ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไถซานเสี้ยน เส้นทางแห่งการบูร ดื่มด่ำไปกับความโรแมนติก และวิถีชีวิตแบบเนิบช้า
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-05-13

บ้านโบราณสไตล์ฮากกา เป็นทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปบน “เส้นทางแห่งการบูร”

บ้านโบราณสไตล์ฮากกา เป็นทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปบน “เส้นทางแห่งการบูร”

 

ไถซานเสี้ยน ทางหลวงสายสำคัญระดับประเทศที่มีความยาวกว่า 400 กิโลเมตรสายนี้ ได้รับสมญานามใหม่ว่า “เส้นทางแห่งการบูร” (樟之細路 : Raknus Selu Trail) โดยเริ่มใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการในปีค.ศ.2018 ถนนไถซานเสี้ยนตัดผ่านชุมชนชาวฮากกาเป็นหลัก ในอดีตไม่เคยปรากฏเส้นทางสายนี้บนแผนที่ไต้หวันมาก่อน นับเป็นถนนที่เชื่อมโยงเส้นทางโบราณกับเส้นทางที่ใช้ลำเลียงผลผลิตในพื้นที่เกษตรและเส้นทางเดินเท้าตามป่าเขามากมายเข้าด้วยกัน เดิมดินแดนแถบนี้เคยเป็นป่าไม้การบูรผืนใหญ่ บรรพบุรุษชาวไต้หวันเข้าไปตัดไม้การบูรเพื่อสกัดเป็นน้ำมันการบูร และต่อมาทำให้ไต้หวันได้รับการขนานนามว่า อาณาจักรแห่งการบูร ยิ่งไปกว่านั้นเส้นทางสายนี้ยังนำพาไต้หวันก้าวไปสู่ยุคแห่งการล่องเรือสำรวจทะเลและเชื่อมต่อกับทั่วโลกในศตวรรษที่ 19

 

ศาลเจ้าโป๋กง ศาลเจ้าขนาดจิ๋วที่พบเห็นบ่อยครั้งตามเส้นทางเดินเท้า คอยปกปักคุ้มครองชาวบ้านในท้องถิ่นศาลเจ้าโป๋กง ศาลเจ้าขนาดจิ๋วที่พบเห็นบ่อยครั้งตามเส้นทางเดินเท้า คอยปกปักคุ้มครองชาวบ้านในท้องถิ่น

สมาชิกสมาคมเดินพันลี้ (Taiwan Thousand Miles Trail Association : TMT Trail) ใช้เวลากว่าครึ่งปีในการสำรวจเส้นทางสายนี้ พวกเขาเดินเท้าบุกย่ำไปตามเส้นทางที่รกร้างว่างเปล่า บุกป่าฝ่าดง ข้ามขุนเขาลำเนาไพร เพื่อค้นหาเส้นทางเก่าแก่ที่ถูกหลงลืมและเรียงร้อยตำนานเรื่องเล่าในท้องถิ่น

 

¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ ไถซานเสี้ยน เส้นทางสายโรแมนติก

¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Raknus Selu Trail โดยคำว่า Raknus ในภาษาของชนเผ่า Atayal และ Say-Siyat แปลว่า ต้นการบูร ส่วนคำว่า Selu เป็นการออกเสียงตามภาษาฮากกา หมายถึง ถนนสายเล็กๆ จากการตั้งชื่อเส้นทางดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและชาวฮากกา โดยเขตพื้นที่ตามแนว ¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ ซึ่งเลียบไปกับถนนไถซานเสี้ยนนั้นได้เชื่อมโยงเส้นทางโบราณ เส้นทางที่ใช้ลำเลียงผลผลิตในพื้นที่เกษตร และถนนสายเล็กๆ ในเขตหลงถาน นครเถาหยวน ไปจนถึงเขตตงซื่อ นครไทจง เข้าด้วยกัน ตลอดแนวเส้นทางมีหมู่บ้านชาวฮากกากว่าสิบแห่ง อาทิ ซินผู่ กวนซี ฉงหลิน จู๋ตง เป่ยผู่ เอ๋อเหมย หนานจวง ซานอี้ โถวอู ซือถาน กงก่วน ต้าหู และจั๋วหลาน แม้เส้นทางสายนี้จะไม่กว้างใหญ่นักแต่เต็มไปด้วยตำนาน วิถีพื้นบ้านและวัฒนธรรมพื้นถิ่นมากมาย

ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวันคนปัจจุบัน เคยเสนอโครงการ ¡§ไถซานเสี้ยน เส้นทางสายโรแมนติก¡¨ ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยได้แนวคิด ¡§ถนนสายโรแมนติก¡¨ เส้นทางแห่งการท่องเที่ยวของเยอรมนีมาประกอบการพิจารณาในการพัฒนาการท่องเที่ยวของนครเถาหยวน เหมียวลี่ และนครไทจง โดยใช้ถนนไถซานเสี้ยนเป็นตัวเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านี้เข้าด้วยกัน

สำหรับ ¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ ซึ่งเชื่อมโยงเส้นทางเดินเท้าหลายสายเข้าด้วยกันและเป็นส่วนหนึ่งในแผนการ ¡§ไถซานเสี้ยน เส้นทางสายโรแมนติก¡¨ โดยหวังจะใช้เป็นเส้นทางสำหรับการเดินสำรวจชุมชนในเชิงลึกและใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

ที่ชุมชนชูหวงเคิง ยังเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ขุดเจาะน้ำมันเอาไว้และละแวกใกล้เคียงก็ยังมีร่องรอยของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันหลงเหลืออยู่ที่ชุมชนชูหวงเคิง ยังเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ขุดเจาะน้ำมันเอาไว้และละแวกใกล้เคียงก็ยังมีร่องรอยของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันหลงเหลืออยู่

ขณะที่สมาคมเดินพันลี้ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.2006 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ผลักดันกิจกรรมการจัดทำเส้นทางเดินเท้าที่สำคัญๆ ในไต้หวันมาโดยตลอด และหลังจากเสนอให้จัดทำเส้นทางเดินเท้ารอบเกาะไต้หวันความยาวกว่า 3,000 กม. และดำเนินการแล้วเสร็จลงเมื่อปีค.ศ.2011 แล้ว ได้เบนเป้าหมายไปที่การเผยแพร่เส้นทางเดินเท้าเพื่อสุขภาพ 

 

การสำรวจเส้นทางกลางป่าเขาลำเนาไพร

ในช่วงแรกของการสำรวจเส้นทาง สมาคมเดินพันลี้ใช้วิธีเชื่อมเส้นทางเดินเท้าโบราณหลายสายเข้าด้วยกันตามคำแนะนำของคนเก่าแก่ในท้องถิ่นที่คุ้นเคยกับเส้นทางเดินเท้าโบราณ แต่พบว่าจำเป็นต้องใช้ทางหลวงและเส้นทางลำเลียงผลผลิตในพื้นที่การเกษตรมากมายหลายเส้นทางด้วย ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เดิมที่ต้องการจัดทำเส้นทางเดินเท้าโดยเฉพาะ สมาชิกสมาคมฯ จึงตัดสินใจเดินเท้าสำรวจเส้นทางด้วยตนเอง เพื่อค้นหาเส้นทางในป่าเขาสำหรับใช้แทนทางหลวง

พวกเขานำ ¡§แผนที่ภูมิประเทศไต้หวัน¡¨ ซึ่งจัดทำขึ้นในยุคญี่ปุ่นยึดครองไต้หวันมาเปรียบเทียบกับแผนที่ในยุคปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์เส้นทาง รวมถึงสอบถามจากคนเก่าแก่ในท้องถิ่น โดยหวังว่าจะช่วยให้ค้นพบเส้นทางโบราณที่ถูกทิ้งร้าง แต่เมื่อไม่สำเร็จก็ต้องหาทางกันเอง คุณหวงซือเหวย (黃思維) เลขาธิการโครงการสำรวจเส้นทางโบราณ สมาคมเดินพันลี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจตลอดเส้นทาง เล่าถึงประสบการณ์การออกสำรวจครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนั้นทีมสำรวจมีสมาชิกทั้งหมด 4 คน 3 คนรับหน้าที่สำรวจหาเส้นทางบนภูเขา อีกคนหนึ่งทำหน้าที่ขับรถรับ-ส่งและพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนใกล้ๆ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหรือตำนานเรื่องราวต่างๆ ในท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด

ในการเดินป่าสำรวจเส้นทาง บางครั้งอาจเดินขึ้นไปจนถึงยอดเขา หรืออาจต้องมุดๆ ลอดๆ ไปตามเส้นทางขุดหาหน่อไม้บนภูเขาของชาวบ้าน และในบางคราที่ต้องเดินฝ่าป่าเขาลำเนาไพรหาทางออกไม่เจอ ก็ต้องใช้มีดถางป่าเปิดทาง เพื่อนร่วมทีมที่เดินหลังสุดมีหน้าที่ผูกเศษผ้าไว้ตามต้นไม้เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายกันหลงทาง และบ่อยครั้งที่เดินหลุดจากป่ารกชัฏออกมา แต่กลับพบว่าติดอยู่ริมหุบผา หรือหลุดเข้าไปในสวนดอกไม้หลังบ้านพักตากอากาศของเศรษฐีในท้องถิ่น ฟังดูแล้วไม่ต่างจากฉากการผจญภัยในภาพยนตร์กำลังภายในหรือละครย้อนอดีตข้ามภพที่ทั้งมหัศจรรย์และทุลักทุเล

ระหว่างการเดินสำรวจเส้นทางโบราณ พบเจอตำนานท้องถิ่นมากมาย อาทิ โบสถ์คาทอลิกสือกวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเส้นทางโบราณสือกวงแห่งนี้ เป็นต้นแบบของโบสถ์คาทอลิกกวนซีที่มีชื่อเสียงระหว่างการเดินสำรวจเส้นทางโบราณ พบเจอตำนานท้องถิ่นมากมาย อาทิ โบสถ์คาทอลิกสือกวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเส้นทางโบราณสือกวงแห่งนี้ เป็นต้นแบบของโบสถ์คาทอลิกกวนซีที่มีชื่อเสียง

การกำหนด ¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨  นอกจากได้รวมเอาเส้นทางเดินเท้าโบราณที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังหวังว่าจะค้นพบและเปิดใช้เส้นทางเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เคยหายสาบสูญไปด้วย คุณสวีหมิงเชียน (徐銘謙) อุปนายกสมาคมเดินพันลี้ ยกตัวอย่าง ¡§ทางหลวงเก่า¡¨ พร้อมอธิบายว่า เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างเขตต้าหูกับเขตจั๋วหลาน เมืองเหมียวลี่ ในยุคญี่ปุ่นยึดครองไต้หวัน ต่อมา เส้นทางสายนี้ถูกเปลี่ยนเป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงผลผลิตในพื้นที่การเกษตร บางช่วงเนื่องจากมีผู้คนใช้น้อยมาก ต่อมาจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด กระนั้นก็ตามใน ¡§แผนที่ภูมิประเทศไต้หวัน¡¨ ที่ญี่ปุ่นจัดทำขึ้นในปีค.ศ.1904 และแผนที่ฉบับอื่นๆ ล้วนมี ¡§ทางหลวงเก่า¡¨ สายนี้ปรากฏอยู่ทั้งสิ้น คุณสวีหมิงเชียนเล่าว่า ¡§อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงก่อนที่จะมีการก่อสร้างถนนไถซานเสี้ยน เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่มีคนใช้สัญจรไปมามากที่สุด แต่ต่อมาถูกทดแทนด้วยทางหลวงระดับประเทศ เราจึงเห็นว่า ควรบรรจุทางหลวงเก่าสายนี้ไว้ในเส้นทางแห่งการบูรและปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้ดังเดิม¡¨

 

เสาะแสวงหาวิถีพื้นบ้าน ตำนานท้องถิ่น

ระหว่างการสำรวจเส้นทาง สมาคมเดินพันลี้ยังได้รวบรวมและแยกแยะทัศนียภาพทางวัฒนธรรมที่หลากหลายตลอดแนวเส้นทางควบคู่ไปด้วย ที่พบเห็นบ่อยที่สุด ได้แก่ ศาลเจ้าโป๋กง สวนชา และทางเดินริมคลองชลประทาน  นอกจากนี้ ยังพบว่า ชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนหลายแห่ง อาทิ จังเหน่าเหลียวเคิง (樟腦寮坑) และ ซั่งจังซู่หลิน (上樟樹林) เนื่องจากคำว่าจัง (樟) แปลว่า ต้นการบูร จึงสะท้อนให้เห็นว่าสถานที่เหล่านี้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตการบูร ยิ่งไปกว่านั้นยังค้นพบแนวป้องกันการรุกล้ำจากชนพื้นเมืองที่สร้างขึ้นโดยชาวฮั่นที่เข้ามาบุกเบิกสร้างบ้านแปงเมืองบนเกาะไต้หวันในอดีตอีกด้วย

คุณหวงซือเหวยเล่าว่า มีการค้นพบบ่อน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในไต้หวันที่ชูหวงเคิง (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลกงก่วน เมืองเหมียวลี่) ที่บริเวณริมทางด่วนหมายเลข 72  เป็นบ่อน้ำมันแห่งแรกในไต้หวัน ซึ่งมีการขุดเจาะในปีค.ศ.1877 และเป็นบ่อน้ำมันเก่าแก่อันดับที่ 2 ของโลก ในละแวกใกล้เคียงยังพบร่องรอยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันในอดีต อาทิ รอกสลิง โรงซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนัก หอพักหมายเลข 20 และแท่นขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น

การสร้างเส้นทางเดินเท้าทำด้วยมือ ให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศ ธรณีวิทยา และระบบนิเวศการสร้างเส้นทางเดินเท้าทำด้วยมือ ให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศ ธรณีวิทยา และระบบนิเวศ

เส้นทางโบราณชูหยุน (ชูหวงเคิง-วัดฝ่าหยุน) และเส้นทางโบราณชูกวน (ชูหวงเคิง-ภูเขากวนเตาซาน) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชูหวงเคิง ได้ถูกจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางแห่งการบูร และหากมองจากระเบียงหน้าวัดฝ่าหยุนไปทางตำบลต้าหู จะได้เห็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งในอดีตเคยเป็นจุดที่เกิดการปะทะกันระหว่างชาวฮากกากับชนพื้นเมือง ส่วนจุดที่อยู่ไกลออกไปคือป่าฟานไจ่ ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยายสะท้อนสังคมเรื่อง Cold Night ผลงานของคุณหลี่เฉียว นักเขียนชื่อดังของไต้หวัน (ปัจจุบันคือหมู่บ้านจิ้งหู ตำบลต้าหู เมืองเหมียวลี่)

เหนือขึ้นไปเป็นเส้นทางโบราณเซไอ่ (ซือถาน-กงก่วน) ซึ่งอยู่ริมถนนเหมียว 26 คุณหวงซือเหวยพาเราไปดูร่องรอยที่บ่งบอกถึงวิธีสร้างเส้นทางโบราณซึ่งปรากฏอยู่บนขั้นบันไดหิน สามารถมองเห็นรอยเจาะที่เรียบเนียนสองแห่งความยาวประมาณ 5 ซม. ซึ่งเกิดจากการใช้สิ่วเล็กๆ เจาะก้อนหินขนาดใหญ่ บันไดขั้นสุดท้ายสลักคำกลอนเป็นภาษาฮากกาว่า ¡§上崎觸鼻孔,下崎觸髻鬃¡¨ (ยามปีนขึ้นจมูกจะชนขั้นบันได ยามลงท้ายทอยจะชนขั้นบันได) กลอนบทนี้ราวกับจะบ่งบอกถึงความสูงชันของบันไดหินที่ทำให้ผู้คนในอดีตขึ้นลงบันไดด้วยความยากลำบาก

แบกเครื่องไม้เครื่องมือขึ้นบ่า ไปซ่อมเส้นทางเดินเท้ากัน! เส้นทางเดินเท้าที่ทำด้วยมือต่างจากเส้นทางที่สร้างโดยบริษัทก่อสร้างทั่วไป เพราะอาศัยแรงงานคนทั้งหมดและใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นแบกเครื่องไม้เครื่องมือขึ้นบ่า ไปซ่อมเส้นทางเดินเท้ากัน! เส้นทางเดินเท้าที่ทำด้วยมือต่างจากเส้นทางที่สร้างโดยบริษัทก่อสร้างทั่วไป เพราะอาศัยแรงงานคนทั้งหมดและใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น

ต่อไปคือ เส้นทางโบราณสือกวง ที่ตำบลกวนซี เมืองซินจู๋ ในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมเก่าแก่ที่เชื่อมระหว่างเขตพื้นที่การเกษตรที่สำคัญคือ สือกังจื่อ (ชื่อเดิมของชุมชนสือกวง) กับเขตหลงถาน นครเถาหยวน ขั้นบันไดทำจากหินกรวดแม่น้ำที่กลมเกลี้ยง คุณหวงซือเหวยอธิบายว่า เดิมดินแดนแถบนี้เป็นเส้นทางที่แม่น้ำไหลผ่านจึงมีหินกรวดแม่น้ำเต็มไปหมด บรรพบุรุษจึงนำวัสดุในท้องถิ่นเหล่านี้มาใช้ในการก่อสร้างเส้นทางสัญจรไปมา ด้วยเหตุนี้เอง ขั้นบันไดบนเส้นทางสายนี้จึงต่างจากบันไดบนเส้นทางโบราณเซไอ่ที่สร้างโดยการตัดมาจากก้อนหินขนาดใหญ่

 

ทางเดินของเรา เราต้องซ่อมกันเอง

สมาคมเดินพันลี้เพียรพยายามผลักดันให้ผู้คนในชุมชนสร้างเส้นทางเดินเท้ากันเอง แทนการเหมางานให้บริษัทก่อสร้างรับไปทำ คุณสวีหมิงเชียนอธิบายว่า การสร้างเส้นทางเดินเท้าของบริษัทก่อสร้างจะยึดหลักทำทีเดียวให้เสร็จสมบูรณ์และทนทาน วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง อาทิ หินแกรนิตหรือปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุจากที่อื่น แต่สิ่งเหล่านี้เมื่ออยู่ท่ามกลางธรรมชาติจะไม่ทนทานและผุกร่อนได้ง่ายที่สุด จำเป็นต้องซ่อมแซมบ่อยๆ  ขณะที่เส้นทางเดินเท้าที่ทำด้วยมือของคนในชุมชน เน้นการใช้วัสดุในท้องถิ่น สร้างตามลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม อีกทั้งมีการกำหนดเวลาซ่อมบำรุงเป็นประจำ

ศาลาจิบชาที่หมู่บ้านเซียงฟง ต.เหิงซาน เมืองซินจู๋ บ่งบอกถึงวัฒนธรรมยกน้ำชาที่สะท้อนถึงความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีของชาวไต้หวันศาลาจิบชาที่หมู่บ้านเซียงฟง ต.เหิงซาน เมืองซินจู๋ บ่งบอกถึงวัฒนธรรมยกน้ำชาที่สะท้อนถึงความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีของชาวไต้หวัน

เส้นทางเดินเท้าที่ทำด้วยมือมักใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นและแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ยากที่จะอธิบายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร สมาคมเดินพันลี้จึงใช้วิธีจัดกิจกรรมสร้างเส้นทางเดินเท้าทำด้วยมือในวันหยุด เพื่อให้บรรดาจิตอาสาได้มาสัมผัสกับสภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยาในสถานที่จริงด้วยตนเอง

เราได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมนี้ครั้งหนึ่ง ภารกิจในวันนั้นคือ การซ่อมบำรุง ¡§เส้นทางโบราณตู้หนาน¡¨ เนื่องจากมีเส้นทางบนไหล่เขาช่วงหนึ่งถูกน้ำป่ากัดเซาะจนพังทลายลง ก่อนหน้านั้นใช้ไม้ไผ่ซ่อมเพื่อใช้ชั่วคราว แต่เพื่อความทนทานในการซ่อมแซม ครั้งนี้จะใช้ก้อนหินมาปูพื้นถนน ตอนแรกคุณสวีหมิงเชียน กับครูช่างช่วยกันสำรวจความลาดชันของเส้นทางและหารือกันถึงวิธีซ่อมแซม จากนั้นพาทุกคนไปเสาะหาและขนก้อนหินขนาดใหญ่มากองรวมกันไว้ พื้นถนนที่ถูกน้ำป่ากัดเซาะจำเป็นต้องใช้หินก้อนใหญ่มาถมเป็นฐานรองพื้น ซึ่งต้องเลือกขนาดและรูปทรงที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องทดลองวางก้อนหินลงบนหลุมที่ขุดไว้ตามขนาดความกว้างและความลึก อีกทั้งต้องทดลองวางในมุมต่างๆ เพื่อหาตำแหน่งที่จะทำให้มีความเสถียรที่สุด จากนั้นไปหาก้อนหินขนาดกลางและเล็กมาอุดตามรอยต่อของหินก้อนใหญ่และถมรอยต่อเล็กๆ ด้วยดินทรายให้แน่น เส้นทางบนไหล่เขาที่ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้วดูไม่ต่างจากเส้นทางทั่วไป แต่หากมองจากด้านข้างจะคล้ายกับการปะชุนเสื้อผ้าที่ต้องซ่อมแซมรอยขาดแหว่งให้เรียบร้อยและสมบูรณ์ที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีภารกิจอื่นๆ อาทิ เก็บก้อนหินในแม่น้ำ หรือเลื่อยไม้เพื่อทำขอบถนน ซึ่งวิธีการก่อสร้างส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แต่เนื่องจากวัสดุธรรมชาติจะต่างจากตัวต่อเลโก้ที่มีขนาดที่แน่ชัด คนทำจึงต้องใช้ความสามารถพิเศษส่วนบุคคล นำวัสดุธรรมชาติจากในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้

นับจากนั้นเป็นต้นมา จิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมซ่อมเส้นทางเดินเท้าได้เชื่อมโยงชีวิตของพวกเขาเข้ากับเส้นทางสายนี้โดยปริยาย มนุษย์กับผืนแผ่นดินไม่ใช่คนแปลกหน้าระหว่างกันอีกต่อไป และนี่คือสาเหตุที่ทำให้บรรดาจิตอาสาจำนวนมากกลับมาร่วมกิจกรรมดังกล่าวครั้งแล้วครั้งเล่า

แม้เส้นทางจะไม่กว้างใหญ่นักแต่เต็มไปด้วยตำนาน วิถีพื้นบ้านและวัฒนธรรมพื้นถิ่นมากมายแม้เส้นทางจะไม่กว้างใหญ่นักแต่เต็มไปด้วยตำนาน วิถีพื้นบ้านและวัฒนธรรมพื้นถิ่นมากมาย

คุณหลิวเค่อเซียง (劉克襄) นักเขียนหนังสือแนวอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยาที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน กล่าวในงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อโปรโมทเส้นทางแห่งการบูรสู่ต่างประเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเมื่อกลางเดือนก.ค. ปี 2018 ว่า ทางด่วนสายต่างๆ ในไต้หวันมุ่งเน้นเรื่องความเร็วและความกว้างของถนน โดยหวังว่าจะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองและการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ ¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ ที่เพิ่งมีการกำหนดเส้นทางอย่างชัดเจนในปีค.ศ.2018 นั้น ต่างไปจากถนนทั่วๆ ไป ¡§นี่คือเส้นทางแห่งวิถีเนิบช้า ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า ค่านิยมและวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมไต้หวันกำลังแปรเปลี่ยนไป¡¨

¡§เส้นทางแห่งการบูร¡¨ ถือเป็นเส้นทางที่โรแมนติกที่สุดของโครงการ ¡§ไถซานเสี้ยน เส้นทางสายโรแมนติก¡¨ และเป็นเส้นทางแห่งตำนาน เรื่องราวมากมายที่ได้จากความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งร่วมกันสำรวจและเก็บมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน คุณโจวเซิ่งซิน (周聖心) เลขาธิการสมาคมเดินพันลี้ กล่าวว่า ¡§แม้จะเป็นเพียงถนนเล็กๆ แต่มันคือเส้นทางสายสำคัญ¡¨ นี่คือเส้นทางที่นำไปสู่วิถีชีวิตที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง จากความรีบเร่งสู่ความเนิบช้า และหวังว่าในอนาคตจะกลายเป็นสถานที่ที่มีพลเมืองมาทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกันมากขึ้น