ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
10 สถาบันการอาชีวศึกษาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภาคอุตสาหกรรมเชิงลึกในประเทศไทย
2019-10-17

คณะอาจารย์จากสถาบันการอาชีวศึกษาไต้หวัน 10 แห่ง เดินทางเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภาคอุตสาหกรรมเชิงลึกในประเทศไทย ในภาพคือการเข้าเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย (ภาพจาก NTUB)

คณะอาจารย์จากสถาบันการอาชีวศึกษาไต้หวัน 10 แห่ง เดินทางเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภาคอุตสาหกรรมเชิงลึกในประเทศไทย ในภาพคือการเข้าเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย (ภาพจาก NTUB)

NTUB วันที่ 9 ต.ค. 62

 

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. มหาวิทยาลัยธุรกิจแห่งชาติ ไทเป (National Taipei University of Business, NTUB) แถลงว่า ช่วงปิดภาคการศึกษาฤดูร้อนในปีนี้ ทางสถาบันได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภาคอุตสาหกรรมเชิงลึกในต่างประเทศสำหรับอาจารย์ ภายใต้ความช่วยเหลือของ บริษัท นำเชา (ประเทศไทย) จำกัด (Namchow Chemical Industrial Co., Ltd.) ได้นำคณะอาจารย์ 16 คนจากสถาบันการอาชีวศึกษาไต้หวัน 10 แห่ง อันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธุรกิจแห่งชาติ ไทเป (National Taipei University of Business, NTUB) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลงหัว (Lunghwa University of Science and Technology, LHU) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาติ ไทเป (National Taipei University of Technology, NTUT) สถาบันเทคโนโลยีโอเรียนเต็ล (Oriental Institute of Technology, OIT) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจิ่งเหวิน (JinWen University of Science & Technology, JUST) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น (St. John's University, SJU) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เกาสง (National Kaohsiung University of Science and Technology, NKUST) มหาวิทยาลัยการอาหารและการโรงแรมแห่งชาติ เกาสง (National Kaohsiung University of Hospitality and Tourism, NKUHT) มหาวิทยาลัยซู่เต๋อ (Shu-Te University, STU) เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมเชิงลึกที่ประเทศไทย


 

กิจกรรมการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทนำเชา (ประเทศไทย) จำกัด ในการช่วยวางแผนกำหนดการ และจัดสรรทรัพยากรของนักธุรกิจไต้หวันในพื้นที่ ผนวกกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเหล่าอาจารย์ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ตามกำหนดการในครั้งนี้ บรรดาอาจารย์ได้เข้าเยี่ยมชมช่องทางการจัดจำหน่าย 9 รูปแบบ อาทิ ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม (Icon Siam) หน่วยงานอุตสาหกรรมด้านการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม 3 แห่ง อาทิ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบของไทย (Thailand Creative & Design Center, TCDC) หน่วยงานอุตสาหกรรมอาหาร 7 แห่ง อาทิ โรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร ในเครือนำเชากรุ๊ป อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ 3 แห่ง อาทิ บริษัทเซรามิคไท้เจิ้งเต๋อ อุตสาหกรรมเงินทุนและหลักทรัพย์ 2 แห่ง อาทิ บริษัทเอเชียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (Asia Sermkij Leasing Public Company Limited, ASK) อีกทั้งองค์กรเครือข่ายอุตสาหกรรม ได้แก่ สมาคมการค้าไทย-ไต้หวัน (Thai – Taiwan Business Association, TTBA) สถาบันการศึกษาของกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management, PIM) และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Delta Electronics (Thailand) Public Co.,Ltd) เป็นต้น


 

การฝึกอบรมในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้คณะอาจารย์ที่เข้าร่วม มีความเข้าใจต่อการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยมากขึ้นแล้ว ยังสามารถมองเห็นแง่มุมต่างๆ ของธุรกิจไต้หวันในไทย อาทิ การบริหารจัดการ การวางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้ประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่และส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ทาง NTUB จึงได้จัด “การประชุมสัมมนาว่าด้วยการบริหารและการตลาดของธุรกิจไทย” เมื่อวันที่ 8 ต.ค. โดยคณะอาจารย์ที่เข้าร่วมในการฝึกอบรม รับหน้าที่เป็นผู้บรรยายผลสัมฤทธิ์และแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ รวมถึงได้เชิญนายหลี่คานเหวิน รองประธานบริหารบริษัทนำเชาฯ เข้าร่วมการประชุมเพื่อให้คำชี้แนะด้วย


 

ประเด็นในการประชุมครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย “ไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ” “สภาพแวดล้อมทางการตลาดของไทย และกลยุทธ์ทางการตลาดของนักธุรกิจไต้หวันในไทย” และ “นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เกี่ยวกับการวิจัยด้านการบริหารแบรนด์ และการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าของธุรกิจไต้หวัน” ตามด้วยการพัฒนาธุรกิจของนักลงทุนไต้หวันในไทย (อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เงินทุนและหลักทรัพย์ บรรจุภัณฑ์ และการออกแบบอัญมณี) รวมถึงโอกาสธุรกิจที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ และธุรกิจอี - คอมเมิร์ซ (E - Commerce) ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมการฝึกอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันแล้ว อีกทั้งคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยให้สามารถค้นพบโอกาสการพัฒนาด้านการลงทุนของนักธุรกิจไต้หวันด้วย