ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
หยางฉางเจิ้นแบ่งปันประสบการณ์ยอมรับภาษาท้องถิ่นของตน พร้อมแสดงการขับร้องเพลงพื้นบ้านฮากกาในเวทีการประชุมนานาชาติ
2019-07-01

ปีนี้เป็นปีแรกที่หน่วยงานภาครัฐของไต้หวันได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมของคณะกรรมาธิการด้านภาษานานาชาติ ” ซึ่งมีถูกกำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน นายหยางฉางเจิ้น (ที่ 4 จากขวา) รองประธานคณะกรรมการกิจการชาวฮากกา พร้อมด้วยนางสวี๋หย่งเหมย (ที่ 1 จากขวา) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ณ นครโตรอนโต ต่างก็ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย สำนักข่าว CNA วันที่ 28 มิ.ย. 62

ปีนี้เป็นปีแรกที่หน่วยงานภาครัฐของไต้หวันได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมของคณะกรรมาธิการด้านภาษานานาชาติ ” ซึ่งมีถูกกำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน นายหยางฉางเจิ้น (ที่ 4 จากขวา) รองประธานคณะกรรมการกิจการชาวฮากกา พร้อมด้วยนางสวี๋หย่งเหมย (ที่ 1 จากขวา) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ณ นครโตรอนโต ต่างก็ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย สำนักข่าว CNA วันที่ 28 มิ.ย. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 27 มิ.ย. 62

 

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. นายหยางฉางเจิ้น รองประธานคณะกรรมการกิจการชาวฮากกา ได้แสดงการขับร้องบทเพลงพื้นบ้านของชาวฮากกาอันไพเราะในเวทีการประชุมนานาชาติ สร้างความตื่นตะลึงให้กับบรรดาแขกในที่ประชุมเป็นอย่างมาก พร้อมหวังจะนำระบบ “คณะกรรมาธิการด้านภาษา” ซึ่งในต่างประเทศได้มีการใช้ระบบนี้มาเป็นเวลานานแล้ว มาใช้ในไต้หวันด้วย


 

“การประชุมกรรมาธิการด้านภาษานานาชาติ” ครั้งที่ 6 ถูกกำหนดจัดขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยในปีนี้นายหยางฉางเจิ้นขึ้นแสดงปาฐกถาด้วยภาษาฮากกา ในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์อันยาวนานในการฟื้นฟูภาษาฮากกา” ซึ่งน้อยครั้งมากที่จะได้มีโอกาสรับฟังภาษาฮากกาในเวทีนานาชาติ


 

นายหยางฉางเจิ้นกล่าวว่า ตนสังเกตเห็นว่าทุกประเทศหรือทุกพื้นที่โดยส่วนมาก ที่เข้าร่วมการประชุม ต่างก็มีการใช้ระบบของ “คณะกรรมาธิการด้านภาษา” (Language Commissioners) ขึ้น ในประเทศหรือเขตพื้นที่ของตน


 

โดยหลังจากมีการผ่านการรับรองทางกฎหมายให้เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยแล้ว จะมีการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการด้านภาษา” ซึ่งถือเป็นหน่วยงานอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลขึ้น โดยมีหน้าที่คอยตรวจสอบว่า หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนได้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่


 

นายหยางฉางเจิ้นเห็นว่า ระบบนี้เหมาะสำหรับไต้หวันที่เพิ่งผ่าน “ร่างกฎหมายพัฒนาภาษาแห่งชาติ” เป็นอย่างมาก โดยหวังว่าไต้หวันสามารถทำการศึกษาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานตามในแบบของ “คณะกรรมาธิการด้านภาษา” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการด้านภาษาแห่งชาติในอนาคต


 

ปีนี้เป็นปีแรกที่หน่วยงานของรัฐบาลไต้หวันได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมของสมาคมคณะกรรมาธิการด้านภาษานานาชาติ ” (Conference of the International Association of Language Commissioners) ที่มีกำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน โดยในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมที่มาจากประเทศไอร์แลนด์ สเปน คอซอวอ เบลเยี่ยม เวลส์และแคนาดา เดินทางมาเข้าร่วมในการประชุมด้วย


 

Ms. Meri Huws อดีตประธานคณะกรรมาธิการด้านภาษาแห่งเวลส์ (Welsh Language Commissioner) ผู้เป็นแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลังในการเชิญไต้หวันเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ได้เคยเดินทางเยือนไต้หวันเมื่อปลายปีที่แล้ว และได้เห็นถึงสภาพการณ์ที่เปี่ยมด้วยความท้าทายของภาษาท้องถิ่นของทุกกลุ่มชนในไต้หวัน โดยเชื่อว่า การที่ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมนานาชาติครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศผู้เข้าร่วมในที่ประชุม รวมถึงมีส่วนช่วยในการผลักดันและคุ้มครองภาษาท้องถิ่นของทุกกลุ่มชนในไต้หวันให้คงอยู่สืบไป