ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ศิลปินชาวไต้หวันและชาวไทย ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัย ภายใต้ชื่อ “Blind Date”
2019-12-19

Henry Tan (ที่ 3 จากซ้าย) ศิลปินชาวไทย และนายหวงติ่งหยุน (ที่ 2 จากซ้าย) ศิลปินชาวไต้หวัน ร่วมแบ่งปันขั้นตอนการร่วมสร้างสรรค์ผลงาน และแบ่งปันประสบการณ์ความร่วมมือ ผ่านการประยุกต์ใช้สื่อกลางอย่างค็อกเทล ในโซนแกลอรี่จัดแสดง Tentacles (ภาพจาก MOC)

Henry Tan (ที่ 3 จากซ้าย) ศิลปินชาวไทย และนายหวงติ่งหยุน (ที่ 2 จากซ้าย) ศิลปินชาวไต้หวัน ร่วมแบ่งปันขั้นตอนการร่วมสร้างสรรค์ผลงาน และแบ่งปันประสบการณ์ความร่วมมือ ผ่านการประยุกต์ใช้สื่อกลางอย่างค็อกเทล ในโซนแกลอรี่จัดแสดง Tentacles (ภาพจาก MOC)

MOC วันที่ 17 ธ.ค. 62

 

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. กระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture, MOC) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า ฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศไทย ได้ส่งเสริมให้ศิลปินนานาชาติ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ร่วมพบปะและประสานความร่วมมือในการสร้างสรรค์ โดยเติมบริบทของไต้หวันลงไป ผ่านเวทีแลกเปลี่ยน สื่อสาร และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างศิลปินชาวไต้หวันและชาวไทย จนในที่สุดบังเกิดเป็นผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัย


 

นอกจากนี้ MOC แถลงว่า ความร่วมมือในการสร้างสรรค์ผลงาน ระหว่างศิลปินชาวไต้หวันและประเทศแถบอาเซียน กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในช่วงหลายปีมานี้ อาทิ โปรเจคนิรนาม (No Name Project) ซึ่งเป็นโปรเจคที่มุ่งเน้นให้เห็นถึง ขั้นตอนความร่วมมือในการสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านการแลกเปลี่ยนแนวคิด และสื่อสารเพื่อความให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ระหว่างศิลปินชาวไต้หวันและชาวไทย ซึ่งได้เชิญนายหวงติ่งหยุน ศิลปินชาวไต้หวัน และ Henry Tan ศิลปินชาวไทย โดยทั้ง 2 ศิลปินผู้นี้ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัย ในรูปแบบสหวิทยาการ เดินทางมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความร่วมมือ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 7 ธ.ค. และการประชุมเสวนาอีกหนึ่งรอบ


 

โปรเจคนี้มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงแบบสหวิทยาการ ซึ่งการสร้างสรรค์ประเภทนี้ ได้รับความนิยมในไต้หวันเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เนื่องจากศิลปินไม่ต้องถูกจำกัดอยู่ในกรอบศิลปะแบบเดิมๆ อีกต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับอัตลักษณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของไทยในปัจจุบัน ศิลปินจากทั้งสองชาติต่างประยุกต์ใช้แนวทางสร้างสรรค์ในรูปแบบนอกกรอบ โดยใช้ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของตนเป็นพื้นฐาน ในการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง ศิลปะด้านโสตศิลป์ และศิลปะการเคลื่อนไหว เพื่อร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนกับภาคประชาสังคม นอกจากนี้ โปรโจคดังกล่าว ยังคาดหวังที่จะแบ่งปันประสบการณ์ ในการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินชาวไต้หวันและชาวไทยอย่างใกล้ชิดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  และคาดหวังที่จะเชื่อมโยงระหว่างกันในเชิงลึกต่อไป ตลอดจนรวบรวมรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัย ในระหว่างการดำเนินการตามโปรเจคดังกล่าว