ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
รมว.ต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ตอบรับคำเชิญของสมาคม ECFR คลังสมองที่สำคัญของยุโรป เข้าร่วมแสดงปาฐกถา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
2020-07-13
New Southbound Policy。เมื่อวันที่ 9 ก.ค. นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ตอบรับคำเชิญของสมาคม ECFR คลังสมองที่สำคัญของยุโรป เข้าร่วมแสดงปาฐกถา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (ภาพจาก ECFR)
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. นายอู๋เจาเซี่ย รมว.ต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ตอบรับคำเชิญของสมาคม ECFR คลังสมองที่สำคัญของยุโรป เข้าร่วมแสดงปาฐกถา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (ภาพจาก ECFR)

MOFA วันที่ 10 ก.ค. 63

 

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. นายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ตอบรับคำเชิญของ “สมาคมความสัมพันธ์ทางการทูตในยุโรป” (European Council on Foreign Relations, ECFR) คลังสมองที่สำคัญของภูมิภาคยุโรป ที่ตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี โดยรมว. อู๋ฯ ได้เข้าร่วมแสดงปาฐกถาผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ภายใต้หัวข้อ “เล็งเห็นแนวทางการธำรงรักษาประชาธิปไตยทั่วโลก ผ่านประสบการณ์การสกัดกั้นโรคระบาดของไต้หวัน” ในระหว่างการประชุม รมว.อู๋ฯ ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และปัจจัยสำคัญที่ทำให้การป้องกันโรคระบาดของไต้หวันประสบความสำเร็จ อีกทั้งบรรยายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างรูปแบบไต้หวันและ “การประชาสัมพันธ์ตัวเองในวงกว้าง” ของจีน ตลอดจนเรียกร้องให้พันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ร่วมจับมือปกป้องค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และประสานความร่วมมือระหว่างกันในเชิงลึกต่อไป


 

การประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในครั้งนี้ มี Dr. Janka Oertelผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาโครงการเอเชียของสมาคม ECFR ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยมีนักการเมือง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปเข้าร่วมรับฟังผ่านช่องทางออนไลน์ หลังเสร็จสิ้นการแสดงปาฐกถาแล้ว รมว.อู๋ฯ ได้ตอบข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมการประชุม โดยได้ชี้แจงถึงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ไต้หวันมีต่อสถานการณ์ทั่วโลก อาทิ สถานการณ์ในฮ่องกง การขยายอิทธิพลของจีน ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – สหรัฐอเมริกา และความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน – ยุโรป ซึ่งบรรยากาศการประชุมหารือเป็นไปอย่างคึกคัก รมว. อู๋ฯ เน้นย้ำว่า การข่มขู่ของจีนนอกจากจะเป็นปัญหาระดับภูมิภาคแล้ว ประชาคมโลกที่ยึดหลักประชาธิปไตยก็จำเป็นต้องร่วมเผชิญหน้าด้วย และมิสามารถยอมจำนนต่ออำนาจเผด็จการได้ ซึ่งฮ่องกงถือเป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน รมว.อู๋ฯ ชี้ว่า ไต้หวันเป็นประเทศแนวหน้าในการต่อกรกับจีน ซึ่งควรค่าแก่การที่ทั่วโลกจะจับตาและให้การสนับสนุน อนึ่ง ไต้หวันให้คำมั่นว่าพวกเราจะเป็นพลังแห่งความดีให้แก่ประชาคมโลกต่อไป ขณะเดียวกัน ก็จะเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกกับพันธมิตรที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันต่อไป


 

การแสดงปาฐกถาของรมว.อู๋ฯ ในครั้งนี้ นับเป็นการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ครั้งที่ 11 ภายใต้หัวข้อ “ช่วงกักตัว : ความตระหนักรู้ในช่วงเวลาแห่งวิฤตโควิด - 19” (Thinking Big in Times of Covid – 19) ซึ่งการประชุมในครั้งก่อนหน้านี้ ได้รับเชิญนักการเมืองของประเทศต่างๆ มาเป็นผู้บรรยายหลัก ประกอบด้วย Mr. Carl Bildt อดีตนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรสวีเดน Ms. Arancha Gonzalez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรสเปน และ Ms. Ann Linde รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรสวีเดน เป็นต้น


 

สมาคม ECFR ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2007 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างนักการเมืองในยุโรปหลายท่าน อาทิ Mr. Joschka Fischer อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Mr. Martti Ahtisaari อดีตประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฟินแลนด์ รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และสาธารณรัฐเอสโตเนีย เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อวิจัยนโยบายทางการทูตและความมั่นคงในภูมิภาคยุโรป โดยได้มีการจัดตั้งสำนักงานย่อย ECFR ขึ้นในเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรป ถือเป็นคลังสมองที่สำคัญของยุโรป มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 350 คน ในจำนวนนี้ประกอบด้วย ผู้นำคนปัจจุบันหรืออดีตผู้นำที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว คณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง สมาชิกรัฐสภา และผู้นำด้านอุตสาหกรรม วิชาการ สื่อมวลชน และกิจการพลเรือน เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือ สมาคม ECFR นับเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมาก