ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
Taiwan ICDF จัดหลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลให้กับเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทย
2020-12-30
New Southbound Policy。สืบเนื่องจากในปีนี้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด – 19 ทาง Taiwan ICDF จึงได้เปลี่ยนมาจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรผ่านรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทย (ภาพจาก Taiwan ICDF)
สืบเนื่องจากในปีนี้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด – 19 ทาง Taiwan ICDF จึงได้เปลี่ยนมาจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรผ่านรูปแบบออนไลน์ ให้แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทย (ภาพจาก Taiwan ICDF)

สาระสำคัญของเนื้อข่าว :
♦ ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการประสานความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไต้หวันกับไทย

♦ Taiwan ICDF ได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลตาม “โครงการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์พืชสวนของเกษตรกรไทย” ขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทย ในวันที่ 23 พ.ย.

♦ หลักสูตรการแลกเปลี่ยนในปีนี้ครอบคลุมรวม 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) กระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ (2) การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก การควบคุมการเพาะปลูก และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และ (3) การคัดเลือกพันธุ์พืช เทคโนโลยีการเพาะกล้า และการควบคุมการเพาะปลูก
-------------------------------------------
Taiwan ICDF วันที่ 24 ธ.ค. 63

 

ในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการประสานความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไต้หวันกับไทย แต่เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ส่งผลให้การประสานความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการเดินทางเข้า – ออกประเทศ ด้วยเหตุนี้ ในปีนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไต้หวัน (International Cooperation and Development Fund, Taiwan ICDF) จึงได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลตาม “โครงการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์พืชสวนของเกษตรกรไทย” ขึ้นในวันที่ 23 พ.ย. ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Taiwan ICDF ได้จัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ สำหรับเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทย (Thailand Royal Project Foundation, RPF)
 

ไทยเป็นประเทศเป้าหมายตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ที่สำคัญของไต้หวัน ซึ่งโครงการความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่าง Taiwan ICDF และมูลนิธิโครงการหลวง นับเป็นโครงการแลกเปลี่ยนที่สำคัญระหว่างสองประเทศ โดยโครงการที่เกี่ยวข้องก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นตามกาลเวลาแห่งยุคสมัยที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีเป้าหมายในการเพิ่มปริมานผลผลิตทางการเกษตร พัฒนามาเป็นการเสริมสร้างศักยภาพด้านการเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในไทย เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกในปัจจุบัน โดยในทุกปี Taiwan ICDF จะเชิญเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงของไทยเดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ไต้หวัน เพื่อยกระดับความรู้ความเชี่ยวชาญในเชิงลึกให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้เดิมมีกำหนดการจัดการแลกเปลี่ยนขึ้นในช่วงต้นปี แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยหลักสูตรการแลกเปลี่ยนในปีนี้ครอบคลุมรวม 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) กระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ (2) การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก การควบคุมการเพาะปลูก และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และ (3) การคัดเลือกพันธุ์พืช เทคโนโลยีการเพาะกล้า และการควบคุมการเพาะปลูก โดย Taiwan ICDF ได้ติดต่อเชิญเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในฟาร์มปรับปรุงพันธุ์พืชทางการเกษตร และฟาร์มสาธิตทดลองเพาะปลูกพืชผักเมล็ดพันธุ์ของไต้หวัน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะกรรมการการเกษตร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้าร่วมเป็นผู้บรรยายในครั้งนี้

 

เนื่องจากในปีนี้เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกล ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกันด้านคุณภาพการฝึกอบรม ก่อนการเปิดหลักสูตร ได้มีการตรวจสอบประวัติการศึกษาและการวิจัยของผู้เรียน สาระสำคัญของโครงการทดลอง และความท้าทายที่กำลังเผชิญหน้า โดยผู้บรรยายชาวไต้หวันจะทำหน้าที่เป็นผู้วางแผนหลักสูตรและตั้งเป้าหมายการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน พร้อมทั้งประยุกต์ใช้สื่อการสอนต่างๆ อาทิ วิดีทัศน์ ภาพถ่าย และคำบรรยายของประธานโครงการวิจัยฝ่ายไทย ในการเสริมสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญให้กับบรรดาผู้เรียน นอกจากนี้ หลักสูตรรูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้ ยังได้เชิญเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชสวนที่ Taiwan ICDF ส่งไปประจำยังประเทศต่างๆ เข้าร่วมด้วย