ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันป้องกันการค้ามนุษย์ได้ยอดเยี่ยม จัดให้อยู่ในกลุ่ม Tier 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 11
2020-06-30
New Southbound Policy。กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศผลการประเมินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั่วโลก ปี 2020 จากการจัดอันดับ 180 กว่าประเทศทั่วโลก ไต้หวันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Tier 1 (ภาพจากเว็บไซต์ทางการของกต. สหรัฐฯ)
กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศผลการประเมินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั่วโลก ปี 2020 จากการจัดอันดับ 180 กว่าประเทศทั่วโลก ไต้หวันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Tier 1 (ภาพจากเว็บไซต์ทางการของกต. สหรัฐฯ)

กระทรวงมหาดไทย วันที่ 28 มิ.ย. 63

 

ผลสัมฤทธิ์ด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ของไต้หวัน ได้รับการยอมรับจากนานาชาติอีกครั้ง กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศผลการประเมินว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั่วโลก ปี 2020 จากการจัดอันดับ 180 กว่าประเทศทั่วโลก ไต้หวันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทียร์ 1 (Tier 1) ซึ่งเป็นที่ยอมรับติดต่อกันเป็นเวลากว่า 11 ปีแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสานความร่วมมือกันอย่างแนบแน่น สำแดงพลังแห่งความสามัคคี นับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการป้องกันการค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมในระดับนานาชาติ


 

กระทรวงมหาดไทย (Ministry of the Interior, MOI) แถลงว่า หลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมสากลที่ไต้หวันธำรงรักษาไว้ตลอดมา ภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปรามปรามการค้ามนุษย์ถือเป็นดัชนีชี้วัดการสร้างหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เมื่อปี 2007 ในขณะที่ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) นั้น ปธน.ไช่ฯ ได้กำกับดูแลการจัดตั้ง “รายงานคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของสภาบริหาร” โดยได้ผนวกทรัพยากรของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมเรียกประชุมเพื่อประสานงานและพิจารณาทบทวนประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นวาระประจำ ถือเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับแนวทางการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพของไต้หวันในปัจจุบัน นอกจากนี้ กฎหมายที่ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ได้บัญญัติขึ้น ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณารับรองจากสภานิติบัญญัติเรียบร้อยแล้ว และเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปีนี้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหลักชัยที่สำคัญของการสร้างหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนของไต้หวันด้วย
 

 

MOI ชี้ว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2019 เป็นต้นมา สภาบริหารได้ต่อยอดจากแพลตฟอร์มรายงาน คกก. ประสานงานฯ ข้างต้น พร้อมร่วมหารือเพื่อแสวงหาแนวทางการรับมือในประเด็นการค้ามนุษย์ โดยได้เสนอ “แผนปฏิบัติการคุ้มครองใหม่ ปี 2019 – 2020” และจัดให้หน่วยงานส่วนกลางที่เข้าร่วม เพิ่มจาก 16 แห่ง เป็น 19 แห่ง ประกอบด้วย สภาตุลาการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการการเกษตร เป็นต้น พร้อมด้วยกลุ่มภาคเอกชน ซึ่งสมาชิกทั้งหมดได้ร่วมกันแบกรับภาระหน้าที่และดำเนินภารกิจอย่างเต็มกำลัง พร้อมร่วมแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ตลอดจนผลักดันภารกิจการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างครอบคลุม


 

สำหรับคำแนะนำของรายงานการประเมินของสหรัฐฯ ประจำปีนี้ มีดังนี้ ไต้หวันควรเร่งเสริมสร้างการจัดการบริหารเรือประมงอย่างมีระบบ โดยเฉพาะเรือประมงในน่านน้ำระยะไกล ดำเนินการสัมภาษณ์ ระบุตัว และคุ้มครองแรงงานประมง เร่งแก้ไขนโยบายและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระงับการเก็บค่าบริการและค่านายหน้าสำหรับแรงงานต่างชาติ และการนำเอาความคิดเห็นของภาคประชาสังคมมาเป็นองค์ประกอบในกระบวนการประเมินของนายหน้าแรงงาน เป็นต้น โดยรัฐบาลจะติดตามความคืบหน้าที่ได้ระบุไว้ใน “รายงานคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของสภาบริหาร” ต่อไป อีกทั้ง MOI ได้มีกำหนดการจัดทำแผนปฏิบัติการคุ้มครองใหม่ 2.0 ให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อไป