ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ตากลม ชมทะเล เฝ้ามองพระอาทิตย์ตกดิน เส้นทางปั่นจักรยานชายฝั่งทะเลเหมียวลี่
แหล่งที่มาของข้อมูล Taiwan Panorama
2019-09-09

ปากแม่น้ำซีหูก่อนออกสู่ทะเล เป็นภาพวิวที่มีทั้งกังหันลม, รถไฟ และคลื่นทะเล รวมอยู่ในเฟรมเดียวกัน

ปากแม่น้ำซีหูก่อนออกสู่ทะเล เป็นภาพวิวที่มีทั้งกังหันลม, รถไฟ และคลื่นทะเล รวมอยู่ในเฟรมเดียวกัน

 

หากย้อนเวลากลับไปเมื่อปีค.ศ.1922 ที่เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลเปิดใช้งานเพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างภาคเหนือและใต้ ส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเข้าไปสู่เมืองที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทาง แต่เมื่อทางหลวงเปิดใช้งาน การขนส่งสินค้าที่เคยใช้ทางรถไฟจึงถูกแทนที่ด้วยทางหลวง เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลจึงไม่ได้รับความนิยมอีก แต่เมื่อขบวนรถไฟยังคงวิ่งผ่านวิวทิวทัศน์ระหว่างรวงข้าวในทุ่งนาและคลื่นทะเล รวมถึงสถานีรถไฟไม้โบราณอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี เส้นทางรถไฟสายนี้จึงกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้ในความทรงจำ

ทิวทัศน์ตามแนวชายฝั่งทะเลเหมียวลี่ (苗栗) ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หมู่บ้านป๋ายซาถุน (Baishatun) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดก่งเทียน (Gong Tian Temple) โดยมีพระประธานเป็นเจ้าแม่ทับทิม และยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ชื่อว่า Say Hi Home ที่กลับไปพัฒนาบ้านเกิด จนเกิดเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดเส้นทาง

ตามเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลสามารถปั่นจักรยานขนานคู่ไปกับทางรถไฟได้อย่างอิสระ โดยเราปั่นจักรยานไปบนถนนไถ 61 เพื่อค้นหาเรื่องราวของชายฝั่งทะเลเมืองเหมียวลี่

 

เส้นทางรถไฟที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและทะเลเป็นทัศนียภาพที่ทำให้ผู้คนรู้สึกตื่นตาตื่นใจอย่างที่สุด ทางรถไฟนี้มีชื่อเรียกว่า สมบัติ 5 ชิ้นของสายชายฝั่งทะเล (เนื่องจากเป็น 5 สถานีรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในสไตล์ญี่ปุ่น) ซึ่งมี 3 สถานี ได้แก่ ถันเหวิน (Tanwen Station), ต้าซาน (Dashan Station) และซินผู่ (Xinpu Station) ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของเมืองเหมียวลี่

สถานีรถไฟ 3 แห่ง ได้แก่ ถันเหวิน, ต้าซาน และซินผู่เป็นสถานีที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน เปิดใช้งานตั้งแต่ปีค.ศ.1922 มาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 100 ปี ซึ่งยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้ และกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสิ่งก่อสร้างบนเส้นทางรถไฟสายทะเล

สถานีรถไฟ 3 แห่ง ได้แก่ ถันเหวิน, ต้าซาน และซินผู่เป็นสถานีที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน เปิดใช้งานตั้งแต่ปีค.ศ.1922 มาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 100 ปี ซึ่งยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้ และกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสิ่งก่อสร้างบนเส้นทางรถไฟสายทะเล

 

ตามขบวนรถไฟ ท่องเที่ยวไปกับเส้นทางชายฝั่งทะเล

การปั่นจักรยานครั้งนี้ เราเริ่มต้นกันที่สถานีถันเหวิน มายังสถานีต้าซาน และสถานีซินผู่

สถานีเหล่านี้สร้างขึ้นในสไตล์โบราณ เปิดใช้งานตั้งแต่ปีค.ศ.1922 จนถึงวันนี้ก็มีอายุยาวนานเกือบร้อยปี ตัวสถานีมีลักษณะโดดเด่น สร้างด้วยไม้ หลังคาเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เสาเป็นทรงตัว Y หน้าต่างทรงตาวัว (ox-eye window) เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกของฝรั่งเศส ส่วนฝาผนังสร้างด้วยดินอัด ดังนั้น แม้ว่าทางรถไฟเลียบชายฝั่งทะเลจะถูกลดความสำคัญลง เนื่องจากมีการขนส่งบนทางหลวงเข้ามาแทนที่ และทำให้การพัฒนาโดยรอบหยุดชะงัก แต่โชคดีที่ยังคงรักษาสภาพเดิมของสถานีไว้ เพื่อให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสิ่งก่อสร้างในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเล

กลับมาปั่นโต้ลมบนถนนสายไถ 61 กันต่อ แฟนคลับของการรถไฟบอกเล่าสิ่งดีๆ เกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ว่า ทางรถไฟสายนี้มีจุดถ่ายภาพสองแห่งที่จะพลาดไม่ได้ คือบริเวณชายฝั่งตะวันตกของถนนสาย 61 ณ บริเวณ กม.ที่ 106.3 ด้านหนึ่งของถนนจะมีทางเล็กๆ ไปสู่ปากแม่น้ำซีหูก่อนออกสู่ทะเล บริเวณตรงนั้นเราจะได้เห็นกังหันลม รถไฟ และคลื่นทะเล ที่วิวทั้งหมดจะรวมอยู่ในกรอบภาพเดียวกัน เมื่อตกเย็นสิ่งที่จะปรากฏเพิ่มขึ้นมาก็คือภาพของพระอาทิตย์ตกดิน

หน้าต่างทรงตาวัว (ox-eye window) เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟถันเหวิน, ต้าซาน และซินผู่ ซึ่งเป็นสถานีไม้ในสไตล์ญี่ปุ่น ที่ช่วยทำให้ภาพรวมของสถานีเหล่านี้สวยงามยิ่งขึ้น

หน้าต่างทรงตาวัว (ox-eye window) เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟถันเหวิน, ต้าซาน และซินผู่ ซึ่งเป็นสถานีไม้ในสไตล์ญี่ปุ่น ที่ช่วยทำให้ภาพรวมของสถานีเหล่านี้สวยงามยิ่งขึ้น

จุดต่อไปต้องออกแรงปั่นไปบนถนนแถบชานเมืองเหมียวลี่สาย 33 เพื่อขึ้นไปยังบริเวณใกล้เคียงที่เป็นจุดสูง ชื่อว่าแหลมห่าววั่งเจี่ยว จากจุดนี้เราจะมองเห็นท้องทะเลสีฟ้าของช่องแคบไต้หวันที่ไกลสุดลูกหูลูกตา ส่วนกังหันลมขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้ตามแนวชายฝั่ง เพื่อหมุนเปลี่ยนกระแสลมให้เป็นพลังงาน นี่คือทัศนียภาพทางทะเลในมุมมองแบบพาโนรามา ซึ่งท่ามกลางกระแสลมแรงนั้น พวกเรายังคงรอขบวนรถไฟที่จะแล่นผ่านพื้นที่อันเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ เพื่อจะได้เก็บบันทึกภาพและเรื่องราวทั้งหมดผ่านเลนส์กล้องได้อย่างเต็มที่

ยังมีสถานที่ใกล้ๆ อีกแห่งซึ่งควรค่าแก่การมาเยี่ยมชมคือ อุโมงค์ข้ามท่าเรือเก่า โดยช่วงปีค.ศ.1970 ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนรถไฟจากการขับเคลื่อนด้วยไอน้ำมาเป็นระบบไฟฟ้า มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ทำให้อุโมงค์ทั้งสามกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไปโดยปริยาย ปัจจุบันถูกปรับปรุงให้กลายเป็นเลนจักรยาน มีการติดตั้งหลอดไฟเพื่อใช้ส่องสว่างให้กับอุโมงค์ที่มีการใช้ก้อนอิฐสีแดงก่อตัวซ้อนกันจนโค้งเป็นรูปเกือกม้าสวยงาม ตามหลักการทางกลศาสตร์

วัดก่งเทียน หมู่บ้านป๋ายซาถุน เมืองเหมียวลี่ เป็นศูนย์กลางความเชื่อความศรัทธาของเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเล

วัดก่งเทียน หมู่บ้านป๋ายซาถุน เมืองเหมียวลี่ เป็นศูนย์กลางความเชื่อความศรัทธาของเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเล

 

ชมพระอาทิตย์ตกดิน ร้านอาหารรถไฟ ที่สวนสือเหลียน

การปั่นจักรยานไปบนถนนสายไถ 61 เลียบชายฝั่งทะเล จะมีถนนเล็กๆ ตรงไปยังร้านอาหารรถไฟที่สวนสือเหลียน (石蓮園) สวนอาหารแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพิเศษทางทะเลที่เปิดใช้งานมาแล้วเป็นเวลา 17 ปี โดยนำเอารถไฟที่ไม่ใช้งานแล้ว มารีโนเวทเป็นร้านอาหารและโฮมสเตย์

คุณลั่วสือเหลียน (駱石蓮) ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งมีบ้านอยู่ในเขตพื้นที่ป๋ายซาถุน ได้สอบเข้าไปทำงานที่การรถไฟไต้หวันเมื่อปีค.ศ.1970 เขาจึงมีประสบการณ์มาตั้งแต่การใช้งานขบวนรถไฟแบบไอน้ำ เพราะต้องนั่งรถไฟไปทำงานเป็นประจำทุกวัน รวมระยะเวลาทำงานกับการรถไฟทั้งหมดถึง 33 ปี

เมื่อครั้งไปดูงานที่อินเดีย ได้สัมผัสกับการเดินทางบนรถไฟแบบตู้นอนที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในไต้หวัน คุณลั่วสือเหลียนจึงคิดว่า “หลังจากเกษียณราชการแล้ว จะนำขบวนรถไฟสองโบกี้กลับมาทำเป็นร้านอาหารและโฮมสเตย์ คงเป็นอะไรที่ไม่เลวเลยทีเดียว”

คุณลั่วสือเหลียนนำเอาโบกี้รถไฟที่ไม่ใช้งานแล้วมาสร้างเป็นอนุสรณ์ความทรงจำในยุครุ่งเรือง

คุณลั่วสือเหลียนนำเอาโบกี้รถไฟที่ไม่ใช้งานแล้วมาสร้างเป็นอนุสรณ์ความทรงจำในยุครุ่งเรือง

เริ่มแรกเขาซื้อโบกี้รถไฟเก่าที่เก็บไว้ในโกดัง ราคาเท่ากับเศษเหล็กคือกิโลกรัมละ 1.2 เหรียญไต้หวัน ทั้งหมด 5 โบกี้ น้ำหนักรวม 30 ตัน แต่กลับคาดไม่ถึงว่าการขนส่งจะมีค่าใช้จ่ายถึง 1 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งการขนส่งจากนครเกาสงถึงเมืองเหมียวลี่ ต้องใช้ระยะเวลาถึงสองคืน เพราะโบกี้รถไฟจะมีขนาดที่สูงและยาวกว่าปกติ จึงต้องขนส่งในช่วงเวลากลางคืน โดยจะต้องยื่นขอตัดระบบไฟฟ้า และค้ำสายไฟให้สูงขึ้น เพื่อให้ขบวนขนส่งสินค้าสามารถผ่านไปได้ จากนั้นจึงไปจ้างรถปั้นจั่นขนาด 50 ตัน อีกสองคัน สำหรับยกโบกี้รถไฟทั้งหมดมาติดตั้งบนรางที่เตรียมไว้

ตั้งแต่ร้านอาหารรถไฟเปิดให้บริการ ก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนได้เป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่ชมวิวริมทะเลแถวหน้าสุด ที่จะเห็นคลื่นในช่วงเวลากลางวัน และเห็นพระอาทิตย์ตกดินในยามเย็น

จากแหลมห่าววั่งเจี่ยว มองออกไปไกลๆ จะเห็นทุ่งนา, กังหันลม, ชายฝั่งทะเล และบางครั้งยังได้เห็นรถไฟวิ่งผ่านพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้

จากแหลมห่าววั่งเจี่ยว มองออกไปไกลๆ จะเห็นทุ่งนา, กังหันลม, ชายฝั่งทะเล และบางครั้งยังได้เห็นรถไฟวิ่งผ่านพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้

 

วัดก่งเทียน หมู่บ้านป๋ายซาถุน และเจ้าแม่ทับทิม

การมาเยือนเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปเยี่ยมชมศูนย์กลางแห่งความเชื่อและความศรัทธา ที่วัดก่งเทียน หมู่บ้านป๋ายซาถุน เมืองเหมียวลี่ เพราะทุกเดือน 3 ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติจีน ซึ่งตรงกับวันประสูติของเจ้าแม่มาจู่หรือเจ้าแม่ทับทิม จะเป็นช่วงเวลาที่ดึงดูดสานุศิษย์ทั่วไต้หวันให้เดินทางไปยังวัดเฉาเทียน ที่ตำบลเป่ยกั่ง เมืองหยุนหลิน ระยะทางรวมกว่า 400 กิโลเมตร เป็นการเดินทางที่ไม่มีการกำหนดเส้นทางที่แน่นอน การเลี้ยวไปตามถนนสายต่างๆ ล้วนเป็นไปตามบัญชาขององค์เจ้าแม่ทับทิมทั้งสิ้น

ความพิเศษแบบนี้ คุณหลินซิ่งฝู (林幸福) กรรมการวัดก่งเทียนอธิบายให้ฟังว่า “หมู่บ้านป๋ายซาถุนยังคงยึดถือประเพณีดั้งเดิม ในที่สุด การอนุรักษ์ความเก่าแก่ดังกล่าวกลับกลายเป็นเอกลักษณ์พิเศษ” ในสมัยก่อนประเพณีแห่เจ้าแม่ทับทิม วัดส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเดินเท้าแห่ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปก็มีการนำเอารถบัสมาใช้เดินทางแสวงบุญแทน แต่การแห่เจ้าแม่ทับทิมของหมู่บ้านป๋ายซาถุนยังคงใช้วิธีการเดินเท้าอยู่ เป็นการเดินทางที่ไม่กำหนดเส้นทางแน่นอน เจ้าแม่ทับทิมกับชาวบ้านจะเชื่อมโยงถึงกันด้วยกระแสจิต จะเดินไปในทิศทางใด เจ้าแม่ทับทิมจะมีคำบัญชาส่งไปถึงสานุศิษย์เอง และทุกครั้งที่มีการเดินทางก็จะมีเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์เกิดขึ้นมากมาย

จากแหลมกู๊ดโฮป เราจะมองเห็นท้องทะเลสีฟ้าของช่องแคบไต้หวันที่ไกลสุดลูกหูลูกตา โดยมีกังหันลมขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ถือเป็นทัศนียภาพทางทะเลในมุมมองแบบพาโนรามา

จากแหลมกู๊ดโฮป เราจะมองเห็นท้องทะเลสีฟ้าของช่องแคบไต้หวันที่ไกลสุดลูกหูลูกตา โดยมีกังหันลมขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ถือเป็นทัศนียภาพทางทะเลในมุมมองแบบพาโนรามา

มีเรื่องราวหลากหลายที่เกิดขึ้นกับเจ้าแม่ทับทิมของวัดก่งเทียน จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในพื้นที่ ทั้งการสับเปลี่ยนเจ้าแม่ทับทิมผิดองค์ การหามเกี้ยวมหามงคลเจ้าแม่ทับทิมข้ามแม่น้ำจั๋วสุ่ย ซึ่งคุณหลินซิ่งฝูกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้คือความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น เขาได้อธิบายเรื่องราวความเชื่อเหล่านี้ในอีกมุมหนึ่ง ว่าทำไมชาวบ้านถึงต้องพึ่งพาเจ้าแม่ทับทิม ในอดีตการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในหมู่บ้านป๋ายซาถุนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรับมือกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือถึง 2 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ดังนั้น ความยากลำบากในการดำเนินชีวิตที่เกิดจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม ยิ่งทำให้ประชาชนเพิ่มความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อเจ้าแม่ทับทิม และเกิดเป็นพิธีแห่เจ้าแม่ทับทิมที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

ที่จริงแล้วถือเป็นเรื่องน่าเสียดายที่การปั่นจักรยานบนเส้นทางเหมียวลี่ครั้งนี้จัดขึ้นในฤดูหนาว แม้ปีนี้จะได้ชื่อว่าเป็นฤดูหนาวที่อบอุ่น แต่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดอยู่ในทะเลก็ยังคงแรงจัด พัดศีรษะจนแกว่งไปมาและไม่สามารถยืนอย่างมั่นคงได้ คุณหลินซิ่งฝูหัวเราะแล้วพูดว่า พวกเราเลือกมาผิดวันแล้ว แต่นี่แหละคือประสบการณ์จริงจากการลงพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าการใช้ชีวิตในท้องถิ่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

คำพูดหนึ่งของคุณหลินซิ่งฝูคล้ายกับข้อสังเกตตามหลักการสังคมวิทยา และเป็นการยืนยันว่าวัฒนธรรมคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและแสวงหาความอยู่รอด ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและคาดไม่ถึงว่าจะได้พบเจอในทริปปั่นจักรยานครั้งนี้

การจักสานเคยเป็นความทรงจำของผู้คนในพื้นที่ย่วนหลี่ เพราะปัจจุบันเหลือเพียงอาม่าอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีความชำนาญเท่านั้น ดังนั้นการฟื้นฟูงานฝีมือจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ

การจักสานเคยเป็นความทรงจำของผู้คนในพื้นที่ย่วนหลี่ เพราะปัจจุบันเหลือเพียงอาม่าอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีความชำนาญเท่านั้น ดังนั้นการฟื้นฟูงานฝีมือจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ

 

กลุ่ม Say Hi Home จากการต่อต้านกลายมาเป็นการกลับสู่บ้าน เพื่อหาจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับผืนแผ่นดิน

เรายังคงมุ่งลงใต้ โดยปั่นจักรยานไปถึงจุดใต้สุดของเมืองเหมียวลี่ ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของการเดินทางครั้งนี้ นั่นคือเขตย่วนหลี่ (Yuanli) แล้วเลี้ยวเข้าไปยังถนนซินซิง พวกเราไปเยี่ยมชมร้านหนังสือ Hi Home ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม ปีค.ศ.2018 ซึ่งที่นี่ยังเป็นศูนย์ปฏิบัติงานของกลุ่ม Say Hi Home อีกด้วย

ศูนย์ปฏิบัติการของ Say Hi Home ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มคนที่เกิดในยุคทศวรรษ 1970-1980 โดยมีคุณหลิวอวี้อวี้ (劉育育)กับคุณหลินซิ่วเผิง (林秀芃) ผู้บุกเบิกในช่วงแรก พวกเขารู้จักกันจากการร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อต่อต้านการสร้างกังหันลมที่ย่วนหลี่ ประสบการณ์จากเข้าร่วมชุมนุมหลายต่อหลายครั้งสะท้อนให้เห็นว่า การประท้วงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคม แต่ถ้าเราอยากให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็ต้องกลับไปยังภูมิลำเนาอันเป็นรากฐานของทุกสิ่ง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงลงมือปฏิบัติจริง จาก “การต่อต้าน” มาสู่ “การกลับบ้าน” คุณหลินซิ่วเผิงกล่าวว่า อย่างแรก คือการต่อต้านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่างที่สอง คือการกลับไปยังภูมิลำเนาหรือผืนแผ่นดินเกิดของเรา

คุณหลิวอวี้อวี้และคุณหลินซิ่วเผิง เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการ Say Hi Home ซึ่งพวกเขาต้องเริ่มจากการถูกกระแสลมพัด มาเป็นผู้เปลี่ยนทิศทางของกระแสลม

คุณหลิวอวี้อวี้และคุณหลินซิ่วเผิง เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการ Say Hi Home ซึ่งพวกเขาต้องเริ่มจากการถูกกระแสลมพัด มาเป็นผู้เปลี่ยนทิศทางของกระแสลม

การสัมผัสผืนแผ่นดินเริ่มต้นจากการฟื้นฟูความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ซึ่งขั้นแรกกลุ่ม Say Hi Home ได้ลงไปทำความรู้จักกับเขตย่วนหลี่ใหม่อีกครั้ง พวกเขาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ เพื่อทำการสำรวจภาคสนาม ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานและช่องทางการจัดจำหน่าย อีกทั้งยังพยายามนำเอาอุตสาหกรรมจักสานที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับย่วนหลี่กลับมาดำเนินการอีกครั้ง

ในปีค.ศ.2015 กลุ่ม Say Hi Home ย่วนหลี่ ได้เปลี่ยนวิธีจากการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม มาเป็นรูปแบบกรุ๊ปทัวร์ขนาดเล็ก ที่จะพาทุกคนไปดูถนนเทียนเซี่ยซึ่งเป็นถนนโบราณที่มีการทำหมวกจักสาน เป็นตลาดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 120 ปี และยังเป็นที่อยู่อาศัยของคุณกัวจือย่วน (郭芝苑) ผู้บุกเบิกดนตรีพื้นเมืองไต้หวัน ต่อมาในปีค.ศ.2016 มีการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับปฐมฤกษ์ที่รายงานเหตุการณ์ประจำวันในท้องถิ่น และเป็นแหล่งเก็บบันทึกรวบรวมเรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่น จากนั้นในปีค.ศ.2017 มีการจัดงาน Hi Home Festival ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับพิธีกรรมทางจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่น พวกเขาต้องการสร้างความคึกคักจึงตั้งเวทีอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดเจ้าแม่ทับทิม โดยมีธีมหลักคือการแสดงคอนเสิร์ตภาษาพื้นเมือง เพื่อฟื้นคืนความมีชีวิตชีวาของท้องถิ่นให้คืนกลับมา ยิ่งไปกว่านั้นคืออยากให้ผู้ที่อพยพไปอาศัยอยู่พื้นที่อื่น หันกลับมามองเห็นว่าย่วนหลี่ได้แตกต่างไปจากเดิม

และในปีค.ศ.2018 กลุ่ม Say Hi Home ได้จัดตั้งศูนย์รวมขึ้นในรูปแบบของร้านหนังสือซึ่งมีชื่อว่า Hi Home

“อุโมงค์ข้ามท่าเรือเก่า” ถูกเปลี่ยนให้เป็นทางปั่นจักรยานในปัจจุบัน โดยมีการใช้ก้อนอิฐสีแดงก่อตัวซ้อนกันจนโค้งเป็นรูปเกือกม้าตามหลักการทางกลศาสตร์ เพดานด้านบนสุดยังหลงเหลือร่องรอยของควันสีดำจากขบวนรถไฟแบบไอน้ำให้เห็น

“อุโมงค์ข้ามท่าเรือเก่า” ถูกเปลี่ยนให้เป็นทางปั่นจักรยานในปัจจุบัน โดยมีการใช้ก้อนอิฐสีแดงก่อตัวซ้อนกันจนโค้งเป็นรูปเกือกม้าตามหลักการทางกลศาสตร์ เพดานด้านบนสุดยังหลงเหลือร่องรอยของควันสีดำจากขบวนรถไฟแบบไอน้ำให้เห็น

หลังจากผลักดันกิจกรรมเหล่านี้มาแล้วระยะหนึ่ง รู้สึกว่าควรกลับมามองเด็กๆ ในชุมชนบ้าง ความจริงแล้ว การศึกษาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ถ้าหากทุกคนไม่เข้าใจตัวเองมากพอ ก็จะไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งส่วนนี้นอกจากการทำความเข้าใจภูมิลำเนาแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจตัวเองด้วย ดังนั้นการอ่านจึงมีความสำคัญมาก เมื่อคุณหลินซิ่วเผิงเข้าใจถึงเหตุผลดังกล่าวจึงตัดสินใจก่อตั้งร้านหนังสือ Hi Home ขึ้นมา ท่ามกลางยุคสมัยที่ธุรกิจร้านหนังสือค่อยๆ ปิดตัวลง

เมื่อร้านหนังสือเปิดดำเนินการ เพื่อนบ้านที่เป็นผู้สูงอายุต่างก็มีความสุข ตกเย็นไฟจากร้านหนังสือสว่างขึ้น ให้ความรู้สึกว่ามีเพื่อนคอยอยู่เคียงข้าง ร้านหนังสือซึ่งเป็นสถานที่เงียบๆ จะคอยบ่มเพาะเด็กที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ให้ค่อยๆ เจริญเติบโต พวกเขายืนหยัดที่จะเดินหน้าต่อไปโดยไม่กลัวกระแสลมแรงที่อาจจะพัดพาให้สภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

ในอดีต พื้นที่บริเวณเส้นทางรถไฟสายทะเลที่ถูกมองว่าไม่ได้รับการพัฒนา ด้อยโอกาส ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยังขาดแคลนซึ่งทรัพยากรทางวัฒนธรรม แต่เมื่อได้มาปั่นจักรยานในเส้นทางสายนี้ พร้อมกับฟังเรื่องราวของกลุ่มคนหนุ่มสาวที่สำนึกรักษ์บ้านเกิดภายใต้ชื่อ Say Hi Home ที่พวกเขาไม่ปล่อยให้กระแสลมพัดเข้ามากระทบเพียงฝ่ายเดียว แต่กลับลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสลม จนทำให้พวกเราปั่นจักรยานต่อไปได้ โดยมีกระแสลมที่พัดผ่านเป็นแรงผลักดัน