขา ผลงานภาพนิ่งของเหยียนหรงจงราวกับสามารถยื่นมือไปจับต้องได้จริงๆ ดูแล้วเหมือนของจริงมาก ยกตัวอย่างเช่นผลงานที่มีชื่อว่า "น้ำผลไม้ป่า" (叢林果汁) ซึ่งได้รับรางวัลที่ 2 จากนิทรรศการภาพนิ่งระดับประเทศของแคนาดา ประจำปี 2013 องุ่นในภาพมีความวาวสะท้อนออกมา เมลอนสีเหลืองอมส้มแลดูหวานฉ่ำ ทำให้ผู้คนเห็นแล้วอยากจะลองชิมสักคำ

ด้วยฝีมือการวาดภาพอันเก่งฉกาจของเขา ทำให้ผลงานของเหยียนหรงจงได้รับเลือกให้โชว์ในงานจัดแสดงผลงานศิลปะนานาชาติประจำปีของสหพันธ์ศิลปินแคนาดา (FCA) ติดต่อกันถึง 3 ปี สร้างชื่อเสียงโด่งดังในวงการศิลปะของแคนาดา และในปี 2016 เขายังได้รับตำแหน่งสมาชิกอาวุโสกิตติมศักดิ์ของสหพันธ์ศิลปินแคนาดา นับเป็นจิตรกรของไต้หวันคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้

ระหว่างการก่อสร้างคฤหาสน์หยาดน้ำค้างของซูตัน เขาต้องตื่นตั้งแต่ตีสามมาวาดภาพจนถึงดึกดื่น การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทุกวันนี้เวลาที่เขาวาดภาพจะต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วยประคองแขนซึ่งสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อให้แขนของเขายกลอยขึ้นจึงจะสามารถวาดภาพได้

กระนั้นก็ตาม เหยียนหรงจงยังคงตั้งความหวังว่า ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในชีวิต แต่เขาจะวิ่งแข่งกับเวลา เพื่อวาดภาพความงดงามที่ปรากฏอยู่ในจิตใจ ในพจนานุกรมชีวิตของเหยียนหรงจงไม่เคยมีคำว่า "เป็นไปไม่ได้" เขาจะยังคงยืนหยัดในการไล่ตามความฝัน เพื่อแสวงหาแสงสว่างในชีวิตของตนเองต่อไป