ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
“ซ่อม” ทุกอย่างที่ขวางหน้า อู๋เจ๋อรุ่ย นักซ่อมวัตถุที่ทำจากกระดาษ
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2018-12-24

“ซ่อม” ทุกอย่างที่ขวางหน้า อู๋เจ๋อรุ่ย นักซ่อมวัตถุที่ทำจากกระดาษ

 

"แมลงสามง่ามกินหนังสือเป็นอาหาร แต่คุณต้องมีหนังสือมากพอมันถึงจะมากิน เมื่อมีหนังสือมาก ผมไม่ใช่เจ้าของ แต่ผมต้องคอยดูแลหนังสือเหล่านี้ อ่านทุกวันจัดทุกวัน ผมก็เลยกลายเป็นคนใช้ของฝูงแมลงสามง่าม" อู๋เจ๋อรุ่ย (吳哲叡) รู้สึกว่า มีแค่เทคนิคการซ่อมยังไม่พอ จำเป็นต้องอ่านและศึกษาหาวิธีการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ทีมงานโดยไม่หวงวิชา ก่อประโยชน์ให้แก่ความคิดสร้างสรรค์มากเป็นทวีคูณ เพื่อสืบทอดเทคนิคเหล่านี้ต่อไป

 

คุณอู๋เจ๋อรุ่ยลงมือทำเลียนแบบการเย็บเล่มหนังสือแบบคุณอู๋เจ๋อรุ่ยลงมือทำเลียนแบบการเย็บเล่มหนังสือแบบ

ในฐานะที่ปรึกษาสำนักจดหมายเหตุเทศบาลกรุงไทเป ด้วยเหตุผลกลใดที่ทำให้เขาต้องทุ่มเทให้แก่โลกแห่งการซ่อมแซมหนังสือเหล่านี้ เรื่องนี้คงต้องเริ่มต้นเล่ากันตั้งแต่วัยเด็กของเขาเลยทีเดียว

ซึมซับคำสอนจากคุณพ่อ

มีผู้คนน้อยมากที่จะทราบว่า คุณปู่ของอู๋เจ๋อรุ่ย คือเหลียงซงหลิน (梁松林) นักเขียนบทอุปรากรไต้หวันชื่อดังในยุคแรกๆ คุณเหลียงเป็นชาวไทเปย่านว่านหัว เขียนบทอุปรากรไต้หวันมากที่สุดในไต้หวัน ผลงานที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด คือผลงานในช่วงก่อนและหลังปีค.ศ.1936 ìอัลบั้มรวมซานป๋ออิงไถî จัดพิมพ์ต่อเนื่องโดยสำนักพิมพ์โจวเสียหลง ไทเป เนื่องจากแต่งงานแบบเข้าเป็นสมาชิกของครอบครัวภรรยา ทำให้บุตรคนโตต้องใช้แซ่ของภรรยาของเขาคือแซ่ ìอู๋î ซึ่งก็คือคุณพ่อของ อู๋เจ๋อรุ่ยนั่นเอง ในยุครุ่งเรืองของย่านถนนซีหยวน แถบว่านหัว มีบ้านอย่างน้อยถึง 20 หลัง

ในขณะที่คุณปู่ที่เต็มไปด้วยความสามารถในหลายๆ ด้าน กลับไม่ได้สร้างคุณประโยชน์ใดๆ ให้กับครอบครัวแม้แต่น้อย เพราะในเวลาต่อมาที่เหลียงซงหลินติดการพนันและฝิ่น จนทรัพย์สมบัติหมดเกลี้ยง ตกต่ำยากจนในบั้นปลายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อของอู๋เจ๋อรุ่ยจึงได้เตือนเขาตั้งแต่เด็กว่า ìดูปู่ของแกเป็นตัวอย่างไว้นะ หาเงินได้มากมายขนาดนี้ แต่ในที่สุดก็ไม่มีประโยชน์อันใด แกเป็นลูกของฉัน ฉันเลือกที่จะไม่คอร์รัปชัน เราก็จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสมถะแบบนี้î

ซึมซับคำสอนจากคุณพ่อ

คุณพ่ออู๋ทำงานในตลาดปลา ต้องออกไปทำงานตั้งแต่ตีหนึ่งทุกวัน กลับบ้านตอน 4 ทุ่มเศษ พอมีเวลาว่างก็จะอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ส่วนคุณแม่คุณอู๋ในตอนนั้น ก็ต้องทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าผู้หญิง เขาจะยืนดูคุณแม่ทำแบบเสื้อ เย็บเสื้อให้กับลูกค้า อู๋เจ๋อรุ่ยซึ่งผลการเรียนไม่สู้ดีนักมาตั้งแต่เด็ก เติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสือสิงห์กระทิงแรดในย่านว่านหัว หากจะบอกว่าที่เขาไม่เสียคนไป สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการอบรมสั่งสอนอย่างตรงไปตรงมาของคุณพ่อของเขา และฝีมือของเขาก็ได้รับถ่ายทอดจากคุณแม่ก็คงไม่ผิดนัก

การเดินย่ำเท้าก้าวผ่านไปฉันใด ยอมทิ้งรอยเท้าไว้ให้เห็นฉันนั้น

เมื่ออู๋เจ๋อรุ่ยเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมเก๋อจื้อ (格致中學) ไทเป หลังเลิกเรียน ก็จะทำการบ้านกับเพื่อนสนิทที่เรียนอยู่โรงเรียนศิลปะฟู่ซิง ครูสอนอะไรในวันนั้น เพื่อนๆ ก็จะนำมาเล่าให้เขาฟัง และมักจะทำการบ้านด้วยกันจนถึงตี 2 ตี 3 อยู่เป็นประจำ สำหรับตัวของคุณอู๋เจ๋อรุ่ยแล้ว การศึกษาในช่วงนี้ของเขา ได้ปูพื้นฐานให้แก่ความรู้ด้านการผสมสีและการใช้สีของเขาเป็นอย่างมาก

กรรไกรจิ๋ว ไม้บรรทัด คีม และแปรงปัดฝุ่น วางเรียงรายอย่างเป็นระเบียบ เป็นจุดเริ่มต้น แห่งภารกิจการอนุรักษ์วัตถุโบราณที่ทำจาก กระดาษกรรไกรจิ๋ว ไม้บรรทัด คีม และแปรงปัดฝุ่น วางเรียงรายอย่างเป็นระเบียบ เป็นจุดเริ่มต้น แห่งภารกิจการอนุรักษ์วัตถุโบราณที่ทำจาก กระดาษ

เมื่อจบการศึกษาแล้ว อู๋เจ๋อรุ่ยซึ่งชื่นชอบเครื่องเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ก็จะไปทำงานช่วยส่งของที่ร้านเครื่องเขียน จนกระทั่งไปเกณฑ์ทหาร แต่พอปลดประจำการ เถ้าแก่ร้านเครื่องเขียนก็เรียกเขากลับไปทำงานอีก แต่คราวนี้ไม่ใช่เด็กส่งของ เถ้าแก่ให้เขาทำหน้าที่เป็นเซลส์ เพราะอู๋เจ๋อรุ่ย นอกจากจะส่งของแล้ว ยังใช้โอกาสตอนส่งของพูดคุยกับเจ้าของร้านที่สั่งของ และคอยสังเกตดูว่าในร้านยังขาดเหลือสินค้าอะไรบ้าง บางครั้งก็ยังได้ออร์เดอร์กลับมาด้วย

หลังจากที่เขาทำงานเป็นเซลส์ขายเครื่องเขียนอยู่ 2 ปี ก็พบว่าตัวเองชอบการตัดเย็บเสื้อผ้ามากกว่า ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี จึงเริ่มจากการขายแมกกาซีนแฟชั่นก่อน โดยอาศัยโอกาสที่ขายแมกกาซีนแฟชั่นให้แก่ร้านขายเสื้อ ศึกษาลักษณะพิเศษของร้านเสื้อผ้าเหล่านี้ ในที่สุดเขาก็เลือกบริษัทเสื้อผ้าส่งออกที่อยู่ที่ซานฉง นครนิวไทเป เข้าทำงานเป็นพนักงานตัดเย็บเสื้อผ้า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผ้าและเสื้อผ้าต่างๆ มากมาย ต่อมาจึงได้ขยับขยายไปสู่การเรียนวิธีทำแพทเทิร์นและออกแบบเสื้อผ้า จนถึงร่วมทุนกับเพื่อนเปิดโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่ต่อมาจำต้องออกจากโรงงาน เพราะไม่มีเงินที่จะนำไปลงทุนเพิ่ม

การเดินย่ำเท้าก้าวผ่านไปฉันใด ยอมทิ้งรอยเท้าไว้ให้เห็นฉันนั้น

ในช่วงหลายปีที่เขาศึกษาการตัดเย็บ ทำแบบ และออกแบบ นอกจากในเวลาทำงานแล้ว ทุกครั้งที่อู๋เจ๋อรุ่ยมีเวลาว่าง ก็จะหาความรู้และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เมื่อย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องราวเหล่านี้แล้ว ความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาของเขา แท้ที่จริงแล้วเขาได้รับการสืบทอดทางสายเลือดจากคุณพ่อ ต่อมาเขาก็ทำงานเกี่ยวกับการซักเสื้อหนัง และงานรับตัดเสื้อเชิ้ตให้ลูกค้าของโรงแรม ในที่สุด เขาก็ก้าวสู่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในชีวิต

ชะตาชีวิตที่ยากจะลืมเลือน

เมื่ออู๋เจ๋อรุ่ยกำลังตัดเย็บเสื้อผ้าให้แก่ชาวต่างชาติ ก็มักจะต้องปักตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งในตอนนั้นมีคนรับปักตัวอักษรไม่มาก เขาจึงต้องไปเรียนการปักตัวอักษรด้วยเครื่องที่กองฝึกอาชีพ ไทเป แต่คิดไม่ถึงว่า เมื่อได้สัมผัสกับกรอบที่ใช้ในการปักตัวอักษร จึงรู้สึกว่ามันสนุกดีจริงๆ เมื่อเรียนจบ ก็อยากจะเปิดร้านเอง แต่ปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อต้องสัมผัสกับกรอบที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการมีความแตกต่างกัน จึงรู้สึกว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เขาต้องหาอาจารย์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

อู๋เจ๋อรุ่ยจำได้ว่า ครั้งหนึ่งเขาอยากจะศึกษาเทคนิคการทำกรอบที่เรียกว่า ìเช่อเย่î จ่ายค่าขึ้นครู 20,000 เหรียญไต้หวัน ให้ครูมาสอน เพราะก่อนหน้านี้ เขาเคยเห็นการทำกรอบที่เรียกว่า ìเช่อเย่î แบบนี้มาแล้ว ดังนั้น ในวันแรกที่เขาเริ่มเรียน เขาจึงถามอาจารย์ที่สอน 4 คำถาม แต่อาจารย์ท่านนั้นตอบไม่ได้สักคำถามเดียว อู๋เจ๋อรุ่ยจึงตัดสินใจบอกว่า เงิน 20,000 เหรียญ เขาไม่เอาก็ได้ เพราะคนเรายอมเสียเงินดีกว่า แต่เวลาไม่อาจหาคืนมาได้

สมาชิกทีมงานของอู๋เจ๋อรุ่ยจะไม่มีการปิดบังเทคนิคใดๆ จึงจะ แสดงความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ ให้ความคิดสร้างสรรค์มี การสืบทอดต่อไป ในภาพอู๋เจ๋อรุ่ยกำลังถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกศิษย์ ชาวเวียดนามสมาชิกทีมงานของอู๋เจ๋อรุ่ยจะไม่มีการปิดบังเทคนิคใดๆ จึงจะ แสดงความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ ให้ความคิดสร้างสรรค์มี การสืบทอดต่อไป ในภาพอู๋เจ๋อรุ่ยกำลังถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกศิษย์ ชาวเวียดนาม

ดั่งคำสุภาษิตจีนที่ว่า "ซานปู้จ่วนลู่จ่วน" (山不轉路轉) ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "เขาไม่หลีกทางให้ ไปทางอ้อมก็ได้" ซึ่งหมายถึง เมื่อเจออุปสรรค ต้องแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ แล้วปัญญาจะเกิด  แม้ไม่อาจเรียนรู้เทคนิคการทำกรอบได้โดยตรงจากอาจารย์ก็ตาม เขาก็ไปยึดอาชีพขายอุปกรณ์ทำกรอบ และเลือกบริษัททำกรอบที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น โดยสมัครเป็นเซลส์ และก็เป็นเรื่องบังเอิญอีกที่เถ้าแก่ของบริษัทป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย จึงให้ลูกสาวบุญธรรมมาทำหน้าที่จัดการดูแลการเงินของบริษัท เพื่อเตรียมปิดกิจการ

"ผมบอกว่า กว่าผมจะหาพวกคุณเจอมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ตอนนี้คุณจะปิดกิจการอีก ไต้หวันเหลือไม่กี่บริษัทแล้ว" พนักงานบัญชีคนนั้นตอบว่า เถ้าแก่ตายไปแล้ว ไม่มีใครทำหน้าที่หาตลาดได้ อู๋เจ๋อรุ่ยจึงอาสาเอง สืบทอดงานการตลาดของบริษัทที่ประกอบธุรกิจมานานกว่า 20 ปีแห่งนี้ และก็ยังเกลี้ยกล่อมลูกสาวบุญธรรมของเถ้าแก่ได้สำเร็จ เซ้งต่อบริษัทให้กับเขา

ในเวลาต่อมา เมื่ออู๋เจ๋อรุ่ยว่างเว้นจากการส่งของ เขาจะศึกษาเทคนิคของร้านต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการไปส่งของ ซึ่งเขาก็จะรีบกลับบ้านไปทดลองเทคนิคที่ได้ศึกษามา เมื่อพบปัญหา จะหาข้ออ้างไปหาที่ร้านนั้น ทำแบบนั้นอยู่เป็นนิจ จนเขาไม่ต้องใช้วิธี ìขึ้นครูî กับอาจารย์ 30 กว่าคนที่เขารู้จัก และด้วยชะตาชีวิตที่ยากจะลืมเลือน ไม่เพียงแต่ทำให้เขาได้พบกับเรื่องราวของกรอบเหล่านี้เท่านั้น แต่บุตรสาวบุญธรรมของเถ้าแก่ก็กลายเป็นภรรยาของเขาในที่สุด

จุดหัวเลี้ยวหัวต่อจุดที่ 2 ในชีวิต

โอกาสมักจะเป็นของผู้ที่เตรียมความพร้อมไว้แล้ว อู๋เจ๋อรุ่ยต้องเผชิญหน้ากับจุดหัวเลี้ยวหัวต่อจุดที่ 2 ของชีวิต นั่นก็คือ สวนสนุกเด็ก กรุงไทเป จะจัดกิจกรรมประเพณีดั้งเดิมเป็นประจำทุกปลายปี ซึ่งอู๋เจ๋อรุ่ยจะเผยแพร่วิธีการทำกรอบนานาชนิดในงานด้วย

ขั้นตอนหนึ่งของการซ่อมแซมภาพวาดก็คือการคงหัวใจของภาพไว้ โดยเอาส่วนที่เป็นกากออกไปขั้นตอนหนึ่งของการซ่อมแซมภาพวาดก็คือการคงหัวใจของภาพไว้ โดยเอาส่วนที่เป็นกากออกไป

ประจวบเหมาะกับที่มีคุณแม่คนหนึ่งพาลูกสาวมาเดินชมงาน พอดีเป็นช่วงใกล้ปิดงานแล้ว ร้านอื่นก็เก็บร้านจนเกือบหมด ìคุณแม่คนนั้นบอกว่า ร้านอื่นปิดหมดแล้ว ไม่มีอะไรให้ดูแล้ว เสียดายจริงๆ ผมเลยบอกว่า ไม่เป็นไรครับ หากน้องชอบ ของที่เก็บไปแล้วเอาออกมาใหม่ได้ แล้วทำกรอบภาพอันใหม่ให้น้องชมอีกครั้งî และด้วยความบังเอิญนี้ ทำให้เขาได้นามบัตรจากคุณหงสูเฟิน (洪淑芬) ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พิเศษ หอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน จึงเกิดเหตุการณ์ในอีก 8 ปีต่อมา ที่เขากับเพื่อนๆ อีก 7 คน ร่วมกันซ่อมแซมแฟ้มบันทึกประวัติศาสตร์ ìต้านซินî ซึ่งการซ่อมแซมนี้ ทำให้แฟ้มบันทึกประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวของห้องต้านสุ่ย กรุงไทเป และแฟ้มบันทึกการบริหารงานยุติธรรม (Justice Administration) ของเทศบาลซินจู๋ ในช่วงระหว่างปี 1776-1895 ซึ่งตรงกับยุคปลายสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงถึงต้นสมัยจักรพรรดิกวงซวี่ แห่งราชวงศ์ชิง รวมกว่า 19,000 ชิ้น มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง

ในเวลาต่อมา ความท้าทายจากการเย็บเล่มหนังสือของมหาวิทยาลัย Imperial Universities แห่งประเทศญี่ปุ่นก็ตามมาติดๆ โดยการแนะนำของหอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน จึงได้ศึกษาเทคนิคการซ่อมแซมเย็บเล่มหนังสือจากช่างประจำหอสมุดแห่งชาติไต้หวัน เริ่มจากภาพตัวอักษรไปจนถึงแฟ้มข้อมูลต่างๆ แล้วจึงก้าวสู่การซ่อมแซมหนังสือ ซึ่งปัจจุบันมีช่างที่มีความสามารถทั้ง 3 อย่างนี้น้อยมากทีเดียว

สรรค์สร้างและสืบทอดอย่างต่อเนื่อง

อู๋เจ๋อรุ่ยกำลังขะมักเขม้นกับการซ่อมแซมตำราฮั่นเหออู๋เจ๋อรุ่ยกำลังขะมักเขม้นกับการซ่อมแซมตำราฮั่นเหอ

คุณอู๋เจ๋อรุ่ยรื้อกระดาษสีนานาชนิดที่เขาเคยศึกษาออกมาโชว์ให้ดู ซึ่งสามารถนำเอามาใช้เป็นอุปกรณ์ในการซ่อมแซม และก็ยังเอามาใช้ทำเป็นกระดาษเทคนิคพิเศษในงานแสดงของศิลปิน กระดาษชนิดหนึ่งเรียกว่า "เซี่ยฟง" หรือ "ลมฤดูร้อน" ซึ่งเขาพบโดยบังเอิญ ตอนนั้นน้ำท่วมบ้าน เมื่อระบายน้ำออกจนแห้งหมดแล้ว พบกระดาษใบนี้อยู่บนพื้น ส่วนที่ถูกน้ำมีลายพิเศษที่สะดุดตาและสวยงามมาก เขาจึงศึกษาวิจัยพัฒนาลายน้ำนี้ โดยใช้กระดาษกับน้ำในระดับที่ต่างกัน ศึกษาพัฒนามาเรื่อยๆ จึงออกมาเป็นกระดาษที่มีลายพิเศษแบบนี้

แนวคิดที่อู๋เจ๋อรุ่ยใช้สอนลูกศิษย์มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยมีกติกาว่า ห้ามปิดบังเทคนิคใดๆ ในทีมงาน เพราะต้องทำอย่างนี้เท่านั้น สมาชิกในทีมจึงจะสามารถทุ่มเทแนวความคิดเพื่อให้เกิดผลสำเร็จออกมา และก็จะมีพลังขับเคลื่อนแห่งความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่ขาดสาย ส่วนตัวเขาเองก็มีหน้าที่นำพาและขุดคุ้ยศักยภาพในตัวของลูกศิษย์แต่ละคนออกมาให้ได้

ลูกศิษย์ชาวเวียดนามที่กำลังศึกษาความรู้จากอู๋เจ๋อรุ่ยบอกว่า "ที่เวียดนามต้องการเทคนิคการซ่อมแซมแบบนี้เป็นอย่างมาก อาจารย์ที่สอนก็สอนด้วยอารมณ์ขัน และไม่ใช่ว่าทำเป็นเพียงอย่างเดียว ยังสอนเป็นอีกด้วย ก่อนหน้านี้ อาจารย์ยังเคยไปสอนวิชาการซ่อมแซมแบบโบราณที่มาเลเซียและเวียดนามมาแล้ว

อู๋เจ๋อรุ่ยเห็นว่า การซ่อมแซมของโบราณหรือของเก่า เป็นความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง บางคนเอาสมุดโน้ตเครื่องเป่าพื้นบ้านภาคใต้ของจีนที่เขียนด้วยลายมือมาให้ซ่อม อู๋เจ๋อรุ่ยบอกว่า ไม่เก็บค่าซ่อมก็ได้ แต่ขออนุญาตสแกนเก็บไว้เป็นข้อมูลศึกษาของสำนักจดหมายเหตุเทศบาลกรุงไทเป เพราะมันเป็นโน้ตที่มีอายุกว่า 300 ปี และหายสาบสูญไปแล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็อาจจะนำมาบรรเลงเป็นบทเพลงอันแสนไพเราะได้อีกครั้ง อู๋เจ๋อรุ่ยหวังว่า ในอนาคตจะมีโอกาสได้ซ่อมแซมวัตถุโบราณที่ทำจากกระดาษซึ่งขุดค้นพบออกมาจากใต้ดิน แต่จะมีโอกาสแบบนี้หรือไม่เป็นเรื่องที่คาดเดายากมาก เพราะหนทางที่เขาก้าวผ่านพ้นมานั้น กล่าวได้ว่าเป็นทั้งความทรงจำและความตื่นตาตื่นใจครั้งแล้วครั้งเล่า