ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ปธน.ไช่ฯ เร่งผลักดันการลงนามข้อตกลง FTA ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ และไต้หวัน – ญี่ปุ่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแน่วแน่ที่ไต้หวันจะก้าวสู่สากล จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
2019-06-14

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ปธน.ไช่อิงเหวิน (ขวา) ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนนักวิชาการทางการเมืองสหรัฐฯ และญี่ปุ่น” จาก Brookings Institution พร้อมจับมือทักทายกับ Mr. Richard bush (ซ้าย) อดีตประธานสถาบันอเมริกันในไต้หวัน (AIT) สำนักข่าว CNA วันที่ 13 มิ.ย. 62

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ปธน.ไช่อิงเหวิน (ขวา) ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนนักวิชาการทางการเมืองสหรัฐฯ และญี่ปุ่น” จาก Brookings Institution พร้อมจับมือทักทายกับ Mr. Richard bush (ซ้าย) อดีตประธานสถาบันอเมริกันในไต้หวัน (AIT) สำนักข่าว CNA วันที่ 13 มิ.ย. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 13 มิ.ย. 62
 
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า ความตั้งใจแน่วแน่ที่ไต้หวันจะก้าวสู่สากลจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ในอนาคตจะผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ และไต้หวัน – ญี่ปุ่น รวมทั้งขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership, CPTPP) และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนระหว่างกันในเชิงลึก ผ่านการกระชับความร่วมมืออันแนบแน่น ตลอดจนยกระดับความมั่นคงในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพมากขึ้น
 

ช่วงเช้าวันที่ 13 มิ.ย. ปธน.ไช่ฯ ได้ให้การต้อนรับ “คณะตัวแทนนักวิชาการทางการเมืองสหรัฐฯ และญี่ปุ่น” จากสถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) ซึ่งเป็นคลังสมองของสหรัฐฯ พร้อมกล่าวขณะปราศรัยว่า ความร่วมมือระดับไตรภาคีระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นพลังสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขสงบ ที่พิเศษไปกว่านั้น นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ญี่ปุ่นได้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกของกรอบความร่วมมือ GCTF หรือโครงสร้างความร่วมมือและการฝึกอบรมระดับโลกที่ริเริ่มโดยการประสานกำลัง ระหว่างไต้หวัน - สหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวว่า ตราบจนถึงปัจจุบัน ไต้หวัน สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ร่วมกันจัดการประชุมสัมมนามาแล้ว 4 รอบ หัวข้อการประชุมประกอบด้วย การประชุมเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันในภาครัฐและเอกชน  พลังสตรีทางเศรษฐกิจ (Women's Economic Empowerment)  โครงการวัณโรคดื้อยา และความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทั้งหมดนี้ เชื่อว่าจะสร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ ให้กับหุ้นส่วนในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก และจะร่วมเสริมสร้างความร่วมมือในด้านอื่นๆ ต่อไป
 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวว่า ในอนาคตไต้หวันจะผลักดันข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ และไต้หวัน – ญี่ปุ่น รวมทั้งจะขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership, CPTPP) และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนระหว่างกันในเชิงลึก ผ่านการกระชับความร่วมมืออันแนบแน่น ตลอดจนยกระดับความมั่นคงในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพมากขึ้น
 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ จีนกดดันไต้หวันในด้านต่างๆ มากขึ้นและรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ แต่ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกในปีนี้  นอกจากประเทศพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนไต้หวันแล้ว ประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกับไต้หวันยังเป็นกระบอกเสียงให้กับไต้หวันอย่างเปิดเผย ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผลสัมฤทธิ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไต้หวัน ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
 

ปธน.ไช่ฯ ขอบคุณคณะผู้แทนสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่สนับสนุนไต้หวันในการประชุม WHA อย่างเปิดเผย โดยเฉพาะนายTaro Kono รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่น ยังได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ สนับสนุนไต้หวัน ให้ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการประชุม WHA อีกด้วย
 

ปธน.ไช่ฯ เน้นย้ำว่า ความตั้งใจแน่วแน่ที่ไต้หวันจะก้าวสู่สากลจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะร่วมมือกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น สร้างคุณูปการให้กับประชาคมโลกมากยิ่งขึ้นสืบไป