ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ทูตเกษตรเยาวชนไต้หวันได้รับแรงบันดาลใจ จากประสบการณ์การเดินทางไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศไทย
2019-08-14

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ทูตเกษตรเยาวชนทั้ง 15 คน เดินทางถึงประเทศไทย และเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 13 ส.ค. ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรือนกรีนเฮ้าส์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University) ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการไทย สำนักข่าว CNA วันที่ 13 ส.ค. 62

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ทูตเกษตรเยาวชนทั้ง 15 คน เดินทางถึงประเทศไทย และเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 13 ส.ค. ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรือนกรีนเฮ้าส์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University) ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการไทย สำนักข่าว CNA วันที่ 13 ส.ค. 62

สำนักข่าว CNA วันที่ 13 ส.ค. 62
 

เพื่อเร่งผลักดัน “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” ในปีนี้กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และคณะกรรมการการเกษตร สภาบริหารไต้หวัน ได้ร่วมกันจัด “โครงการแลกเปลี่ยนทูตเกษตรเยาวชน สู่ประเทศตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ปี 2019” ภายใต้แนวคิด “เอื้อประโยชน์เชิงรูปธรรม การเกษตรแบบยั่งยืน” โดยทำการคัดเลือกเยาวชน 30 คนที่มีความสามารถเป็นเลิศในด้านการเกษตร ป่าไม้ ประมง หรือปศุสัตว์ และแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม โดยมีกำหนดการเดินทางไปแลกเปลี่ยนยังประเทศไทยและประเทศอินเดีย เป็นเวลา 1 สัปดาห์

 

ทูตเกษตรเยาวชนทั้ง 15 คน เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 ส.ค. ซึ่งการไปเยือนในครั้งนี้มีกำหนดการ อันประกอบด้วย ในช่วงเช้าวันที่ 13 ส.ค. เข้าเยี่ยมชมตลาดไท (Talaad Thai) ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรที่ใหญที่สุดในอาเซียน ช่วงบ่ายวันเดียวกัน เข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารตลาดสินค้าเกษตร และรูปแแบบการผลิต – จำหน่ายของไทย ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการไทย

 

เลี่ยวเจี้ยนจื้อ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และกำลังจะขึ้นปีที่ 4 ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมปศุสัตว์ แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติผิงตง (National Pingtung University of Science and Technology ,NPUST ) สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เขากล่าวว่า ถึงแม้รายละเอียดของกิจกรรม จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์โดยตรง แต่ก็ทำให้ได้เข้าใจถึงการเกษตรแขนงอื่นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเขาชื่นชอบเมืองไทยมาก จึงใช้โอกาสการเดินทางในครั้งนี้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรของไทย

 

เลี่ยวเจี้ยนจื้อกล่าวว่า ช่วงเช้าเข้าเยี่ยมชมตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตร ได้เรียนรู้ถึงการบริหารตลาดสินค้าเกษตรในไทย และได้รับแรงบันดาลใจเพื่อนำกลับไปประยุกต์ใช้ อาทิ ระบบการคัดบรรจุผักและผลไม้ตามคุณภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ได้ เขากล่าวว่า “ถือเป็น idea ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้”

 

หลี่หมิงจู เกษตรกรที่มาจากเมืองอี๋หลาน วัย 35 ปี สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการออกแบบ เคยทำงานเป็นนักออกแบบ 1 ปี หลังกลับจากการเดินทางไปทำงานและท่องเที่ยว (Work and Holiday) ในออสเตรเลีย เมื่อปี 2012 ก็ได้ครุ่นคิดถึงอนาคตของตนเอง ในที่สุดได้ตัดสินใจรับช่วงต่อกิจการปลูกพืชในโรงเรือนกรีนเฮ้าส์ของครอบครัว โดยเน้นการปลูกมะเขือเทศญี่ปุ่นที่มีคุณภาพสูง

 

ในขั้นตอนการรับช่วงต่อ หลี่หมิงจูก็เหมือนกับเยาวชนหลายคน ที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางความคิดกับคนรุ่นก่อน เนื่องจากคุณพ่อของเขามีความเห็นว่า ทำตามรูปแบบเดิมที่มีอยู่ก็พอ แต่หลี่หมิงจูคิดว่า ต้องพัฒนาไปในทิศทางของสินค้าออร์แกนิกปลอดสารพิษ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการตลาด อาทิ ให้ผู้บริโภคกับเกษตรกรเจอกันโดยตรง ตั้งแฟนคลับ และสร้างกลุ่มไลน์ เป็นต้น

 

หลี่หมิงจูรับช่วงต่อกิจการได้ไม่นาน ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในปี 2013ประชาชนให้ความสนใจกับปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น สินค้าออร์แกนิกปลอดสารพิษ กลายเป็นกระแสนิยมในหมู่ผู้บริโภค รูปแบบใหม่ของการบริหารก็เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นตามไปด้วย คุณพ่อจึงค่อยๆ ยอมรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของคนรุ่นใหม่

 

โครงการแลกเปลี่ยนทูตเกษตรเยาวชนสู่ประเทศตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดย 2 ปีที่ผ่านมา มีทูตเกษตรเยาวชนรวม 60 คน เดินทางไปแลกเปลี่ยนยังประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น