ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
สมาชิกรัฐสภายุโรปและรัฐสภาเยอรมนี รวม 127 คน ทยอยส่งหนังสือเพื่อให้การชื่นชมยอมรับในรูปแบบการป้องกันโรคระบาดของไต้หวัน พร้อมสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมใน WHO
2020-04-13

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมากต. ไต้หวันแถลงว่า สมาชิกรัฐสภายุโรปและรัฐสภาเยอรมนี รวม 127 คน ทยอยส่งหนังสือให้การชื่นชมยอมรับในรูปแบบการป้องกันโรคระบาดของไต้หวัน พร้อมสนับสนุนให้ไต้หวันเข้าร่วมใน WHO (ภาพจาก MOFA)

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมากต. ไต้หวันแถลงว่า สมาชิกรัฐสภายุโรปและรัฐสภาเยอรมนี รวม 127 คน ทยอยส่งหนังสือให้การชื่นชมยอมรับในรูปแบบการป้องกันโรคระบาดของไต้หวัน พร้อมสนับสนุนให้ไต้หวันเข้าร่วมใน WHO (ภาพจาก MOFA)

MOFA วันที่ 11 เม.ย. 63

 

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า สืบเนื่องจากการที่ไต้หวันถูกแบ่งแยกและได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากองค์การอนามัยโลก (WHO) มาเป็นระยะเวลานาน กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจในระยะนี้ และเมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา สมาชิกของพรรคการเมืองต่างๆ ของรัฐสภายุโรป ( European Parliament) รวม 67 คน ได้ร่วมกันส่งหนังสือเรียกร้องต่อ Mr. Josep Borrell ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรป (EU) ด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (High Representative of the Union for Foreign Affairs and Security Policy) เมื่อรวมกับเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา สมาชิกจากพรรคการเมืองต่างๆ ของรัฐสภาแห่งสหพันธ์สาธารณเยอรมนี รวม 60 คนได้ร่วมส่งหนังสือเรียกร้องต่อนายแพทย์ ทีโดรส อัดฮานอม กีเบรเยซุ (Tedros Adhanom Ghebreyesus) เลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทำให้กล่าวโดยสรุปได้ว่า มีบุคคลสำคัญทางการเมืองในประเทศแถบยุโรปกว่า 127 คน ได้ร่วมเป็นกระบอกเสียงสนับสนุนไต้หวันอย่างเต็มที่ ในการเข้ามีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศ โดยพวกเขาได้ชื่นชมและให้การยอมรับรูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ของไต้หวัน ว่าสมควรที่ทั่วโลกจะนำไปใช้อ้างอิงและยึดเป็นต้นแบบ พร้อมแสดงความเห็นว่า การที่ WHO กีดกันไม่ให้ไต้หวันเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ถือเป็นการแบ่งแยกและไม่เป็นธรรมต่อประชาชนชาวไต้หวัน จึงขอแสดงความสนับสนุนให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นพ. ทีโดรสฯ จะยึดมั่นในจุดยืนความเป็นมืออาชีพ เชิญให้ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมฯ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของ WHO ที่ว่า “สุขภาพดีถ้วนหน้า” (Health for all) และ “ไม่ละทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง” (Leave no one behind)


 

กต.ไต้หวันขอแสดงความขอบคุณพลังเสียงสนับสนุนของบุคคลสำคัญทางการเมืองในประเทศแถบยุโรปทั้ง 127 คนด้วยใจจริง การที่พวกเขามีความรู้สึกเห็นใจที่ประชาชนชาวไต้หวันต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกแบ่งแยกจาก WHO มาเป็นเวลานาน เห็นได้ชัดจากการที่นพ. ทีโดรสฯ พยายามสร้างข่าวลือโจมตีไต้หวันอย่างรุนแรงในช่วงก่อนหน้านี้ กต.ไต้หวันจึงขอเรียกร้องให้ WHO ยึดมั่นในจุดยืนของความเป็นมืออาชีพและทางสายกลาง และอย่ามองข้ามสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุขของประชาชนชาวไต้หวัน 23 ล้านคน พร้อมทั้งขอให้ปฏิบัติตามหลักการ “ไม่ละทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลัง” ของ WHO อย่างเป็นรูปธรรม


 

Mr. Ivan Stefanec แกนนำผู้เรียกร้องให้รัฐสภายุโรปส่งหนังสือเรียกร้องต่อ Mr. Josep กล่าวว่า การที่ WHO กีดกันไม่ให้ไต้หวันเข้าร่วม เนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อประชาชนชาวไต้หวัน 23 ล้านคน Ms. Anita Schaefer แกนนำผูู้สนับสนุนให้สมาชิกรัฐสภาเยอรมนีร่วมส่งหนังสือถึงนพ. ทีโดรสฯ กล่าวว่า การแบ่งแยกชาวไต้หวันของ WHO ไม่สอดคล้องกับแนวคิดค่านิยมของ UN และ WHO ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างให้การยอมรับในมาตรการป้องกันการระบาดแบบล่วงหน้าของไต้หวันในการรับมือกับโรคระบาดรุนแรงในครั้งนี้ พร้อมแสดงความเห็นพ้องตรงกันว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศและการแบ่งปันข้อมูล เป็นปัจจัยสำคัญที่จะการหยุดยั้งโรคระบาดนี้ไว้ได้ ประสบการณ์การป้องกันโรคระบาดของไต้หวัน สมควรที่ทั่วโลกจะนำไปใช้อ้างอิงและยึดเป็นต้นแบบ ตลอดจนให้การสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลไก และกิจกรรมต่างๆ ของ WHO ในฐานะผู้สังเกตการณ์ รวมถึง “เครือข่ายเตือนภัยและรับมือโรคระบาดทั่วโลก” (Global Outbreak Alert & Response Network, GOARN) ในขณะนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทั่วโลกต้องประสานความร่วมมือระหว่างกัน โดยการส่งเสริมให้ไต้หวันเข้าร่วมในระบบสาธารณสุขระหว่างประเทศ รวมไปถึงสร้างความร่วมมือในการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ที่จำเป็น  และการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการต่อกรกับโรคโควิด – 19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลกอย่างมีประสิทธิภาพ