ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน – อินเดียร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นครั้งแรก เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างกัน
2019-07-30

ไต้หวัน – อินเดียร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นครั้งแรก เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างกัน

ไต้หวัน – อินเดียร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นครั้งแรก เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างกัน

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วันที่ 26 ก.ค. 62

 

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และสภาวิจัยสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐอินเดีย (Indian Council of Social Science Research, ICSSR) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย นายสวี่โหย่วจิ้น รมช.วิทย์ฯ ไต้หวัน และ Prof. Virendra Kumar Malhotra รองประธานสภา ICSSRเดินทางมาเป็นประธานในพิธีร่วมลงนาม โดยมีนายเถียนจงกวง ผู้แทนไต้หวันประจำอินเดียเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการก้าวไปสู่บริบทใหม่ของความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างไต้หวัน – อินเดียในครั้งนี้


 

Prof. Virendra Kumar Malhotra รองประธานสภา ICSSR แถลงในพิธีลงนามว่า Dr. Braj Bihari Kumarประธานสภา ICSSR สนับสนุนการลงนาม MOU ครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างกันในภายภาคหน้า


 

รมช. สวี่ฯ กล่าวว่า ตราบจนปัจจุบันไต้หวัน – อินเดียมีการแลกเปลี่ยนกันในด้านเทคโนโลยีระหว่างกัน มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยก.วิทยาศาสตร์ฯ ไต้หวัน ได้เปิดรับโครงการวิจัยและจัดการสัมมนาระดับทวิภาคีขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ เพื่อขานรับนโยบายมุ่งใต้ใหม่ กระทรวงวิทย์ฯ ยังได้เร่งเสริมสร้างความร่วมมือทางเทคโนโลยีด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้พื้นฐานเดิมที่มีอยู่ ด้วยการร่วมลงนาม MOU กับอินเดียในครั้งนี้


 

นายเถียนจงกวง ผู้แทนไต้หวันประจำอินเดีย แถลงในพิธีร่วมลงนามว่า จากการร่วมลงนาม MOU ในครั้งนี้ อาจถือได้ว่าเป็นการอัดฉีดพลังสร้างสรรค์ใหม่ให้แก่การวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างไต้หวัน – อินเดีย ยิ่งไปกว่านั้น อินเดียซึ่งเป็น 1 ใน 4 แหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณของโลก มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีภาษาราชการ 20 กว่าภาษาด้วยกัน ทั้งนี้ ประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายและความเชื่อทางศาสนาเหล่านี้ สามารถใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานการวิจัย และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกันของนักวิจัยทั้ง 2 ฝ่าย โดยร่วมแบ่งปันผลงานวิจัยซึ่งกันและกัน


 

ICSSR ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1969 ในขณะนั้นรัฐบาลอินเดียต้องการกระตุ้นการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ จึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการการวิจัย ซึ่งเป็นหน่วยราชการอิสระ ภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Ministry of Human Resource Development) โดยมีหน้าที่หลักคือกระตุ้นความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดทำโครงการและวางแผนการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ นับเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในวงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ในอินเดียเป็นอย่างมาก