ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สุนทรียศาสตร์แห่งเมืองตามตรอกซอกซอย กัวสูเจิน นำเอาศิลปะเข้ามาสู่ชีวิตประจำวัน
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-03-11

Gallery Life Seeding ซึ่งคุณกัวสูเจิน ประธานบริษัท Rich Development Inc. ได้ทำการดัดแปลงมาจากบ้านพักเก่าของ นพ.หวงจื่อเจิ้ง ซึ่งเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของฮ่องเต้ปูยี

Gallery Life Seeding ซึ่งคุณกัวสูเจิน ประธานบริษัท Rich Development Inc. ได้ทำการดัดแปลงมาจากบ้านพักเก่าของ นพ.หวงจื่อเจิ้ง ซึ่งเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของฮ่องเต้ปูยี

 

นับตั้งแต่เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา และซื้องานศิลปะชิ้นแรกในปี 1996 ซึ่งก็คืองานประติมากรรมพระศากยมุนีปางยืน ผลงานของอาจารย์เลี่ยวหงเปียว (Sakyamuni Buddha by Liao Hongbiao) ปีหน้านี้ คุณกัวสูเจิน (郭淑珍) อายุจะครบ 60 ปีแล้ว ตลอดช่วงที่ผ่านมา ของสะสมของคุณกัวนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังทำการซ่อมแซมบ้านเก่าๆ อีกจำนวนไม่น้อย ด้วยการส่งเสริมให้นำเอาไอเดียด้านสุนทรียศาสตร์และสถาปัตยกรรมมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ทำให้ความงามเหล่านี้สามารถก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน ผ่านการบูรณะอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่ใช้เป็นฐานในการต่อยอดไปสู่การส่งเสริมงานศิลปะ การผสมผสานระหว่างความใหม่และเก่าได้อย่างลงตัวนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับ
สุนทรียศาสตร์ของกรุงไทเป

 

ทิวทัศน์เมื่อมองจากชั้น 2 ของ Gallery Life Seeding ลงไป ในอดีตเมื่อเปิดประตูหลัง จะไปถึงริมฝั่งแม้น้ำตั้นสุ่ยได้ทิวทัศน์เมื่อมองจากชั้น 2 ของ Gallery Life Seeding ลงไป ในอดีตเมื่อเปิดประตูหลัง จะไปถึงริมฝั่งแม้น้ำตั้นสุ่ยได้

คุณกัวสูเจิน ประธานบริษัท Rich Development Inc. เป็นผู้ที่รักงานศิลปะเป็นอย่างมาก หลังจากคุณพ่อออกทุนให้ก่อตั้งมูลนิธิกัวมู่เซิง (Kuo Mu Sheng Foundation) ขึ้นในปี 1996 ในปีถัดมาก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลปะที่อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิแห่งนี้ ในระยะหลังมานี้ ทางมูลนิธิยังได้รับงานซ่อมแซมและบริหารการใช้งานอาคารเก่าแก่จำนวนไม่น้อย เช่น Taipei Story House ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรุงไทเป Bloom และ Gallery Life Seeding ที่อยู่บนถนนตี๋ฮั่วเจีย รวมไปจนถึงหอพักเก่าของมหาวิทยาลัย National Taiwan University ที่ตั้งอยู่บนถนนเวินโจวเจีย และบ้านพักบนถนนกู๋หลิ่งเจียของอาจารย์ฟางตงเหม่ย (Thomé H. Fang) นักปรัชญาชื่อดัง

 

Gallery Life Seeding ¡V จากบ้านพักหมอหลวงกลายมาเป็นหอศิลป์ชั้นนำ

เมื่อเราพูดถึงงานศิลปะ คุณกัวสูเจินจะมีเรื่องราวมาสนทนากับเราได้อย่างมากมายไม่รู้จบ แต่เมื่อถูกถามว่า คุณกัวมีวิธีคัดเลือกงานศิลปะมาสะสมอย่างไร คำตอบที่ได้มานั้นกลับเป็นอะไรที่เรียบง่ายเป็นอย่างมาก “ก็เอาของที่ชอบ” จึงทำให้คุณกัวมีของสะสมวางอยู่เต็ม 3 ห้องใหญ่ แม้ว่าส่วนใหญ่จะถูกเก็บอยู่ในกล่องผ้าไหมก็ตาม

การที่มีโอกาสได้ค้นพบ Gallery Life Seeding ที่ตั้งอยู่บนถนนตี๋ฮั่วเจีย ตอนที่ 1 ก็เพียงเพราะ “อยากได้พื้นที่ของตัวเองเพื่อใช้ในการส่งเสริมงานศิลปะ” คุณหลิวเหวินเหลียง (劉文良) สามีของคุณกัวสูเจิน ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารมูลนิธิกัวมู่เซิง (郭木生文教基金會) ได้เล่าให้ฟังถึงความคิดของภรรยา

Gallery Life Seeding ซึ่งเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2016 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตึกแถวที่ตั้งเรียงรายอยู่บนถนน เดิมทีที่นี่เป็นบ้านพักของ นพ.หวงจื่อเจิ้ง (黃子正) ซึ่งเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของฮ่องเต้ปูยี แต่หลังจากที่คุณกัวสูเจินทำการปรับปรุงใหม่ ก็ได้กลายมาเป็นพื้นที่สำหรับงานศิลปะในชีวิตประจำวัน พื้นที่ชั้น 1 ถูกแบ่งเป็น 3 ตอนตามลักษณะของอาคาร คือ ส่วนงานศิลปะที่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนคั่วเมล็ดกาแฟด้วยหม้อเซรามิกและห้องชากับส่วนจัดแสดง ซึ่งมีการจัดแสดงผลงานของศิลปินไต้หวันอยู่เป็นระยะ

เมื่อเดินเข้าสู่ประตู ก็จะเห็นภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นงานหัตถศิลป์ของไต้หวันและญี่ปุ่นวางจัดแสดงอยู่เมื่อเดินเข้าสู่ประตู ก็จะเห็นภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นงานหัตถศิลป์ของไต้หวันและญี่ปุ่นวางจัดแสดงอยู่

ในเดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา มีการจัดนิทรรศการโถและแจกันเซรามิกของอาจารย์ซือจี้เหยา (施繼堯) โดยเชิญให้นักจัดดอกไม้มาทำการออกแบบและจัดดอกไม้ประกอบเครื่องเซรามิกของ อ.ซือ  ทำให้บรรยากาศส่วนจัดแสดงที่เคยดูเคร่งครึมเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาอันสดใส ซึ่งเป็นแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในการ “นำเอาศิลปะมาสู่ชีวิตประจำวัน” ของคุณกัวสูเจินได้อย่างเหมาะเจาะ

คุณกัวได้นำเอาชามสีน้ำเงินสำหรับดื่มชาออกมาให้เราได้ชม ในทันทีที่ชามใบนี้ได้สัมผัสกับน้ำ จะปรากฏลายเหมือนน้ำแข็งร้าว และหากใส่น้ำที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน สีของชามจะอ่อนเข้มเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้ชามที่ไร้ชีวิตใบนี้ ดูแล้วราวกับมีชีวิตหายใจได้ทีเดียว

“เครื่องเซรามิกของ อ.ซือจี้เหยา ใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ และไม่มีการใช้โลหะหนักใดๆ ทั้งสิ้น อย่างชามใบนี้ สิ่งที่นำมาใช้ในการเคลือบนั้นได้มาจากหินหยกในแถบฮัวเหลียน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นของธรรมชาติ หากแต่สีสันและงานฝีมือ ยังมีเอกลักษณ์ที่แปลกตาด้วย” คุณกัวสูเจินกล่าว

อ.ซือจี้เหยา เดินทางไปร่ำเรียนวิชาจากญี่ปุ่น จนสามารถเอาชนะอุปสรรคทางเทคนิคได้สำเร็จ ด้วยการนำเอาหินหยกจากฮัวเหลียนมาใช้ในการเคลือบเครื่องเซรามิกอ.ซือจี้เหยา เดินทางไปร่ำเรียนวิชาจากญี่ปุ่น จนสามารถเอาชนะอุปสรรคทางเทคนิคได้สำเร็จ ด้วยการนำเอาหินหยกจากฮัวเหลียนมาใช้ในการเคลือบเครื่องเซรามิก

 

Bloom ¡V หอศิลป์อันสุนทรีย์ริมแม่น้ำตั้นสุ่ย

ในช่วง 3 ปีที่ต้องรอใบอนุญาตเปิดดำเนินการของ Gallery Life Seeding จากกรุงไทเปนั้น คุณกัวสูเจิน ซึ่งเป็นคนราศีสิงห์ก็เกิดอาการร้อนรนจนอยู่ไม่ติด มีอยู่วันหนึ่ง คุณกัวได้ไปเดินบนระเบียงชั้นสองที่ทอดยาวไปตามตัวอาคารที่อยู่ติดกัน 10 หลัง เมื่อมองไปเห็นพื้นที่อันโอ่โถงเช่นนี้ ทำให้คุณกัวสูเจินอดใจไม่ได้ ส่งผลให้ Bloom ถูกก่อตั้งขึ้นมา ก่อนจะมี Gallery Life Seeding เสียอีก

คุณกัวใช้พื้นที่ของ Bloom ในการจำหน่ายผลงานของศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้มีเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลงานของตัวเองเพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงชีพ อันถือเป็นการช่วยให้เส้นทางในการทำงานศิลปะของพวกเขาเหล่านี้ไม่ต้องสะดุดลง

คุณหลิวเหวินเหลียงบอกกับเราว่า “เราไม่ใช่มหาเศรษฐี จึงไม่สามารถซื้องานศิลปะราคาแพงๆ แต่เรายังพอมีความสามารถอยู่บ้างในการซื้อผลงานที่ตัวเองชื่นชอบมาเก็บสะสมไว้ และยังสามารถให้การสนับสนุนคนรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสแสดงฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง” นอกจากนี้ คุณกัวยังเสริมอีกว่า “ขอเพียงมี 1 ในหมื่นคนที่ประสบความสำเร็จกลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียง ทุกอย่างที่ทุ่มเทลงไปก็คุ้มค่าแล้ว หรือหากแม้พวกเขาจะไม่ได้มีโอกาสกลายเป็นศิลปินระดับอาจารย์ ก็ยังสามารถมีช่องทางแบบ Bloom ในการนำเอางานศิลปะเข้าไปสู่ชีวิตของคนได้มากมาย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า ก็จะทำให้ผู้คนมีบรรทัดฐานทางศิลปะที่สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีเหมือนกันมิใช่หรือ”

ภายในห้องจัดแสดงได้นำเอางานศิลปะแผ่นกระเบื้องแบบ Majolica ในยุควิกตอเรียของอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในของสะสมของคุณกัวสูเจิน มาวางโชว์เอาไว้ภายในห้องจัดแสดงได้นำเอางานศิลปะแผ่นกระเบื้องแบบ Majolica ในยุควิกตอเรียของอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในของสะสมของคุณกัวสูเจิน มาวางโชว์เอาไว้

“หลังการเปิดตัวของ Bloom เราได้รับการติดต่อจากศิลปินรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ยื่นเสนอแผนการจัดนิทรรศการกับเรา ทำให้พื้นที่ของ Bloom ถูกจองจนคิวเต็มภายในเวลาไม่นาน” อะไรที่ทำให้เหล่าศิลปินรุ่นใหม่อยากมาเปิดนิทรรศการที่ Bloom กันนะ? คุณกัวสูเจินบอก “ต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงจึงจะสามารถเปิดนิทรรศการในหอศิลป์หรือศูนย์นิทรรศการได้ หากอยากเข้าไปจัดแสดงในแกลอรี่ ผลงานก็ต้องมีจุดขาย” แต่ Bloom ไม่ได้มีข้อจำกัดเช่นนี้ ประกอบกับการที่ผลงานของศิลปินหลายคนถูกซื้อไปเป็นของสะสมหลังจากจัดแสดงที่นี่ ทำให้ Bloom และกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นอย่างมาก

 

Taipei Story House ¡V ห้องเรียนศิลปะบนเชิงเขาหยวนซาน

Taipei Story House (TSH) สร้างขึ้นในปีค.ศ.1913 ตั้งอยู่ริมฝั่งด้านใต้แม่น้ำจีหลง ในบริเวณเชิงเขาของภูเขาหยวนซาน ในปีค.ศ.2015 หลังจากที่สิทธิ์ในการบริหารกลับมาอยู่ในมือของกรุงไทเป ได้มีการเปิดประมูลให้เอกชนรับสัมปทานไปบริหารงาน “ตอนแรกเพื่อนของพี่ชายอยากจะหาพื้นที่จัดแสดงเครื่องเซรามิกจากยุโรป จะยืมชื่อของมูลนิธิไปขอใช้พื้นที่ต่อ Taipei Story House” คุณกัวสูเจินเสริมว่า “หากจะให้คนอื่นยืมชื่อ มิสู้เราไปขอใช้เองเลยจะไม่ดีกว่าหรือ”

หลังจากนั้น Mr. Ismet Erikan ผู้แทนประเทศตุรกีประจำไต้หวัน ซึ่งรู้จักกับคุณกัวสูเจินมานานหลายปี มีความชอบงานศิลปะเหมือนกันได้ทราบว่า คุณกัวคือผู้ที่ได้สิทธิ์ในการบริหารพื้นที่ของ Taipei Story House จึงได้ติดต่อกับคุณกัวร่วมกันจัดนิทรรศการงานหัตถศิลป์ของตุรกีขึ้นที่นี่ในเดือนกันยายน ค.ศ.2016 นอกจากมีการจัดแสดงศิลปะการทอพรมที่เรียกว่า Kilim ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของตุรกีแล้ว ยังมีการนำเอาเครื่องเซรามิกมาร่วมจัดแสดงด้วย โดยเชิญช่างเซรามิกจากตุรกีมาทำการสาธิตในงาน พร้อมทั้งจัดงานสัมมนาและตลาดนัดสินค้าตุรกีขึ้น ซึ่งผลการจัดงานก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง

ในปีค.ศ.2015 คุณกัวสูเจินได้รับสิทธิ์ในการบริหาร Taipei Story House ซึ่งถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรุงไทเปในปีค.ศ.2015 คุณกัวสูเจินได้รับสิทธิ์ในการบริหาร Taipei Story House ซึ่งถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรุงไทเป

คุณหวังหย่าถิง (王亞婷) หัวหน้าส่วนจัดนิทรรศการของ Taipei Story House บอกว่า “เราตั้งความหวังไว้ว่าจะบริหารพื้นที่ของที่นี่ให้เหมือนกับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง” แต่การจะไปให้ถึงจุดนั้น สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจละเลยคือ การให้ความรู้ด้านศิลปะกับคนทั่วไป เช่น ในการจัดนิทรรศการ “Story of Majolica”  ทาง TSH ได้จัดทำชุด DIY ของกระเบื้อง Majolica ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มาเข้าชมงานได้มีโอกาสรู้จักกับงานศิลปะบนแผ่นกระเบื้องในยุควิกตอเรียมากขึ้น ผ่านการทำขึ้นมาด้วยมือของตัวเอง

ชีวิตของคนเราหลีกหนีไม่พ้นสิ่งของต่างๆ หากเลือกได้ คุณกัวสูเจินเห็นว่า ต้องเลือกใช้สิ่งของที่มีความสวยงาม มีความเป็นศิลปะอยู่ในตัว ตัวอย่างเช่น พรม Kilim และเครื่องเซรามิก สะท้อนว่ามนุษย์ไม่ได้ต้องการใช้พรมแค่เพื่อเพิ่มความอบอุ่น หรือใช้ใส่อาหารเท่านั้น งานฝีมือที่ใช้ในการทำสิ่งเหล่านี้ รวมถึงลวดลายต่างๆ ต่างก็ถือเป็นภาพย่อส่วนของวัฒนธรรมตุรกีและชีวิตประจำวันของพวกเขา

สิ่งของที่มีรูปลักษณ์มักจะแฝงไปด้วยคุณค่าแห่งกาลเวลาที่มองไม่เห็น หากแต่มันคือการสืบทอดของความทรงจำ และยังเป็นสื่อกลางของวัฒนธรรม แถมในบางครั้งยังเป็นความคาดหวังสำหรับอนาคตด้วย

 

นิทรรศการหัตถศิลป์จากตุรกี จัดแสดง Kilim ซึ่งเป็นพรมทอมือที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของตุรกีนิทรรศการหัตถศิลป์จากตุรกี จัดแสดง Kilim ซึ่งเป็นพรมทอมือที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของตุรกี

บ้านพักของ อ.ฟางตงเหม่ยและอาคารเก่าแก่บน ถ.เวินโจวเจีย ¡V เงาแห่งปรัชญาที่ถูกเปิดตัวอีกครั้ง

อาคารในแถบต้าเต้าเฉิงเป็นอาคารพาณิชย์ จะมีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio : FAR) ค่อนข้างสูง หลังการบูรณะซ่อมแซมแล้ว ก็ยังมีพื้นที่มากพอสำหรับการขายต่อ ทำให้มีแรงจูงใจสูงในการอนุรักษ์อาคารเก่าๆ ไว้ ซึ่ง Gallery Life Seeding ก็ได้รับอานิสงส์จากนโยบายการชดเชยด้าน FAR ที่มีขึ้นเพื่ออนุรักษ์อาคารเก่าแก่บนถนนแห่งประวัติศาสตร์สายนี้

สำหรับคุณกัวสูเจินแล้ว การที่มีโอกาสได้มาทำงานบูรณะอาคารเก่าแก่และนำความคึกคักกลับมาสู่ถนนสายนี้นั้น ถือเป็นอะไรที่ “บังเอิญ” เป็นอย่างมาก ในตอนแรกคุณกัวมีแผนจะสร้างอาคารใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อพื้นที่ FAR ก่อนจะพบว่าในบริเวณต้าเต้าเฉิงมีอาคารเก่าแก่ที่มีความน่าสนใจหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น อาคารที่กลายมาเป็น Gallery Life Seeding นั้น เป็นที่สะดุดตาคุณกัวด้วยความที่เป็นอาคารในแบบ 3 ตอน ตามแบบลักษณะของบ้านโบราณ ให้ความรู้สึกในแบบย้อนยุคที่ยอดเยี่ยมมาก และในตอนที่ทำการผลักดันโครงการและมีเลขที่บ้านอยู่บนถนนเหอผิงตะวันตก ได้มีโอกาสพบเห็นบ้านเก่าๆ ที่ใกล้จะผุพัง ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของโครงการบนถนนกู๋หลิ่งเจีย มีคนบอกกับคุณกัวว่า นี่ก็คือบ้านพักเก่าของอาจารย์ฟางตงเหม่ย
(Thomé H. Fang) ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้ทราบว่า อ.ฟางตงเหม่ยไม่เพียงแต่จะเป็นนักปรัชญาระดับปรมาจารย์เท่านั้น หากแต่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นราชครูด้วย โดยในสมัยก่อน เมื่อครั้งประธานาธิบดีเจียงไคเช็คยังมีชีวิตอยู่ ได้เดินทางมาเยี่ยมคารวะเพื่อขอรับคำแนะนำจาก อ.ฟางอยู่หลายครั้ง อีกทั้งการที่ อ.ฟางได้ทำการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง ทำให้คุณกัวสูเจินที่ในระยะหลังมานี้ให้ความสนใจศึกษาธรรมะอยู่แล้ว เกิดความรู้สึกผูกพันขึ้นอย่างบอกไม่ถูก จึงตัดสินใจที่จะทำการบูรณะปฏิสังขรณ์บ้านพักเก่าของ อ.ฟางตงเหม่ยขึ้นมา เพื่อคนรุ่นหลังได้มีโอกาสรู้จักเรื่องราวของนักปรัชญาระดับตำนานท่านนี้อีกครั้ง

กระเบื้องเซรามิกที่มีการลงลวดลายของต้นไม้แห่งชีวิต ถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการตุรกีกระเบื้องเซรามิกที่มีการลงลวดลายของต้นไม้แห่งชีวิต ถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการตุรกี

ทั้งนี้ จากการที่กรรมสิทธิ์ในบ้านพักเก่าของ อ.ฟางตงเหม่ย ถือเป็นของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (NTU) และหลังจากที่คุณกัวสูเจินได้ทำการติดต่อไปมาหาสู่กับ NTU บ่อยครั้งเข้า ก็ได้มีโอกาสพบเห็นว่า อาคารหอพักเก่าของทางมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในแถบถนนเวินโจวเจียและถนนเหอผิงตะวันออก ตอนที่ 1 จำเป็นต้องได้รับการบูรณะซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน ซึ่งในจำนวนนี้ บริเวณสวนด้านข้างของอาคารเก่าแห่งหนึ่งได้ปลูกต้นสนเก่าแก่ไว้ 7 ต้น ทำให้บริเวณสวนมีความเขียวชอุ่มเป็นอย่างมาก และเป็นอะไรที่ดึงดูดคุณกัวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจขอสัมปทานเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการบริหารพื้นที่ และหลังทำการบูรณะซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว อาคารแห่งนี้จะเปิดให้บริการต่อสาธารณชนภายในสิ้นปีนี้ โดยในชั้นนี้ได้วางแผนไว้ว่า จะนำมาใช้เป็นหอศิลป์จัดแสดงศิลปะพุทธศาสนาเถรวาทโบราณ พร้อมทั้งจัดบรรยายและสัมมนาทางด้านพุทธศาสตร์และปรัชญาด้วย

คุณกัวสูเจินได้ผสมผานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งทำการบูรณะอาคารเก่าแก่และนำกลับมาใช้งานใหม่ ในภาพคือสภาพก่อนการบูรณะของหอพักเก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันบนถนนเวินโจวเจีย (ภาพจาก กัวสูเจิน)คุณกัวสูเจินได้ผสมผานศิลปวัฒนธรรมเข้ากับสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งทำการบูรณะอาคารเก่าแก่และนำกลับมาใช้งานใหม่ ในภาพคือสภาพก่อนการบูรณะของหอพักเก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันบนถนนเวินโจวเจีย (ภาพจาก กัวสูเจิน)

 

ใช้พื้นที่ในการเล่าเรื่องราว ¡V บทบรรเลงคู่ขนานระหว่างศิลปะกับสถาปัตยกรรม

การบริหารดูแลและบูรณะซ่อมแซมอาคารเก่าแก่ควบคู่ไปกับการส่งเสริมงานศิลปะจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนไม่น้อย ทำให้บุตรสาวซึ่งมีอายุเพียง 17 ปี เคยสอบถามคุณแม่ด้วยความกังวลว่า “คุณแม่ เงินจะหมดหรือเปล่า” คุณกัวสูเจินบอกว่า “มีเงินมากเกินไปก็เปล่าประโยชน์ อะไรที่ชอบทำและอยากจะทำ ก็ทำไปเลย”

แม้จะปรับตัวได้ง่าย แต่ก็ไม่ปล่อยปละละเลยในด้านการบริหารงาน ในทุกๆ วัน คุณกัวสูเจินจะอ่านรายงานต่างๆ อย่างละเอียดด้วยตัวเอง ก่อนจะทำการผนวกทรัพยากรทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำพื้นที่มาใช้งาน เช่น มีการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของ Bloom ไว้สำหรับนำเอาสินค้าขายดีจากนิทรรศการหัตถศิลป์ของตุรกี เช่น พรม Kilim หรือเครื่องเซรามิกแบบย้อนยุคมาวางขายด้วยเพื่อเพิ่มรายได้

คุณกัวสูเจินไม่เคยพูดตรงๆ ว่า ตัวเองได้พบเห็นอะไรในงานศิลปะจนทำให้ยอมทุ่มเททุกอย่างไปกับมันตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา คุณกัวบอกแต่เพียงว่า  “เมื่อยืนอยู่ตรงหน้างานศิลปะ ได้มองมัน ได้ชื่นชมความงามของมัน ทำให้ลืมไปหมดเลยว่า ตัวเองมีความกังวลใจอะไรอยู่”

คุณกัวสูเจินกล่าวว่า “เมื่อยืนอยู่ตรงหน้างานศิลปะ ได้มองมัน ได้ชื่นชมความงามของมัน ทำให้ลืมไปหมดเลยว่า ตัวเองมีความกังวลใจอะไรอยู่”คุณกัวสูเจินกล่าวว่า “เมื่อยืนอยู่ตรงหน้างานศิลปะ ได้มองมัน ได้ชื่นชมความงามของมัน ทำให้ลืมไปหมดเลยว่า ตัวเองมีความกังวลใจอะไรอยู่”

เราจึงถามคุณกัวสูเจินว่า หากไม่ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่อยากทำที่สุดคืออะไร? คุณกัวตอบกลับมาว่า “หากเป็นไปได้ ในอนาคตก็อยากจะสร้างพิพิธภัณฑ์แบบ Miho Museum ขึ้นสักแห่งบนภูเขาหยางหมิงซาน” พิพิธภัณฑ์ Miho Museum ซึ่งออกแบบโดยอาจารย์เป้ยอวี้หมิง (I.M. Pei) สถาปนิกชื่อดังระดับโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษางานศิลปะซึ่งเป็นของสะสมล้ำค่าของตระกูลฮิเดอากิมากกว่า 2,000 ชิ้น บางทีในสถานที่ที่มีความกว้างขวางแบบเดียวกันนั้น อาจจะเพียงพอให้ของสะสมอันล้ำค่าของคุณกัวสูเจินที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้มีโอกาสออกมาจากกล่องผ้าไหมเพื่อชื่นชมโลกภายนอกกันอย่างพร้อมหน้า ก็เหมือนกับเหล่าอาคารเก่าแก่ที่ผ่านการบูรณะจากคุณกัว ที่ไม่เพียงแต่จะได้รับการซ่อมแซมทางกายภาพจนกลับมาอยู่ในสภาพอันสมบูรณ์ หากแต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงสุนทรียภาพของการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างศิลปะกับงานบริหาร ทำให้ตำนานและเรื่องราวที่เคยถูกลบเลือนไปตามกาลเวลาได้มีโอกาสกลับมาส่องแสงอันเจิดจรัสสู่สายตาของพวกเราใหม่อีกครั้ง