ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันขอบคุณประเทศพันธมิตร และประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ที่ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างเต็มที่ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ WHO
2020-02-07

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา กต.ไต้หวันได้แถลงการณ์ขอบคุณประเทศพันธมิตรและประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ที่ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างเต็มที่ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ WHO (ภาพจาก MOFA)

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา กต.ไต้หวันได้แถลงการณ์ขอบคุณประเทศพันธมิตรและประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ที่ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างเต็มที่ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ WHO (ภาพจาก MOFA)

MOFA วันที่ 6 ก.พ. 63

 

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า การประชุมคณะกรรมการบริหาร (The Executive Board, EB) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ครั้งที่ 146 มีกำหนดการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 8 ก.พ. ณ สำนักงานใหญ่ WHO ที่ตั้งอยู่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตราบจนเมื่อเวลา 21:00 ของวันที่ 6 ก.พ. ตามเวลากรุงไทเป ได้มีประเทศพันธมิตรไต้หวันทั้งหมด 8 ประเทศ ช่วยเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนไต้หวัน ประกอบด้วย ราชอาณาจักรเอสวาตีนีได้กล่าวถึงการสนับสนุนไต้หวันรวม 2 ครั้ง ปารากวัย สาธารณรัฐกัวเตมาลากล่าวสนับสนุนไต้หวันรวม 2 ครั้งเช่นกัน สาธารณรัฐเฮติ สาธารณรัฐฮอนดูรัส เซนต์คิตส์และเนวิส สาธารณรัฐนาอูรู และสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนีที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐสมาชิกทั้ง 27 ประเทศของสหภาพยุโรป (EU) อังกฤษ ออสเตรีย นิวซีแลนด์ และเบลเยี่ยม ที่ได้ร่วมเป็นปากเสียงให้กับไต้หวันในที่ประชุมฯ อย่างหนักแน่น โดยเน้นย้ำถึงหลักการการยอมรับซึ่งกันและกัน และแสดงความคิดเห็นว่า ระบบป้องกันโรคระบาดของทั่วโลกจะปรากฎช่องโหว่ไม่ได้ อันสอดคล้องกับแผนผลักดันเพื่อเข้าร่วมการประชุมฯ ของไต้หวันด้วย


 

โดยจำนวนเสียงสนับสนุนในที่ประชุม EBในครั้งนี้ มีจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่า ประชาคมโลกได้ให้การยอมรับโดยทั่วกัน ถึงความจำเป็นและความสมเหตุสมผลที่ไต้หวันต้องการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน WHO กต.ไต้หวันขอแสดงความขอบคุณประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศ ที่ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนไต้หวันด้วยใจจริง


 

ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า หลายประเทศต่างร่วมกันกล่าวสนับสนุนไต้หวันอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในรายการที่ 15 ตามตารางการประชุมของวันที่ 6 ก.พ. ที่ได้ระบุไว้ว่า “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ : เตรียมพร้อมและตอบสนอง” (Public health emergencies: preparedness and response) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาคมโลกต่างจับตาให้ความสนใจกับ การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ของประเทศจีน พร้อมเห็นด้วยกับความเร่งด่วนและความจำเป็น ในการเชิญให้ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในกลไกสาธารณสุขระหว่างประเทศ และการป้องกันโรคระบาดทั่วโลก ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโปงให้เห็นว่า นับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาดเป็นต้นมา คำกล่าวอ้างของรัฐบาลจีนและ WHO ที่ระบุว่า พวกเขาได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือกับไต้หวันอย่างเต็มที่ ในประเด็นสถานการณ์การระบาดล่าสุดของเชื้อไวรัสฯ ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเลยแม้แต่น้อย


 

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมานี้ Mr. Alex Azar II รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา Mr. Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีแคนาดา นายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรป (EEAS) องค์การทางเศรษฐกิจและการเมืองของอเมริกากลาง (Central American Integration System, SICA) รัฐสภาอเมริกากลาง (Central American Parliament, PARLACEN) รวมถึงสมาชิกรัฐสภา นักการเมือง และผู้นำทางความคิดของหลายประเทศ ต่างได้ให้การสนับสนุนไต้หวัน เข้าเป็นส่วนหนึ่งใน WHO ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอย่างเปิดเผย กต.ไต้หวันจึงขอแสดงความขอบคุณมา ณ ที่นี่ด้วย