ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
300 ปี ซินจู๋ สร้างบริบทใหม่ ให้แก่เมืองเก่า
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-02-25

ลานหน้าประตูเมืองตงเหมินถูกปรับปรุงใหม่ โบราณสถานกลายเป็นเวทีแสดง และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองซินจู๋

ลานหน้าประตูเมืองตงเหมินถูกปรับปรุงใหม่ โบราณสถานกลายเป็นเวทีแสดง และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองซินจู๋

 

อิ๋งซีเหมินหรือประตูรับอรุณที่โอ่อ่าสง่างาม ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซินจู๋อายุกว่า 200 ปี และตลาดตงเหมินที่เคยได้ชื่อว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันล้วนเป็นสักขีพยานความ ¡§เก่าแก่¡¨ ของเมืองซินจู๋ ที่ทำให้ผู้คนหลงใหล แต่หลังจากที่มีการจัดตั้ง Industrial Technology Research Institute และ Hsin chu Science Park ซึ่งเป็นบริบท ¡§ใหม่¡¨ ของซินจู๋ ส่งผลให้เมืองนี้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและใหม่เข้าด้วยกันแห่งนี้อ้าแขนรับผู้ย้ายถิ่นจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาตั้งรกราก ร่วมกันสร้างสรรค์และเขียนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่

 

หนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชื่อ “ต้มจืดลูกชิ้นหมู” แนะนำวิถีชีวิตของชาวเมืองซินจู๋จากแง่มุมที่แปลกใหม่มากมายหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชื่อ “ต้มจืดลูกชิ้นหมู” แนะนำวิถีชีวิตของชาวเมืองซินจู๋จากแง่มุมที่แปลกใหม่มากมาย

ปีค.ศ.2018  ซินจู๋มีอายุครบ 300 ปีพอดี  เทศบาลเมืองซินจู๋ได้จัดงาน “มหกรรม 300 ปีซินจู๋” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและเป้าหมายในอนาคตของเมืองแห่งนี้

ซินจู๋ “เมืองเก่าในบริบทใหม่” ได้เริ่มปรับปรุงประตูเมืองด้านตะวันออกหรือตงเหมินเฉิงเพื่อคืนพื้นที่ที่เป็นลานกว้างภายในประตูเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะในปี 1999  และต่อมาในปี 2018 ได้เนรมิตคลองหลงเอินที่เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนให้กลายเป็นทางเดินเขียวขจีที่ร่มรื่นและสวยงามเหมาะกับการเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ

ซินจู๋ “เมืองเก่าที่ต้องการสร้างบริบทใหม่”แห่งนี้ยังเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคประชาชน โดยพยายามเชื่อมโยงคนท้องถิ่นในเขตเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยตรอกซอกซอยคดเคี้ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน Hsin chu Science Park ที่มีถนนกว้างใหญ่ถึง 50 เมตร จากเดิมที่แทบไม่มีการไปมาหาสู่หรือคบค้าสมาคมกันเลย แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่อยากให้ชาวเมืองซินจู๋รู้จักตัวเองมากขึ้นอีกนิดหรือช่วยเพิ่มความหลากหลายให้แก่เมืองซินจู๋อีกหน่อยได้ทุ่มเทกำลังให้กับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมืองเก่าแห่งนี้

Citi Lens หวังว่า ทัวร์เดินเท้าชมเมืองจะทำให้ผู้คนรู้จักซินจู๋ เมืองเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มากขึ้น (ภาพจาก Citi Lens Studio)Citi Lens หวังว่า ทัวร์เดินเท้าชมเมืองจะทำให้ผู้คนรู้จักซินจู๋ เมืองเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มากขึ้น (ภาพจาก Citi Lens Studio)

 

Citi Lens Studio : เชื่อมโยงกับท้องถิ่น ย่ำชมเมืองเก่า

นักศึกษามหาวิทยาลัยชิงหัว (National Tsing Hua University หรือ NTHU) กลุ่มหนึ่งร่วมกันจัดตั้ง “ Citi Lens Studio”(見域工作室) ขึ้นในปีค.ศ.2014  โดยคำว่า 見域 หมายถึง看見地方 ซึ่งแปลว่า “การมองเห็นท้องถิ่น” เนื่องจากพวกเขาพบว่า คนส่วนใหญ่รู้จักซินจู๋แบบกระท่อนกระแท่นเต็มที และวัฒนธรรมของซินจู๋ถูกมองข้าม ดังนั้นบรรดาสมาชิกของ Citi Lens จึงดำริที่จะจัดทำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซินจู๋ขึ้นมา เพื่อแนะนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองซินจู๋โดยเฉพาะ นับจากนั้นเป็นต้นมา ต้มจืดลูกชิ้นหมูซินจู๋จึงไม่ใช่แค่กินได้เท่านั้น แต่ยังอ่านได้จากในหนังสือด้วย Citi Lens ได้จัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีชื่อว่า “ต้มจืดลูกชิ้นหมู” ซึ่งแนะนำวิถีชีวิตของชาวเมืองซินจู๋จากแง่มุมที่แปลกใหม่ หวังดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วไป

Citi Lens ยังให้บริการทัวร์เดินเท้าชมเมืองหรือ City walking tours เป็นการใช้สองเท้าเดินเที่ยวชมเมืองตามตรอกซอกซอยต่างๆ เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักเมืองที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนานและยิ่งใหญ่แห่งนี้ คุณหวังอวี้เติง (王昱登) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Citi Lens พาเราเดินชมถนนเป่ยเหมินที่เคยรุ่งเรืองในอดีต บนถนนสายนี้มีบ้านโบราณของตระกูลโจวที่ชื่อว่าโจว อี้จี้ (周益記) อดีตเป็นบ้านของคหบดีท้องถิ่นชื่อ โจวหมิ่นอี้ (周敏益 : มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1906–1951) ภายหลังคุณโจว โหย่วต๋า (周友達) ผู้สืบทอดตระกูลโจวรุ่นที่ 6 ได้แจ้งขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำให้บ้านโบราณกับเรื่องราวของตระกูลโจวถูกอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน

ร้านขายยาสมุนไพร พบเห็นได้ในเมืองเก่าแก่ทุกแห่งร้านขายยาสมุนไพร พบเห็นได้ในเมืองเก่าแก่ทุกแห่ง

อีกฟากหนึ่งของถนนเป่ยเหมินมีร้านยาจีนเก่าแก่ชื่อ หงอานถัง (鴻安堂) คนเฒ่าคนแก่ที่นี่มักไปขอตำรับยาจีนจากศาลเจ้าฉางเหอกง (長和宮) ที่หัวมุมถนนด้านตรงข้าม จากนั้นก็มาซื้อยาจีนที่ร้านนี้ แม้ปัจจุบันร้านยาจีนหงอานถังจะสืบทอดมาถึงรุ่นที่ 4 แล้ว แต่ภายในร้านยังคงอนุรักษ์ตู้และลิ้นชักเก็บยาจีนเก่าแก่เอาไว้ และเหนือประตูทางเข้าสู่ด้านหลังร้านซึ่งเป็นส่วนที่ 2 ของตัวบ้านที่สร้างตามแบบฮกเกี้ยนโบราณ มีป้ายที่เขียนว่า “烏衣衍派” (อ่านว่า อูอีเหยี่ยนไพ่ หมายถึง สืบทอดสำนักเสื้อดำ) ที่แท้เจ้าของร้านยาจีนแห่งนี้เป็นทายาทของตระกูลเซี่ยที่เป็นเจ้าสำนักเสื้อดำ (烏衣) ที่ถูกนำมาแต่งเป็นบทกวีชื่อ “อูอีเซี่ยง” (烏衣巷) หนึ่งในบทกวีราชวงค์ถัง บ้านโบราณแต่ละแห่งล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน ทำให้เมืองซินจู๋ไม่ไร้ซึ่งเรื่องราวที่จะนำมาเล่าขานสืบต่อกันไป

หากถามว่า คำไหนเหมาะที่จะนำมาใช้พรรณนาเมืองซินจู๋ คุณหวังอวี้เติงกล่าวว่า ณ ปัจจุบัน พวกเขายังหาคำที่เหมาะสมกับเมืองซินจู๋ไม่ได้ แต่หวังว่าชาวซินจู๋จะเป็นผู้เสนอแนวคิดสำหรับอนาคตของเมืองแห่งนี้ขึ้นมาเอง โดยผ่านการสำรวจและหารือร่วมกัน

“หงอานถัง” ร้านยาจีนที่อยู่เคียงคู่เมืองซินจู๋มานานร่วมร้อยปี ทุกสิ่งทุกอย่างในร้านนี้ล้วนมีประวัติเก่าแก่“หงอานถัง” ร้านยาจีนที่อยู่เคียงคู่เมืองซินจู๋มานานร่วมร้อยปี ทุกสิ่งทุกอย่างในร้านนี้ล้วนมีประวัติเก่าแก่

 

Khui Mng Studio : ชุบชีวิตใหม่ให้ตลาดเก่าร้อยปี

ตลาดตงเหมินที่ซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อปีค.ศ.1977 มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น และบนดินอีก 3 ชั้น เป็นอาคารร่วมสมัยแห่งแรกในเมืองซินจู๋ที่มีบันไดเลื่อน และเคยเป็นตลาดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในไต้หวัน แต่ยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนไปทำให้ตลาดตงเหมินซบเซาลง

ปีค.ศ.2015 อาจารย์และนักศึกษากลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ก้าวเข้ามาในตลาดตงเหมินที่เงียบเหงาซบเซามานานแห่งนี้ พวกเขาพยายามคิดหาหนทางที่จะทำให้ร้านค้าในตลาดกลับมาเปิดกิจการใหม่อีกครั้ง 

คุณเฉินหงเหวย (陳泓維) ผู้ก่อตั้ง Khui Mng Studio เล่าว่า “สาเหตุที่ทำให้ตลาดตงเหมินซบเซาลง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ตลาดแห่งนี้ไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะดึงดูดคนภายนอกให้เดินเข้ามาเลย” “ดังนั้นการดึงทีมงานที่มีไอเดียแปลกใหม่เข้ามาช่วย โดยให้ทุกคนช่วยกันสังเกตและค้นหาว่าในยุคนี้เราสามารถทำอะไรในตลาดสดได้บ้าง บางทีอาจจะช่วยชุบชีวิตให้แก่ตลาดแห่งนี้ได้”

ในยามค่ำคืน ร้านค้าที่ตลาดตงเหมินพลิกโฉมกลายเป็นร้านอาหารยามราตรีในยามค่ำคืน ร้านค้าที่ตลาดตงเหมินพลิกโฉมกลายเป็นร้านอาหารยามราตรี

ทีมงาน Khui Mng เริ่มทดลองใช้พื้นที่ในตลาดตงเหมินจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเข้าแคมป์ สัมมนา เวิร์กชอป แสดงดนตรี ฉายภาพยนตร์ และถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าในตลาดคาดคิดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นในตลาดแห่งนี้ได้

กิจกรรมส่วนใหญ่ที่จัดขึ้น มาจากการหารือกันในห้องรับแขกของ Khui Mng Studio ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้อง 3114 บนชั้น 3 ของตลาดตงเหมิน “เราได้ทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในตลาดสดมาก่อน ซึ่งก็สามารถดึงดูดผู้คนที่ไม่เคยเดินเข้ามาในตลาดสดให้ก้าวเข้ามา” ตลาดแห่งนี้จึงเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งและทำให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดเปิดใจยอมรับทีมงาน Khui Mng จากเดิมที่เคยรู้สึกเคลือบแคลงสงสัย

ปี 2016 ประตูเหล็กหน้าร้านที่เคยปิดตายมานานทยอยเปิดอย่างต่อเนื่อง วิกฤตถูกเปลี่ยนเป็นโอกาส เริ่มมีสตูดิโอหลากหลายประเภทเข้ามาเปิดกิจการที่นี่ ร้านค้าที่ชั้น 1 ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นร้านอาหารที่เปิดบริการยามราตรี ตลาดสดเปลี่ยนไปเป็นตลาดแบบหลากหลายสไตล์ ตลาดตงเหมินพลิกโฉมกลายเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่และศูนย์รวมอาหารเลิศรสของคนหนุ่มสาว

หลังทีมงาน Khui Mng เข้ามาประจำที่ตลาดตงเหมินตั้งแต่ปีค.ศ.2015 จนถึงปัจจุบัน ร้านค้า 17 แห่ง ที่เคยปิดตัวลงทยอยเปิดใหม่อีกครั้ง พื้นที่ในตลาดทุก 3 ผิง (มาตราวัดของไต้หวัน 1 ผิง (坪) = 3.3 ตร.ม) ล้วนสามารถสร้างโอกาสการค้าใหม่ได้ทั้งสิ้น

 

Jiang Shan Yi Gai Suo : เพิ่มความหลากหลายให้แก่เมืองเก่า

บรรยากาศของร้านค้าเก่าๆ ในตลาดตงเหมิน ให้ความรู้สึกราวกับหยุดเวลาไว้ที่ศตวรรษที่แล้ว จางเติงเหยากับโหยวหย่าถิง สองสามีภรรยา ร่วมมือกันทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบให้แก่เมืองซินจู๋บรรยากาศของร้านค้าเก่าๆ ในตลาดตงเหมิน ให้ความรู้สึกราวกับหยุดเวลาไว้ที่ศตวรรษที่แล้ว จางเติงเหยากับโหยวหย่าถิง สองสามีภรรยา ร่วมมือกันทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบให้แก่เมืองซินจู๋

Jiang Shan Yi Gai Suo ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 5 ปี และเป็นเวทีสำคัญที่ใช้สำหรับหารือประเด็นสาธารณะของชาวซินจู๋  คุณจางเติงเหยา (張登堯) ผู้ก่อตั้ง Jiang Shan Yi Gai Suo เกิดเมื่อปีค.ศ.1984 แต่บุคลิกภายนอกดูแก่เกินวัย บวกกับมีรสนิยมและจิตวิญญาณที่ชื่นชอบของเก่าๆ ศิลปะ วัฒนธรรม อีกทั้งสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม

สำหรับวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง Jiang Shan Yi Gai Suo  นั้น คุณจางเติงเหยาเล่าว่า “หลายสิ่งที่ผมสนใจไม่มีในซินจู๋ เราจึงใช้พื้นที่นี้มาทำให้คนซินจู๋ได้รู้จักกับกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น”

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อก้าวเข้ามาที่ Jiang Shan Yi Gai Suo  คุณจะได้ยินเสียงดนตรีแจ๊สหรือดนตรีหลากหลายรูปแบบ สามารถร่วมกิจกรรมอ่านหนังสือ กิจกรรมรวบรวมบทกวี หรือการสัมมนา เป็นต้น  แม้จะมีพื้นที่เล็กๆ แต่เต็มไปด้วยพลังมหาศาล

คุณจางเติงเหยาทำให้ที่นี่กลายเป็นเวทีหารือประเด็นสาธารณะของชาวบ้านในท้องถิ่น เพราะการสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องสำคัญ เขามองว่าพลเมืองควรมีส่วนร่วมในการวางแผนนโยบายสาธารณะมากขึ้น การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในท้องถิ่นได้เสนอความคิดเกี่ยวกับอนาคตของชุมชนจะกระตุ้นให้ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในท้องถิ่นอีกด้วย

จางเติงเหยากับโหยวหย่าถิง สองสามีภรรยา ร่วมมือกันทำ สิ่งที่ตนเองชื่นชอบให้แก่เมืองซินจู๋จางเติงเหยากับโหยวหย่าถิง สองสามีภรรยา ร่วมมือกันทำ สิ่งที่ตนเองชื่นชอบให้แก่เมืองซินจู๋

 

สร้างสรรค์สิ่งใหม่จากสิ่งเก่า คืนพื้นที่ให้แก่ประชาชน

บรรยากาศที่ลานหน้าประตูเมืองด้านทิศตะวันออกในช่วงวันหยุด มีทั้งครอบครัวเล็กๆ เข็นรถเข็นเด็กมาปิกนิกกัน หนุ่มสาวยืดเส้นยืดสายตามจังหวะดนตรี เด็กๆ วิ่งเล่นกันไปมาอย่างสนุกสนาน เสียงหัวเราะร่าเริงดังขึ้นไม่ขาดสาย

พื้นที่ลานที่เป็นรูปวงรีนี้ ในอดีตมีรูปปั้นของนักการเมืองและหอนาฬิกาของสโมสรไลออนส์สากลตั้งอยู่ ดูเคร่งขรึมและเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศด้านการเมือง ต่อมา คุณชิวเหวินเจี๋ย (邱文傑) สถาปนิกชื่อดัง ได้ออกแบบและปรับปรุงให้กลายเป็น “หัวใจแห่งซินจู๋ ลานประตูเมืองด้านทิศตะวันออก” ในปีค.ศ.1999 ด้วยการรื้อถอนสิ่งที่ตั้งอยู่รายล้อมเพื่อเปิดพื้นที่ที่ถูกจำกัดอยู่ภายใน จากนั้นเชื่อมประตูเมืองที่ตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางวงเวียนและถูกห้อมล้อมไปด้วยรถราที่วิ่งขวักไขว่

Jiang Shan Yi Gai Suo ทดลองจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ สร้างสรรค์ผลงานการแสดงต่างๆ เพื่อให้ชาวซินจู๋ได้รู้จักกับกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น (ภาพจาก Jiang Shan Yi Gai Suo)Jiang Shan Yi Gai Suo ทดลองจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ สร้างสรรค์ผลงานการแสดงต่างๆ เพื่อให้ชาวซินจู๋ได้รู้จักกับกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น (ภาพจาก Jiang Shan Yi Gai Suo)

ด้วยการสร้างทางเดินใต้ดินเชื่อมต่อกับสวนสาธารณะชินสุ่ยที่ริมคลองรอบเมือง คุณชิวเหวินเจี๋ยเปิดเผยว่า “แนวคิดการออกแบบของผมคือต้องการพาชาวเมืองก้าวเข้าสู่เขตประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดการหลอมรวมกันของอดีตและปัจจุบัน”

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวเมืองซินจู๋ก็สามารถเดินเข้าสู่โบราณสถานและกลายเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถาน นอกจากนี้ ยังมีการขุดพื้นที่กลางลานให้เว้าลงไป สร้างเป็นเวทีแสดงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสนามกีฬาโรมัน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นเวทีแสดงความสามารถและร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่

ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของเมือง มีคลองหลงเอินซึ่งเป็นคลองชลประทานเก่าแก่ที่เคียงคู่ซินจู๋มานานกว่า 300 ปี แต่หลังผ่านการออกแบบและปรับปรุงโดย Fieldoffice Architects ด้วยการใช้วัสดุที่เบาที่สุดและเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ทำให้คลองหลงเอินค่อยๆ ปรากฏโฉมสู่สายตาผู้คนอีกครั้ง

“สิ่งที่เมืองแห่งนี้ต้องการมากขึ้นคือ พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า” อวี๋จ้ายโย่ว (余在宥) ดีไซเนอร์กล่าว และยังเล่าต่อไปว่า พวกเขาจึงขยายพื้นที่ใช้งานด้วยการยกพื้นให้สูงขึ้นทำเป็นทางเดินเท้าที่ราบเรียบและกว้างอย่างน้อย 4 เมตร คร่อมเหนือคลอง เพื่อให้ชาวเมืองซินจู๋ได้เดินเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างอิสระ สถาปนิกยังออกแบบให้ทางเดินเท้านี้เชื่อมสองฟากฝั่งของคลองที่เต็มไปด้วยตรอกซอกซอย ร้านค้า ศูนย์การค้า และโรงเรียน เข้าด้วยกัน และหากดูจากแผนที่ในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวันจะเห็นว่าคลองหลงเอินแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย และนี่คือส่วนที่มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ ดังนั้นอวี๋จ้ายโย่วจึงพยายามออกแบบให้ทางเดินเท้าที่สร้างขึ้นใหม่ไปบรรจบกับคลองให้มากที่สุด เพื่อให้ชาวเมืองได้สัมผัสกับคลองแห่งนี้จากหลากหลายมุม

คลองหลงเอินที่ถูกปรับปรุงใหม่ ทำให้ชาวซินจู๋สามารถนอนอาบแดด รับลมเย็นๆ และฟังเสียงน้ำไหลท่ามกลางเขตตัวเมืองคลองหลงเอินที่ถูกปรับปรุงใหม่ ทำให้ชาวซินจู๋สามารถนอนอาบแดด รับลมเย็นๆ และฟังเสียงน้ำไหลท่ามกลางเขตตัวเมือง

คุณหวงเซิงหย่วน (黃聲遠 : ผู้ก่อตั้ง Fieldoffice Architects) เปิดเผยในตอนท้ายว่า “เทรนด์การออกแบบของดีไซเนอร์รุ่นใหม่ คือลดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้พื้นที่ใช้งานโล่งและว่างเปล่า”  สำหรับปล่อยวางอารมณ์และความคิดของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมืองที่แออัดต้องการเป็นอย่างมาก  นอกจากนี้ ยังใช้เป็นทางสำหรับเดินเล่นและเป็นระเบียงสีเขียวที่ใช้สำหรับนั่งสนทนา พักผ่อน เหม่อลอย งีบหลับและปลีกวิเวก

การสร้างอนาคตให้แก่เมืองๆ หนึ่งไม่ใช่แค่พูดลอยๆ เท่านั้น ซินจู๋เมืองเก่าแก่แห่งนี้ได้อาศัยคนรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยพลังและแนวคิดสร้างสรรค์ ปรับปรุงเมืองเก่าให้เฉิดไฉไล รับอนาคตใหม่ที่พวกเขาเฝ้ารอคอยด้วยความหวัง

 

“จิ้วหลิ่ง” หมายถึงเนินสูงบริเวณโดยรอบของ “สวนรำลึกทังเต๋อจาง” ในปัจจุบัน ตามประเพณีโบราณพื้นเมือง เมื่อถึงวันประสูติของเง็กเซียนฮ่องเต้ ชาวบ้านก็จะร่วมกันไปยังที่สูงที่สุดในท้องที่นั้นเพื่อสวดมนต์ภาวนา ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงได้สร้างวิหารเป่ยจี๋และลานเทียนถันขึ้น เพื่อใช้เป็นที่สักการะเง็กเซียนฮ่องเต้และเทพเจ้าเสวียนเทียนซั่งตี้หรือเจ้าพ่อเสือ จากการที่ผู้คนจากทุกสารทิศต้องมาจุดธูปเทียนกราบไหว้ ทำให้ “จิ้วหลิ่ง” ได้พัฒนาจนกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนา การเมือง และเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นใจกลางเมืองอีกด้วย