ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
การสัมมนาว่าด้วยมรดกอุตสาหกรรมเอเชีย ร่วมอภิปรายการอนุรักษ์เส้นทางรถไฟสายอาลีซาน
2019-07-02

การสัมมนาว่าด้วยมรดกอุตสาหกรรมเอเชีย (Asian Network of Industrial Heritage) ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 2 ก.ค. ณ เมืองเจียอี้ เพื่อร่วมอภิปรายการบริหารการรถไฟของแต่ละประเทศ และการอนุรักษ์เส้นทางรถไฟสายอาลีซาน ในภาพคือขบวนรถไฟที่ใช้หัวรถจักรไอน้ำลากตู้โบกี้ (ภาพจากคลังข้อมูล) สำนักข่าว CNA วันที่ 1 ก.ค. 62

การสัมมนาว่าด้วยมรดกอุตสาหกรรมเอเชีย (Asian Network of Industrial Heritage) ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 2 ก.ค. ณ เมืองเจียอี้ เพื่อร่วมอภิปรายการบริหารการรถไฟของแต่ละประเทศ และการอนุรักษ์เส้นทางรถไฟสายอาลีซาน ในภาพคือขบวนรถไฟที่ใช้หัวรถจักรไอน้ำลากตู้โบกี้ (ภาพจากคลังข้อมูล) สำนักข่าว CNA วันที่ 1 ก.ค. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 1 ก.ค. 62

 

การสัมมนาว่าด้วยมรดกอุตสาหกรรมเอเชีย (Asian Network of Industrial Heritage) ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 2 ก.ค. ณ เมืองเจียอี้ เนื่องจากประจวบกับวาระครบรอบ 1 ปีของ “สำนักงานบริหารรถไฟอาลีซานและมรดกทางวัฒนธรรม” (Alishan Forest Railway and Cultural Heritage Office) ดังนั้นในเวทีสัมมนาครั้งนี้ นอกจากจะร่วมอภิปรายการบริหารการรถไฟของแต่ละประเทศแล้ว ยังได้เพิ่มเติมประเด็นการอนุรักษ์เส้นทางรถไฟสายอาลีซานอีกด้วย


 

นายเซียวปั๋วซวิน ผู้อำนวยการกองวัฒนธรรมเมืองเจียอี้แถลงว่า การสัมมนาว่าด้วยมรดกอุตสาหกรรมเอเชีย ได้ทำพิธีเปิดการประชุมขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 1 ก.ค. ณ ศูนย์ฝึกอบรมของ บริษัทซีพีซี คอร์เปอเรชั่น ไต้หวัน(CPC Corporation, Taiwan) ที่ตั้งอยู่ในเมืองเจียอี้ และเนื่องจากประจวบกับวาระครบรอบ 1 ปีของสำนักงานบริหารรถไฟอาลีซานและมรดกทางวัฒนธรรมของกรมป่าไม้สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เจ้าภาพจัดการสัมมนาจึงได้เรียนเชิญสมาชิกองค์การความร่วมมือทางการรถไฟนานาชาติ เดินทางมาไต้หวันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการใช้งานและซ่อมบำรุงเส้นทางรถไฟ การบริหาร และการตลาด


 

หวงหมิ่นฮุ่ย ผู้ว่าการเมืองเจียอี้กล่าวขณะปราศรัยว่า นับตั้งแต่รถไฟอาลีซานเริ่มเปิดการเดินรถในปี 1912เป็นต้นมา นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป่าไม้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในเมืองเจียอี้แล้ว ยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นการย่อส่วนของประวัติศาสตร์การบุกเบิกเส้นทางรถไฟ เพื่อใช้ในการขนส่งทางอุตสาหกรรมไต้หวัน และยังเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางเทคโนโลยีการรถไฟที่สืบทอดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป


 

เส้นทางรถไฟสายนี้ มีระยะทางเพียง 72 กิโลเมตร เป็นการเดินรถจากพื้นที่ราบขึ้นสู่ภูเขาที่มีความสูง 2,274เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยวิ่งผ่านเขตป่าไม้ 3 ประเภท อันได้แก่ป่าเขตร้อน เขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่น เนื่องจากปัจจุบันไต้หวันไม่มีแหล่งมรดกโลก ดังนั้นสถานที่แห่งนี้อาจนับได้ว่า เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวนานาชาติของไต้หวัน