ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
แบบก่อสร้างของ Fieldoffice นักปฏิบัติ ผู้นำสถาปัตยกรรมสู่ภูมิทัศน์
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-03-18

เพื่อนร่วมงานใน “Fieldoffice” มีมิตรภาพประดุจคนในครอบครัว

เพื่อนร่วมงานใน “Fieldoffice” มีมิตรภาพประดุจคนในครอบครัว

 

สำนักงานสถาปนิก Fieldoffice Architects (田中央聯合建築師事務所 ต่อไปเรียกโดยย่อว่า Fieldoffice) คือเป้าหมายที่จะเจาะลึกเรื่องราวกันในวันนี้ หวงเซิงหย่วน (黃聲遠) เจ้าของรางวัลนวัตกรรมจากประธานาธิบดี ครั้งที่ 3 และรางวัลNational Culture and Art Award  ครั้งที่ 20 กล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้รับรางวัลมาโดยตลอดช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แต่การได้รับเกียรติและถูกจับตามองจากการได้รางวัลมานับไม่ถ้วนจากทั้งในและต่างประเทศเช่นนี้ กลับไม่เคยทำให้เขาลืมเจตนารมณ์เริ่มแรก และยังดึงดูดผู้ร่วมอุดมการณ์เข้ามาร่วมงานมากยิ่งขึ้นด้วย เขาจะทำในสิ่งที่ควรทำโดยไม่พร่ำบ่นหรือเสียใจในภายหลัง ก็เหมือนกับน้ำพุเย็นในอี๋หลานที่สงบราบเรียบไร้ร่องรอยของคลื่น หากแต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายแช่ลงไปในน้ำพุ พลังงานที่มีอยู่อย่างเปี่ยมล้นก็จะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาช้าๆ อย่างต่อเนื่อง

 

สะพานทางเข้า “สุสานสวนซากุระ” ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 5 ปี มีการออกแบบกำแพงเป็นทางสโลป ทำให้ผู้คนที่เดินผ่านรู้สึกเหมือนเวลากำลังหมุนกลับ (ภาพจาก Fieldoffice)สะพานทางเข้า “สุสานสวนซากุระ” ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 5 ปี มีการออกแบบกำแพงเป็นทางสโลป ทำให้ผู้คนที่เดินผ่านรู้สึกเหมือนเวลากำลังหมุนกลับ (ภาพจาก Fieldoffice)

ภายใต้การเลี้ยงดูที่แปลกกว่าครอบครัวทั่วไป

ข้างหลังเลนส์กลมๆ ดวงตาของหวงเซิงหย่วนฉายแววสดใสเหมือนเด็กๆ ที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ พ่อแม่ที่เป็นอาจารย์ทั้งคู่ ต่างก็เป็นคนสุภาพและดูมีราศีอันสง่างาม แต่หวงเซิงหย่วนกลับเป็นคนที่ชอบทำตัวตามสบาย “พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกๆ เหมือนเป็นเพื่อน ตอนนี้ผมก็ปฏิบัติกับลูกสาวแบบนั้นเช่นกัน” เป็นคนใจกว้างและให้อภัยต่อคนที่ตนรักมากที่สุด คอยเป็นพลังสนับสนุน และไม่เคยตีกรอบให้ลูก

“ผมขอบคุณพ่อแม่เป็นอย่างมากที่ให้อิสระแก่ผม” หวงเซิงหย่วนเติบโตมาท่ามกลางความรักและการปฏิบัติแบบเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เขาเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเจี้ยนกั๋ว ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับหัวกะทิของประเทศ และเข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยตงไห่ (Tunghai University) อย่างมีความสุข

“ที่จริงแล้ว ตอนที่ผมยังเล็กๆ ก็พบว่าตนเองเป็นคนมีจินตนาการกว้างไกล” หวงเซิงหย่วนชอบเล่นหมากรุกจีนซึ่งใช้จินตนาการที่รับรู้ได้ แต่กลับเล่นไพ่บริดจ์ไม่เก่ง ครอบครัวที่ไม่มีทรัพย์สมบัติมากมายเปรียบเสมือนเกมที่หวงเซิงหย่วนคุ้นเคยมาตั้งแต่เยาว์วัย “ก่อนที่ผมจะเข้าเรียน ม.ปลาย ครอบครัวเราย้ายบ้านถึง 7 ครั้ง” ในพื้นที่เล็กๆ หวงเซิงหย่วนก็สามารถหาความสุขจากการเคลื่อนไหวไปมาได้เสมอ “ผมต้องปีนข้ามเตียงของพ่อแม่และน้องสาว จึงจะเข้าไปในห้องน้ำผ่านทางหน้าต่างได้”

หวงเซิงหย่วนยอมรับว่าตนเป็นคนกรุงที่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวในชนบท แต่เวลากว่า 20 ปี ที่สัมผัสกับความเป็นชนบทอย่างอี๋หลาน ทำให้เขากลมกลืนกับดินแดนแห่งนี้ได้อย่างแท้จริงหวงเซิงหย่วนยอมรับว่าตนเป็นคนกรุงที่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวในชนบท แต่เวลากว่า 20 ปี ที่สัมผัสกับความเป็นชนบทอย่างอี๋หลาน ทำให้เขากลมกลืนกับดินแดนแห่งนี้ได้อย่างแท้จริง

“ตั้งแต่เด็ก พ่อจะให้ผมช่วยวาดภาพตัดของอวัยวะในการออกเสียงตามหลักสัทศาสตร์” บิดาของหวงเซิงหย่วนเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งชาติไต้หวัน หรือซือต้า (National Taiwan Normal University) เป็นคุณพ่อที่ไม่เคยละเลยเรื่องพรสวรรค์ของลูกชาย ในสมัยนั้นเป็นยุคที่ไม่มีเครื่องเล่นวิดีโอเกม เขาเล่าว่า “ตัวต่อไม้ คือปราสาทของผม” จากการที่หวงเซิงหย่วนเล่นตัวต่อไม้สร้างปราสาทซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงทำให้เขาเกิดความคิดสร้างสรรค์เรื่อยมา ช่วยเติมเต็มชีวิตในวัยเด็กที่อิสระและเสรี

 

อ่อนแอแต่ไม่แพ้พ่าย

“ตั้งแต่เด็กๆ ผมรู้ดีว่าตัวเองเป็นคนซุ่มซ่าม ทำอะไรคนเดียวสำเร็จยาก” แต่เมื่อตระหนักได้ถึงความอ่อนแอของตน ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองขาด จึงรู้สึกว่าไม่มีอะไรต้องกลัว

วิธีการทำงานของ “Fieldoffice” คือให้เพื่อนร่วมงานมีพื้นที่อิสระในการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่วิธีการทำงานของ “Fieldoffice” คือให้เพื่อนร่วมงานมีพื้นที่อิสระในการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่

“ไม่มีใครเก่งไปเสียทุกเรื่อง ทุกคนล้วนมีจุดดีของตนเอง” หวงเซิงหย่วนเข้าใจเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีมเวิร์ค จึงต้องรักษาทีมงานแต่ละคนไว้ให้ดี ตั้งแต่เปิด “สำนักงานสถาปนิกหวงเซิงหย่วน” เมื่อปีค.ศ.1994 ชีวิตของหวงเซิงหย่วนได้กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินเมืองอี๋หลาน เขาเปรียบเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ทีมงานของเขาก็เติบโตขึ้นเหมือนกับกลุ่มปะการัง จาก 1 คน กลายเป็นกว่า 30 คน เมื่อถึงช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์และนักศึกษาฝึกงานเข้ามาทำงาน ทำให้ออฟฟิศยิ่งคึกคักราวกับตลาดสด

แทนที่จะกล่าวว่าออฟฟิศคือที่ทำงาน แต่ความจริงแล้วกลับเหมือนโรงเรียนและครอบครัวมากกว่า “ถึงแม้จะมีกำหนดเวลาเลิกงาน แต่โดยทั่วไปทุกคนจะอยู่ถึงสามทุ่มสี่ทุ่มเป็นประจำ” หวังฮั่นเหว่ย (王翰偉) ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการกล่าวด้วยเสียงหัวเราะ “ทุกคนอาศัยอยู่แถวนี้ ที่อยู่ออฟฟิศกันต่อไม่ใช่เพราะทำงาน แต่อยู่ต่อเพื่อคุยเล่นกัน”แม้บ้านจะอยู่ที่อี๋หลาน แต่หวงไห่โหรว (黃海柔) ซึ่งเป็นพนักงานที่นี่ ก็ยังเลือกที่จะเช่าบ้านอยู่ใกล้ออฟฟิศเพื่อจะได้อยู่ด้วยกันกับทุกคน

นี่คือรูปแบบของ “โรงงานวัฒนธรรมหลัวตง” ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดาเพื่อนร่วมงานร่วมแรงร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จ (ภาพจาก Fieldoffice)นี่คือรูปแบบของ “โรงงานวัฒนธรรมหลัวตง” ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดาเพื่อนร่วมงานร่วมแรงร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จ (ภาพจาก Fieldoffice)

หวังฮั่นโหรวชี้ไปที่โมเดล “แต่ละเคสจะมีคนรับผิดชอบหลัก 1 คน และผู้ช่วยหลายคน ตามขั้นตอนการทำงาน บทบาทของแต่ละคนจะสลับสับเปลี่ยนกันไป” ผู้ที่หวงเซิงหย่วนเรียกว่าเพื่อนนักเรียน เมื่อก้าวเข้าสู่ “Fieldoffice” ทุกคนจะต้องรับภาระแต่ผู้เดียวได้ ขณะที่ต้องสัมผัสและคุ้นเคยกับทุกส่วนรอบด้าน “ปล่อยให้เพื่อนร่วมงานได้มีพื้นที่อิสระในการสร้างสรรค์” เมื่อต้องพบกับเพื่อนร่วมงานที่มาจากทั่วสารทิศในไต้หวัน หวงเซิงหย่วนพร้อมที่จะเติบโตไปกับพวกเขาเสมอ “ผมพยายามไปเยี่ยมบ้านเดิมของเพื่อนร่วมงานทุกคน เพื่อให้เข้าใจว่าพวกเขาเติบโตมาอย่างไร” ความจริงใจเช่นนั้น ทำให้เสมือนเป็นญาติมิตร “อัตราการเปลี่ยนพนักงานของสำนักงานแห่งนี้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่ลาออกไปเพื่อเรียนต่อ หลังจากเรียนจบจากต่างประเทศก็จะกลับเข้ามาทำงานใหม่” หวังฮั่นเหว่ยกล่าวเสริม แค่เพียงเคยเข้ามาทำงานใน “Fieldoffice” ไม่ว่าจะไปอยู่มุมไหนของโลก ก็ไม่เคยลืมบ้านหลังนี้

 

ความจริงจะคงอยู่ตลอดกาล

ช่หมิงเลี่ยงจัดนิทรรศการในหัวข้อ “คนเดินเท้า : ไช่หมิงเลี่ยง” ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจ้วงเหว่ย ที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกราวกับว่าได้ชมภาพยนตร์อยู่บนชายหาดช่หมิงเลี่ยงจัดนิทรรศการในหัวข้อ “คนเดินเท้า : ไช่หมิงเลี่ยง” ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจ้วงเหว่ย ที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกราวกับว่าได้ชมภาพยนตร์อยู่บนชายหาด

หวงเซิงหย่วนยอมรับว่าตนเป็นคนกรุงที่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวในชนบท แต่พอใช้เวลากว่า 20 ปี สัมผัสกับความเป็นชนบทอย่างอี๋หลาน เขารู้สึกรักดินแดนแห่งนี้อย่างจริงใจ และแสดงออกด้วยการทำนุบำรุงรักษาที่นี่อย่างเต็มกำลัง

ใช้คุณค่าทางมานุษยวิทยาและวัฒนธรรมเป็นตัวชี้วัดสถาปัตยกรรม นำสถาปัตยกรรมหลอมรวมสู่ภูมิทัศน์ เป็นสิ่งที่ “Fieldoffice” ทำสำเร็จแล้ว “ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจ้วงเหว่ย” ซึ่งเปิดตัวในปี 2018 ถูกผู้คนกระเซ้าอย่างติดตลกว่าคล้ายหุ่นยนต์กันดัม ได้เชิญไช่หมิงเลี่ยง (蔡明亮) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง มาเป็นผู้วางแผนจัดนิทรรศการ รูปทรงกลมเชื่อมต่อกันบนพื้นที่กว้างใหญ่คล้ายกับการย่อส่วนของจักรวาล “สถาปัตยกรรมไม่จำเป็นต้องสร้างเพื่อการใช้งานแบบแข็งทื่อ สามารถใช้ธรรมชาติและผู้ใช้งานมาเป็นตัวกำหนดได้” หวงเซิงหย่วนกล่าว

ด้วยลักษณะพื้นที่ซึ่งเป็นเนินทราย ไร้เสียงอึกทึก คืนความเงียบสงบให้กับมนุษย์ กล้องปริทรรศน์ที่ตั้งเด่น นำทะเลอันกว้างใหญ่มาอยู่เบื้องหน้าสายตาได้อย่างอัศจรรย์ ความมีอิสรเสรีที่ไขว่คว้าได้ทำให้ไช่หมิงเลี่ยงรู้สึกตื่นตะลึง ดินแดนแห่งความฝันที่เสาะแสวงหา ได้ปรากฏจริงอยู่ด้านหน้านี่เอง

สะพานทางเข้า “สุสานสวนซากุระ” นำหลักของอากาศพลศาสตร์มาใช้ในการออกแบบ ทำให้สัมผัสได้ถึงความโมเดิร์นอันทันสมัย (ภาพจาก Fieldoffice)สะพานทางเข้า “สุสานสวนซากุระ” นำหลักของอากาศพลศาสตร์มาใช้ในการออกแบบ ทำให้สัมผัสได้ถึงความโมเดิร์นอันทันสมัย (ภาพจาก Fieldoffice)

ภายใต้ความพยายามของหวงเซิงหย่วนทำให้ “พิพิธภัณฑ์ฐานทัพอากาศฝูงบินคะมิกะเซะหยวนซัน” ยังคงสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่ว่าในประวัติศาสตร์จะเป็นเช่นไร หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคือสิ่งที่คงอยู่จริง เราไม่จำเป็นต้องหลบเลี่ยง ควรเปิดใจให้การยอมรับจะดีเสียกว่า

“Fieldoffice” ได้สลักความยากลำบากของชนรุ่นก่อนเป็นลวดลายบนสถาปัตยกรรม ดูเหมือนเป็นเส้นสายของเหตุการณ์ที่ไม่ได้บรรจงสร้างขึ้น แต่แฝงไปด้วยความคิดที่ลึกซึ้ง

“จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยชอบนิสัยของตัวเองนัก” ในสายตาของคนอื่น มองว่าหวงเซิงหย่วนเป็นคนหัวแข็งโดยธรรมชาติ คือยืนหยัดต่อความจริง ความดี และความงาม โดยไม่มีการประนีประนอม ซึ่งหากไม่ระวังเพียงนิดเดียว อาจไปแตะต้องกรอบของมารยาทและจริยธรรมในสังคมได้ง่าย

“เบื้องหลังของมารยาท ที่จริงมีหลายสิ่งซ่อนเร้นอยู่ อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการโต้แย้งเพื่อเสรีภาพ หรือคิดว่าเป็นการเรียกร้องเพื่อความยุติธรรม” หวงเซิงหย่วนไม่ต้องการการโต้ตอบด้วยความเสแสร้งจอมปลอม เขาต้องการการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ในช่วงเวลาที่เขาเติบโต สวรรค์ลิขิตให้เขาต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร้ความปราณี และต้องพบกับอุปสรรคมากมายท่ามกลางความไม่รู้ แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาปิดกั้นหัวใจที่เปิดกว้างของตัวเอง หากแต่ยังคงกล้าที่จะพูดถึงสิ่งที่คิดอยู่ภายในใจอย่างตรงไปตรงมา อย่างไม่มีความเกรงกลัวใดๆ

“อาคารสวัสดิการสังคมอี๋หลาน” มีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกรองรับคนพิการ เพื่อให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากที่สุด (ภาพจาก Fieldoffice)“อาคารสวัสดิการสังคมอี๋หลาน” มีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกรองรับคนพิการ เพื่อให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากที่สุด (ภาพจาก Fieldoffice)

รวมถึง “โครงการคูเมืองใหม่” ที่หวงเซิงหย่วนก็ไม่เรียกร้องอะไรมากนัก แค่เพียงทำให้รูปลักษณ์ของเมืองกลับคืนดังเดิม เพราะเขาต้องการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อแม่น้ำที่เป็นเสมือนมารดาของคนอี๋หลานสายนี้ที่หล่อเลี้ยงผู้คนมานานหลายศตวรรษ

 

ใช้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผืนนาแห่งความสุข

จากประวัติการก่อสร้างของ “Fieldoffice” ในบรรดาผลงานกว่า 50 ชิ้น ความห่วงใยต่อผู้อื่น คือแรงบันดาลใจที่สำคัญ นับตั้งแต่สถานดูแลคนชราจู๋หลิน ในตำบลเจียวซี เมื่อปีค.ศ.1995 สถาบันการพยาบาลต้าโจวอี๋หลาน ไปจนถึงศูนย์เซนต์คามิลลัสเพื่อผู้บกพร่องทางสติปัญญา และบ้านพักคนชราเซนต์คามิลลัส “Fieldoffice” ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับโครงการเหล่านี้เป็นอย่างมาก “ความเจ็บป่วยและแก่ชราเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับเราทุกคน ดังนั้นจึงควรจัดให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต” เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องความต้องการในการดูแลที่หลากหลายรูปแบบ การจะสร้างพื้นที่ที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานได้อย่างไรนั้น ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่งในอนาคต

ด้วยความพยายามของหวงเซิงหย่วนทำให้ “พิพิธภัณฑ์ฐานทัพอากาศฝูงบินคะมิกะเซะหยวนซัน” ยังคงสามารถอยู่ต่อไปได้ด้วยความพยายามของหวงเซิงหย่วนทำให้ “พิพิธภัณฑ์ฐานทัพอากาศฝูงบินคะมิกะเซะหยวนซัน” ยังคงสามารถอยู่ต่อไปได้

ผลลัพธ์จากความพยายามของ “Fieldoffice” ได้กระจายไปทั่วเมืองอี๋หลาน ดังนั้นจึงเป็นอะไรที่แทบจะนึกไม่ถึงเลยว่า สำนักงานสถาปนิกที่มีชื่อเสียงเช่นนี้จะประสบปัญหาด้านการเงินอยู่บ่อยครั้ง

เนื่องจากเป็นโครงการสาธารณูปโภคจึงเกิดข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณโครงการ “อาจารย์หวงเซิงหย่วนมักจะยืนหยัดให้ทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการก่อนเสมอและมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอด ในบางครั้ง พอไปถึงไซต์งานก่อสร้าง อาจารย์จะเดินตรวจตราดูรอบๆ แล้วเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไข” บรรดาเพื่อนร่วมงานรุ่นเยาว์ของหวงเซิงหย่วนบ่นอย่างทีเล่นทีจริง

หยางจื้อจ้ง (楊志仲) ผู้จัดการฝ่ายงานก่อสร้าง เพื่อนร่วมงานเก่าแก่นานกว่า 20 ปี มักจะถือเครื่องคิดเลข คำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอยู่เสมอ แม้จะรู้ดีว่าการแก้ไขงานแต่ละครั้งคือต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่หวงเซิงหย่วนก็ยังยืนยันที่จะทำ “ทุกๆ ช่วงจังหวะชีวิต จะมีสิ่งที่ควรค่าแก่การมุ่งมั่นทุ่มเท” ด้วยความรักที่มีต่อวิชาชีพสถาปนิก หวงเซิงหย่วนจึงหวังว่าทุกคนจะทุ่มเทอย่างสุดฝีมือ

ภาพจาก Fieldofficeภาพจาก Fieldoffice

ด้วยความที่โครงการของ “Fieldoffice” เกินกว่าครึ่งเป็นโครงการสาธารณูปโภค จึงทราบเป็นอย่างดีว่า การเมืองเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยจัดหาสวัสดิการเพื่อประชาชนได้ ดังนั้นไม่ว่าใครจะเข้ามามีอำนาจบริหาร ก็ไม่ควรลืมเลือนเจตนารมณ์เดิม จะต้องช่วยประชาชนตัดสินใจและเลือกสิ่งที่ดีที่สุด

หวงเซิงหย่วนจบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) และผ่านประสบการณ์ทำงานที่ Eric O. Moss สำนักงานสถาปนิกชื่อดังในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งมีผลงานได้รับรางวัลต่างๆ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก “Fieldoffice” ภายใต้การนำของเขา อาจมีเส้นทางเดินที่กว้างกว่าเดิม แต่ความรู้สึกผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอน และความรู้สึกว่าเป็นภารกิจอย่างหนึ่งที่อยากส่งต่อสิ่งดีๆ ให้โอกาสแก่คนรุ่นใหม่ที่มีความหวังและความฝัน แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ หวงเซิงหย่วนก็ยังคงยืนหยัดและยินดีที่จะลงมือทำ

ขณะที่หวงเซิงหย่วนมองดูบรรดาเพื่อนร่วมงานที่น่ารักใน “Fieldoffice”  แววตาของเขาส่องประกายที่ฉายให้เห็นความอ่อนโยนออกมา “ผมเชื่อมั่นในทุกสิ่ง ไม่มีอะไรที่แตกต่างออกไปเป็นพิเศษ” ในหัวใจของเขา เชื่อว่าหากลงมือทำด้วยความตั้งใจ ก็ไม่มีอะไรต้องเสียใจในภายหลัง เมื่อสวรรค์มองเห็น คนทั่วไปย่อมมองเห็นได้เช่นกัน