ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
กระทรวงศึกษาธิการเผย สื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รูปแบบดิจิทัลอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องระหว่างเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
2020-02-25

กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันแถลงว่า ได้อัปโหลดสื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รูปแบบดิจิทัลขึ้นบนเว็บไซต์ เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 (ภาพจากกระทรวงศึกษาธิการ)

กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันแถลงว่า ได้อัปโหลดสื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รูปแบบดิจิทัลขึ้นบนเว็บไซต์ เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 (ภาพจากกระทรวงศึกษาธิการ)

กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 24 ก.พ. 63

 

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทุกสถาบันการศึกษาในไต้หวัน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปลายลงมา ต่างเลื่อนวันเปิดภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษา 2019 ออกไปเป็นวันที่ 25 ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการจึงอัปโหลดสื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รูปแบบดิจิทัลขึ้นบน “เว็บไซต์เพื่อการศึกษาสำหรับบุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” (New Residents Children's Education Website) เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ในระหว่างเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19


 

กระทรวงศึกษาธิการระบุว่า เนื้อหาของสื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย 7 ภาษา ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งสอนโดยใช้เสียงภาษาจีนและภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ควบคู่กัน และยังได้ใช้วิธีนี้ในการจัดทำสื่อการสอนเชิงสนทนา โจทย์ข้อสอบ และการแต่งเพลง นอกจากนี้สื่อการสอนรูปแบบดิจิทัลยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่ต้องเปลืองกระดาษ สามารถเชื่อมต่อกับสื่อมัลติมีเดียได้ และที่พิเศษคือสามารถเปิดไฟล์ดูผ่านมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ได้ด้วย


 

กระทรวงศึกษาธิการชี้ว่า สื่อการสอนรูปแบบดิจิทัลนอกจากจะมีองค์ประกอบของตัวหนังสือแล้ว ยังสามารถเติมแต่งองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียได้ อาทิ รูปภาพ เสียง วิดีโอ เป็นต้น โดยสื่อการสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้จัดทำขึ้น เพื่อผลักดันหลักสูตรภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี เพื่อให้นักเรียนที่มีความสนใจในภาษาอาเซียนและประชาชนทั่วไปได้รับประโยชน์ร่วมกัน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยจงยาง (National Central University, NCU) และสถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ (Institute for Information Industry, III) ร่วมกันจัดทำสื่อการสอนรูปแบบดิจิทัล รวม 7 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาเวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งแต่ละภาษาจัดทำออกมาทั้งหมด 8 ระดับ โดยเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ตั้งแต่เล่มที่ 1 จนถึงเล่มที่ 8 ซึ่งขณะนี้ได้อัปโหลดขึ้นสู่โซนหลักสูตรดิจิทัลบน “เว็บไซต์เพื่อการศึกษาสำหรับบุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการฟรี ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดังกล่าวได้