ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ชนพื้นเมืองไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสัมมนารำลึกในวาระครบรอบ 25 ปีแห่งการบัญญัติชื่อทางการชนพื้นเมืองไต้หวัน
2019-08-02

คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน ได้จัดการประชุมสัมมนารำลึกในวาระครบรอบ 25 ปีแห่งการบัญญัติชื่อทางการชนพื้นเมืองไต้หวันขึ้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมที่ประกอบด้วยปธน.ไช่อิงเหวิน (แถวหน้ากลาง) ผู้นำไต้หวัน นางเฉินจวี๋ (แถวหน้าที่ 3 จากซ้าย) เลขาธิการทำเนียบปธน. Icyang Parod (แถวที่ 2 ที่ 5 จากขวา) ประธานคกก.กิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน และขบวนนักเคลื่อนไหวเพื่อชื่อทางการชนพื้นเมืองตอบรับคำเชิญเข้าร่วม และร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก สำนักข่าว CNA วันที่ 1 ส.ค. 62

คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน ได้จัดการประชุมสัมมนารำลึกในวาระครบรอบ 25 ปีแห่งการบัญญัติชื่อทางการชนพื้นเมืองไต้หวันขึ้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมที่ประกอบด้วยปธน.ไช่อิงเหวิน (แถวหน้ากลาง) ผู้นำไต้หวัน นางเฉินจวี๋ (แถวหน้าที่ 3 จากซ้าย) เลขาธิการทำเนียบปธน. Icyang Parod (แถวที่ 2 ที่ 5 จากขวา) ประธานคกก.กิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน และขบวนนักเคลื่อนไหวเพื่อชื่อทางการชนพื้นเมืองตอบรับคำเชิญเข้าร่วม และร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก สำนักข่าว CNA วันที่ 1 ส.ค. 62

คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วันที่ 1 ส.ค. 62

 

นับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ปี 1994 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญของไต้หวัน ได้บัญญัติชื่อให้ผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในเขตภูเขา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ชนพื้นเมืองไต้หวัน” ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 25 ปีแห่งการบัญญัติชื่อทางการดังกล่าว คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน จึงได้จัด “การประชุมสัมมนารำลึกในวาระครบรอบ 25 ปีแห่งการบัญญัติชื่อทางการชนพื้นเมืองไต้หวัน” ณ โรงแรมหยวนซาน กรุงไทเป (The Grand Hotel) โดยประธานาธิบดีไช่อิงเหวินแห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วมและกล่าวปราศรัยในงานครั้งนี้ด้วย


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวว่า นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนพื้นเมือง ในรุ่นก่อนของไต้หวันได้ยื่นเสนอชื่อ “ชนพื้นเมืองไต้หวัน” เพื่อเน้นย้ำถึงสถานะ “เจ้าของดั้งเดิม” โดยหลังจากการประท้วงและเปิดเวทีเจรจากับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มาเป็นระยะเวลายาวนาน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ปี 1994 ได้เสร็จสิ้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้ชื่อเรียก “ชนพื้นเมืองไต้หวัน” ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไต้หวัน


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ ทำเนียบประนาธิบดีไต้หวันได้จัดตั้งณะกรรมการความยุติธรรมทางประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน (Indigenous Historical Justice and Transitional Justice Committee) เพื่อร่วมอภิปรายในประเด็นสำคัญกับตัวแทนของแต่ละชนเผ่าเป็นประจำ เพื่อทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ในมุมมองของชนพื้นเมืองไต้หวัน


 

ปธน.ไช่ฯ ได้ยกตัวอย่างกรณี “กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาษาชนพื้นเมือง” ที่มีใจความสำคัญระบุว่าภาษาพื้นเมืองของแต่ละชนเผ่า ต่างเป็นภาษาแห่งชาติไต้หวัน ทางรัฐบาลจึงได้เร่งกระตุ้นการพัฒนา โดยเปิดรับสมัครและคัดเลือกเจ้าหน้าที่ส่งเสริมภาษาพื้นเมืองกว่าร้อยคน เพื่อส่งเสริมให้ภาษาพื้นเมืองกลายเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนในชนเผ่านั้นๆ

 

 

ปธน.ไช่ฯ ยังระบุว่า ในส่วนของพฤติกรรมความเคยชินในการล่าสัตว์หรือเก็บของป่าของชนพื้นเมืองไต้หวันในยุคอดีต กรมป่าไม้ไต้หวันได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตามแต่ละหมู่บ้านชนเผ่าด้วยตนเอง


 

ตามกำหนดการในช่วงเช้าของการประชุมครั้งนี้ นาย Icyang.Parod ประธานคณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองไต้หวันได้แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “การเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ” จากนั้นในช่วงบ่าย ได้จัดสัมมนาโต๊ะกลมขึ้น 2 รอบ โดยร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของนักเคลื่อนไหวยุคอดีตและรำลึกภาพความทรงจำในอดีต ภายใต้หัวข้อ “การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของชนพื้นเมืองไต้หวัน” และ “การเคลื่อนไหวเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในการบัญญัติชื่่อทางการชนพื้นเมือง” โดยในงานมีผู้เข้าร่วมที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มคนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวยุคอดีต คณะกรรมการความยุติธรรมทางประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองในระยะเปลี่ยนผ่านของทำเนียบปธน. คณะกรรมการส่งเสริมชนพื้นเมือง สภาบริหารไต้หวัน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลท้องถิ่นในเขตพื้นที่ชนพื้นเมือง และผู้นำจากเทศบาลท้องถิ่น (อำเภอ เมืองหรือเขต) ต่างเดินทางมาเพื่อร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองไปพร้อมกัน