ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
เล็งเปิดให้รักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัดอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนนี้ คาดมีผู้ได้รับอานิสงส์ปีละกว่า 100,000 ราย
2019-02-12

กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์บำบัด 6 วิธี มีผู้ได้รับอานิสงส์ปีละกว่า 100,000 ราย

กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์บำบัด 6 วิธี มีผู้ได้รับอานิสงส์ปีละกว่า 100,000 ราย

หนังสือพิมพ์Liberty Times วันที่11ก.พ.62

เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมคือทิศทางการพัฒนาทางการแพทย์ที่สำคัญ เมื่อวานนี้สภาบริหาร ไต้หวันสาธารณรัฐจีน ประกาศว่า ในปีที่ผ่านมาได้บูรณาการทรัพยากรหน่วยงานต่างๆเพื่อส่งเสริมให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถเปิดให้บริการเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์บำบัด 6 วิธี คาดโรงพยาบาลที่ยื่นขออนุญาตเปิดให้บริการเทคนิคการรักษาดังกล่าวชุดแรก จะได้รับอนุมัติและเริ่มให้การรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างเป็นทางการได้อย่างเร็วที่สุดภายในสิ้นเดือนนี้ ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ได้รับอานิสงส์ปีละกว่า100,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของไต้หวัน 4 แห่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย

 

สภาบริหารระบุว่า ในปัจจุบัน ทั่วโลกมีเพียง 2 ประเทศคือไต้หวันและญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีการพัฒนาเทคนิคการรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัด และเป็นประเทศผู้นำด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมและพยายามก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมในภูมิภาคเอเชีย

 

“การรักษาด้วยเซลล์บำบัด”(cytotherapy) คือการใช้เซลล์เนื้อเยื่อร่างกายของมนุษย์ โดยปราศจากการใช้ยาร่วมรักษา สร้างโครงสร้างเซลล์เนื้อเยื่อร่างกายขึ้นมาใหม่ รวมถึงฟื้นฟูสมรรถภาพและรักษาโรค

 

เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขออกมาแถลงถึงการปรับแก้ข้อกฎหมาย “มาตรการควบคุมการใช้เครื่องมือแพทย์เฉพาะทางเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค” หรือที่เรียกสั้นๆว่า “มาตรการควบคุมเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง” เปิดให้บริการการรักษาด้วยเซลล์บำบัดรวม 6 วิธี ซึ่งประกอบด้วย การรักษาโรคภูมิต้านตนเอง ใช้ในการรักษาเซลล์มะเร็งระยะที่4และเซลล์มะเร็งระยะที่1ถึง3 , ใช้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากกระแสเลือด(Peripheral Blood Stem Cell Transplantation)เพื่อฟื้นฟูการรักษามะเร็งโลหิตที่ผ่านการรักษาแบบมาตรฐานแล้วไม่ได้ผล , โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดภาวะขาดเลือด , การขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายขั้นวิกฤต , ใช้การปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อน(Autologous Chondrocyte Implantation) เพื่อฟื้นฟูความเสียหายของกระดูกอ่อนหัวข้อเข่า , การปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อฟื้นฟูภาวะไขข้อเสื่อมและความเสียหายของกระดูกอ่อนหัวข้อเข่า , ความเสียหายของกระดูกสันหลัง , การปลูกถ่ายใยประสาทไฟโบรบลาสต์เพื่อฟื้นฟูความเสียหายของผิวหนัง(Autologous fibroblast transplantation) , ความเสียหายของเนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง , ประกอบกับการรักษาแบบส่องกล้องที่มีแผลขนาดเล็กที่ชั้นผิวหนังหรือการรักษาทางเลือกอื่นๆ , ใช้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขมัน(Adipose-Derived Stem Cell) เพื่อฟื้นฟูอาการของโรคเรื้อรังหรือแผลอักเสบที่ไม่สมานนานถึง 6 สัปดาห์ แผลพุพองขนาดใหญ่หรืออาการบาดเจ็บบนชั้นผิวหนัง

 

นายสือฉงเหลียง อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า การพิจารณาอนุมัติจะเน้น 3 ส่วน อันดับแรก ก่อนให้การรักษาจะต้องอธิบายระยะเวลาการรักษา การปรับฟื้นสภาพร่างกาย คุณสมบัติแพทย์ผู้ให้การรักษา เป็นต้น ประการต่อมาคือ แหล่งผลิตเซลล์เนื้อเยื่อจะต้องมั่นใจในด้านคุณภาพ กระบวนการจัดส่งจะต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด อีกทั้งยังต้องมีมาตรการดูแลปกป้องผู้ป่วย รวมไปถึงหนังสือแสดงความยินยอมจากผู้ป่วย คู่มือชี้แจงเทคนิคการรักษา การช่วยเหลือฉุกเฉินและค่าใช้จ่ายเป็นต้น

 

นายสือฉงเหลียงชี้แจงว่า ขณะนี้มีศูนย์การแพทย์หรือสถานพยาบาลที่กำลังจะยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์จากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของไต้หวัน 4 แห่งที่ผ่านการพิจารณา 2 ขั้นตอนแรก เข้าสู่การพิจารณาขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งก็คือการพิจารณามาตรการดูแลปกป้องผู้ป่วย ด้วยเหตุที่ยังคงอยู่ในช่วงดำเนินการ จึงยังไม่สะดวกที่จะประกาศรายชื่อโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยื่นขออนุมัติคือ การรักษาโรคมะเร็ง การบาดเจ็บของกระดูกอ่อนหัวข้อเข่า การบาดเจ็บของผิวหนัง คาดอย่างเร็วที่สุด รายชื่อโรงพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้เปิดรักษาชุดแรกจะออกมาภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้

 

สำหรับการประยุกต์ใช้เทคนิคการรักษาด้วยเซลล์บำบัดภายในประเทศนั้น นายสือฉงเหลียงระบุว่า เพียงพิจารณาจากคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก็มีผู้ป่วยที่ได้รับอานิสงส์จำนวนมากกว่า100,000 รายต่อปี บวกกับผู้ป่วยโรคอื่นที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีนี้ คาดว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือผู้คนได้อีกมากมาย