ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รมว.ต่างประเทศฯ ไต้หวัน เข้าร่วมการประชุมสัมมนารูปแบบออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “Brussels Forum” ที่จัดขึ้นโดยกองทุน GMF ของสหรัฐฯ
2020-06-11
New Southbound Policy。เมื่อช่วงค่ำเวลา 21:00 น.ของวันที่ 9 มิ.ย. นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารูปแบบออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “Brussels Forum” ที่จัดขึ้นโดยกองทุน GMF ซึ่งเป็นคลังสมองของทางการวอชิงตัน (ภาพจาก MOFA)
เมื่อช่วงค่ำเวลา 21:00 น.ของวันที่ 9 มิ.ย. นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารูปแบบออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “Brussels Forum” ที่จัดขึ้นโดยกองทุน GMF ซึ่งเป็นคลังสมองของทางการวอชิงตัน (ภาพจาก MOFA)

MOFA วันที่ 10 มิ.ย. 63

 

เมื่อช่วงค่ำเวลา 21:00 น.ของวันที่ 9 มิ.ย. นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารูปแบบออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “Brussels Forum”ที่จัดขึ้นโดยกองทุนเยอรมัน มาร์แชลล์ (German Marshall Fund of the United States, GMF) ซึ่งเป็นคลังสมองของทางการวอชิงตัน ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “สถานการณ์หลังโควิด – 19 : แสวงหายุทธศาสตร์ในการต่อกรกับจีน” (The Post Pandemic Order : Navigating Approaches to China) โดยผู้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย Ms. Marsha Blackburn และ Mr. Chris Coons สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ และ Mr. Reinhard Butikofer สมาชิกรัฐสภายุโรป โดยรมว.อู๋ฯ ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของไต้หวันในการต่อต้านแรงกดดันจากจีน และการก้าวขึ้นสู่บทบาทสำคัญในกระบวนการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิตสินค้าเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดโลก รวมไปถึงความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือประชาคมโลกในการรับมือกับความท้าทายระดับโลก


 

รมว.อู๋ฯ เน้นย้ำว่า ปัจจุบัน ในสังคมประชาธิปไตยและเผด็จการ นอกจากจะเป็นมีการแข่งขันในรูปแบบที่แตกต่างกันแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อค่านิยมและวิถีชีวิตในแนวทางที่ต่างกันด้วย ตลอดหลายปีมานี้ จีนเป็นตัวก่อปัญหาให้แก่ภูมิภาคหลายต่อหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างจีน – อินเดีย การเคลื่อนไหวทางทหารในทะเลจีนใต้ ตลอดจนเมื่อเร็วๆนี้ ภาคประชาชนจีนเรียกร้องให้ผ่าน “ญัตติกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับฮ่องกง” ซึ่งเป็นการสร้างความกดดันให้หลายประเทศในภูมิภาคซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไต้หวันนับเป็นประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดันทางการทหารและการทูตจากจีนมาโดยตลอด โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ ประกอบกับการที่ไต้หวันเป็นประเทศแนวหน้าที่ต้องเผชิญกับอำนาจเผด็จการของจีน อย่างไรก็ตาม ไต้หวันจะยังคงยึดมั่นในความเป็นประชาธิปไตย นำพาความหวังมาสู่ประชาคมโลก


 

ผู้เข้าร่วมการประชุมต่างทยอยกล่าวว่า จากสถานการณ์โรคโควิด – 19 ในครั้งนี้ ยิ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการขาดแคลนเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ซึ่งเกิดจากการที่ทั่วโลกล้วนพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้จากจีนมากเกินไป โดยในส่วนนี้ รมว.อู๋ฯ กล่าวว่า ไต้หวันสามารถก้าวขึ้นสู่บทบาทสำคัญในกระบวนการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิตสินค้าเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เพื่อป้อนวัตถุดิบสำคัญและเทคโนโลยีการผลิตให้แก่นานาประเทศ อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในครั้งนี้ นอกจากจะสามารถทำให้ทั่วโลกประจักษ์ถึงศักยภาพด้านการป้องกันโรคระบาดและสมรรถนะในด้านการผลิตของไต้หวันแล้ว ยังได้รับเสียงสนับสนุนจากอีกหลายประเทศ ที่ให้การสนับสนุนไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมใน “การประชุมสมัชชาอนามัยโลก” (WHA) โดยเร็ววัน