ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
อิ่มอร่อยกับอาหารรสเด็ด ท่องเอเชียไปกับหนุมาน
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-07-29

พิพิธภัณฑ์ภาคใต้ผสานวัฒนธรรมเอเชียและวิจิตรศิลป์สร้างสรรค์ จัดตั้งศูนย์เด็กสร้างสรรค์

พิพิธภัณฑ์ภาคใต้ผสานวัฒนธรรมเอเชียและวิจิตรศิลป์สร้างสรรค์ จัดตั้งศูนย์เด็กสร้างสรรค์

 

หนุมาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระรามชิงตัวนางสีดากลับคืนจากทศกัณฑ์ใน “มหากาพย์รามายณะ” วรรณคดีร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤตของอินเดีย ถือเป็นตัวละครที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักกันดี พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติสาขาภาคใต้ของไต้หวัน (หรือพิพิธภัณฑ์ภาคใต้) ได้นำเอาหนุมานแปลงโฉมเป็นมาสคอตน่ารัก ซุกซน ขี้เล่น นำพาเด็กๆ ไปรู้จักเครื่องลายคราม ผลิตภัณฑ์สิ่งทออินโดนีเซีย อาหารเวียดนาม และวัฒนธรรม อื่นๆ ของเอเชีย

 

กระจกแปลงโฉมใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า หลังจากถ่ายรูปแล้ว เด็กๆ ไปดูที่กระจกอีกบานหนึ่งจะเห็นตนเองใส่ชุดโสร่งอินโดนีเซียอย่างไรกระจกแปลงโฉมใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า หลังจากถ่ายรูปแล้ว เด็กๆ ไปดูที่กระจกอีกบานหนึ่งจะเห็นตนเองใส่ชุดโสร่งอินโดนีเซียอย่างไร

หนุมานปรากฏกายกระโดดโลดเต้นอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วเอเชีย ในหนังตะลุงอินโดนีเซีย หนุมานมีมือที่เรียวยาว ดวงตาขมึงขึงขัง เป็นเทพวานรผู้พิทักษ์ตวัดหางว่องไว ไปที่เวียดนามจะเห็น “พญาวานรเครื่องลายครามลงยาด้วยหลากสี” แสยะยิ้ม มือถือแจกัน ที่เอวคาดดาบยาว ในโขนไทยซึ่งมีประวัติศาสตร์เกินกว่าสี่ร้อยปี ผู้เล่นบทหนุมานฟ้อนรำด้วยท่วงท่าเชื่องช้าสง่างาม สลับกับการการเคลื่อนไหวที่ปราดเปรียว

หนุมานมีอยู่ทั่วทุกแห่งหน นักวิชาการบอกว่า “ซุนหงอคง” ในวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ก็คือหนุมาน หรือแม้แต่ “โมโมทาโร่” ของญี่ปุ่นก็คือหนุมานเช่นกัน

คุณยังไม่รู้จักหนุมานอีกหรือ? รีบมาที่ศูนย์เด็กสร้างสรรค์ (หรือศูนย์เด็ก) ของพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ ที่เวทีละครเอเชียกำลังแสดงเรื่องราวของหนุมาน

 

รู้จักผ้าบาติกของอินโดนีเซีย

ตัวต่อแจกัน 3 มิติ เกมที่ยากมาก ควรระดมความคิดเล่นด้วยกัน 2-3 คนตัวต่อแจกัน 3 มิติ เกมที่ยากมาก ควรระดมความคิดเล่นด้วยกัน 2-3 คน

หนุมานนำเสนอเรื่องราวในห้วงแห่งประวัติศาสตร์ บางทีเป็นตัวละคร บางทีเป็นโทเทม เมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ.2018) ศูนย์เด็กจัดนิทรรศการสิ่งทออินโดนีเซีย นำเอาหนุมานเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์บาติกที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (National Palace Museum) หรือกู้กง เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้จักศิลปวัฒนธรรมของอินโดนีเซียที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยผสานรวมอยู่ในของเล่นเด็ก

จิ๊กซอว์ลวดลายบาติกแผ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปของวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ “ผ้าคลุมไหล่บาติก ลายหนังตะลุง” เด็กๆ ต่อจิ๊กซอว์แผ่นนี้จะทำให้รู้จักลวดลายหนังตะลุงอินโดนีเซียที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่ละชิ้นเรียงต่อเป็นตัวละครในมหากาพย์ “รามายณะ” หรือ “ภารตะ” และได้ชมลายบาติกที่สดใสแม้ผ่านเวลายาวนานสีสันก็ไม่จืดจาง

จิ๊กซอว์อีกแผ่นหนึ่งเป็นลายผ้าคลุมโต๊ะเซ่นไหว้ของชาวจีน ปกติผ้าคลุมโต๊ะในยุคก่อน ชาวจีนนิยมใช้ผ้าปักลาย ในยุคศตวรรษที่ 20 ชาวจีนในอินโดนีเซียหลอมรวมวัฒนธรรมท้องถิ่น หันมาใช้ผ้าบาติก แผ่นจิ๊กซอว์ที่ต่อกันเป็นรูป “ผ้าบาติกคลุมโต๊ะลายสิงโตพื้นแดง” เป็นการผสานวัฒนธรรมชาวจีนกับอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน โทเทมลายสิงโตได้สะท้อนถึงความเชื่อในศาสนาพุทธที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้คน “สิงโตเป็นสัตว์พาหนะของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์” หวังเจี้ยนอวี่ (王健宇) ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งรับผิดชอบการจัดนิทรรศการของศูนย์เด็กบอกว่า “เป็นสัญลักษณ์พระธรรมกึกก้องขจรขจาย เหมือนการคำรามของสิงโต ปลุกประชาชนตื่นขึ้นในทันใด”

ศูนย์เด็กนำวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ที่แฝงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและสุนทรียศาสตร์ผสานกับอุปกรณ์การสอน เด็กๆ จึงเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานศูนย์เด็กนำวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ที่แฝงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและสุนทรียศาสตร์ผสานกับอุปกรณ์การสอน เด็กๆ จึงเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน

โทเทมของอินโดนีเซียมีความหลากหลาย เด็กๆ ทดลองใช้ดินสอเทียนวาดหรือใช้แม่พิมพ์ประทับลวดลายได้ เพื่อทำผ้าบาติกลายเอกลักษณ์ของตนเอง หรือจะนำแผ่นฝึกหัดระบายสีวางบนแผ่นเซ็นเซอร์ เพื่อเล่นอังกะลุงที่ควบคุมด้วยระบบสัมผัส หรือจะเล่นเกมปีนเสา เด็กๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติผ่านการละเล่น

หลังจากเด็กๆได้ต่อจิ๊กซอว์ประทับลายลองใส่ชุดบาติกเล่นเกมอินเตอร์แอคทีฟแล้วโทเทมผ้าบาติกซึ่งแฝงไว้ด้วยมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จะเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำของพวกเขา

เดินไปที่เขตเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีพของชาวเวียดนาม ซึ่งก็เหมือนกับโซนผลิตภัณฑ์สิ่งทอของอินโดนีเซีย เด็กๆ ทดลองใส่ชุด “อ๋าวหย่าย” เสื้อผ้าประจำชาติของเวียดนามได้  เดินไปที่ร้านบ๊ะจ่าง  ร้านขนมปังร้านกลองหรือแผงปั้นแป้งจะรู้สึกเหมือนกับการเดินอยู่บนถนนวัฒนธรรมเวียดนาม

“แม่ หนูจะต้มบะหมี่ให้แม่ทาน” หวังเจี้ยนอวี่เลียนแบบคำพูดของเด็ก เขามักเห็นเด็กๆ แย่งกันเล่นบทบาทเป็นเถ้าแก่ร้านเฝอ (ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวแบบเวียดนาม) หยิบจวักใหญ่กวนน้ำซุปในหม้อ ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวลงไป ตามด้วยเนื้อ 1 แผ่น ชุดการสอนที่อยู่ในถุงผ้าเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ มาก

หวังเจี้ยนอวี่ (王健宇) ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งรับผิดชอบการจัดนิทรรศการของศูนย์เด็กหวังเจี้ยนอวี่ (王健宇) ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งรับผิดชอบการจัดนิทรรศการของศูนย์เด็ก

 

นำเอาวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์มาเล่นขายของกัน

ศูนย์เด็กมีความแตกต่างกับพิพิธภัณฑ์ ที่นี่ไม่มีป้ายห้ามจับต้อง เด็กๆ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้วัตถุที่สะสมในพิพิธภัณฑ์ได้ มีการนำเอาของจำลองที่เลียนแบบของจริง เช่น จานลายครามช่อบัวดอกไม้ 4 ฤดู รัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง ขวดสุราลายนกกระเรียนของเกาหลี จานลายครามนกยูงลงยาหลากสีของเวียดนาม เป็นต้น เรียงเป็นแถวยาว ใครๆ ก็หยิบเครื่องลายครามที่คล้ายของจริงมากเหล่านี้มาเล่นขายของกันได้ ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มเปี่ยมไปกลิ่นอายศิลปะ

ในยุคราชวงศ์ชิงและหมิง เครื่องลายครามขาวน้ำเงินถือเป็นของทันสมัยในยุคนั้น อีกทั้งประเทศต่างๆ ในเอเชียผลิตเครื่องลายครามออกมาประชันขันแข่ง มีรูปโฉมการพัฒนาที่ต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดจากสิ่งของที่เห็นอยู่ข้างหน้า เด็กๆ จะเห็นได้ว่าเครื่องลายครามจีนมีสีสดใสเป็นพิเศษ มีสีขาวที่บริสุทธิ์ และสีครามที่แท้จริง ต้นกำเนิดอยู่ที่จิ่งเต๋อเจิ้น (景德鎮) ซึ่งมีดินธรรมชาติคุณภาพดี สีสันสดใสคมเข้มกว่าเมื่อเทียบกับสีครามที่นำเข้ามาจากเปอร์เชียในรัชสมัยหย่งเล่อ

ไม่เพียงแต่ศิลปะเครื่องลายครามจีนที่มีความรุ่งเรือง ในยุคนั้นศิลปะลายครามของเกาหลีก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเช่นกัน เด็กๆ จะได้ลูบคลำสัมผัสแผ่นกระเบื้องที่ผลิตด้วยกรรมวิธีประดับลายของเกาหลี และได้เรียนรู้เทคนิคการเผาเครื่องลายครามทีละขั้นตอน

เด็กๆ อาจไม่เข้าใจขั้นตอนการเผา “พวกเราเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้ ในอนาคตเขาก็จะรู้ว่าจะไปค้นคว้าต่อได้อย่างไร” หวังเจี้ยนอวี่บอก

ที่นี่ยังมีของเล่นที่แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่แน่ว่าจะทำได้ นั่นคือ ตัวต่อลายคราม 3 มิติ และยังมีชุดน้ำชาเซนฉะ (Sencha) แบบญี่ปุ่น ซึ่งประจวบกับพิพิธภัณฑ์ภาคใต้จัดนิทรรศการ “วัฒนธรรมชาเอเชีย–หอมฟุ้งกระจาย” จึงเปิดให้ทดลองทำได้ผู้ชมอาจแปลงกายเป็นช่างซ่อมเครื่องเคลือบดินเผาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งการชงชา

ใครๆ ก็อยากใส่ชุดอ๋าวหย่ายของเวียดนาม และทดลองปิ้งแผ่นข้าวเกรียบที่เลียนแบบคล้ายของจริงมากใครๆ ก็อยากใส่ชุดอ๋าวหย่ายของเวียดนาม และทดลองปิ้งแผ่นข้าวเกรียบที่เลียนแบบคล้ายของจริงมาก

 

จุดต่อไปคือประเทศไทย

ปัจจุบันที่ศูนย์เด็กมีการแบ่งเขตญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ในอนาคตจะขยายขอบเขตต่อไป ครอบคลุมทั่วเอเชีย สำหรับปี 2019 จัดตั้งโซนการศึกษาวัฒนธรรมไทยเริ่มจากการจัดแสดงเกี่ยวกับโขนประกอบกับวัตถุสะสมเกี่ยวกับไทยที่พิพิธภัณฑ์มีอยู่ใช้ประโยชน์เต็มที่เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างไร้ขอบเขต

“เป้าหมายการสอนไม่ได้คาดหวังให้ท่องจำ ฉันหวังว่าอย่างน้อยเด็กๆ จะจำได้ว่าเคยเห็นที่พิพิธภัณฑ์ แค่นี้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขั้นแรกแล้ว” หวังเจี้ยนอวี่บอกด้วยว่าศูนย์เด็กวางแผนการจัดนิทรรศการ 3 ขั้นตอนคือการได้สัมผัสรูปร่างศึกษาเรียนรู้จากนั้นจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ดังนั้นจึงได้สร้างสภาพแวดล้อมกระตุ้นการเรียนรู้ที่เป็นไปตามพัฒนาการด้านความคิดของเด็กในแต่ละวัย

ตั้งแต่ปีค.ศ.2016 พิพิธภัณฑ์ภาคใต้ได้เสนอโครงการ “ท่องเที่ยว+ศิลปะ นักเรียนล้านคนมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาคใต้” ดึงดูดให้เด็กๆมาที่นี่มากขึ้นโดยเปิดให้จับต้องวัตถุที่จัดแสดงทดลองทำและมีส่วนร่วมเปลี่ยนแนวความคิดการตีกรอบปิดกั้นของพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมเอเชียบ่มเพาะให้รักศิลปวัฒนธรรมเอเชีย

หวังเจี้ยนอวี่วางแผนแบ่งโซนจัดแสดงแยกเป็นประเทศ เมื่อเด็กๆ เข้าไปในเขตประเทศไทยก็ใส่ชุดไทย ได้แสดงโขน ได้ฟังดนตรีดั้งเดิมของไทย เข้าโซนญี่ปุ่นจะใส่ชุดญี่ปุ่น นั่งคุกเข่าบนเสื่อทาทามิ... “ความแตกต่างของแต่ละโซนจะชัดเจนมาก ทำให้ได้สัมผัสเรียนรู้วัฒนธรรมในเชิงลึก”

เด็กตัวเล็กๆ แต่ความฝันยิ่งใหญ่ ศูนย์เด็กได้ยึดถือหลักการของพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ที่พยายาม “สร้างความสมดุลภาคเหนือและภาคใต้ของไต้หวัน” พิพิธภัณฑ์ภาคใต้ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเจียอี้ มุ่งหน้าไปสู่ทิศทาง 3 ประการ คือ “วางรากฐานศิลปะ” “เชื่อมโยงท้องถิ่น” และ “ส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรมเอเชีย”  นำพาวัฒนธรรมเอเชียและวิจิตรศิลป์มาสร้างสรรค์ปลูกฝังเข้าไว้ในใจเด็กแต่ละคน