ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ TAIWANIA 2 ขึ้นแท่นอันดับ 20 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก
แหล่งที่มาของข้อมูล United Daily
2018-11-15

TAIWANIA 2 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของไต้หวัน ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่รวดเร็วถึง 9 PELOPS ล่าสุดขึ้นแท่นติดอันดับที่ 20 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกของ TOP 500 โดยสามารถประหยัดพลังงานได้มากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันที่สามารถพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงและสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกัน ภาพโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

TAIWANIA 2 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของไต้หวัน ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่รวดเร็วถึง 9 PELOPS ล่าสุดขึ้นแท่นติดอันดับที่ 20 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกของ TOP 500 โดยสามารถประหยัดพลังงานได้มากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันที่สามารถพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงและสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกัน ภาพโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไต้หวันพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ TAIWANIA 2 ขึ้นแท่นอันดับ 20 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก

United Daily News วันที่ 13 พ.ย. 2561

การจัดอันดับ Supercomputer 500 อันดับแรกทั่วโลกหรือ TOP500 ล่าสุด ประกาศผลอย่างเป็นทางการ เครื่อง Supercomputer AI รุ่นใหม่ล่าสุดของไต้หวันที่ใช้ชื่อรุ่นว่า TAIWANIA 2 ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 20 ด้วยประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานอันดับ 10 ของโลก นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดของไต้หวันในการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงและสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกัน เครื่อง TAIWANIA 2 เป็นการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับ AI ระหว่าง National Applied Research Laboratories (NARLabs) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวัน ร่วมกับสามบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีของไต้หวัน ได้แก่ Quanta, Asus และ Taiwan Mobile

 

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกาศเมื่อปีที่แล้วในการสร้างปีแห่ง AI พร้อมผลักดันการพัฒนา AI สำหรับโลกยุคใหม่เพื่อนำพาไต้หวันเข้าสู่การใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart living) ในยุคดิจิทัล 4.0 ซึ่งการสร้างแพลตฟอร์มคลาวด์ประมวลผล AI เป็นหนึ่งในห้ายุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กำหนดไว้ใน Taiwan AI Action Plan หรือแผนพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน AI ของไต้หวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนา AI ระดับชาติควบคู่กับสภาพแวดล้อมการให้บริการแบบคลาวด์ ตลอดจนเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในประเทศ

 

เครื่อง TAIWANIA 2 เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 252 Node แต่ละหน่วย Node มีหน่วยประมวลผล CPU 2 หน่วยและ GPU ที่ทันสมัยที่สุด 8 หน่วย เครื่อง TAIWANIA 2 ถูกสร้างและได้รับการออกแบบที่ทัดเทียมในระดับเดียวกับนานาชาติ ซึ่งในการทดสอบเชิงลึกด้านการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า มีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่สูงมาก นอกจากนี้ ด้านการประหยัดพลังงานพบว่า TAIWANIA 2 มีอัตราการประมวลผลต่อพลังงานอยู่ที่ 11.285 GF/W โดยใช้พลังงานเพียง 798 KW ในขณะที่เครื่องใช้ความเร็วในการประมวลผลที่ 9 PFLOPS กล่าวได้ว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวัน  

 

เฉินเหลียงจี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวันเปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ นอกจากระบบหลักของเครื่องแล้ว ยังรวมถึงแพลตฟอร์มการให้บริการซอฟท์แวร์ต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์พลังงาน ระบบระบายความร้อน และการเชื่อมต่ออินเอร์เน็ต เป็นต้น ระหว่างการพัฒนาทีมนักวิจัยได้ใช้ความสามารถและทักษะที่ยอดเยี่ยมในการพัฒนาร่วมกัน ผ่านการทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า จนทำให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการประมวลผลจากที่มีความเร็วอยู่ที่ 7 PELOPS เป็น 9 PELOPS ได้สำเร็จภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น

 

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการนำเครื่อง TAIWANIA 2 มาใช้งานอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ซึ่งนอกจากจะสามารถให้บริการการประมวลผลที่รวดเร็ว มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และมีความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตสูงแล้ว การสร้างแพลตฟอร์มคลาวด์ในการประมวลผลด้าน AI จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลและต้นแบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่พร้อมให้บริการด้านการประมวลผลที่สะดวกรวดเร็วแก่ภาคอุตสาหกรรมและวงการการศึกษาต่อไป

 

พลังการประมวลของเครื่อง TAIWANIA 2 ร้อยละ 50 จะถูกนำมาใช้ในงานของรัฐบาลต่างๆ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ ศูนย์ทดสอบรถยนต์แบบไร้คนขับ ศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม AI ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมถึงเพื่อใช้ในการวิจัยทางวิชาการ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 จะถูกนำมาใช้งานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนวัตกรรม การใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในด้านเทคโนโลยีทางการเงิน การผลิตอัจฉริยะ การรักษาพยาบาลอัจฉริยะหรือการวิเคราะห์ด้านสุขภาพ และเมืองอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาด้านเทคนิคและบริการที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในประเทศให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น