ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ค้นพบหนทางต้านไวรัส MERS ผลวิจัยและพัฒนานาโนวัคซีนของทีมวิจัยไต้หวัน – สหรัฐฯ เห็นผลเกินคาด
2019-05-15

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. สถาบันวิจัยแห่งชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (Academia Sinica) ได้จัดแถลงผลงานวิจัยโรคที่ถูกเรียกเป็น SARSชนิดใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง” (MERS) ที่ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา ทีมวิจัยข้ามวงการไต้หวัน – สหรัฐฯ ๆ จึงได้ร่วมวิจัยและพัฒนา “นาโนวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส” ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า วัคซีนตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัส MERS ได้อย่างเห็นผล (ภาพจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ) สำนักข่าว CNA วันที่ 14 พ.ค. 62

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. สถาบันวิจัยแห่งชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (Academia Sinica) ได้จัดแถลงผลงานวิจัยโรคที่ถูกเรียกเป็น SARSชนิดใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง” (MERS) ที่ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา ทีมวิจัยข้ามวงการไต้หวัน – สหรัฐฯ ๆ จึงได้ร่วมวิจัยและพัฒนา “นาโนวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส” ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า วัคซีนตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัส MERS ได้อย่างเห็นผล (ภาพจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ) สำนักข่าว CNA วันที่ 14 พ.ค. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 14 พ.ค. 62

 

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยแห่งชาติของไต้หวัน (Academia Sinica) ได้แถลงว่า โรค SARSประเภทใหม่ที่มีชื่อว่า “โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง หรือไวรัสเมอร์ส (MERS)” ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษานั้น ทีมวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ซึ่งก่อตัวขึ้นเพื่อร่วมวิจัยและพัฒนา “นาโนวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส” สามารถค้นพบจากผลการทดลองว่า วัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัส MERS ได้อย่างเห็นผล และผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติแล้ว


 

Academia Sinica ได้จัดแถลงข่าวในหัวข้อ “การเลียนแบบระดับนาโน! วัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส มีโอกาสทำลายเชื้อไวรัส MERS ได้ ” เพื่อชี้แจงกระบวนการวิจัยและผลสัมฤทธิ์จากการวิจัยที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น


 

Academia Sinica ชี้แจงว่า โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง (MERS) เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่พบในมนุษย์และสัตว์ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเกือบร้อยละ 40 ซึ่งปัจจุบันได้ระบาดไปทั่วยุโรป สหรัฐฯ เอเชีย และแอฟริกา โดยมีผู้ป่วยหลายพันกรณีที่ได้รับการติดเชื้อดังกล่าว


 

Academia Sinica กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา หากตรวจพบผู้ป่วยเกิดขึ้นในประเทศใด ก็จะก่อให้เกิดความวิตกกังวลในประเทศนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่กลุ่มเชื้อโคโรนาไวรัสสามารถกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องใช้วัคซีนที่คิดค้นขึ้นใหม่ จึงจะสามารถต่อกรกับเชื้อดังกล่าวได้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โรคติดต่อสายพันธุ์เกิดใหม่ชนิดนี้ เป็นโรคที่ต้องเร่งหาหนทางให้ได้รับการแก้ไขเป็นอันดับหนึ่ง


 

ทีมวิจัยและพัฒนานาโนวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสในครั้งนี้ เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญข้ามวงการระดับนานาชาติโดยมี นายหูเจ๋อหมิง ผู้ช่วยนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ สถาบันวิจัยแห่งชาติ (Institute of Biomedical Sciences, Academia Sinica) ดร.เฉินฮุ่ยเหวิน รองศาสตราจารย์คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (School of Veterinary Medicine National Taiwan University)และดร. Chien-Te Kent Tseng ศจ. ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุลและเซลล์วิทยา มหาวิทยาลัยเทกซัสออสตินแห่งสหรัฐฯ (Institute for Cellular and Molecular Biology, University of Texas at Austin) ร่วมทำการวิจัยและพัฒนา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนระดับสูง และเลียนแบบรูปทรงลักษณะของเชื้อโคโรนาไวรัส จนได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ


 

นายหูเจ๋อหมิง ผู้ประดิษฐ์คิดค้นอนุภาคโพลิเมอร์ที่มีช่องว่างเปลือกบาง ชี้แจงว่าหน้าที่ของวัคซีนคือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าใจว่า ร่างกายได้รับการรุกรานจากเชื้อไวรัส และกระตุ้นให้สร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันล่วงหน้า เพื่อพร้อมสำหรับการต่อต้านไวรัสที่แท้จริง ดังนั้นวัคซีนจึงต้องเลียนแบบลักษณะของไวรัสดังกล่าว


 

ดร.เฉินฮุ่ยเหวิน ผู้ทำการวิจัยเชื้อโคโรนาไวรัสโดยเฉพาะกล่าวว่า ผลจากการฉีดนาโนวัคซีนตัวนี้เข้าไปในตัวหนูทดลอง พบว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายหนู สามารถรับรู้ได้ถึงไวรัสชนิดนี้ และกระตุ้นการตอบสนองเหมือนจริง ทำให้เลือดไหลเวียนมีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านไวรัสชนิดนี้ ได้นานถึง 300 วันขึ้นไป ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างเซลล์ T ในร่างกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัส จนสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในสัตว์ได้ถึง 100 %


 

Academia Sinica กล่าวเสริมว่า ในช่วงที่ผ่านมา ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร “วัสดุหน้าที่พิเศษขั้นสูง (Advanced Functional Materials)” โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชิ้นนี้ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรข้ามชาติแล้ว ซึ่งทีมนักวิจัยย้ำว่า ได้นำเอานาโนวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส ไปใช้ในการประสานความร่วมมือกับทีมวิจัยระดับนานาชาติแล้ว และในขั้นตอนต่อไปจะทำการทดลองกับสัตว์ประเภทวานร เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพทางการแพทย์ ก่อนจะเข้าสู่การทดลองรักษาทางคลินิกต่อไป


 

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยไต้หวันกำลังเร่งนำนาโนวัคซีนไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสซิกาและวัคซีนป้องกันมะเร็งต่อไป