ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ย้อนอดีตไปกับการท่องเที่ยวฮัวเหลียน หุบเขา จักรยาน และอาคารไม้
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-07-08

ย้อนอดีตไปกับการท่องเที่ยวฮัวเหลียน

 

ขงจื๊อกล่าวไว้ว่า “ผู้มีปัญญาชอบน้ำ ผู้มีเมตตาชอบขุนเขา” ถือเป็นคำพูดที่เหมาะกับเมืองฮัวเหลียนซึ่งมีถนน 2 สายหลักพาดผ่าน คือสายที่วิ่งเลียบชายฝั่งทะเล และสายที่วิ่งผ่านภูเขา นิตยสารพาโนรามาจึงขอนำเสนอบทความในชุด “ปั่นไปในไต้หวัน” ซึ่งในฉบับนี้ เราเดินทางมาถึงทางหลวงหมายเลข 9 ของไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแนวเทือกเขาตอนกลางกับเทือกเขาเลียบชายฝั่ง ดุจดั่งผู้มีเมตตาที่มีจิตใจอันกว้างขวางและยอมรับสรรพสิ่ง ซึ่งก็เหมือนกับหุบเขาฮัวเหลียนกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ที่น้อมรับอาคารสารพัดรูปแบบให้อยู่ด้วยกันได้โดยตลอด

ดังเช่นที่คุณอู๋ฉ่ายหนิง (吳采寧) ผู้จัดการร้านหนังสือ Time 1939 กล่าวไว้ว่า “ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเพราะความรักให้บ้านเก่าโบราณเหล่านี้” เหตุผลที่เริ่มออกเดินทางเกิดขึ้นจากความเรียบง่ายธรรมดาๆ คือเพียงเพราะชื่นชอบบ้านเก่าแก่สไตล์ญี่ปุ่น จึงเริ่มการเดินทางตามรอยผู้อพยพชาวญี่ปุ่นในอดีต กับการปั่นจักรยานท่องเที่ยวแบบสโลว์ไลฟ์ในฮัวเหลียน สวนสวรรค์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายในสไตล์ญี่ปุ่น

 

โรงงานของบริษัทปุ๋ยไต้หวันในเมืองฮัวเหลียน ใช้ไม้ฮิโนกิและวิธีการแบบดั้งเดิมมาบูรณะซ่อมแซมอาคารไม้ 2 หลัง ที่ถูกพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มจนเสียหายโรงงานของบริษัทปุ๋ยไต้หวันในเมืองฮัวเหลียน ใช้ไม้ฮิโนกิและวิธีการแบบดั้งเดิมมาบูรณะซ่อมแซมอาคารไม้ 2 หลัง ที่ถูกพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มจนเสียหาย

จุดเริ่มต้นของทริปปั่นจักรยานของเรา เริ่มจากจุดที่เรียกว่า ชายหาดชีซิงถัน (Qixingtan Beach) จากทางหลวงสาย 193 วิ่งเลียบไปตามทางท่าเรือฮัวเหลียน จนมาถึง D Park ภายในบริเวณสวนทะเลน้ำลึกของไต้หวัน มีอาคารไม้โบราณในยุคสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน 2 หลังตั้งอยู่ ห้องทำงานใหญ่ถูกบูรณะซ่อมแซมและปรับเปลี่ยนมาเป็นห้องอาหารหลัก ส่วนภายนอกยังคงเก็บรักษาศาลเจ้าที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจของแรงงานชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนไว้ดังเดิม (ศาลเจ้าภายในองค์กร) ถือเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก

หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ก็เดินทางต่อไปยังทางใต้ของท่าเรือฮัวเหลียนบนทางหลวงหมายเลข 193 เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองฮัวเหลียน ซึ่งบริเวณฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งชาติฮัวเหลียน หรือ National Hualien Senior High School (ชื่อย่อว่า ฮัวจง) ก็คือหอวัฒนธรรมดนตรีกัวจื่อจิ้ว (Kuo Tzu-Chiu Music Culture Hall)

 

บางมุมของ Kuo Tzu-Chiu Music Culture Hall จะมีไม้ไผ่สานพาดไว้ริมกำแพงและมีหน้าตาไม้ที่ถูกปิดตาย และมีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนาเซนแอบแฝงอยู่บางมุมของ Kuo Tzu-Chiu Music Culture Hall จะมีไม้ไผ่สานพาดไว้ริมกำแพงและมีหน้าตาไม้ที่ถูกปิดตาย และมีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนาเซนแอบแฝงอยู่

ย่ำไปบนรอยเท้าของเหล่าทหารหาญ

“สิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิดอกไม้พลิ้วไหว หลายคนไม่ได้กลับบ้านในช่วงเทศกาล จำได้ว่าในช่วงปีนั้นต้นหลิวเจริญงอกงามมาก...” บทเพลงนี้มีชื่อว่า “ความทรงจำ” ซึ่งเป็นเพลงในยุค 1970-80 ของไต้หวัน เกือบทุกคณะนักร้องประสานเสียงจะต้องนำเพลงนี้ไปใช้ขับร้อง กัวจื่อจิ้ว (郭子究) ผู้แต่งเพลงนี้เป็นอาจารย์ของโรงเรียนฮัวจงและยังได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งดนตรีของฮัวเหลียน” ผู้ถ่ายทอดเสียงเพลงออกไปทุกแห่งหน

โรงเรียนฮัวจงต่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1936 โดยหอพักของเหล่าครูอาจารย์ถูกก่อสร้างขึ้นโดยใช้มาตรฐานการก่อสร้างในระดับเดียวกับหอพักของเหล่าข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นในไต้หวัน ที่สร้างขึ้นตามระเบียบของทำเนียบข้าหลวงใหญ่ของญี่ปุ่นประจำไต้หวัน

คุณเจิ้งหงเฉิง (鄭宏成) ประธานบริหารมูลนิธิศิลปวัฒน ธรรมกัวจื่อจิ้วอธิบายว่า “หอพักข้าราชการระดับสูงจะมีโถงทางเข้าทั้งภายในและภายนอกลวดลายรูปใบปาล์มที่อยู่บนเพดานของโถงทางเข้าด้านนอกและในห้องเด็กถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้รู้ว่านี่คืออาณานิคมของญี่ปุ่นแถบทะเลใต้

อดีตบ้านพักของคุณกัวจื่อจิ้ว ยังคงมีการเก็บรักษาเซรามิกสมัยญี่ปุ่นเข้ามาปกครองไต้หวันไว้ ซึ่งมีความทนทานต่ออุณหภูมิสูงและไม่ติดไฟได้ง่าย แต่วิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนจึงพบเห็นได้ไม่มากในปัจจุบันอดีตบ้านพักของคุณกัวจื่อจิ้ว ยังคงมีการเก็บรักษาเซรามิกสมัยญี่ปุ่นเข้ามาปกครองไต้หวันไว้ ซึ่งมีความทนทานต่ออุณหภูมิสูงและไม่ติดไฟได้ง่าย แต่วิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนจึงพบเห็นได้ไม่มากในปัจจุบัน

แน่นอนว่าเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นภาพของทหารประจำการที่ประดับดาบซามูไรได้อีกในปัจจุบัน แต่หอพักครูที่ผ่านแดดลมฝนมาเป็นเวลายาวนาน ได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเพื่อรำลึกถึงศิลปินทางดนตรีอย่าง อ.กัวจื่อจิ้ว

นักประพันธ์เฉินหลี (陳黎) ให้คำนิยามกับครูสอนดนตรีของเขาสมัยมัธยมอย่าง อ.กัวจื่อจิ้วว่า “เป็นนักแต่งเพลงในตำนานของไต้หวัน” ผลงานของท่านไม่ว่าจะเป็นเพลง “ความทรงจำ” หรือเพลง “เธอมา” ล้วนเป็นเพลงที่คณะนักร้องประสานเสียงต้องนำไปขับร้อง อ.กัวจื่อจิ้วเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน จึงจบเพียงระดับประถมศึกษา จากนั้นในปีค.ศ.1946 ก็สมัครเข้ามาเรียนที่ฮัวจง และใช้ความพยายามอย่างหนักจนสำเร็จการศึกษาในระดับปวช.

อ.กัวจื่อจิ้วได้นำเอาคำพูดติดปากที่ว่า “เมื่อพบกับทางตันก็ต้องรู้จักปรับเปลี่ยน เมื่อเปลี่ยนแล้วก็จะพบกับทางออก” มาใช้ในการสอนดนตรี โดยประดิษฐ์เครื่องแสดงโน้ตดนตรีขึ้น ซึ่งท่านได้ออกแบบเองและวานให้ช่างไฟมาช่วยประกอบเป็นเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับออร์แกน  โดยหากกดแป้นเสียงโดของออร์แกนแผงโน้ตไฟฟ้าที่เป็นเสียงโดก็จะสว่างขึ้นช่วยสร้างความสนุกสนานให้กับการเรียนดนตรีเป็นอย่างมากส่งผลให้เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น

หลังสัมผัสได้กับคีย์บอร์ดของออร์แกนและเครื่องพิมพ์ดีดเก่าแก่กว่า 80 ปีแล้ว พวกเราก็เริ่มออกเดินทางต่อโดยมุ่งหน้าไปทางแม่น้ำเหม่ยหลุน (Meilun River)

ริมฝั่งแม่น้ำเหม่ยหลุนมีหอพักสไตล์ญี่ปุ่นตั้งเรียงรายอยู่ ต้นศรีทอง (Chinese Tallow Tree) ที่ขึ้นสูงตระหง่าน ช่วยบดบังแสงอาทิตย์ให้กับบ้านไม้และผู้คนที่สัญจรไปมาในบริเวณนั้น

หนึ่งในอาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณหอพักทหารก็คือบ้านพักนายพล ซึ่งเป็นที่พักของผู้พันมิตซุโอะ นากามูระ ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นระดับสูงสุดที่ถูกส่งมาประจำการแถบฮัวเหลียนและไถตงในขณะนั้น และเป็นผู้เลือกสวนสนบริเวณเชิงเขาเหม่ยหลุนเป็นศูนย์บัญชาการของกองทัพ

บ้านนายพลบ้านนายพล

ไกด์ของเราในวันนี้คือคุณหลีหย่งเจิ้น (李永鎮) จิตอาสาวัฒนธรรมวัย 90 ปี ซึ่งเกิดในปีเดียวกันกับที่รัฐบาลทหารญี่ป่นเข้ามาปกครองเกาะไต้หวัน

คุณหลีหย่งเจิ้นอธิบายว่า “วันเซิง (wan¬sei) เป็นคำที่ใช้เรียกคนญี่ปุ่นที่เกิดในไต้หวันในสมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาะไต้หวัน ฉันมีเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งที่เป็นวันเซิง ช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้เข้าร่วมกับหน่วยโจมตีพิเศษคามิกะเซะ ซึ่งเมื่อไปเข้าร่วมแล้วก็ไม่ได้กลับมาอีก” ส่วนเพื่อนนักเรียนที่เป็นวันเซิงคนอื่นๆ เมื่อ 6 ปีที่แล้วได้เดินทางจากญี่ปุ่นมาร่วมงานเลี้ยงศิษย์เก่าฮัวจง ทุกคนพูดเป็นประโยคเดียวกันว่า “เธอยังอยู่เหรอ” บรรยากาศตอนนั้นเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก

 

สัมผัสกิจวัตรประจำวันของคนญี่ปุ่นในไต้หวันเมื่อวันวาน

รอยแตกบนกระเบื้องหลังคาของบ้านนายพล ซึ่งเป็นโบราณสถานระดับ 3 ของเมืองฮัวเหลียน ให้ความรู้สึกถึงความสวยงามของสิ่งก่อสร้างที่ไม่สมประกอบ ในอนาคตจะถูกบูรณะซ่อมแซมให้กลายมาเป็นตรอกซอกซอยตามแบบเกียวโตต่อไปรอยแตกบนกระเบื้องหลังคาของบ้านนายพล ซึ่งเป็นโบราณสถานระดับ 3 ของเมืองฮัวเหลียน ให้ความรู้สึกถึงความสวยงามของสิ่งก่อสร้างที่ไม่สมประกอบ ในอนาคตจะถูกบูรณะซ่อมแซมให้กลายมาเป็นตรอกซอกซอยตามแบบเกียวโตต่อไป

หลังบ่ายคล้อยแสงอาทิตย์ที่สาดส่องเป็นแนวเฉียง ตกกระทบบนกระเบื้องของหลังคาบ้านเก่าซึ่งมีตะไคร่น้ำเกาะอยู่ หลังจากขี่จักรยานมาเกือบ 9 กิโลเมตร ก็ได้เวลาที่ต้องพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ

ร้านหนังสือ Time 1939 เป็นอาคารเก่าแก่ที่หลอมรวมเอาอาหารมังสวิรัติ, หนังสือมือสอง และกิจกรรมทางศิลปะไว้ด้วยกัน คุณอู๋ฉ่ายหนิงผู้จัดการร้านหนังสือกล่าวว่า วิถีชีวิตที่นี่เป็นอะไรที่เรียบง่ายและธรรมดา จนเหมือนว่าเราเคยชินกับการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาแล้ว 80 ปี

บางทีห้องที่เต็มไปด้วยกลิ่นหอมของต้นสน ก็ทำให้คนลืมการคงอยู่ของวันเวลาไปเลย

พวกเราเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 9 ทางตะวันออกเฉียงใต้ มาจนถึงวัดชิ่งซิว (Cingsio Temple) ซึ่งอยู่ในตำบลจี๋อัน เมืองฮัวเหลียน เพื่อสัมผัสกับกิจวัตรประจำวันในอดีตของเหล่าคนญี่ปุ่นที่เกิดในไต้หวันช่วงระหว่างที่ญี่ปุ่นปกครองเกาะไต้หวัน

ปัจจุบันวัดชิ่งซิวถือเป็นวัดสไตล์ญี่ปุ่นที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในไต้หวัน มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธรูปหินทั้ง 88 องค์ที่ตั้งอยู่บนกำแพง ถูกอัญเชิญมาจากวัด 88 แห่งบนเกาะชิโกกุในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อผู้ที่นับถือศรัทธาและเข้าไปไหว้พระในบริเวณวัด จะรู้สึกเหมือนได้เดินทางไปไหว้พระทั่วเกาะชิโกกุนั่นเอง

เมื่อเดินทางต่อไปทางใต้ จนถึงตำบลโซ่วฟงก็จะพบกับถนนที่ตัดเป็นเส้นตรงทะลุผ่านเมือง จนทำให้เป็นเสมือนตารางหมากรุก สมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันได้วางแผนให้สร้างบริเวณนี้เป็น 3 หมู่บ้านใหญ่ สำหรับให้คนญี่ปุ่นที่ย้ายมาอยู่ในไต้หวันเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองฮัวเหลียนในขณะนั้น

เมื่อเดินออกทางจากสถานีรถไฟฟงเถียน (Fengtian railway station) แล้วเลี้ยวตรงหัวมุม จะเห็นบ้านไม้หลังหนึ่งที่มีชื่อว่า “บ้าน 5 รส” ซึ่งเป็นร้านขายของชำ โครงสร้างหลังคาของร้านนี้แตกต่างจากหลังคาจั่วของหอพักข้าราชการ เพราะนี่เป็นบ้านของประชาชนที่มีหลังคาเอียงลงทั้งสี่ด้าน หรือหลังคาทรงปั้นหยา

เสาเอกของบ้านหลังนี้จะมีขนาดเตี้ยเป็นพิเศษ เมื่อมองจากด้านหน้าหลังคาจะมีรูปทรงเหมือนกรวยปลายแหลมที่ถูกคลุมทับด้วยหญ้ามิสแคนทัส (Miscanthus floridulus) ซึ่งเรียงต่อกันเป็นผืน ภาพของชั้นวางของ โต๊ะ เก้าอี้ไม้ และบรรดาเด็กๆ ที่วิ่งไปมา ทำให้สถานที่แห่งนี้มีความพิเศษและน่าสนใจมากขึ้น

สมาคมพัฒนาชุมชน Minsheng เมืองฮัวเหลียน ได้ดูแลรักษาที่ทำการทหารอย่างระมัดระวัง และมียังชุดยูกาตะไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองสวมใส่ด้วยสมาคมพัฒนาชุมชน Minsheng เมืองฮัวเหลียน ได้ดูแลรักษาที่ทำการทหารอย่างระมัดระวัง และมียังชุดยูกาตะไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองสวมใส่ด้วย

 

ตามไปเที่ยวหอพักพนักงาน ของโรงงานผลิตน้ำตาล

พวกเราเดินทางต่อไปที่โรงงานผลิตน้ำตาลเชิงท่องเที่ยวฮัวเหลียน (The Hualien Tourism Sugar Factory) ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของเส้นทางย้อนอดีตไปกับการท่องเที่ยวฮัวเหลียน มีระยะทางรวมประมาณ 59 กิโลเมตร

หลังคากระเบื้องสีดำเมื่ออยู่ภายใต้ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ช่างเป็นสิ่งพิเศษที่น่าหลงใหล ไฟทางเดินที่มีกลิ่นอายของความเก่าแก่จากโคมไฟหินสไตล์ญี่ปุ่นนำทางให้เรามาถึงที่พักในค่ำคืนนี้

เมื่อดึงประตูบานเลื่อนของหอพักให้เปิดออก กลิ่นหอมของไม้ฮิโนกิที่ทำจากต้นสน Taiwan cypress และ China fir ก็แตะเข้าที่จมูก ดังนั้นแม้ไม่ได้ดื่มเหล้า แต่ความหอมของกลิ่นไม้ก็ทำให้คนเกิดอาการเมาได้

ด้านนอกมีคานไม้ลาดเอียง ส่วนภายในห้องมีโต๊ะตัวเตี้ยๆ พื้นปูด้วยเสื่อทาทามิแบบดั้งเดิม พร้อมตู้เสื้อผ้าติดผนังสไตล์ญี่ปุ่น รวมไปถึงระเบียงทางเดินและห้องน้ำ ที่ทั้งหมดถูกบูรณะซ่อมแซมโดยใช้โครงสร้างเดิมของหอพักพนักงาน เพื่อเก็บรักษาโครงสร้างของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์

ค่ำคืนนี้เราได้แช่น้ำผ่อนคลายในอ่างไม้สน สวมชุดยูกาตะ และหลับไปบนเสื่อทาทามิที่เต็มไปด้วยกลิ่นหอมของไม้สน ช่างเป็นการนอนหลับที่หอมหวานอะไรเช่นนี้

โรงงานผลิตน้ำตาลฮัวเหลียนก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1921 ตอนนั้นมีพนักงานในโรงงานเป็นจำนวนมาก จนทำให้ในปีถัดมาจึงมีคำสั่งจากผู้แทนรัฐบาลให้ก่อสร้างหอพักพนักงานตามแบบมาตรฐานเดียวกับหอพักข้าราชการ และปัจจุบันก็เป็นโรงแรมเพียงแห่งเดียวในไต้หวันที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมระดับชาติ

เมื่อเข้าไปถึงห้องโถงกลางของในร้านหนังสือ Time 1939 ก็เหมือนได้ย้อนเวลากลับในอดีตเมื่อปีค.ศ.1938 แม้ภายนอกประตูจะมีรถจักรยานยนต์ผ่านไปมา แต่ก็ไม่สามารถทำลายบรรยากาศความเก่าแก่ของร้านหนังสือแห่งนี้ลงได้เมื่อเข้าไปถึงห้องโถงกลางของในร้านหนังสือ Time 1939 ก็เหมือนได้ย้อนเวลากลับในอดีตเมื่อปีค.ศ.1938 แม้ภายนอกประตูจะมีรถจักรยานยนต์ผ่านไปมา แต่ก็ไม่สามารถทำลายบรรยากาศความเก่าแก่ของร้านหนังสือแห่งนี้ลงได้

คุณโอวจู๋หนาน (歐竹南) รองผู้จัดการโรงงานน้ำตาลฮัวเหลียน กล่าวว่า โรงงานน้ำตาลแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานครบครัน เช่น ร้านค้าสวัสดิการ, โรงเรียนประถม, คลินิก, โรงหนัง และร้านเสริมสวย เป็นต้น และยังคงรักษาสภาพดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน การขี่จักรยานไปโดยรอบโรงงาน จึงยังคงให้ความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปในสมัยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว

 

เที่ยวสบายๆ ด้วยตนเองไปกับป่าไม้บนพื้นราบ

จากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในโรงงานน้ำตาล ทำให้ช่วงเช้ามืดของวันที่ 2 พวกเราออกเดินทางไปทางทิศใต้อีก 3-4 กิโลเมตร จนมาถึงทางหลวงหมายเลข 9 ช่วงประมาณกิโลเมตรที่ 255 แล้วเลี้ยวซ้าย ก็จะเจอกับถนนที่ทอดตรงไปสุดลูกหูลูกตา เพื่อนำเราเข้าไปสู่วนอุทยานต้าหนงต้าฟู่ (Danongdafu Forest Park) โดยมีแสงอาทิตย์ยามเช้าสาดส่องลงมาบนถนนเพื่อต้อนรับผู้มาเยือน

ผืนป่าไม้บนพื้นที่ราบขนาด 1,250 เฮกเตอร์ (12,500,000 ตารางเมตร) มีต้นไม้เจริญเติบโตอยู่เกือบ 20 สายพันธุ์ คุณหยางเมิ่งเหยา (楊孟瑤) เจ้าหน้าที่อาวุโสของวนอุทยาน พาพวกเราขี่จักรยานไปทางสวนวงแหวนทิศเหนือที่ถูกปกคลุมไปด้วยต้นเมเปิลและต้นมะกอกอยู่โดยรอบทั้งซ้ายและขวา

พระพุทธรูปหิน 88 องค์ในวัดชิ่งซิว เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวญี่ปุ่นที่ย้ายมาตั้งรกรากในไต้หวันในยามที่คิดถึงบ้านเกิดพระพุทธรูปหิน 88 องค์ในวัดชิ่งซิว เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวญี่ปุ่นที่ย้ายมาตั้งรกรากในไต้หวันในยามที่คิดถึงบ้านเกิด

ภูมิทัศน์โดยรอบป่าพื้นราบมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งขณะที่ขี่จักรยานอยู่นั้น ก็มีโอกาสได้เห็นหมาหริ่ง, อีเห็นเครือ และหมูป่า และหากมาเยือนในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน ตอนกลางคืนก็จะสามารถขี่จักรยานชมหิ่งห้อยในสวนวงแหวนทางเหนือได้อีกด้วย

หากไม่มีเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างคุณหยางเป็นผู้นำทาง เราคงไม่พบเห็นว่า กลิ่นใบเมเปิลของที่นี่ มีความหอมหวานคล้ายกับกลิ่นของเสาวรส ต้นหูกวางที่ขึ้นอยู่ริมถนนจะมีมดทำรังอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆ ทำให้เราสังเกตเห็นการอยู่ร่วมกันในธรรมชาติของมดกับต้นไม้ ซูตงพัว กวีเอกของจีนเคยกล่าวไว้ว่า ชีวิตเสมือนเป็นโรงแรม ฉันก็คือนักเดินทางนั่นเอง

ในยุคที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน แม้จะมีทั้งชาวญี่ปุ่นที่ย้ายถิ่นฐานมาหรือชาวญี่ปุ่นที่เกิดในไต้หวัน ต่างก็เคยเดินทางเข้ามาพำนักอาศัยในเมืองกลางหุบเขาแห่งนี้ แต่เขาพวกกลับไม่สามารถนำสิ่งใดออกไปจากที่แห่งนี้ได้ ไม่ใช่เพียงแค่อาคารสิ่งก่อสร้าง แต่ยังรวมไปถึงเรื่องราวมากมายและจิตวิญญาณแห่งความเพียรพยายามที่เล่าได้ไม่รู้จบ

วัดชิ่งซิว (Cingsio Temple)วัดชิ่งซิว (Cingsio Temple)

เมื่อตอนที่ขับรถผ่านฮัวเหลียน ฉันเพียงขับผ่านไปอย่างเร่งรีบ จนกระทั่งเมื่อหลงรักในบ้านเก่าแบบโบราณและการขี่จักรยาน รวมถึงการตามรอยชาวญี่ปุ่นที่ย้ายมาตั้งรกรากที่นี่ ตลอดจนชาวญี่ปุ่นที่เกิดในไต้หวัน และเกษตรกรที่เพาะปลูกอ้อยในบนป่าพื้นราบแห่งนี้ ต่างก็ทำให้เกิดการสะสมของความทรงจำที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะถูกเรียบเรียงออกมาเป็นบทความย้อนอดีตไปกับการท่องเที่ยวเรื่องนี้นั่นเอง