ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ปธน.ไช่ฯ เข้าร่วม “พิธีมอบรางวัล Asia Democracy and Human Rights Award”
2019-12-11

ปธน.ไช่ฯ มอบรางวัล Asia Democracy and Human Rights Award ครั้งที่ 14 ให้กับ Dr. Patrick Earle ตัวแทนโครงการ DTP (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)

ปธน.ไช่ฯ มอบรางวัล Asia Democracy and Human Rights Award ครั้งที่ 14 ให้กับ Dr. Patrick Earle ตัวแทนโครงการ DTP (ภาพจากทำเนียบประธานาธิบดี)

ทำเนียบประธานาธิบดี วันที่ 10 ธ.ค. 62

 

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 ธ.ค. ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วม “พิธีมอบรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น ตามระบอบประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชีย และโล่ประกาศเกียรติคุณ ครั้งที่ 14” (Asia Democracy and Human Rights Award) และทำหน้าที่เป็นผู้มอบรางวัล ภายใต้ “โครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการทูต” (Diplomacy Training Program, DTP) พร้อมเน้นย้ำว่า การธำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน การสนับสนุนประชาธิปไตยคือศรัทธาและความเชื่อที่มีร่วมกัน ในอนาคต พวกเราจะเร่งกระชับความร่วมมือกัน เพื่อสานต่อแนวทางแห่งประชาธิปไตย เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ให้คงอยู่สืบไป


 

ปธน.ไช่ฯ กล่าวว่า ผู้ได้รับรางวัล “Asia Democracy and Human Rights Award” ประจำปีนี้ เป็นองค์กรข้ามชาติที่ไม่แสวงหาผลกำไร ภายใต้โครงการ DTP ซึ่งนายฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา (José Ramos-Horta) อดีตประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต และ Mr. Garth Nettheim ชาวออสเตรเลีย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1989


 

ทั้งนี้ ปธน.ไช่ฯ ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีมานี้ โครงการ DTP ได้ให้ความช่วยเหลือนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกว่า 3 พันคน ที่มาจาก 60 กว่าประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ โดยหลักสูตรการฝึกอบรมดังกล่าว ครอบคลุมทั้งด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มชนพื้นเมือง สิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น


 

โดยภายในพิธี ปธน.ไช่ฯ ได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศสูงสุด (Order of Brilliant Star) ให้กับ Mr. Carl Gershman ประธานกรรมบริหารของกองทุนเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Endowment for Democracy, NED) เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ ในฐานะที่ได้อุทิศตนสร้างคุณประโยชน์ ภายใต้ค่านิยมประชาธิปไตยที่มีร่วมกัน ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐฯ ในเชิงลึก


 

โดย Mr. Carl Gershman กล่าวว่า ในปัจจุบันสังคมไต้หวัน ได้เผยให้เห็นถึงค่านิยมสากลหลายประการ ทั้งทางด้านประชาธิปไตย เสรีภาพ ระบอบประชาสังคม และเสรีภาพของสื่อ ซึ่งค่านิยมเหล่านี้ นอกจากจะสอดคล้องกับปรัชญาแนวคิดของขงจื้อแล้ว ยังเป็นค่านิยมสากลอันแท้จริงอีกด้วย โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจของจีนในช่วงที่ผ่านมา ได้กลายเป็นภัยคุกคามให้กับหลายประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและพื้นที่อื่นๆ ส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ เขาแสดงความคิดเห็นว่า เรื่องราวของไต้หวันได้เปิดมุมมองให้กับบรรดาผู้คนที่เชื่อมั่นในแนวทางประชาธิปไตย และยังเป็นการส่งเสริมให้ชาวจีนทั่วโลก มีวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเชื่อมั่นว่า ในอนาคตทั่วโลกจะได้รับเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย อย่างแน่นอน