ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คณะการแสดง HORSE ของไต้หวัน และโรงละครช้างของไทย ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสื่อในการถ่ายทอดมหากาพย์รามายณะ
2020-01-22

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศไทย คณะการแสดง HORSE ของไต้หวัน โรงละครช้างของไทย และครูนาฏศิลป์ทั้ง 4 ท่าน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน (ภาพจากกระทรวงวัฒนธรรม)

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศไทย คณะการแสดง HORSE ของไต้หวัน โรงละครช้างของไทย และครูนาฏศิลป์ทั้ง 4 ท่าน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน (ภาพจากกระทรวงวัฒนธรรม)

กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 20 ม.ค. 63

 

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. กระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนด้านศิลปะการแสดง ระหว่างไต้หวัน – ไทย และส่งเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ของประเทศอาเซียน ทางฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานตัวแทนไต้หวันประจำประเทศไทย จึงได้เชิญคณะการแสดง HORSE ของไต้หวัน และโรงละครช้างของไทย ประสานความร่วมมือระหว่างกัน โดยในปี 2020 ได้ติดต่อเชิญครูนาฏศิลป์จาก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย กัมพูชา เมียนมา และอินโดนีเซีย เดินทางมาร่วมสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง ที่มีโครงเรื่องมาจากมหากาพย์ ที่คุ้นเคยกันดีในประเทศอาเซียน โดยนำเสนอเรื่องราว ภายใต้ชื่อ “เปิดตำนานมหากาพย์รามายณะ” ซึ่งนับเป็นจุดเริ่้มต้นของการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและอาเซียน รวมถึงโครงการความร่วมมือทางศิลปะการแสดง ที่ผสมผสานระหว่างมุมมองร่วมสมัยและมุมมองแบบดั้งเดิม โดยในระหว่างวันที่ 16 – 19 ม.ค. ครูทั้ง 4 ท่านได้ร่วมจัดกิจกรรมเวิร์คชอปและฝึกซ้อมการแสดงขึ้นที่โรงละครช้าง และมีกำหนดการเดินทางมาจัดการแสดงรอบแรกขึ้น ในงาน Asia Connection ณ โรงละครและหอแสดงดนตรีแห่งชาติ กรุงไทเป ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมของปีนี้


 

โดยกิจกรรมครั้งนี้ ได้เชิญครูนาฏศิลป์ทั้ง 4 ท่าน ที่มาจากไทย กัมพูชา เมียนมา และอินโดนีเซีย มาสวมบทบาท 4 ตัวละครสำคัญในมหากาพย์รามายณะ โดย Mr. Shwe Man Win Maung ครูนาฏศิลป์จากเมียนมา สวมบทบาทเป็นพระราม ที่เชื่อกันว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ ส่วน Ms. Sophiline Cheam Shapiro ครูนาฏศิลป์จากกัมพูชา สวมบทบาทเป็นนางสีดา ดร.จุลชาติ อรัณยะนาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากไทย สวมบทบาทเป็นราวณะ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามว่าทศกัณฐ์ และ Mr. Sardono W. Kusumo ครูนาฏศิลป์จากอินโดนีเซีย สวมบทบาทเป็นหนุมาน


 

จากการวิจัยมหากาพย์ “รามายณะ” ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล และความร่วมมือกันของบรรดาศิลปินในอาเซียน โดยมีไต้หวันเป็นเวทีในการจัดแสดงผลงานศิลปะการแสดงได้อย่างเสรี ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ครูนาฏศิลป์ทั้ง 4 ประเทศ ได้ประสานความร่วมมือระหว่างกัน และได้เดินทางมาร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปและฝึกซ้อมการแสดง ที่โรงละครช้างในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้บริบทของฉากและตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไป ได้สะท้อนให้เห็นถึงอีกรูปลักษณ์ที่น่าสนใจของศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และการพัฒนาประวัติศาสตร์ทางการเมืองในประเทศอาเซียน ส่วนนายพิเชษฐ์ กลั่นชื่น และนายเฉินอู่คัง ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายเรื่องเล่า เข้าร่วมเสวนากับเหล่าครูนาฏศิลป์ ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างมุมมองแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย