ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ขยายโอกาสธุรกิจใหม่ ในอาเซียน นักธุรกิจไต้หวันเกาะติดขบวนรถไทยแลนด์ 4.0
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-11-26

ขยายโอกาสธุรกิจใหม่ ในอาเซียน นักธุรกิจไต้หวันเกาะติดขบวนรถไทยแลนด์ 4.0

 

ประเทศไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2017 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ตั้งเป้าพัฒนา 5+5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จะสร้างเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) ดำเนินมาตรการดึงดูดการลงทุนโดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ ผลักดันการยกระดับอุตสาหกรรมในไทยเต็มกำลัง

 

คังซู่เต๋อ (Mr. Stanley Kang) ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ในประเทศไทย (JFCCT) บอกว่านักธุรกิจไต้หวันรุ่นใหม่ต้องใช้ Data Technology เพิ่มพลังสร้างสรรค์ธุรกิจคังซู่เต๋อ (Mr. Stanley Kang) ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ในประเทศไทย (JFCCT) บอกว่านักธุรกิจไต้หวันรุ่นใหม่ต้องใช้ Data Technology เพิ่มพลังสร้างสรรค์ธุรกิจ

การเข้าไปประกอบธุรกิจในไทยของชาวไต้หวัน ย้อนประวัติศาสตร์ได้ถึงยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน จนถึงปีค.ศ.1990 ยุคที่เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตนักธุรกิจไต้หวันทะลักเข้าไปลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก ปัจจุบันชาวไต้หวันอาศัยอยู่ในไทยประมาณ 150,000 คน นับเป็นนักลงทุนใหญ่อันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่รับจ้างผลิตสินค้าต่าง ๆ

อุตสาหกรรมดั้งเดิมเร่งยกระดับการผลิต

บริษัท ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด (Thai First Enamel Co., Ltd.) จัดตั้งในไต้หวันเมื่อปีค.ศ.1972 ย้ายฐานการผลิตเข้าไปประเทศไทยในปี 1988 ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของนักธุรกิจไต้หวันที่ประสบความสำเร็จ

นายหลิวซู่เทียน ประธานบริษัท ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด เล่าว่า ในตอนนั้นนำเงินประมาณ 100 ล้านบาทไปลงทุนในไทย ในช่วงแรกมีอุปสรรคด้านภาษา การบริหารงานไม่ราบรื่น สินค้าที่ผลิตมีของเสียจำนวนมาก ผลประกอบการตกต่ำสุดขีด จนกระทั่งเกิดความคิดไปชูป้ายที่สนามบินรับสมัครคนงานไทยที่เดินทางกลับจากไต้หวันให้มาทำงานที่โรงงาน ได้พนักงานที่เหมาะสมเข้าทำงาน กิจการจึงเข้ารูปเข้ารอย

อุตสาหกรรมดั้งเดิมเร่งยกระดับการผลิต

ปัจจุบัน ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด ผลิตกาน้ำชา หม้อต่าง ๆ
ใช้เทคนิคการผลิตแบบไร้รอยต่อ เป็นเครื่องเคลือบที่ขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียวกัน แบรนด์เครื่องครัวชื่อดัง Le Creuset ได้ว่าจ้างไทยเฟิร์สเป็นผู้ผลิตสินค้าด้วย คุณหลิวบอกว่า ในอดีตเขาเห็นว่าต้นทุนที่ดินและค่าแรงต่ำ บวกกับเงื่อนไขทางการค้าที่ดี จึงได้ย้ายฐานผลิตไปประเทศไทย แต่ค่าแรงปัจจุบันเทียบกับตอนเริ่มแรกเพิ่มขึ้น 5 เท่าแล้ว และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มกำไรเป็นหลักการที่ใช้ไม่ได้แล้ว

คุณหลิวบุกเบิกธุรกิจในไทยด้วยความยากลำบากมากว่า 40 ปี ขณะนี้ได้มอบกิจการให้ทายาทรุ่นที่ 2 ไปบริหารงานแล้ว เขาบอกว่าเงื่อนไขทางตลาดเปลี่ยนไป ดังนั้น ไทยเฟิร์สจึงกระตือรือร้นในการร่วมมือกับ Industrial Technology Research Institute และ China Productivity Center หน่วยงานส่งเสริมการวิจัยพัฒนาของไต้หวัน ร่วมมือกันเพื่อนำเครื่องจักรอัจฉริยะมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า ในขณะเดียวกัน เริ่มสร้างแบรนด์ของตนเอง พัฒนาสินค้าเครื่องเคลือบอีนาเมล อาทิ วัสดุก่อสร้าง เครื่องตกแต่งบ้านและของขวัญ ฯลฯ

วิกฤตและโอกาสในยุคดิจิทัล

กรณีบริษัท ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด ถือเป็นเงาสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกเวลา นำมาซึ่งความก้าวหน้าและรูปโฉมการดำรงชีวิตแบบใหม่ ตลาดทั่วโลกกำลังปรับตัว นักธุรกิจไต้หวันในประเทศไทย นายคังซู่เต๋อ (Mr. Stanley Kang) ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) บอกว่า การปฏิวัติทางด้านคมนาคม เช่น ความแพร่หลายของรถไฟฟ้าความเร็วสูงทำให้การขนส่งของสินค้าเร็วขึ้น และกระตุ้นการไหลเวียนของคนและเงินทุนด้วย คนจะมุ่งไปสู่พื้นที่เงินเดือนสูง ผู้ประกอบการจึงหมดโอกาสใช้แรงงานค่าแรงต่ำ และเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน การพัฒนาการผลิตอัจฉริยะจึงชักช้าไม่ได้ ในยุคที่มีการพัฒนา IT และเทคโนโลยีข้อมูล (Data Technology ñ DT) จะต้องรู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี จึงจะยืนหยัดได้ในตลาดการค้า

หลิวซู่เทียน (劉樹添) ประธานบริษัท ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีของตนเองจนแบรนด์ดังต่างชาติสนใจหลิวซู่เทียน (劉樹添) ประธานบริษัท ไทยเฟิร์ส เอ็นนาเมล จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีของตนเองจนแบรนด์ดังต่างชาติสนใจ

ตลาดระหว่างประเทศกำลังเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน คุณคังพูดให้เห็นภาพชัดเจนว่า "การเปิดเสรีทางการค้าบนหลักเกณฑ์ความเสมอภาค ทำให้กลายเป็นตลาดเดียว การต่อสู้ยิ่งรุนแรงมากขึ้น รูปแบบการค้าของทุกคนกำลังเปลี่ยนไป" ในภาวะเช่นนี้ จะต้องประกอบธุรกิจโดยมองภาพรวมตลาดโลก และต้องรับมือกับยุค DT (Data Technology) กิจการขนาดใหญ่ต่างทุ่มการวิจัยพัฒนา กิจการขนาดกลางและย่อมแบบนักธุรกิจไต้หวันจะต้องเร่งมือเช่นกันโดยไม่มีข้อยกเว้น

"ไทยแลนด์ 4.0" เชื่อมโยง "แผนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ 5 + 2"

ประเทศไทยผลักดันโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจ "ไทยแลนด์ 4.0"  เปรียบเสมือนขบวนรถด่วนที่นำพาการพัฒนามุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จะเกาะติดรถด่วนขบวนนี้ได้อย่างไร สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดหรือล้มเหลวในอนาคต

"ไทยแลนด์ 4.0" แตกต่างกับอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่จะเร่งนำพาประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ต่ำ  นอกจากอาศัยนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังได้กำหนดแผนทบทวนพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวม ได้แก่ การเกษตร ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว ฯลฯ อีกด้วย

ถงเจิ้นหยวน (童振源) ผู้แทนไต้หวัน ประจำสำนักงานเศรษฐกิจ วัฒนธรรมไทเปในประเทศไทย ส่งเสริมความร่วมมือไทย-ไต้หวันช่วย เหลือนักธุรกิจไต้หวันยกระดับการผลิตถงเจิ้นหยวน (童振源) ผู้แทนไต้หวัน ประจำสำนักงานเศรษฐกิจ วัฒนธรรมไทเปในประเทศไทย ส่งเสริมความร่วมมือไทย-ไต้หวันช่วย เหลือนักธุรกิจไต้หวันยกระดับการผลิต

กลยุทธ์การพัฒนาแบบนี้สอดคล้องกับ "แผนปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 5+2" (5+2 Industrial Transformation Plan) และนโยบาย ìมุ่งใต้ใหม่î ของไต้หวันโดยบังเอิญ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือและโอกาสการค้าระหว่างสองฝ่าย 

การแสวงหาจุดร่วม "ไทยแลนด์ 4.0" กับ "แผนปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 5+2"  เป็นทิศทางกลยุทธ์สำคัญของความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าไทยไต้หวันในอนาคต ดร.ถงเจิ้นหยวน (童振源) ผู้อำนวยการใหญ่  สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำประเทศไทย กล่าวว่าภายใต้แนวความคิดเช่นนี้ เมื่อเดือนมิถุนายนปีค.ศ. 2017  สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวันได้จัดทำบันทึกความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของไทย อีกทั้งสถาบันสารสนเทศของไต้หวันได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน ไปประจำในไทยเพื่อความร่วมมือเทคโนโลยีระหว่างกัน

นักธุรกิจไต้หวันที่ต้องการยกระดับการผลิต โดยสมาคมการค้าไทย-ไต้หวัน (TTBA) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเศรษฐกิจวัฒนธรรมไทเปในประเทศไทย ได้จัดตั้ง ìศูนย์เทคโนโลยีระดับสูงไทย-ไต้หวันî เมื่อเดือนกันยายนปี 2017 ว่าจ้างนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ 210 คน ทำหน้าที่วิจัยภาวะเศรษฐกิจการเมือง การผลิตอัจฉริยะ เทคโนโลยีข้อมูล ฯลฯ มีการจัดประชุมสัมมนา และยังเป็นผู้เชื่อมโยงภาคธุรกิจ รัฐบาล นักวิชาการข้ามประเทศ ส่งเสริมนักธุรกิจไต้หวันยกระดับการผลิตอย่างจริงจัง

ธุรกิจเคลื่อนทัพบุกไทย ศูนย์กลางตลาดอาเซียน

ไทยแลนด์ 4.0 กำลังดำเนินไปอย่างคึกคัก ไม่เพียงนักธุรกิจไต้หวันที่อยากมีส่วนร่วม ผู้ประกอบการในเวทีโลกต่างเตรียมตัวเข้าร่วมเช่นกัน คุณคังซู่เต๋อ นักธุรกิจไต้หวันรุ่นที่ 2 ซึ่งประกอบธุรกิจในประเทศไทย 38 ปีแล้ว บอกว่า ในอดีตนักธุรกิจไต้หวันที่ลงทุนในไทยล้วนแต่เล็งเห็นต้นทุนการผลิตต่ำ จึงดำเนินธุรกิจในรูปแบบนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อแปรรูปแล้วส่งออกทั้งหมด แต่บริษัทข้ามชาติระดับโลกเล็งเจาะตลาดอาเซียน 10 ประเทศที่มีขนาดใหญ่และการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะไทยมีการพัฒนามากในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธุรกิจวัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้น นักธุรกิจไต้หวันควรแสวงหาโอกาสธุรกิจจาก Know-how ที่ตนเองมีอยู่

ธุรกิจเคลื่อนทัพบุกไทย ศูนย์กลางตลาดอาเซียน

ในการเจาะตลาดอาเซียนที่มีขนาดใหญ่จำนวนประชากรมากถึง 640 ล้านคน คุณคังแนะนำว่านักธุรกิจไต้หวันอาจเลือกจัดตั้งศูนย์ประกอบการในไทย เนื่องจากมีความเหมาะสมสูงมากทั้งด้านประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมและตำแหน่งที่ตั้ง

ประการแรก ชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ มีความโอบอ้อมอารี ไม่กีดกันชาวต่างชาติ ประการที่สอง ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศเดียวที่ไม่เคยเป็นอาณานิคมของชาติอื่น และไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง  มีจุดยืนเป็นกลางทางการเมือง

นอกจากนี้ อาณาเขตไทยติดต่อกับลาว กัมพูชา และเมียน
มา จึงไม่มีปัญหากระทบกับจีนและอินเดียซึ่งเป็นประเทศใหญ่ ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในอาเซียนเชื่อมโยงกับยุโรปและเมืองสำคัญในเอเชีย และเป็นทางผ่านของการพัฒนา Belt and Road Initiative เส้นทางสายไหมทางทะเลของจีนแผ่นดินใหญ่

รัฐบาลไทยผลักดัน “ไทยแลนด์ 4.0” จะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับเมืองใกล้เคียงและสร้างอาคาร 3 ของสนามบิน สุวรรณภูมิรัฐบาลไทยผลักดัน “ไทยแลนด์ 4.0” จะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับเมืองใกล้เคียงและสร้างอาคาร 3 ของสนามบิน สุวรรณภูมิ

หากยึดกรุงเทพฯ เป็นจุดเชื่อมต่อ จะเห็นว่าระยะทางเครื่องบิน 1 ชั่วโมง ไปถึงเมืองสำคัญในตอนเหนือของอาเซียน (ไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม กัมพูชา) ระยะทางเครื่องบิน 2 ชั่วโมง ไปถึงมณฑลก่วงซี และยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และสิงคโปร์ ระยะทางเครื่องบิน 3 ชั่วโมง ไปถึงไต้หวัน และกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย การเดินทางถือว่าสะดวกมาก

ก้าวออกจากไต้หวัน ปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์

ไต้หวันเป็นประเทศเล็ก พลเมืองน้อย ผู้ประกอบการมักเผชิญกับปัญหาตลาดที่จำกัด จึงไม่ควรปิดกั้นตนเอง อยู่โดดเดี่ยวบนเกาะ คุณคังบอกว่า ไต้หวันมีจุดเด่นทางประวัติศาสตร์ คือ เคยผ่านยุคการปกครองโดยญี่ปุ่น ความช่วยเหลือจากอเมริกา การพัฒนาโดยประธานาธิบดีเจียงไคเช็กและเจี่ยงจิง
กั๋ว การผ่านยุคต่างๆ เหล่านี้ทำให้ชาวไต้หวันมีความยืดหยุ่นสูง 

คุณคังบอกว่า ìพวกเรามีความอดทนสูง เหมือนกับอะมีบาที่ปรับตัวได้ดีมาก ไม่ว่าอยู่กับใครก็มีชีวิตอยู่ได้î คุณสมบัติแบบนี้ ทำให้นักธุรกิจไต้หวันรับมือกับอเมริกา ญี่ปุ่น จีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ และแย่งโอกาสการค้าได้ไม่น้อย อย่างเช่น การผลิตรถยนต์โตโยต้า ชิ้นส่วน 70% ขึ้นไป เกิดจากความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับญี่ปุ่น

ในช่วงจังหวะสำคัญที่จะต้องยกระดับปรับโครงสร้างการผลิต คุณคังบอกว่า "ในอดีต พวกเราทำให้ทั่วโลกรู้จักสินค้า MIT (Made In Taiwan) ปัจจุบัน พวกเราจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก จึงจะไม่อยู่ในภาวะเพียงขายค่าแรงเท่านั้น ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ทั่วโลกมองเห็นไต้หวัน"