ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
อโศก ศรีจันทร์ พ่เี ลี้ยงแรงงานไทย ผู้ทำหน้าท่เี ป็นสะพานเช่อื มความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและไต้หวัน
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-01-28

Rti ร่วมกับสำนักงานแรงงานไทย ไทเป จัดโครงการทัศนศึกษาสำหรับ บุตรธิดาแรงงานไทยดีเด่น ได้พาบุตรธิดาของแรงงานไทยเดินทางมา เยี่ยมบิดามารดาที่ทำงานอยู่ในไต้หวันแล้วกว่า 50 คน (ภาพจาก Rti)

Rti ร่วมกับสำนักงานแรงงานไทย ไทเป จัดโครงการทัศนศึกษาสำหรับ บุตรธิดาแรงงานไทยดีเด่น ได้พาบุตรธิดาของแรงงานไทยเดินทางมา เยี่ยมบิดามารดาที่ทำงานอยู่ในไต้หวันแล้วกว่า 50 คน (ภาพจาก Rti)

 

"ผมเป็นคนไทย และมีบัตรประชาชนไต้หวัน จึงอยากทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งผมถือว่าเป็นภาระหน้าที่อย่างหนึ่ง" อโศก ศรีจันทร์ (陶雲升) หรือที่แรงงานไทยรู้จักในอีกนามหนึ่ง ธนา รณกร หัวหน้าภาคภาษาไทย Radio Taiwan International : Rti ซึ่งเป็นสถานีวิทยุแห่งชาติของไต้หวัน ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการวิทยุกระจายเสียงมานานและเป็นผู้จัด เป็นพิธีกรในงานต่างๆ ที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อแรงงานไทย แม้จะใช้เสียงพูดตลอด แต่ส่วนตัวเป็นคนพูดน้อย สุขุม เมื่อโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากแรงงานไทยดังขึ้น จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานแรงงานไทย ไทเป คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและประสานติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่แรงงานไทย

 

อโศก ศรีจันทร์ พ่เี ลี้ยงแรงงานไทย ผู้ทำหน้าท่เี ป็นสะพานเช่อื มความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและไต้หวัน

อโศก ศรีจันทร์ เดินทางมาไต้หวันร่วม 40 ปีแล้ว รับผิดชอบภาคภาษาไทย Rti มานานถึง 30 ปี ในช่วงแรกๆ ที่ไต้หวันเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติ แรงงานไทยจำนวนมากไม่รู้ภาษาจีน ไม่เข้าใจระเบียบกฎหมายและวัฒนธรรม มักจะใช้วิธีหลบหนีจากนายจ้างกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายมาเป็นเครื่องแก้ปัญหา เขาจึงหารือและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถานีวิทยุ เปิดรายการวิทยุภาคภาษาไทยสำหรับแรงงานไทย เสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ระเบียบกฎหมายและมาตรการใหม่ที่เกี่ยวกับแรงงานต่างชาติ รวมทั้งสอนภาษาจีนทางอากาศ และเปิดให้โทรศัพท์โฟนอินหรือเขียนจดหมายเข้ารายการถามปัญหา ขอรับความช่วยเหลือและเล่าประสบการณ์ ฯลฯ กลายเป็นรายการวิทยุที่มีแรงงานไทยสนใจติดตามมากที่สุด ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ อาทิ การจลาจลของแรงงานต่างชาติที่นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของฟอร์โมซาพลาสติกส์กรุ๊ปที่ม่ายเหลียว เมืองหยุนหลิน เมื่อปีค.ศ.1999 เหตุการณ์ประท้วงของแรงงานไทยในแคมป์พักไซต์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าเกาสง เมื่อปีค.ศ.2005 ตลอดจนเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานชินพูน ลามไปถึงหอพัก ทำให้มีแรงงานไทยเสียชีวิต 2 ราย เจ้าหน้าที่กู้ภัยเสียชีวิตถึง 6 ราย ผู้ที่ประสานงานช่วยแก้ปัญหาอยู่เบื้องหลัง ก็คือ อโศก ศรีจันทร์นั่นเอง

มาทำงานด้านนี้ได้อย่างไร และทำไมจึงคิดว่าการช่วยเหลือแรงงานไทยเป็นภารกิจของตน เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปในวัยเด็กของเขา

ต้องมนต์เสน่ห์เสียงเครื่องรับวิทยุมาตั้งแต่เด็ก

อโศก ศรีจันทร์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดในหมู่บ้านชนบทที่จังหวัดเชียงใหม่ หลงใหลเครื่องรับวิทยุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่เด็ก ทุกวันก่อนนอนและตื่นนอนจะเปิดเครื่องรับวิทยุคลื่นสั้นรับฟังรายการ VOA ของอเมริกา, BBC ของอังกฤษ, ABC ของออสเตรเลีย ฯลฯ

อโศก ศรีจันทร์จัดทำรายการวิทยุให้ความรู้ด้านกฎหมาย และสิทธิ ประโยชน์ของแรงงานต่างชาติ ส่งผลให้อัตราส่วนการหลบหนีของ แรงงานไทยจากที่เคยสูงเป็นอันดับ 1 ในอดีต ปัจจุบันต่ำสุดในบรรดา แรงงาน 4 ชาติ (ภาพจาก Rti)อโศก ศรีจันทร์จัดทำรายการวิทยุให้ความรู้ด้านกฎหมาย และสิทธิ ประโยชน์ของแรงงานต่างชาติ ส่งผลให้อัตราส่วนการหลบหนีของ แรงงานไทยจากที่เคยสูงเป็นอันดับ 1 ในอดีต ปัจจุบันต่ำสุดในบรรดา แรงงาน 4 ชาติ (ภาพจาก Rti)

เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน เขาได้ติดตามพระธรรมจาริกไปเป็นเด็กวัดและบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ระหว่างที่อยู่ในวัดได้ร่ำเรียนทั้งสายปริยัติธรรมและสายสามัญ แน่นอนไม่ลืมที่จะศึกษาเล่าเรียนด้านอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างที่เป็นสามเณรสามารถประกอบเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ออกขายด้วย หลังจากจบการศึกษาในวัดและสึกจากสามเณรแล้ว ได้เข้าศึกษาต่อสาขาอิเล็กทรอนิกส์ที่วิทยาลัยเทคนิคจนจบการศึกษา และในช่วงทศวรรษ 80 ซึ่งเป็นยุคบูมของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เขามีโอกาสเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน โดยเป็นเทคนิเชียนของโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ สัญชาติอเมริกา

ทำงานในวิชาที่ร่ำเรียนมานาน 6 ปี เครื่องรับวิทยุได้เป็นจุดผันแปรของชีวิตอีกครั้ง เมื่อกรมประชาสัมพันธ์ของไต้หวันในขณะนั้น ได้มอบหมายให้สถานีวิทยุ BCC (Broadcasting Corporation of China : 中廣) ซึ่งเป็นพรรควิสาหกิจของพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผู้บริหารสถานีวิทยุเสียงแห่งเอเชีย (VA) 1 ในสถานีวิทยุของรัฐบาล เปิดรับสมัครผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทย อโศก ศรีจันทร์ จึงสมัครสอบ เนื่องจากติดตามฟังข่าวสารด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาตั้งแต่เด็ก จึงสามารถสอบผ่าน ซึ่งรับเพียงคนเดียวจากผู้สมัครสอบหลายสิบคน ได้เข้าเป็นผู้ประกาศข่าวของ VA อำลาตำแหน่งช่างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต้องมนต์เสน่ห์เสียงเครื่องรับวิทยุมาตั้งแต่เด็ก

หลังจากเป็นผู้ประกาศข่าว ผู้จัดรายการ จนกลายเป็นหัวหน้าภาคภาษาไทยของ Rti ในปัจจุบัน อโศก ศรีจันทร์ ได้สร้างผลงานไว้มากมาย และกลายเป็นเพื่อนสนิทของผู้ฟังจำนวนมาก ในปีค.ศ.2013 ยังได้นำพาภาคภาษาไทย Rti คว้ารางวัลระฆังทองคำ ซึ่งเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดของวงการสื่อวิทยุในไต้หวัน และเป็นรายการภาคภาษาต่างประเทศรายการแรกที่ได้รับรางวัลอันสูงส่งนี้ด้วย

ประเพณีการบวชของชายไทย

ประสบการณ์ของอโศก ศรีจันทร์ ที่เคยบวชเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง แล้วสึกออกไปเป็นฆราวาสอีกครั้ง สำหรับศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ชาวไต้หวันนับถือแล้ว เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ยาก แต่สำหรับชาวไทยซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแล้ว การบวช การสึกหรือลาสิกขาบทเป็นเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไป

ประเพณีการบวชของชายไทย

งานบวช เป็นประเพณีไทยที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดา รวมทั้งเครือญาติ การออกบวชอาจจะบวชระยะสั้น 3 วัน, 3 เดือน หรือ 3 ปี ตามแต่ความสมัครใจ

วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทย นอกจากเป็นที่ชุมนุมเพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ยังเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะเด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน อโศก ศรีจันทร์กล่าวว่า การได้ไปเป็นเด็กวัดและบวชเรียนสายปริยัติธรรม แม้ว่าขณะนั้น อายุยังน้อย ไม่เข้าใจแก่นแท้ของพระธรรมคำสอน ได้แต่ใช้วิธีท่องจำ แต่เมื่อเข้าสู่สังคมทำงานแล้ว พระธรรมคำสอนที่ร่ำเรียนมากลายเป็นรากฐานในการทำงานได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านมุมมอง การตัดสินใจ หรือมนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ 

อโศก ศรีจันทร์กำลังอธิบายระบบส่งกระจายเสียงของ Rti กับผู้ สื่อข่าว Thai PBS (ภาพจาก Rti)อโศก ศรีจันทร์กำลังอธิบายระบบส่งกระจายเสียงของ Rti กับผู้ สื่อข่าว Thai PBS (ภาพจาก Rti)

พี่เลี้ยงของแรงงานไทยในไต้หวัน

อาจเป็นเพราะเคยบวชเรียนมา ทำให้อยากช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน โดยเฉพาะพี่น้องแรงงานไทยที่เดินทางมาทำงานในต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีอาการคิดถึงบ้านและประสบปัญหามากมาย อโศก ศรีจันทร์ ได้จัดทำรายการวิทยุเพื่อแรงงานไทยเป็นรายแรก นอกจากเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังเปิดโฟนอินถามปัญหาทั้งในด้านการทำงานหรือชีวิตความเป็นอยู่  บางครั้งได้เชิญผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานไทยมาร่วมออกอากาศไขข้อข้องใจของเพื่อนแรงงานไทยด้วย และรายการนี้ นอกจากช่วยคลายความคิดถึงบ้านได้แล้ว ยังช่วยให้แรงงานไทยเข้าใจสิทธิประโยชน์ของตนและผลของการหลบหนีจากนายจ้าง ซึ่งในอดีต แรงงานไทยหลบหนีเป็นจำนวนมากที่สุด ในรายการเปิดให้แรงงานไทยที่หลบหนีกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายแล้ว โทรศัพท์มาเล่าถึงความลำบากและปัญหาที่ตามมา จนปัจจุบัน แรงงานไทยหลบหนีมีสัดส่วนที่ต่ำสุดในบรรดา 4 ชาติ

แม้การใช้สื่อโซเชียลจะเพิ่มขึ้น แต่ภาคภาษาไทย Rti ยังมีผู้ฟัง ที่เขียนจดหมายแบบดั้งเดิมเข้ารายการมากกว่าภาคภาษาอื่นๆ (ภาพจาก Rti)แม้การใช้สื่อโซเชียลจะเพิ่มขึ้น แต่ภาคภาษาไทย Rti ยังมีผู้ฟัง ที่เขียนจดหมายแบบดั้งเดิมเข้ารายการมากกว่าภาคภาษาอื่นๆ (ภาพจาก Rti)

ในอดีต การติดต่อสื่อสารลำบากมาก ไม่เหมือนปัจจุบันที่มีโทรศัพท์มือถือใช้กันทุกคน และสามารถร้องเรียนได้กับสายด่วนคุ้มครองแรงงาน 1955 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แรงงานไทยจำนวนหนึ่งไม่เข้าใจวัฒนธรรมของชาวไต้หวัน อย่างนายจ้างบางรายสั่งงานเสียงดังและท่าทางขึงขัง เพราะในโรงงานเครื่องจักรเสียงดัง แรงงานไทยจึงเข้าใจผิดคิดว่านายจ้างดุด่า หรือนายจ้างบางรายซึ่งไม่รู้วัฒนธรรมคนไทย มักจะลูบหัวตบไหล่แสดงความเป็นกันเอง แต่แรงงานไทยเข้าใจผิดคิดว่านายจ้างลบหลู่จึงไม่พอใจ ทำให้หลบหนีหรือขอยกเลิกสัญญาเดินทางกลับบ้าน เป็นต้น

ìผมเป็นนักจัดรายการวิทยุ เข้าถึงข่าวสารด้านแรงงาน ขณะเดียวกันทำงานอยู่ที่สำนักงานแรงงานไทยด้วย จึงมีโอกาสช่วยเหลือพี่น้องแรงงานไทยได้มากกว่าคนอื่นî อโศก ศรีจันทร์เล่าว่า จากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และช่วยแก้ไขปัญหา ทำให้แรงงานไทยซึ่งอดีตเคยหลบหนีจากนายจ้างสูงเป็นอันดับ 1 ปัจจุบันลดลงเหลือไม่ถึง 1.5% ของจำนวนแรงงานต่างชาติที่หลบหนีทั้งหมด ต่ำสุดในบรรดาแรงงานจาก 4 ชาติ

เมื่อถามถึงความช่วยเหลือแรงงานไทย อโศก ศรีจันทร์ได้เล่าเหตุการณ์จลาจลครั้งรุนแรงเมื่อวันที่ 6 กันยายน ปีค.ศ. 1999 ที่กลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก สาเหตุเกิดจากแรงงานไทยที่เดินทางมาทำงานด้วยค่าหัวคิวที่แพง มาถึงแล้วถูกหัวหน้างานของบริษัทรับเหมาก่อสร้างบริหารด้วยวิธีกดขี่และขูดรีด ทั้งค่าจ้างทำงานล่วงเวลาหดหาย อาหารที่ได้รับไร้คุณภาพและมีปริมาณน้อย ฯลฯ เมื่อมีแรงงานไทยและฟิลิปปินส์ทะเลาะกันจากการแย่งใช้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถืออย่างทุกวันนี้ จึงเป็นชนวนลุกลามกลายเป็นเหตุการณ์จลาจล และทำท่าว่าจะเอาไม่อยู่ ช่วงเช้าวันเกิดเหตุ กระทรวงแรงงานไต้หวันได้โทรศัพท์ขอให้อโศก ศรีจันทร์และเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานไทยเดินทางไปช่วยคลี่คลายสถานการณ์ เมื่อไปถึง ได้รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของแรงงานไทยและรับปากจะช่วยแก้ไขแล้ว แรงงานไทยสบายใจขึ้นต่างแยกย้ายกันกลับเข้าหอพัก ขณะที่แรงงานฟิลิปปินส์นับพันย้ายออกจากไซต์งาน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ในวันรุ่งขึ้น มีข่าวลือกันว่า แรงงานฟิลิปปินส์หลายร้อยคนเตรียมบุกเข้ามาที่ไซต์งานเพื่อเอาคืน กลุ่มแรงงานไทยประมาณ 1,000 กว่าคน มือถือท่อนไม้และก้อนหิน ตั้งรับบนถนนใหญ่หน้าแคมป์พัก แม้ตำรวจปราบจลาจลหลายร้อยนายยืนขวางกั้น เกลี้ยกล่อมให้สลายตัว แต่ไม่เป็นผล จึงได้ไปตามอโศก ศรีจันทร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ไซต์งานอื่น เมื่อเดินทางมาถึง เขาได้ยืมใช้ระบบขยายเสียงในรถตำรวจ เรียกร้องให้แรงงานไทยรักษาภาพลักษณ์ของคนไทยที่นอบน้อมไม่สร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนความเดือดร้อนกำลังช่วยแก้กันอยู่ นับ 1 ถึง 3 ขอให้แรงงานไทยสลายตัวแยกย้ายกันกลับเข้าแคมป์พัก อโศก ศรีจันทร์นับถึง 3 ด้วยใจหวาดหวั่น เพราะไม่แน่ใจว่าแรงงานไทยจะให้ความร่วมมือหรือไม่ ปรากฏว่าสร้างความตะลึงแก่ตำรวจ เพราะเมื่อนับถึง 3 แรงงานไทยทุกคนยอมวางท่อนไม้และก้อนหินลง แยกย้ายกันกลับเข้าแคมป์พัก อโศกยอมรับว่า ตอนที่นับ 1, 2, 3 ไม่มั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือ หากเป็นเช่นนั้นคงหน้าแตกเป็นแน่แท้

แม้การใช้สื่อโซเชียลจะเพิ่มขึ้น แต่ภาคภาษาไทย Rti ยังมีผู้ฟัง ที่เขียนจดหมายแบบดั้งเดิมเข้ารายการมากกว่าภาคภาษาอื่นๆ (ภาพจาก Rti)แม้การใช้สื่อโซเชียลจะเพิ่มขึ้น แต่ภาคภาษาไทย Rti ยังมีผู้ฟัง ที่เขียนจดหมายแบบดั้งเดิมเข้ารายการมากกว่าภาคภาษาอื่นๆ (ภาพจาก Rti)

แรงงานไทยจำนวนมากติดตามข้อมูลข่าวสารจาก Rti คุณเมษัณฑ์ เอี่ยมศรี อดีตแรงงานไทยที่ปัจจุบันยกระดับมาเป็นล่ามประจำไซต์งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลินโข่ว นครนิวไทเป 1 ในผู้ฟัง Rti เล่าให้ฟังว่า อาจารย์อโศก ศรีจันทร์ เสมือนเป็นญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวของพวกเรา ท่านคอยเตือน คอยสอนและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับแรงงานไทยในไต้หวันมาโดยตลอด

นำร่องปรับตัวสื่อวิทยุในยุคโซเชียล

ในวงการวิทยุภาคภาษาต่างประเทศในไต้หวัน อโศก ศรีจันทร์ เป็นรายแรกที่ปรับรายการวิทยุจากสื่อเก่าผสมผสานกับสื่อสังคมออนไลน์ โดยเริ่มจากใช้เว็บและเฟซบุ๊ก ปัจจุบันขยายไปยังยูทูป เนื่องจากแรงงานไทยในไต้หวัน มีแนวโน้มใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้นตั้งแต่ 7-8 ปีที่แล้ว จนปัจจุบันมีใช้กันทุกคนแล้ว การส่งข่าวสารและรายการวิทยุผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นวิธีสะดวกและง่ายที่สุดสำหรับผู้ฟัง โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องรับวิทยุอีกต่อไป ทุกวันนี้ Rti กลายเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญสำหรับแรงงานไทยในไต้หวัน ตลอดจนชาวไทยทั่วโลก โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารทางด้านแรงงาน สถานการณ์บ้านเมือง วัฒนธรรม เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ตลอดจนสภาพอากาศ การท่องเที่ยวและอาหารการกินในไต้หวันได้ ผ่านเฟซบุ๊กที่ Rti Fanpage, เว็บไซต์ที่ th.rti.org.tw และ YouTube ช่อง Rti Thai