ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ICDFและ RPF จับมือสู่ความร่วมมือใหม่ กับการสัมมนาไต้หวัน - ไทย ปี 2019 และร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือครั้งที่ 4
2019-11-11

นายเซี่ยงเถียนอี้ (ที่ 3 จากซ้าย) เลขาธิการ ICDF ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ระหว่างไต้หวัน - ไทย กับดร. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาระดับสูงของมูลนิธิ RPF ดร. ถงเจิ้นหยวน (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำประเทศไทย เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ (ภาพจาก ICDF)

นายเซี่ยงเถียนอี้ (ที่ 3 จากซ้าย) เลขาธิการ ICDF ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ระหว่างไต้หวัน - ไทย กับดร. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาระดับสูงของมูลนิธิ RPF ดร. ถงเจิ้นหยวน (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำประเทศไทย เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ (ภาพจาก ICDF)

ICDF วันที่ 8 พ.ย. 62

 

กองทุนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไต้หวัน (International Cooperation and Development Fund ,Taiwan ICDF) และมูลนิธิโครงการหลวง (Thailand Royal Project Foundation, RPF) มีกำหนดการร่วมกันจัดการประชุม Royal Project Foundation and Taiwan ICDF Symposium ปี 2019 ขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 9 พ.ย. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประชุมครั้งนี้ ทาง ICDF ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญชาวไต้หวันที่มีชื่อเสียง 3 คน เดินทางมาร่วมอภิปราย และนำเสนอรายงานผลสัมฤทธิ์ในโครงการความร่วมมือครั้งที่ 3 เพื่อร่วมหารือกับนักวิชาการและนักวิจัยของมูลนิธิ RPF ต่อไป


 

นอกจากนี้ ICDFและ RPF ยังได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือครั้งที่ 4 ในวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมาด้วย โดยนายเซี่ยงเถียนอี้ เลขาธิการ ICDF และศ.ดร. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาระดับอาวุโสของ RPF รับหน้าที่เป็นผู้ร่วมลงนามในครั้งนี้ พล.ต.สาธิต ศรีสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานมูลนิธิโครงการหลวงเชียงใหม่ และดร. ถงเจิ้นหยวน ผู้แทนรัฐบาลไต้หวันประจำประเทศไทย ต่างได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวปราศรัย และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในครั้งนี้ด้วย


 

การสัมมนาครั้งนี้ มีนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง กว่า 200 คนเดินทางเข้าร่วม โดยนายเซี่ยงเถียนอี้กล่าวขณะปราศรัยว่า ICDFและ RPF มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาเป็นเวลานาน ความร่วมมือที่ผ่านมาของทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการส่งเสริมที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการหลวง ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรยากไร้ในพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย โดยการนำเอาเทคโนโลยีและประสบการณ์ด้านการเกษตร มาใช้ในการช่วยเหลือปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งในแผนการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์พืชสวนของเกษตรกรในครั้งที่ 4 นี้ ICDF จะร่วมลงทุนด้านบุคลากรและทรัพยากรให้มากขึ้น เพื่อขยายความร่วมมือกับทางหน่วยงานไทย ในการช่วยยกระดับการพัฒนาด้านการเกษตร และห่วงโซ่คุณค่า ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ชนบททางภาคเหนือของไทย


 

การสัมมนาครั้งนี้ ได้ร่วมอภิปรายกันในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ ผลสัมฤทธิ์ด้านการวิจัยในโครงการความร่วมมือครั้งที่ที่ 3 ระหว่างไต้หวัน – ไทย โดยหัวข้อการสัมมนาใน 3 รอบ แบ่งออกเป็น การบริหารจัดการสุขภาพพืชผล (Crop Health Management) การจัดการศัตรูพืช (Pest Control Management) การจัดการควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ (Soil Fertility Management and Biological Control of Plant Diseases) โดย ICDF ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายจางชิงอัน ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเฉาหยาง (Chao Yang University of Technology, CYUT) นายเซียวสวี่ฟง ศาสตราจารย์ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (Department of Entomology, National Taiwan University, NTU) และนายหวงอวี่หมิง ศาสตราจารย์วุฒิคุณ คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางดิน (Department of Soll and Environmental Sciences,National Chung Hsing University, NCHU) ซึ่งทั้ง 3 ท่านนี้เคยมีความร่วมมือกับ ICDF มาเป็นเวลานาน ซึ่ง ICDF มีการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปให้คำปรึกษาที่ประเทศไทยเป็นระยะ เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องของไต้หวัน ให้นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและยกระดับความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่ไทย รวมถึงช่วยปลูกฝังความรู้ทางเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรในพื้นที่เขตภูเขาทางภาคเหนือของไทย ตลอดจนเพิ่มปริมานผลผลิตทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล