ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ไต้หวัน พันธมิตรทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ” ที่ LAWAC สะท้อนถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ
2019-03-12

นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ไต้หวัน พันธมิตรทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ” ที่ LAWAC สะท้อนถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ

นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ไต้หวัน พันธมิตรทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ” ที่ LAWAC สะท้อนถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 12 มี.ค. 62

 

นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) เดินทางไปเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่ Los Angeles World Affairs Council (LAWAC) ซึ่งจัดขึ้น เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 11 มี.ค. (เขตเวลาทางตะวันตกของสหรัฐฯ) และได้แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “ไต้หวัน พันธมิตรทางยุทธศาสตร์การเปิดเสรีอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ” (Taiwan: An Enduring Partner with the US in the Free and Open Indo-Pacific)

 

รมว.อู๋ฯได้กล่าวขณะแสดงปาฐกถาว่า ไต้หวันผ่านห้วงเวลาที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกเป็นระยะเวลานานถึง 38 ปี แต่ไม่เคยละทิ้งการแสวงหาความเป็นประชาธิปไตย จนในที่สุดผลสัมฤทธิ์ของความพยายามก็ได้ผลิดอกเบ่งบาน เฉกเช่นคำกล่าวของ Mike Pence รองปธน.สหรัฐฯ ที่ว่า “การโอบกอดประชาธิปไตยของไต้หวัน เป็นการเปิดเส้นทางที่ดีกว่าเดิมให้แก่คนเชื้อสายจีนทั่วโลก” หากแต่ไต้หวันต้องเผชิญกับการคุกคามจากมหาอำนาจ ถูกข่มขู่จากจีนอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ โดยหวังที่จะล้มล้างประชาธิปไตยของไต้หวัน ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของช่องแคบไต้หวันและคุกคามสันติภาพในภูมิภาค การกระทำเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นการทดสอบความแน่วแน่ของประชาชนไต้หวัน แต่ยังส่งผลต่อพันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไต้หวันจะยืนหยัดต่อต้านการแผ่ขยายอำนาจของจีนต่อไป เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประชาธิปไตยคือหนทางที่ดีกว่า

 

รมว.อู๋ฯ ระบุว่า “กฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน” เปรียบเสมือนหลักสำคัญในการคงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น แข็งแกร่งและครอบคลุม ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ จวบจนปัจจุบัน ดำเนินมาจนครบวาระปีที่ 40 แห่งกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน ยิ่งนานวัน ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นับตั้งแต่ปธน.ไช่อิงเหวินขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นต้นมา สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้ผ่านญัตติที่เป็นมิตรต่อไต้หวันหลายฉบับ นอกจากนี้ฝ่ายสหรัฐฯ ยังได้ประกาศแผนจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ไต้หวันหลายรายการ และยังสนับสนุนไต้หวันให้มีส่วนร่วมในเวทีสากล สิ่งเหล่านี้ต่างสื่อให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ กำลังพัฒนาไปในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง กต.ไต้หวันจึงได้จัดกิจกรรมหลายรายการ ภายใต้หัวข้อ“40 ปีกฏหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน หุ้นส่วนชั่วกาลนาน( TRA@40:An Enduring Partnership )” เพื่อเน้นย้ำถึงสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ และยังได้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมและผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน รวมไปถึงการประชุม A Civil Society Dialogue on Securing Religious Freedom in the Indo-Pacific Region ซึ่งกำลังจัดขึ้นที่กรุงไทเปในช่วงนี้ด้วย

 

รมว.อู๋ฯ ชี้แจงว่า พื้นฐานหลักของนโยบายด้านการต่างประเทศของไต้หวัน คือการยืนหยัดในค่านิยม โอบกอดพันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างสันติภาพ ความรุ่งเรือง เสรีภาพ และเปิดเสรีในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก สร้างคุณประโยชน์ให้กับคนรุ่นหลังต่อ ไป เชื่อมั่นว่า “พลังแห่งความอบอุ่น”จะสามารถเอาชนะ “พลังแห่งความเฉียบคม”ได้ นโยบายด้านการต่างประเทศของไต้หวันในขณะนี้ ประกอบด้วยการผลักดัน “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” เข้าร่วมกรอบความร่วมมือ Global Cooperation and Training Framework (GCTF) เข้าร่วมสหพันธ์ต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามเพื่อช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่ซีเรียและอิรัก นอกจากนี้ยังได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยชนแก่ชาวเวเนซุเอลา และต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลาในแอฟริกาเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้กลายเป็นพลังแห่งความดีที่แข็งแกร่งของโลก

 

ท้ายสุด รมว.อู๋ฯ ย้ำว่า ในช่วงเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์นี้ การแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สงครามคตินิยมแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ ไต้หวันยืนหยัดที่จะอยู่เคียงข้างพลังแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย ด้วยใจสามัคคีรวมกันเป็นหนึ่ง และต้องการสู้ไปพร้อมๆกับพันธมิตรนานาชาติ เพื่อร่วมกันสร้างพลังแห่งความดีให้กับโลกใบนี้ต่อไป

 

Los Angeles World Affairs Council (LAWAC) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานถึง 64 ปี จุดมุ่งหมายคือ กระตุ้นให้ชาวอเมริกันมีความเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก โดยเชิญบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในเวทีสากลมาร่วมแสดงปาฐกถาอยู่บ่อยครั้ง อาทิ ปธน.สหรัฐฯรวม 8 ท่าน และผู้นำประเทศอื่นอีกกว่า 250 ท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ สมาชิกรัฐสภาและนายทหารระดับนายพล เป็นต้น