ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ร่วมจัดค่ายฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการกับขยะในทะเล ภายใต้กรอบ GCTF
2020-11-04
New Southbound Policy。แถวบนจากซ้ายไปขวา : Dr. Jenna Jambeck ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยจอร์เจีย นายเจิงโห้วเหริน รมช.ต่างประเทศ Mr. Charles “Chad” McIntosh เจ้าหน้าที่สำนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐฯ แถวกลางจากซ้ายไปขวา : Mr. Guido Tielman ผอ. สำนักงานตัวแทนรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงไทเป W. Brent Christensen ผอญ.สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานไทเป แถวล่างจากซ้ายไปขวา : นายหวงเซี้ยงเหวิน ผอ.สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล Mr. Hiroyasu Izumi ตัวแทนสมาคมแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น – ไต้หวัน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของ AIT/T (ภาพจาก MOFA)
แถวบนจากซ้ายไปขวา : Dr. Jenna Jambeck ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยจอร์เจีย นายเจิงโห้วเหริน รมช.ต่างประเทศ Mr. Charles “Chad” McIntosh เจ้าหน้าที่สำนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐฯ แถวกลางจากซ้ายไปขวา : Mr. Guido Tielman ผอ. สำนักงานตัวแทนรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงไทเป W. Brent Christensen ผอญ.สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานไทเป แถวล่างจากซ้ายไปขวา : นายหวงเซี้ยงเหวิน ผอ.สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล Mr. Hiroyasu Izumi ตัวแทนสมาคมแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น – ไต้หวัน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของ AIT/T (ภาพจาก MOFA)

สาระสำคัญของเนื้อข่าว :
♦ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาคมโลกในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากขยะในท้องทะเล ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมกันจัด “ค่ายฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการกับขยะในทะเล” ภายใต้กรอบความร่วมมือและฝึกอบรมนานาชาติ (GCTF)

♦ นับตั้งแต่ที่มีการจัดค่ายฝึกอบรมขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 2015 เป็นต้นมา นี่เป็นครั้งแรกที่ได้จัดหารือกันในประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียนและขยะในทะเล โดยผู้เชี่ยวชาญของไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ต่างร่วมอภิปรายกันในประเด็นขยะในทะเลซึ่งเป็นปัญหาระดับนานาชาติ พร้อมแบ่งปันกรณีศึกษาด้านการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
-------------------------------------------
MOFA วันที่ 3 พ.ย. 63

 

เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาคมโลกในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากขยะในท้องทะเล ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ที่เข้าร่วมเป็นครั้งแรก ได้ร่วมกันจัด “ค่ายฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการกับขยะในทะเล” (Sustainable Materials Management Solutions to Marine Debris) ภายใต้กรอบความร่วมมือและฝึกอบรมนานาชาติ (Global Cooperation and Training Framework, GCTF) โดยได้จัดขึ้นรวมทั้งหมด 2 รอบ คือในวันที่ 3 พ.ย. และ 10 พ.ย. นายเจิงโห้วเหริน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) W. Brent Christensen ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานไทเป (AIT/T) Mr. Hiroyasu Izumi ตัวแทนสมาคมแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น – ไต้หวัน และ Mr. Guido Tielman ผู้อำนวยการสำนักงานตัวแทนรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงไทเป ต่างร่วมกล่าวปราศรัยในพิธีเปิดกิจกรรมในวันที่ 3 พ.ย. ผ่านการบันทึกคลิปวิดีโอแบบล่วงหน้า นอกจากนี้ นายหวงเซี้ยงเหวิน ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการทางทะเลก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนผ่านระบบวิดีโอเฟอเรนซ์ พร้อมจะทำหน้าที่กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดกิจกรรมที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 พ.ย. นี้ต่อไป

 

รมช.เจิงฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า ขยะในทะเลนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งทะเลทั่วโลก รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลแล้ว ยังเป็นการส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความปลอดภัยในการเดินเรือและสุขภาพของมวลมนุษยชาติอีกด้วย อย่างไรก็ดี มลพิษทางทะเลเป็นปัญหาที่ไร้พรมแดน ประชาคมโลกจึงจำเป็นต้องประสานความร่วมมือกันในการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ รมช.เจิงฯ ชี้แจงว่า ไต้หวันล้อมรอบไปด้วยทะเลทั้ง 4 ด้าน นับแต่อดีตเป็นต้นมา ท้องทะเลมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไต้หวันเป็นอย่างมาก ในช่วงหลายปีมานี้ ไต้หวันได้มุ่งมั่นพัฒนาแนวทางการรับมือด้วยการผนึกกำลังระหว่างหน่วยงานวิจัยและภาคประชาสังคมเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวโดยสรุป ไต้หวันมีศักยภาพและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมแบ่งปันความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการรับมือกับปัญหาขยะในทะเล เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาคมโลกต่อไป

 

โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผนจัดขึ้นโดยหน่วยงานดังต่อไปนี้ กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) คณะกรรมการกิจการทางทะเล สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานไทเป สมาคมแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น – ไต้หวัน สำนักงานตัวแทนรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงไทเป และสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) นับตั้งแต่ที่มีการจัดค่ายฝึกอบรมขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 2015 เป็นต้นมา นี่เป็นครั้งแรกที่ได้จัดหารือกันในประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียนและขยะในทะเล โดยผู้เชี่ยวชาญของไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ต่างร่วมอภิปรายกันในประเด็นขยะในทะเลซึ่งเป็นปัญหาระดับนานาชาติ พร้อมแบ่งปันกรณีศึกษาด้านการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางความร่วมมือระหว่างไต้หวันและประชาคมโลกในการจัดการกับขยะในทะเลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและนักวิชาการรวม 70 คน จาก 16 ประเทศ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ตูวาลู เบลีซ เป็นต้น เข้าร่วมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

 

เพื่อขานรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ค่ายฝึกอบรมในปีนี้จึงถูกจัดขึ้นในรูปแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยพิธีเปิดการแสดงปาฐกถา และกิจกรรมต่างๆ จัดขึ้นด้วยวิธีการไลฟ์สด โดยมีผู้ติดตามรับชมผ่านทางออนไลน์เป็นจำนวน 700 คน นอกจากนี้ในที่ประชุมที่จัดขึ้น ณ ที่ทำการคกก.กิจการทางทะเล ก็มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนนับร้อยคนด้วยเช่นกัน