ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กต.ไต้หวันขอบคุณสโมสรฟอร์โมซาที่ส่งสารเรียกร้อง WHO ให้ห่วงใยประเด็น WHO จัดไต้หวัน เป็นเขตแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน
2020-02-13

เมื่อวันที่ 12 ก.พ. กต.ไต้หวันแสดงความขอบคุณสโมสรฟอร์โมซาที่ส่งสารเรียกร้องต่อ WHO เพื่อแสดงความห่วงใยอย่างจริงจัง ต่อประเด็นที่ WHO กำหนดให้ไต้หวันเป็นพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน (ภาพจาก MOFA)

เมื่อวันที่ 12 ก.พ. กต.ไต้หวันแสดงความขอบคุณสโมสรฟอร์โมซาที่ส่งสารเรียกร้องต่อ WHO เพื่อแสดงความห่วงใยอย่างจริงจัง ต่อประเด็นที่ WHO กำหนดให้ไต้หวันเป็นพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน (ภาพจาก MOFA)

MOFA วันที่ 12 ก.พ. 63

 

เมื่อวันที่ 12 ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า “สโมสรฟอร์โมซา” (Formosa Club) ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานกลุ่มพันธมิตรไต้หวันในรัฐสภายุโรปแบบข้ามชาติ ได้แสดงความห่วงใยอย่างจริงจังต่อ ประเด็นที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ไต้หวันเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีน ส่งผลให้สาธารณรัฐอิตาลียกเลิกทุกเที่ยวบินที่บินตรงระหว่างไต้หวัน – อิตาลี พร้อมส่งสารถึงนายแพทย์ อัดฮานอม กีเบรเยซุ (Tedros Adhanom Ghebreyesus) เลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 11 ก.พ. เรียกร้องให้ WHO แก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว กต.ไต้หวันขอแสดงความขอบคุณที่สมาชิกแกนนำของ “สโมสรฟอร์โมซา” ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ยังได้เรียกร้องให้ WHO แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว


 

สาระสำคัญในสารฉบับดังกล่าวระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19 ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ถูกจัดให้อยู่ในระดับ “รุนแรงมาก” การที่ WHO จัดไต้หวันเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสดังกล่าวในประเทศจีน นอกจากจะไม่ได้มีส่วนช่วยในการสกัดกั้นโรคระบาดแล้ว ยังทำให้ประชาคมโลกเข้าใจผิด โดยเฉพาะอิตาลี ที่ได้ประกาศยกเลิกทุกเที่ยวบินที่บินตรงระหว่างไต้หวัน – อิตาลี ส่งผลกระทบต่อไต้หวันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การที่ไต้หวันไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมด้านเทคโนโลยีของ WHO อย่างสมบูรณ์ ไม่เพียงส่งผลให้เครือข่ายสาธารณสุขและความปลอดภัยทั่วโลก เกิดช่องโหว่อย่างรุนแรง ทั้งยังเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพของไต้หวันอีกด้วย จึงได้เรียกร้องให้ WHO แก้ไขปัญหาข้างต้นโดยเร็ว พร้อมสนับสนุนไต้หวัน ให้เข้ามีส่วนร่วมใน WHO ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อร่วมกันสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว


 

หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาของอิตาลี อังกฤษ รัฐสภายุโรป ลัตเวีย และโปรตุเกส ที่เป็นพันธมิตรของไต้หวัน ได้ทยอยส่งสารเรียกร้องต่อเลขาธิการใหญ่ WHO เพื่อร่วมแสดงความห่วงใยต่อกรณีดังกล่าวของไต้หวันแล้ว สมาชิกรัฐสภาใน “สโมสรฟอร์โมซา” ก็ร่วมเป็นปากเสียงให้กับไต้หวันด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมานี้ ประเทศในยุโรปที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันกับไต้หวัน ต่างระดมกำลังกันให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศ อย่างกระตือรือร้น หลังจากนี้ กต.ไต้หวันจะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไป เพื่อขยายพื้นที่ให้ไต้หวันได้เข้ามีส่วนร่วมใน WHO ในเร็ววัน ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการอุดช่องโหว่ของเครือข่ายการป้องกันโรคระบาดทั่วโลก อย่างเต็มประสิทธิภาพ