ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ศิลปะแห่งการซ่อมแซมงานศิลป์ ฟ่านต้งิ ผู่ ช่างซ่อมภาพจิตรกรรมตะวันออก ชั้นบรมครู
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-01-21

การอุดรูโหว่และซ่อมส่วนที่ชำรุดของภาพ เป็น งานที่ท้าทายความสามารถของสายตาอย่างยิ่ง

การอุดรูโหว่และซ่อมส่วนที่ชำรุดของภาพ เป็น งานที่ท้าทายความสามารถของสายตาอย่างยิ่ง

 

สตูดิโอ SJ Art and Conservation ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกวนตู้  ชานกรุงไทเป พื้นที่ภายในสตูดิโอที่สีขาวให้ความรู้สึกเงียบสงบ คนที่ทำงานในสตูดิโอแห่งนี้พูดคุยกันด้วยเสียงเบาๆ หยิบจับอะไรก็เป็นไปอย่างระมัดระวัง  สาเหตุเพราะ "ลูกค้า" ของสตูดิโอแห่งนี้เป็นศิลปวัตถุล้ำค่าอายุเกินกว่าร้อยปีทั้งนั้น จึงต้องทะนุถนอมเป็นพิเศษ

เจ้าของสตูดิโอ SJ Art and Conservation คือคุณฟ่านติ้งผู่ (范定甫) พูดเสียงเบาๆ แต่กระฉับกระเฉง บุคลิกภายนอกเหมือนผู้ชายตัวโตๆ ที่ชอบหมกตัวอยู่ในโลกศิลปะ หากแต่ในยามที่เขาซ่อมแซมงานศิลป์กลับทำได้อย่างละเอียดประณีต สมกับเป็นช่างซ่อมภาพจิตรกรรมชาวไต้หวันคนแรกของพิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum)

 

การอุดรูโหว่และซ่อมส่วนที่ชำรุดของภาพ เป็น งานที่ท้าทายความสามารถของสายตาอย่างยิ่งการอุดรูโหว่และซ่อมส่วนที่ชำรุดของภาพ เป็น งานที่ท้าทายความสามารถของสายตาอย่างยิ่ง

ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย คุณฟ่านติ้งผู่เป็นนักวาดภาพหมึกจีนสมัยใหม่ ด้วยความที่อยากศึกษาวิธีการนำเสนองานศิลปะ จึงก้าวเข้าสู่วงการเข้ากรอบรูป ซึ่งทำให้เขาได้รับความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับการซ่อมแซมงานศิลปะมากมาย และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ก้าวไปบนเส้นทางของการซ่อมภาพจิตรกรรม

ซ่อมวัตถุซ่อมใจ

คุณฟ่านติ้งผู่เล่าอย่างเปิดอกว่า "เพราะอยากสร้างสรรค์ผลงานใหม่ผมจึงไปเรียนการเข้ากรอบรูป" ที่ผ่านมาเมื่อวาดภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว จิตรกรจะนำผลงานไปให้ช่างเข้ากรอบรูป แต่คุณฟานติ้งผู่เป็นนักวาดภาพที่ต้องการเสรีภาพในด้านการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งให้ความสำคัญกับผลงาน ทั้งตัวชิ้นงานและการนำเสนอ เน้นความมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้เทคนิคการเข้ากรอบรูปซึ่งถือเป็นงานหัตถศิลป์แบบดั้งเดิมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการซ่อมแซมศิลปวัตถุของเขา

ศิลปะแห่งการซ่อมแซมงานศิลป์ ฟ่านต้งิ ผู่ ช่างซ่อมภาพจิตรกรรมตะวันออก ชั้นบรมครู

หลังจบปริญญาตรี คุณฟ่านติ้งผู่เข้าศึกษาต่อในสาขาการดูแลรักษาวัตถุโบราณ วิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไถหนาน (Tainan National College of the Arts ปัจจุบันคือ Tainan National University of the Arts) ซึ่งเป็นสถาบันบัณฑิตวิทยาลัยที่บ่มเพาะบุคลากรด้านการซ่อมแซมศิลปวัตถุแห่งแรกในไต้หวัน นับเป็นการก้าวเข้าสู่วงการซ่อมแซมศิลปวัตถุอย่างเป็นทางการของคุณฟ่านติ้งผู่ เขาเล่าว่า "เรียนรู้เทคนิคการเข้ากรอบรูปแบบดั้งเดิมกับการซ่อมแซมศิลปวัตถุเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะได้เรียนรู้ถึงรายละเอียดปลีกย่อยและวัตถุดิบที่ใช้ ตลอดจนเทคนิคและความรู้อื่นๆ อีกมากมายที่เหล่าศิลปินไม่เคยคำนึงถึง" แต่การซ่อมแซมศิลปวัตถุต้องนั่งแช่อยู่กับสิ่งที่ต้องซ่อมแซมเป็นเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการปัดฝุ่น อุดรูโหว่ หรือเติมแต่งสี จากสภาพการทำงานที่แทบไม่มีโอกาสขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเลย ทำให้คุณฟ่านติ้งผู่ซึ่งรักการทำกิจกรรมกลางแจ้งรู้สึกไม่คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับงานซ่อมแซมศิลปวัตถุไม่ใช่การสร้างสรรค์ผลงาน เขาจำต้องสะกดความรู้สึกรักอิสรเสรีและปลดปล่อยอารมณ์ให้โลดแล่นแบบศิลปินของตนเองเอาไว้ คุณฟ่านติ้งผู่ยกตัวอย่างเรื่องหลักการ "perceptibility" (การใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีเดิมของภาพมาเติมแต่งส่วนที่กะเทาะหรือจางลง) พร้อมอธิบายว่า "perceptibility" คือหลักการซ่อมแซมศิลปวัตถุที่ต้องสามารถแยกส่วนที่ซ่อมแซมกับของเดิมออกจากกันได้ หากต้องมีการเติมแต่งสีลงบนส่วนที่จางลง ก็ต้องใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีเดิมมากที่สุดเท่านั้น รายละเอียดปลีกย่อยและข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ทำให้คุณฟ่านติ้งผู่ที่มีอารมณ์ศิลปินเต็มตัวรู้สึกอึดอัดคับข้องใจเป็นอย่างยิ่ง เขายอมรับว่าต้องใช้เวลากว่า 2 ปี จึงค่อยๆ ปรับตัวปรับใจให้สามารถก้าวเดินไปบนเส้นทางของช่างซ่อมภาพจิตรกรรมได้อย่างสงบ

แปรง คือเครื่องมือสำคัญของงานเข้ากรอบรูปและซ่อมภาพจิตรกรรม เทคนิคการใช้แปรงเป็นสิ่งแรกที่ช่างซ่อมศิลปวัตถุทุกคนต้องฝึกฝนแปรง คือเครื่องมือสำคัญของงานเข้ากรอบรูปและซ่อมภาพจิตรกรรม เทคนิคการใช้แปรงเป็นสิ่งแรกที่ช่างซ่อมศิลปวัตถุทุกคนต้องฝึกฝน

ปรับแนวทางการซ่อมแซมให้เข้ากับยุคสมัย

การซ่อมศิลปวัตถุในยุคปัจจุบัน โดยทั่วไปมักจะเรียนรู้เทคนิคการซ่อมแซมแบบดั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์ตะวันตก แต่คุณฟ่านติ้งผู่ชี้แจงว่า จิตรกรรมตะวันออกมีบริบทของมันเองอยู่แล้ว ทำให้ช่างสมัยโบราณรู้วิธีการซ่อมงานศิลปะเหล่านี้ว่าต้องทำอย่างไร คุณฟ่านติ้งผู่ชี้แจงว่า ต้องเริ่มจากการเข้ากรอบรูปก่อน "การเข้ากรอบรูปและการซ่อมภาพจิตรกรรมของจีนมีมานานแล้ว แต่เป็นเพียงแค่การซ่อมหรือเข้ากรอบให้แก่ผลงานจิตรกรรมเท่านั้น ต่างจากงานซ่อมภาพจิตรกรรมในยุคปัจจุบัน นอกจากเป็นการรักษาสภาพเดิมของภาพจิตรกรรมเอาไว้ ยังต้องอนุรักษ์ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ คุณค่าของสุนทรียศาสตร์ ตลอดจนค่านิยมและแนวคิดแรกเริ่มในการรังสรรค์ผลงานชิ้นนั้นเอาไว้ด้วย"

ช่างซ่อมศิลปวัตถุในปัจจุบันจะต้องเพียบพร้อมไปด้วยความรู้หลากหลายด้าน อาทิ ประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์  วิจิตรศิลป์ และเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องปฏิบัติตามหลักการซ่อมภาพจิตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย"reversibility" (หมายถึง วัตถุดิบหรือเทคนิคใหม่ที่เติมแต่งลงไปต้องเอาออกได้ หากต้องการให้คืนสู่สภาพเดิมก่อนการซ่อม) "perceptibility" (รอยซ่อมต้องกลมกลืน แต่ก็ต้องสามารถแยกได้ว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของภาพเดิม) "authenticity" และการเข้าแทรกแซงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ งานซ่อมศิลปวัตถุร่วมสมัยยังต้องให้ความสำคัญกับกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการตรวจสอบบันทึกและแผนการซ่อมแซม หลังได้รับมอบหมายให้ซ่อมภาพจิตรกรรมใดๆ แล้ว  ต้องจัดทำ "บันทึกการตรวจสภาพศิลปวัตถุ" คุณฟ่านติ้งผู่กล่าวว่า ก็เหมือนกับ "บันทึกประวัติอาการป่วยของศิลปวัตถุ" นั่นเอง จากนั้นจึงจัดทำแผนการซ่อมแซม

การตรวจเฉพาะจุด ต้องใช้แว่นขยายมาตรวจดูปฏิกิริยาของน้ำยาที่ หยดลงไปบนศิลปวัตถุการตรวจเฉพาะจุด ต้องใช้แว่นขยายมาตรวจดูปฏิกิริยาของน้ำยาที่ หยดลงไปบนศิลปวัตถุ

ล้าง แกะ อุด เติมแต่ง

การซ่อมภาพจิตรกรรมต้องทำอย่างไร  คุณฟ่านติ้งผู่บอกว่า ต้องทำเข้าความเข้าใจความหมายของคำว่า เข้ากรอบรูป หรือ "裝裱" ก่อน คำว่า "裝裱" มาจากคำว่า 加襯 (แปลว่า การขับเน้น) และ 裝飾 (แปลว่า การตกแต่ง) ดังนั้น ความหมายของคำว่า "裝裱" (เข้ากรอบรูป) จึงหมายถึง การขับเน้นจิตวิญญาณของภาพ และเติมแต่งให้ภาพมีความโดดเด่นมากขึ้น  ดังนั้น ในการซ่อมภาพจิตรกรรมจะต้องนำสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากภาพวาดออกไปให้หมด เหลือเพียงชิ้นงานที่เป็นภาพวาดเดิมเท่านั้น โดยอันดับแรกต้องล้างสิ่งสกปรกหรือฝุ่นที่เกาะอยู่บนภาพออกให้หมด ตามด้วยแกะภาพออกจากกรอบ หากมีรอยโหว่ต้องอุดรอยโหว่ก่อน หากมีรอยสีกะเทาะหรือจางลง ต้องเติมแต่งสีให้กลมกลืนหรือใกล้เคียงกับสีเดิม จะเห็นว่าลำดับขั้นตอนในการซ่อมภาพจิตรกรรมประกอบด้วย "ล้าง แกะ อุด เติมแต่ง" คุณฟ่านติ้งผู่ใช้เวลาเพียง 3 วินาที ในการเอ่ยถึง  "4 เคล็ดลับ" ในการซ่อมภาพจิตรกรรม  แต่ในทางปฏิบัติมีขั้นตอนที่ซับซ้อนร่วม 100 ขั้นตอน

ใช้จอรังสีอัลตราไวโอเลตในการตรวจสอบและศึกษารายละเอียด ปลีกย่อยของศิลปวัตถุใช้จอรังสีอัลตราไวโอเลตในการตรวจสอบและศึกษารายละเอียด ปลีกย่อยของศิลปวัตถุ

จากอดีตเมื่อพันปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ขั้นตอนการซ่อมศิลปวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในด้านแนวคิดกลับแตกต่างออกไปและถูกปรับให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจากช่างซ่อมศิลปวัตถุรุ่นใหม่รับเอาแนวคิดจากโลกตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับเอกลักษณ์ของภาพจิตรกรรมตะวันออก ยกตัวอย่างเช่น หลักการ "perceptibility" ตามทฤษฎีการซ่อมศิลปวัตถุ เพื่อให้สามารถแบ่งแยกส่วนที่ซ่อมแซมกับของเดิมได้โดยง่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบโดยรวมและทำลายคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภาพ ในการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังและภาพเขียนสีน้ำมันของตะวันตกมีเทคนิคเติมแต่งสีที่กะเทาะโดยใช้พู่กันลงลายเส้นเล็กๆ หากมองในระยะไกลแทบมองไม่เห็นความแตกต่าง แต่เมื่อเข้าใกล้สามารถแยกส่วนที่ซ่อมแซมกับของเดิมได้ กระนั้นก็ตามเทคนิคนี้อาจใช้กับภาพจิตรกรรมตะวันออกไม่ได้ คุณฟ่านติ้งผู่อธิบายว่า การจัดแสดงภาพจิตรกรรมตะวันออกนั้น ภาพที่นำมาจัดแสดงกับผู้ชมจะอยู่ในระยะที่ใกล้กันมาก หากใช้เทคนิคของตะวันตกดังกล่าวมาซ่อมภาพ ลายเส้นเหล่านี้จะดูแปลกและขัดตา ดังนั้น ในยุคหลังๆ เทคนิคการซ่อมภาพจิตรกรรมในไต้หวันและญี่ปุ่นจึงเลือกใช้วิธี ìเติมสี แต่ไม่เชื่อมลายเส้นî ซึ่งก็คือหากพบว่าภาพวาดหรือศิลปวัตถุชำรุด ช่างจะเติมสีที่ใกล้เคียงกับสีเดิมมากที่สุดลงในจุดเล็กๆ (เติมสี) แต่จะไม่ใช้พู่กันทาเชื่อมลายเส้น (ไม่เชื่อมลายเส้น)

จดจ่ออยู่กับงาน ช่างซ่อมศิลปวัตถุใช้ชีวิตของตนเองมายืดชีวิตให้ แก่ศิลปวัตถุจดจ่ออยู่กับงาน ช่างซ่อมศิลปวัตถุใช้ชีวิตของตนเองมายืดชีวิตให้ แก่ศิลปวัตถุ

และนี่คือหลักการซ่อมภาพจิตรกรรมที่ปรับให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม

งานซ่อมศิลปวัตถุ คือการนำเสนอวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คุณฟ่านติ้งผู่เดินทางไปฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ หลังจากนั้นได้เข้าทำงานในห้องกรอบรูป ฝ่ายภาพจิตรกรรมของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กง และ Hirayama Studio ซึ่งทำหน้าที่ดูแลรักษาศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ คุณฟ่านติ้งผู่เล่าว่า การฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้เป็นไปในรูปแบบของครูช่างถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ ทำให้เขารู้ซึ้งถึงคุณค่าของงานเข้ากรอบรูปว่า แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เป็นแค่งานฝีมือเท่านั้น เบื้องหลังการ ìล้าง แกะ อุด เติมแต่งî แฝงไว้ด้วยวัฒนธรรมที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ìในฐานะช่างซ่อมศิลปวัตถุต้องสืบทอดจิตวิญญาณของอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้คงอยู่สืบต่อไปî ในแง่มุมด้านวัฒนธรรม เขามองว่างานเข้ากรอบรูปและซ่อมแซมศิลปวัตถุไม่ใช่แค่เทคนิคอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นความทรงจำทางวัฒนธรรมร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง ช่างซ่อมศิลปวัตถุยิ่งต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้ให้ยืนยาวสืบไป

ประสบการณ์การทำงานในพิพิธภัณฑ์อังกฤษทำให้เขารับแนวคิดใหม่ที่ต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมและมีความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน แต่ละคนจึงมีมุมมองเกี่ยวกับงานซ่อมศิลปวัตถุที่ต่างกันออกไป ทำให้เขาได้รู้ว่างานซ่อมศิลปวัตถุไม่ได้มีเพียงแค่การทำให้วัตถุคืนสู่สภาพเดิมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับนโยบายด้านวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์ที่จะนำเสนอศิลปวัตถุด้วย คุณฟ่านติ้งผู่เล่าว่า ìความจริงแล้ว งานซ่อมศิลปวัตถุ คือการนำเสนอวัฒนธรรมอย่างหนึ่งî การซ่อมศิลปวัตถุไม่มีคำตอบที่ตายตัว แต่เป็นการหารือกันด้วยมุมมองที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวัฒนธรรมและเทคนิคการปฏิบัติ จึงจะถือว่าเป็นการซ่อมศิลปวัตถุที่เหมาะสม

สตูดิโอ SJ Art and Conservation (三間工作室 แปลว่า สตูดิโอ 3 แห่ง) ที่คุณฟ่านติ้งผู่จัดตั้งขึ้น มีความหมายว่า สตูดิโอแห่งศิลปะ สตูดิโอ แห่งการซ่อมศิลปวัตถุ และสตูดิโอแห่งชีวิตสตูดิโอ SJ Art and Conservation (三間工作室 แปลว่า สตูดิโอ 3 แห่ง) ที่คุณฟ่านติ้งผู่จัดตั้งขึ้น มีความหมายว่า สตูดิโอแห่งศิลปะ สตูดิโอ แห่งการซ่อมศิลปวัตถุ และสตูดิโอแห่งชีวิต

คุณฟ่านติ้งผู่มองว่า เทคนิคการซ่อมภาพจิตรกรรมของไต้หวันถือว่าอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก โดยตัวเขาเองก็พยายามเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรระดับสากลต่างๆ อาทิ International Institute for the Conservation of Historic and Artistic Works (IIC) และ American Institute for Conservation of Historic and Artistic Works (AIC) เพื่อให้ไต้หวันมีสิทธิมีเสียงในเวทีสากล ขณะเดียวกันได้จัดตั้งสตูดิโอ SJ Art and Conservation ขึ้น โดยนำความเชี่ยวชาญระดับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาบริการแก่ภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจความหมายและคุณค่าของงานซ่อมศิลปวัตถุได้ดียิ่งขึ้น

จากที่เคยคิดจะหวนคืนสู่การเป็นศิลปินมาโดยตลอด มาถึงวันนี้ คุณฟ่านติ้งผู่รู้สึกว่าการซ่อมศิลปวัตถุกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะล้วนต้องอาศัย "ความคิดสร้างสรรค์" เพียงแต่ใช้กับสิ่งที่ต่างกันเท่านั้น งานซ่อมศิลปวัตถุไม่มีมาตรฐานที่ตายตัว ด้วยเหตุนี้เองทุกครั้งที่เผชิญกับงานชิ้นใหม่ ก็ไม่ต่างจากการเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ คุณฟ่านติ้งผู่รำพึงรำพันว่า "ผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำสิ่งที่เรียกว่า action art" บนเส้นทางศิลปะ เขาคือช่างซ่อมศิลปวัตถุที่ทำให้การซ่อมแซมศิลปวัตถุกลายเป็นศิลปะ