ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันเข้าเป็นภาคี “ความตกลงว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย”ช่วยเพิ่มหลักประกันให้แก่สิทธิประโยชน์ของชาวประมงไต้หวัน
2019-07-11

ไต้หวันเข้าเป็นภาคี “ความตกลงว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย”ช่วยเพิ่มหลักประกันให้แก่สิทธิประโยชน์ของชาวประมงไต้หวัน

ไต้หวันเข้าเป็นภาคี “ความตกลงว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย”ช่วยเพิ่มหลักประกันให้แก่สิทธิประโยชน์ของชาวประมงไต้หวัน

กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วันที่ 9 ก.ค.62

 

การประชุมรัฐภาคีความตกลงว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement, SIOFA) ครั้งที่ 6 ที่เพิ่งปิดฉากลงเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมาไต้หวันสามารถเข้าเป็นภาคีสมาชิกของความตกลงดังกล่าวในปีนี้ (2019) อย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นการช่วยรักษาสิทธิประโยชน์ของชาวประมงไต้หวัน และจากการที่ประเทศภาคีสมาชิก SIOFA ล้วนสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการประมงในทะเลไกลของไต้หวันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล


 

SIOFA เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2012 โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดการมวลปลาน้ำลึกที่ไม่ได้มีการย้ายถิ่นอยู่เสมอในมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ปลากระโทงร่มและปลาอีคุด เป็นต้น ไต้หวันเป็นประเทศที่ทำประมงรายใหญ่ในมหาสมุทรอินเดีย มีเรือประมงที่จับปลาทูน่ามากกว่า 100 ลำ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ปริมาณการจับปลามีมากถึงปีละ 17,000 ตัน เนื่องด้วยไต้หวันมีรายได้จากการทำประมงในมหาสมุทรอินเดียเพิ่มขึ้นทุกปี การเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง SIOFA นอกจากเป็นการรักษาผลประโยชน์ด้านการประมงในมหาสมุทรอินเดียแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงในทะเลไกลของไต้หวัน ตลอดจนเป็นหลักประกันด้านสิทธิประโยชน์ของชาวประมงไต้หวันอีกด้วย กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับคณะกรรมการการเกษตร สภาบริหาร อย่างใกล้ชิดเพื่อไขว่คว้าและรักษาสิทธิประโยชน์ของไต้หวัน ด้วยการขอเข้าร่วมเป็นภาคีขององค์กรที่จัดการด้านการประมงในภูมิภาคต่อไป


 

อนึ่ง SIOFA มีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่เกาะ la Réunion ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ภาคีสมาชิกประกอบด้วย ไต้หวัน ออสเตรเลีย หมู่เกาะคุก สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส (เป็นตัวแทนประเทศอาณานิคมในมหาสมุทรอินเดีย) ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐมอริเชียส และสาธารณรัฐเซเซลล์ และไทย รวม 10 ประเทศ ในอนาคตไต้หวันจะร่วมมือกับภาคีสมาชิกอื่นในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงในมหาสมุทรอินเดียอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเป็นจริงเป็นจัง เพื่อสร้างคุณูปการที่เป็นรูปธรรมอย่างเต็มที่