ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
เสน่ห์แห่งพิณ กับความหลงใหล ในเสียงพิณโบราณ ช่างทำพิณ หลินลี่เจิ้ง
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-12-17

เสน่ห์แห่งพิณ กับความหลงใหล ในเสียงพิณโบราณ ช่างทำพิณ หลินลี่เจิ้ง

 

ในปี 2003 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศให้พิณจีนขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หากแต่ย้อนกลับไปในปี 1977 เสียงพิณที่บรรเลงโดย อาจารย์กวั่นผิงหู (管平湖) ครูเพลงระดับปรมาจารย์ชื่อดังในเพลงหลิวสุ่ย (流水) หรือสายน้ำ ได้บันทึกไว้ในแผ่น เสียงที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งสารจากชาวโลกสู่มนุษย์ต่างดาว โดยนำขึ้นไปในอวกาศพร้อมกับยานอวกาศของ NASA เราไม่สามารถรู้ได้ว่า จนถึงทุกวันนี้มนุษย์ต่างดาวมีโอกาสได้ฟังเพลงหลิวสุ่ยหรือยัง แต่หลินลี่เจิ้ง (林立正) เสมือนต้องมนต์สะกดของเสียง เพลงหลิวสุ่ยที่บรรเลงโดยพิณโบราณนี้ จนทำให้เขาก้าวเดินเข้าสู่เส้นทางของอาชีพช่างทำพิณและซ่อมแซมพิณ

 

เลือกไม้ชั้นเลิศ เพื่อเสียงอันไพเราะ

หลินลี่เจิ้งซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือประมงเดินทะเล ใช้ชีวิตในทะเลมายาวนาน ได้เล่าให้เราฟังว่า ตนเองได้ฟังเพลงหลิวสุ่ย มาหลายครั้งแล้ว แต่มีอยู่วันหนึ่ง ในระหว่างที่ฟังเพลงหลิวสุ่ยอยู่นั้นก็รู้สึกได้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสายน้ำ เสียงพิณทำให้ย้อนนึกถึงชีวิตในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ที่เมื่อประสบพบกับคลื่นและพายุใหญ่จนไม่สามารถควบคุมเรือได้ ทุกอย่างต้องปล่อยให้เป็นไปตามลิขิตฟ้า ความรู้สึกที่หวาดกลัวแต่ไม่สามารถทำอะไรได้นี้ทำให้เกิดความเคารพต่อธรรมชาติ

ในตอนแรกเขาถูกดึงดูดโดยเสียงพิณ แต่การลงมือทำพิณนั้น เริ่มต้นจากที่ได้รับการไหว้วานจากเพื่อน และตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา รูปลักษณ์ของพิณไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ประกอบด้วยแผ่นไม้ด้านบนและล่างสองแผ่น ใจกลางกลวงเพื่อใช้ในการสะท้อนเสียงให้ก้องกังวาน โดยมีสายพิณ 7 สาย หลินลี่เจิ้งที่มีความชำนาญด้านงานไม้และงานทาสี จึงได้เรียนรู้การทำด้วยตัวเอง โดยหาหนังสือเก่าๆ มาเริ่มทำการศึกษา จากนั้นได้ไปเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ซุนอวี้ฉิน (孫毓芹) ซึ่ง อ.หลินอธิบายว่า อ.ซุนมีชื่อเสียงในด้านการเล่นพิณ มิใช่ในด้านการทำพิณ แต่ก็ได้ถ่ายทอดแนวคิดให้เขามากมายเพื่อให้เดินอยู่ในทางที่ถูกต้อง

หลินฝ่าเรียนรู้วิชาทำพิณจากคุณพ่อมาตั้งแต่เด็ก ถือเป็นผู้ช่วยชั้นดี มีความชอบเหมือนกัน และเป็นผู้สืบทอดฝีมือหลินฝ่าเรียนรู้วิชาทำพิณจากคุณพ่อมาตั้งแต่เด็ก ถือเป็นผู้ช่วยชั้นดี มีความชอบเหมือนกัน และเป็นผู้สืบทอดฝีมือ

ขณะนี้ อ.หลินลี่เจิ้งอายุแปดสิบกว่าปีแล้ว ท่านใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตในการทำพิณและซ่อมพิณ และในปีค.ศ.2009 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ìผู้เก็บรักษาทักษะของมรดกทางวัฒนธรรมî และเป็นช่างพิณคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้จากทางการ

เลือกไม้ชั้นเลิศ เพื่อเสียงอันไพเราะ

คุณภาพเสียงของพิณขึ้นอยู่กับไม้ที่ใช้ในการทำ เนื้อไม้เก่าเก็บจะให้คุณภาพที่ดีกว่า และเพื่อค้นหาวัตถุดิบดีๆ ในระหว่างที่ยังหนุ่ม ท่านมักจะใช้เวลาว่างจากการเดินเรือ ขอเพียงขึ้นบกก็จะไปหาไม้บนเขา เดินไปตามลำน้ำจนพบต้นไม้ที่ล้มอยู่ อ.หลินลี่เจิ้งอธิบายว่า ไม้ที่ล้มอยู่ในน้ำ ทั้งกิ่งไม้ ยางไม้ รวมถึงส่วนที่เป็นโปรตีนและน้ำตาล จะถูกน้ำพัดพาไปจนหมด ทำให้มีช่องว่างภายในเนื้อไม้มาก ส่งผลดีต่อการสะท้อนเสียง

ในปีแรกๆ ท่านเคยเดินทวนลำน้ำขึ้นไป ก่อนจะพบท่อนไม้ที่ถือเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศสำหรับการทำพิณจมอยู่ใต้น้ำ จึงรีบหยิบเลื่อยแล้วดำลงไป อ.หลินต้องต่อสู้กระแสน้ำอันเชี่ยวกรากอย่างหนัก กว่าจะสามารถเลื่อยไม้ออกมาได้ท่อนหนึ่ง ซึ่งต่อมาไม้ท่อนนี้ถูกนำมาใช้ทำพิณสองตัว หนึ่งในนั้นคือพิณที่เป็นผลงานที่ท่านภูมิใจมากที่สุด มีชื่อว่า ìกู่เจี้ยนฉวนî (古澗泉) ซึ่งหมายถึงตาน้ำของลำธารโบราณในขุนเขา และหลังจากที่พิณกู่เจี้ยนฉวนถูกเปลี่ยนมือไปแล้ว จนถึงทุกวันนี้ อ.หลินก็ไม่มีโอกาสได้เห็นมันอีกเลย ซึ่งอ.หลินมีความตั้งใจว่า ìเมื่อก่อนนี้เทคนิคยังไม่ดี ทำให้ทั้งรูปร่างและการลงสีไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงอยากที่จะเอามันกลับมาทำใหม่ให้ดีขึ้นî

อายุที่มากขึ้นทุกวัน ทำให้อ.หลินไม่สามารถขึ้นเขาไปหาไม้ได้อีก และหลังจากที่ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่เปิดการติดต่อระหว่างกัน อ.หลินก็เริ่มหาไม้จากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามา ท่านบอกว่าของดีจะต้องอยู่ถูกที่ ไม้ที่คนอื่นไม่ชอบ แต่ในสายตาท่านแล้วเหมือนเป็นของวิเศษเลยทีเดียว การนำเอาไม้ที่คนอื่นมองไม่เห็นว่าดีมาปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นพิณที่มีชื่อเสียง ถือเป็นเสน่ห์อันน่าหลงใหลของการเป็นช่างทำพิณอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

ในสตูดิโอของอ.หลินลี่เจิ้งมีพิณโบราณที่ยังทำไม่เสร็จจำนวนมากถูกแขวนอยู่ในสตูดิโอของอ.หลินลี่เจิ้งมีพิณโบราณที่ยังทำไม่เสร็จจำนวนมากถูกแขวนอยู่

งานฝีมืออันละเมียดละไม กับการทำพิณชั้นดี

อ.หลินลี่เจิ้งเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ในการทำพิณจากหนังสือโบราณ ท่านเห็นว่า วิธีต่างๆ ที่ถ่ายทอดมาแต่โบร่ำโบราณนั้น จนทุกวันนี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก แต่จากการเรียนรู้อย่างละเอียดทำให้รู้ว่าขั้นตอนต่างๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร จึงทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น เนื้อไม้ของด้านหน้าพิณ มักจะใช้ไม้ที่เนื้ออ่อน เช่น ต้นร่มจีนหรือต้นสน ในขณะที่ไม้ในส่วนด้านล่างของพิณจะใช้ไม้เนื้ออ่อนหรือเนื้อแข็งก็ได้

และตามที่มีบันทึกในหนังสือโบราณว่าจะต้องนำเอาน้ำมันขัดเงามาถูกับตัวพิณ ซึ่งท่านก็ได้ทำตามอย่างเคร่งครัด โดยได้ซื้อเขากวางมาจากร้านขายยาจีน เอามาบดเป็นฝุ่นแล้วผสมกับแลกเกอร์เป็นน้ำมันเขากวาง ซึ่งอ.หลินอธิบายว่า เมื่อเราส่องเม็ดฝุ่นของเขากวางด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้ว จะเห็นว่ามันมีลักษณะคล้ายกับเกล็ดหิมะ ซึ่งมีช่องว่างในระหว่างกลางเป็นจำนวนมาก และเมื่อนำมาผสมกับน้ำมันขัดเงาที่ใช้ทาไปบนตัวพิณแล้ว ก็เหมือนกับว่าทุกอณูของพิณมีส่วนช่วยในการสะท้อนและส่งเสียงก้องกังวานออกมา

อ.หลินลี่เจิ้งซึ่งมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ กำลังให้คำแนะนำแก่ลูก ศิษย์จากฮ่องกงที่มาขอร่ำเรียนวิชาทำพิณ 9อ.หลินลี่เจิ้งซึ่งมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ กำลังให้คำแนะนำแก่ลูก ศิษย์จากฮ่องกงที่มาขอร่ำเรียนวิชาทำพิณ 9

การทาน้ำมันเขากวางไปบนผิวของพิณยังมีสรรพคุณเหมือนกับการอุดดิน เพราะเถ้าเขากวางจะเป็นฉนวนป้องกันมิให้เนื้อไม้สัมผัสกับอากาศ จึงลดโอกาสที่เนื้อไม้จะเปลี่ยนรูปหรือถูกกัดกร่อน และสามารถช่วยให้ผิวของตัวพิณราบเรียบและเป็นระเบียบ

ตามขั้นตอนแล้ว หลังจากที่ทาน้ำมันเขากวางไปบนตัวพิณจนทั่ว ให้แขวนพิณไว้ในที่ร่มเพื่อตากให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน หลังจากน้ำมันเขากวางแห้งแล้ว จึงใช้หินขัดที่นำไปชุบน้ำ มาขัดให้เรียบ การลงน้ำมันและขัดด้วยน้ำนี้ต้องทำซ้ำ 3 ครั้ง ดังนั้น การทำพิณ 1 ตัว จึงต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีครึ่งเป็นอย่างน้อย จะใจร้อนลัดขั้นตอนไม่ได้โดยเด็ดขาด

อ.หลินค่อยๆ ถ่ายทอดความเข้าใจ วิธีทำ และทัศนคติต่างๆ ในการทำพิณเหล่านี้ให้กับบุตรชาย หลินฝ่า (林法) และเหล่าลูกศิษย์ นับตั้งแต่ทำพิณตัวแรกในปีค.ศ.1974 จนเวลาผ่านไป 22 ปี ในปีค.ศ.1996 ก็มาถึงจุดที่ อ.หลินรู้สึกว่าฝีมือและทักษะของตัวเองพัฒนาขึ้นมาถึงระดับหนึ่งแล้ว จึงได้เริ่มรับลูกศิษย์มาฝึกอบรม จนทุกวันนี้ อ.หลินมีลูกศิษย์มากกว่า 60 คน ในจำนวนนี้ มีลูกศิษย์ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากฮ่องกงเพื่อมาขอฝึกวิชาการทำพิณในไต้หวันด้วย

อ.หลนิ ลเี่ จงิ้ ใหค้ วามพถิ พี ถิ นั ในการทำงานเปน็ อยา่ งมากตงั้ แตว่ สั ดทุ ใี่ ช้ ชิ้นส่วน และการทำงานในแต่ละขั้นตอน เขาลงมือเองทั้งหมด (1)อ.หลนิ ลเี่ จงิ้ ใหค้ วามพถิ พี ถิ นั ในการทำงานเปน็ อยา่ งมากตงั้ แตว่ สั ดทุ ใี่ ช้ ชิ้นส่วน และการทำงานในแต่ละขั้นตอน เขาลงมือเองทั้งหมด

ซ่อมพิณด้วยมืออันชำนาญ นำเสียงโบราณกลับมาอีกครั้ง

หลังจากที่ฝีมือการทำพิณของ อ.หลินลี่เจิ้งเริ่มแพร่หลายไปทั่ว ก็มีคนนำเอาพิณโบราณมาให้ อ.หลินช่วยซ่อมแซมด้วยเช่นกัน เช่น พิณ ìเสวี่ยเยี่ยปิงî (雪夜冰) จากสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งปัจจุบันเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กง พิณ ìถงหย่าî (桐雅) จากสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นของสะสมของจางชิงจื้อ นักเล่นพิณโบราณชื่อดัง พิณ ìซงฟงจื้อเหอî (松風致和) จากสมัยราชวงศ์ซ่งของไช่เปิ่นเลี่ย จิตรกรชื่อดัง พิณ ìชิงซานî (青山) จากสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของถังเจี้ยนหยวน ชาวฮ่องกง รวมถึงพิณ ìเคิงเสาî (鏗韶) สมัยราชวงศ์หมิง และพิณ ìอวี้หูปิงî (玉壺冰) สมัยราชวงศ์ซ่งของซุนอวี้ฉิน ซึ่งต่างก็เคยผ่านมือ อ.หลินลี่เจิ้ง จนสามารถกลับมาส่งเสียงไพเราะได้อีกครั้งทั้งนั้น

ในการซ่อมแซมพิณ ìเสวี่ยเยี่ยปิงî ที่ อ.หลินได้รับการไหว้วานจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กงนั้น ท่านใช้วิธีการพ่นไอร้อนความดันสูงและลมเย็นสลับกันเป่าใส่เข้าไปสู่ท้องพิณ เพื่อทำความสะอาดฝุ่นละออง เศษไม้ และกลิ่นเหม็นอับที่อยู่ภายใน ก่อนจะทำการซ่อมแซมด้านนอกของตัวพิณให้กลับมาอยู่ในสภาพดีเช่นเดิม โดยเดิมทีทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กงเพียงแค่ต้องการจะซ่อมแซมให้ตัวพิณอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็เพียงพอแล้ว แต่ อ.หลินเห็นว่า ìพิณมีเสียงและมีชีวิตî จึงได้ลงมือซ่อมแซมขนานใหญ่จนทำให้พิณสามารถกลับมาบรรเลงเพลงได้ดีดังเดิม

อ.หลนิ ลเี่ จงิ้ ใหค้ วามพถิ พี ถิ นั ในการทำงานเปน็ อยา่ งมากตงั้ แตว่ สั ดทุ ใี่ ช้ ชิ้นส่วน และการทำงานในแต่ละขั้นตอน เขาลงมือเองทั้งหมด (2)อ.หลนิ ลเี่ จงิ้ ใหค้ วามพถิ พี ถิ นั ในการทำงานเปน็ อยา่ งมากตงั้ แตว่ สั ดทุ ใี่ ช้ ชิ้นส่วน และการทำงานในแต่ละขั้นตอน เขาลงมือเองทั้งหมด

อ.หลินลี่เจิ้งเล่าให้เราฟังอีกว่า ในบรรดาพิณโบราณที่ท่านเป็นผู้ซ่อมแซมนั้น พิณที่เสียหายมากที่สุดน่าจะได้แก่พิณ ìถงหย่าî จากสมัยราชวงศ์ถัง โดยตัวโครงยังอยู่ แต่เนื้อไม้ภายในถูกแมลงกัดแทะไปทั่ว และเนื้อไม้มีรอยร้าวไปทั่วราวกับท้องทะเลที่จับตัวเป็นน้ำแข็งเกิดการแตกตัวในฤดูใบไม้ผลิ และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ พิณโบราณที่มีชื่อเสียงตัวนี้ถูกเจ้าของทั้งหลายสลักชื่อไว้บนหน้าพิณ ทำให้เพิ่มความยากในการซ่อมแซมให้มากขึ้นไปอีก

อ.หลินลี่เจิ้งบอกว่า ท้องพิณถูกแมลงแทะจนไม่สามารถมองเห็นสภาพภายใน ต้องใช้ลวดเหล็กสอดเข้าไปเพื่อดูว่าเนื้อไม้ถูกกัดแทะจนเสียหายมากน้อยเพียงใด ก่อนจะใช้ไม้จิ้มฟันอันเล็กๆ มาจุ่มยางไม้ผสมน้ำยาเขากวาง แล้วค่อยๆ สอดเข้าไปอุดร่องรอยที่ถูกกัดแทะทีละเล็กละน้อย เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อไม้ สำหรับยางที่เคลือบหน้าพิณซึ่งหลุดลอกออกมา ก็ใช้น้ำยามาทาติดกลับเข้าไป และเมื่อมาถึงจุดที่แตกเป็นรอยก็ต้องทำแผ่นแลกเกอร์ขึ้นมา แล้วค่อยๆ ตัดออกเป็นแผ่นเล็กๆ มาใช้ทาทับติดกลับเข้าไปตามรอยเดิม

ส่วนพิณ ìอวี้หูปิงî จากสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งได้รับการซ่อมแซมในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป็นพิณที่ท่านค้นพบจากแผงลอยข้างทางในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยในครั้งนี้ อ.หลินตัดสินใจผ่าพิณออกเป็นสองซีก เพื่อแยกด้านหน้าพิณกับด้านล่างของพิณออกจากกัน จากนั้นก็ขัดเนื้อไม้ส่วนที่เสียหายออก ก่อนจะนำเนื้อไม้อื่นที่คัดเลือกเป็นอย่างดีมาติดเข้าไปแทน แน่นอนว่า อ.หลินพิถีพิถันในการเลือกเนื้อไม้เป็นอย่างมาก พิณสมัยราชวงศ์ซ่งจะใช้ไม้สมัยราชวงศ์ฮั่นในการซ่อมแซม การทำเช่นนี้จึงจะช่วยรักษาคุณภาพเสียงให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด โดย อ.หลินใช้เวลา 2 ปีกว่า ในการซ่อมแซมพิณตัวนี้ และหลังจากผ่านมือของ อ.หลินแล้ว คุณภาพเสียงของพิณก็กลับมาไพเราะเพราะพริ้งดังเดิม ซึ่งทุกวันนี้พิณตัวนี้ก็คือพิณประจำตัวของคุณหลินฝ่า ซึ่งเป็นบุตรชายของ อ.หลินด้วย

ผู้สืบทอดที่นั่งอยู่บนพิณ

งานฝีมืออันละเมียดละไม กับการทำพิณชั้นดี

หลินฝ่า คือบุตรชายคนที่ 2 ของหลินลี่เจิ้ง มีพี่น้องรวม 4 คน แต่มีเพียงคุณหลินฝ่าเท่านั้นที่สืบทอดกิจการของบิดา อ.หลินลี่เจิ้งกล่าวว่า หลินฝ่าได้ติดสอยห้อยตามมาทำงานกับท่านตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้สามารถเรียนรู้และมีพื้นฐานในการทำพิณที่ดีมาก และจากการที่ในสมัยก่อนยังไม่มีตัวหนีบที่สามารถใช้ในการทำพิณ จึงมักจะเรียกให้ลูกชายมานั่งทับเป็นประจำ หลินฝ่าจึงมีภารกิจในการนั่งบนพิณมาตั้งแต่เล็กจนโต

อ.หลินลี่เจิ้งเห็นว่า สุดท้ายแล้วบุตรชายจะต้องสืบทอดการทำพิณจากท่าน แต่หากเล่นพิณไม่เป็นเลย ก็อาจจะถูกผู้อื่นตำหนิเอาได้ จึงได้พยายามหลอกล่อให้ลูกชายไปเรียนการเล่นพิณ ตอนแรกไม่นึกเหมือนกันว่าหลินฝ่าจะรู้สึกชอบขึ้นมาจริงๆ โดยหลินฝ่าสำเร็จการศึกษาในสาขาการบรรเลงพิณโบราณจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์จีน (Central Conservatory of Music : CCOM) ในกรุงปักกิ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อในคณะดนตรีพื้นบ้านของมหาวิทยาลัยศิลปะไทเป (Taipei National University of the Arts) ปัจจุบัน หลินฝ่าเป็นนักบรรเลงพิณมืออาชีพ

ซ่อมพิณด้วยมืออันชำนาญ นำเสียงโบราณกลับมาอีกครั้ง

ในระหว่างการสัมภาษณ์ มีลูกศิษย์ของ อ.หลิน หยิบเอาพิณ 2 ตัวมาทดลองเสียง ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำก่อนการประกบตัวพิณ โดยจำลองสภาพของพิณในเครื่องเพื่อดูว่า หลังจากขึ้นสายแล้วจะเป็นอย่างไร คุณภาพเสียงที่ได้เป็นเช่นไร หากมีอะไรที่ไม่เหมาะสมก็จะทำการปรับแต่งใหม่ต่อไป เราจึงได้เห็นคุณหลินฝ่าหยิบพิณมาใส่ในเครื่องแล้วลองใช้นิ้วทั้งกดทั้งดีดสายพิณ ก่อนจะลองฟังเสียงที่เกิดขึ้น จากนั้นก็หยิบตัวพิณพลิกขึ้นมาแล้วใช้ปากกาทำเครื่องหมายวงกลมในตำแหน่งต่างๆ หลายจุด เพื่อให้ช่างเห็นถึงจุดของท้องพิณที่ควรจะทำให้บางลงอีก เสียงที่ออกมาจึงจะมีความไพเราะมากขึ้น โดย อ.หลินลี่เจิ้งที่ยืนอยู่ข้างๆ ได้อธิบายให้เราฟังว่า ìขณะนี้ได้มอบหมายหน้าที่ในการลองเสียงให้เขา (หลินฝ่า) เป็นคนจัดการทั้งหมด ในด้านการฟังเสียงพิณแล้ว ไม่มีใครสู้เขาได้ เพราะฟังมาตั้งแต่เล็กจนโต แถมยังเรียนมาโดยตรงด้วย อาจารย์สอนพิณส่วนใหญ่ในสถาบันต่างๆ ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการทำพิณโดยตรง จึงไม่มีใครรู้จักพิณมากกว่าเขาอีกแล้วî คำพูดของ อ.หลิน ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความภาคภูมิใจที่มีต่อบุตรชาย รวมถึงความดีใจที่จะมีผู้สืบทอดสิ่งที่ท่านสร้างมาทั้งชีวิต

ผู้สืบทอดที่นั่งอยู่บนพิณ

หลังจบงานนิทรรศการด้านการทำพิณที่จัดโดยสตูดิโอจื่อจั้วฟัง (梓作坊) ของ อ.หลิน ภายในสตูดิโอยังคงมีแต่ข้าวของวางระเกะระกะ เราไม่รู้เลยว่า อ.หลินหยิบพิณโบราณขึ้นมาตอนไหน พร้อมบอกกับเราว่า นี่เป็นพิณโบราณสมัยราชวงศ์ชิงที่ได้มาจากเมืองจีน ซึ่ง อ.หลินกล่าวว่า ìหลังผ่านการซ่อมแซมแล้ว เสียงของพิณตัวนี้จะสุดยอดมากî บรรดาลูกศิษย์ได้ยินดังนั้นก็ล้อมวงเข้ามา พร้อมกระซิบกระซาบกันไม่หยุดหย่อน ก่อนจะช่วยกันยุให้อาจารย์รีบซ่อมพิณโดยเร็ว ìอาจารย์ครับ ซ่อมเลย ซ่อมเลย เรามาซ่อมด้วยกันî

เมื่อมองเห็นความตื่นเต้นของเหล่าลูกศิษย์ อ.หลินจึงตอบกลับไปพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้าว่า ìเอาสิ เรามาซ่อมมันด้วยกันî