ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน – ไทยจับมือเป็นพันธมิตรส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสในการขยายลาดร่วมกัน
2019-11-01

ดร.เผิงฉี่หมิง (ที่ 2 จากขวา) นายกสมาคมTADPI และดร.พณชิต กิตติปัญญางาม (ที่ 2 จากซ้าย) นายกสมาคม TTSA ร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรสมาคม TTSTAI เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา (ภาพจาก CNA)

ดร.เผิงฉี่หมิง (ที่ 2 จากขวา) นายกสมาคมTADPI และดร.พณชิต กิตติปัญญางาม (ที่ 2 จากซ้าย) นายกสมาคม TTSA ร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรสมาคม TTSTAI เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา (ภาพจาก CNA)

สำนักข่าว CNA วันที่ 1 พ.ย. 62

 

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันภัยพิบัติไต้หวัน (Taiwan Association of Disaster Prevention Industry, TADPI) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีระหว่างไต้หวัน – ไทย (Thailand Taiwan Science & Technology Alliance for Innovation, TTSTAI) กับสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ของไทย (Thailand Tech Startup Association, TTSA) โดยทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเน้นไปในการพัฒนาทางด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things, IoT) และการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างโอกาสในการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจระหว่างกัน


 

ดร. ถงเจิ้นหยวน ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำประเทศไทย และนายไกลก้อง ไวทยการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ (Future Forward) ที่เร่งผลักดันนการพัฒนาทางเทคโนโลยีมาเป็นเวลานานของไทย ได้เดินทางมาร่วมเป็นสักขีพยานในการร่วมลงนามในครั้งนี้


 

ดร. เผิงฉี่หมิง นายกสมาคม TADPI รับหน้าที่เป็นตัวแทนของไต้หวัน ในการร่วมลงนาม MOU ว่าด้วยการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร TTSTAI กับดร. พณชิต กิตติปัญญางาม นายกสมาคม TTSA


 

ในอนาคต TTSTAI จะมีการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และจะจัดการประชุมสัมมนา TTSTAI ระหว่างไต้หวัน – ไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและแสวงหาโอกาสในการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจระหว่างกัน ในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายต่างให้ความสนใจ อาทิ มลพิษทางอากาศ ทรัพยากรน้ำ ระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติ การคมนาคม สภาพภูมิอากาศ การเกษตร การดูแลสุขภาพทางการแพทย์ เป็นต้น

 

 

ดร.เผิงฉี่หมิงกล่าวว่า ไต้หวัน - ไทยได้ริเริ่มประสานความร่วมมือในการดำเนินการด้าน Open Data มาตั้งแต่ปี 2004 โดยในทุกปีจะมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และนักวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์ของทั้งสองฝ่ายมาร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งยังมีการจัดการแข่งขัน Presidential Hackathon เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ของไต้หวันและไทย ได้มีปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถกระชับความร่วมมือระหว่างกันในเชิงลึก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมระหว่างไต้หวัน – ไทย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน และสร้างโอกาสความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมระหว่างกัน


 

ดร. เผิงฉี่หมิงระบุว่า ความร่วมมือในอนาคตที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ Internet of Things (IoT) และOpen Data เนื่องจากการเปิดเผย ไม่ใช่วัฒนธรรมของชาวเอเชีย ด้วยเหตุนี้ชาวไทยจึงสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในด้าน Open Data ระหว่างภาครัฐและประชาชนของไต้หวัน ทั้งในส่วนของความขัดแย้งและการปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาเรียนรู้ด้วยตนเอง


 

ด้านดร. พณชิตกล่าวว่า การพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ไทยยินดีต้อนรับบุคลากรชาวไต้หวันที่เกี่ยวข้อง ให้เดินทางมาลงทุนและแสวงหาความร่วมมือที่ไทย โดยเฉพาะความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นอุตสาหกรรมแขนงใหม่ เชื่อว่าจากเวทีความร่วมมือนานาชาติในครั้งนี้ จะสามารถสร้างโอกาสความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายในอนาคตได้อย่างแน่นอน