ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
คกก. กิจการชนพื้นเมืองไต้หวัน อนุมัติงบประมาณจำนวนเงิน 57.81 ล้านเหรียญไต้หวัน อุดหนุนการบริหารขององค์กรส่งเสริมภาษาชนพื้นเมืองไต้หวัน
2020-05-26
New Southbound Policy。คกก.กิจการชนพื้นเมืองอนุมัติงบประมาณโครงการฟื้นฟูภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์และจัดตั้งองค์กรส่งเสริมภาษาชนพื้นเมืองไต้หวัน เป็นจำนวนเงิน 57.81 ล้านเหรียญไต้หวัน ในภาพคือพิธีเปิดป้ายศูนย์การศึกษาภาษาชนพื้นเมืองในมหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตง (National Pingtung University, NPTU)
คกก.กิจการชนพื้นเมืองอนุมัติงบประมาณโครงการฟื้นฟูภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์และจัดตั้งองค์กรส่งเสริมภาษาชนพื้นเมืองไต้หวัน เป็นจำนวนเงิน 57.81 ล้านเหรียญไต้หวัน ในภาพคือพิธีเปิดป้ายศูนย์การศึกษาภาษาชนพื้นเมืองในมหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตง (National Pingtung University, NPTU)

คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมือง วันที่ 26 พ.ค. 63

 

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. คณะกรรมการกิจการชนพื้นเมือง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า ทาง คกก.ฯ ได้อนุมัติงบประมาณโครงการฟื้นฟูภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์และจัดตั้งองค์กรส่งเสริมภาษาชนพื้นเมืองไต้หวัน เป็นจำนวนเงิน 57.81 ล้านเหรียญไต้หวัน โดยจัดสรรให้องค์กรส่งเสริมภาษาชนพื้นเมืองไต้หวันแห่งละ 3 ล้านเหรียญไต้หวัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้การบริหารงานขององค์กรฯ และภารกิจการฟื้นฟูภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์ ดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยการผนึกกำลังของกลุ่มชนในการพัฒนาภาษาของแต่ละชนเผ่าจากล่างสู่บน กระตุ้นให้ชนพื้นเมืองเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาภาษาประจำถิ่นของตน ส่งเสริมการพัฒนาภาษาของแต่ละชนเผ่าให้เป็นไปอย่างครอบคลุม


 

จากข้อมูลของ คกก.กิจการชนพื้นเมืองระบุไว้ว่า ในปัจจุบันภาษาชนพื้นเมืองของไต้หวันที่ได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีทั้งหมด 16 ภาษา


 

นาย Icyang Parod ประธาน คกก.กิจการชนพื้นเมือง กล่าวว่า เพื่อเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นฟูภาษาชนพื้นเมืองขององค์กรส่งเสริมภาษาฯ ตลอดจนปรับปรุงแนวทางการผลักดันและฟื้นฟูภาษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2019 คกก.กิจการชนพื้นเมืองได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนผลสัมฤทธิ์ระหว่างองค์กรส่งเสริมภาษาฯ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ อีกทั้งในระหว่างวันที่ 22 – 23 ก.พ. ปี 2020 คกก.ฯ ยังได้จัดการประชุมพัฒนาภาษาชนพื้นเมือง ครั้งที่ 1 ซึ่งได้ร่วมอภิปรายกันถึงการแบ่งงานและวิธีการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรส่งเสริมภาษาฯ รัฐบาลท้องถิ่นทุกระดับ มูลนิธิพัฒนาภาษาชนพื้นเมือง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และอาจารย์สอนภาษาชนพื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมภารกิจที่สำคัญต่างๆ ตลอดทั้งปี 2020 เพื่อวางแผนจัดตั้งแพลตฟอร์มและกลไกความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพัฒนาภาษาชนพื้นเมือง อนึ่ง ยังได้เสริมสร้างการประชาสัมพันธ์ของภาษาชนพื้นเมืองแต่ละภาษา ประกอบด้วย การพัฒนาผลงานวิจัย การจัดตั้งระบบบริหารทรัพยากร การแข่งขันภาษาชนพื้นเมือง และการจัดตั้งชุมชนแลกเปลี่ยนภาษาชนพื้นเมือง เป็นต้น รวมไปถึงจัดตั้งค่ายฝึกอบรมภาษาชนพื้นเมือง และดำเนินการฟื้นฟูภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์ใน “ระบบอาจารย์ - ศิษย์” อย่างต่อเนื่อง