ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คกก.กิจการชนพื้นเมืองนำคณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์คุณภาพของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวัน ไปร่วมงาน STYLE Bangkok October 2019 ในประเทศไทย
2019-10-18

คกก.กิจการชนพื้นเมืองนำคณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับคุณภาพของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวันทั้ง 8 แบรนด์ เดินทางเข้าร่วมงาน STYLE Bangkok October 2019 ในประเทศไทย (ภาพจากคกก.กิจการชนพื้นเมือง)

ผู้คกก.กิจการชนพื้นเมืองนำคณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับคุณภาพของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวันทั้ง 8 แบรนด์ เดินทางเข้าร่วมงาน STYLE Bangkok October 2019 ในประเทศไทย (ภาพจากคกก.กิจการชนพื้นเมือง)

คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน วันที่ 17 ต.ค. 62

 

ปีนี้เป็นปีแรกที่คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมือง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หรือ CIP ได้นำคณะผู้ประกอบการเดินทางเข้าร่วม “งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok October 2019” ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันจัด “คูหาสินค้าวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวัน” ขึ้น ภายใต้ชื่อ Ayoi โดยงาน STYLE Bangkok Oct 2019 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 ต.ค. เป็นเวลา 5 วัน ซึ่งคูหาไต้หวันในครั้งนี้ จัดขึ้นบนพื้นฐานแนวคิด “สินค้าวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ x Life Style” โดยได้รวบรวมสินค้าวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับคุณภาพจาก 8 แบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อร่วมถ่ายทอดวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวันให้ปรากฏสู่สายตาของผู้ชมทั้งชาวไทยและต่างชาติ


 

CIP ชี้ว่า ผู้ประกอบการจากทั้ง 8 แบรนด์ที่เข้าร่วมจัดแสดงในครั้งนี้ ประกอบด้วย “Sabra Andre” แบรนด์สินค้าแฟชั่นดีไซน์ระดับไฮเอนด์ ที่ดัดแปลงมาจากเรื่องเล่าในตำนานของกลุ่มชนพื้นเมือง “Wumia Studio” แบรนด์เครื่องหนังแกะสลัก พร้อมเติมลวดลายด้วยสีสัน ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวัฒนธรรมโบรานของกลุ่มชนพื้นเมือง “Wasang Show” แบรนด์เสื้อยืดT – shirt ที่บันทึกตำนานและเรื่องราวทางศาสนาของทุกกลุ่มชนพื้นเมืองในไต้หวัน “Wildman Working House” แบรนด์เครื่องประดับที่ออกแบบด้วยแนวคิดใหม่ “Stone & Life” แบรนด์สิ่งของเครื่องใช้ในประจำวันที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นของเมืองฮวาเหลียน “Sabra Andre” แบรนด์ลูกปัดแก้วที่วาดลวดลาย สะท้อนให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้มอบไว้ให้ “Dragonfly Beads Art Studio” แบรนด์ผลงานศิลปะที่ระดมกำลังสตรีในกลุ่มชน มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประจำถิ่น และ “LIHIYA” แบรนด์ที่มุ่งเน้นการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่น เป็นต้น จึงทำให้สินค้าภายในงานจัดแสดงครั้งนี้ ประกอบไปด้วย สิ่งของตกแต่งบ้านขนาดย่อม เสื้อผ้าแฟชั่น อุปกรณ์เสริมและเครื่องประดับต่างๆ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ทางวัฒนธรรม


 

คูหา Ayoi ได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดของ “บ้าน” โดยการนำสินค้าของผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ จัดวางไว้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในห้องรับแขกและห้องนอน เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เห็นว่า แม้ตัวอยู่บ้านก็สามารถสัมผัสกับบรรยากาศการใช้ชีวิตแบบกลุ่มชนพื้นเมืองไต้หวันได้เช่นกัน นอกจากนี้ภายในงานยังมีหุ่นยนต์สื่อสาร (Chatbot) ที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ซื้อในงาน โดยประยุกต์เอาเทคโนโลยีการควบคุมด้วยระบบดิจิทัล และระบบไกด์นำเที่ยวแบบดิจิตอลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชม ในการให้บริการข้อมูลในรูปแบบภาษาต่างประเทศ ทั้งหมด 3 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษและไทย และเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ต่างๆ ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ รวมทั้งแนะนำสินค้าวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้สินค้าวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมือง ก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติผ่านการจัดแสดงในงานครั้งนี้ด้วย


 

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์ของเหล่าผู้ประกอบการกลุ่มชนพื้นเมือง หลังเสร็จสิ้นจากการจัดงาน ทางตัวแทนไต้หวันในไทยจะนำคณะผู้ประกอบการทั้ง 8 แบรนด์ เข้าเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบของไทย (Thailand Creative & Design Center, TCDC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมไว้ซึ่งทรัพยากรและบุคลากรด้านการออกแบบแห่งเอเชีย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการในพื้นที่ พร้อมซึมซับแนวทางและกลยุทธ์การบริหารงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศอีกด้วย