ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ม.ฉางเกิงร่วมมือกับศูนย์การแพทย์กลาโหมแห่งชาติ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านโควิด-19
2021-03-12
New Southbound Policy。ม.ฉางเกิงร่วมมือกับศูนย์การแพทย์กลาโหมแห่งชาติ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านโควิด-19 (ภาพจากมหาวิทยาลัยฉางเกิง)
ม.ฉางเกิงร่วมมือกับศูนย์การแพทย์กลาโหมแห่งชาติ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านโควิด-19 (ภาพจากมหาวิทยาลัยฉางเกิง)

นสพ.ยูไนเต็ดเดลีนิวส์  วันที่ 11 มี.ค. 64
 
มหาวิทยาลัยฉางเกิง (Chang Gung University,CGU ) และศูนย์การแพทย์กลาโหมแห่งชาติ (National Defense Medical Center) ร่วมกันจัดตั้งทีมวิจัยยาต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยจากผลการทดลองยืนยันว่า งาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านโควิด-19 และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาเรมเดสซิเวียร์ (remdesivir) ของสหรัฐฯ เตรียมจะทำการสกัดสารจากงาขี้ม้อน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อโควิด-19 สูงถึง 30 เท่า
 
โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฉางเกิงประกาศข่าวดังกล่าว ซึ่งระบุว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้เป็นความสำเร็จของทีมวิจัย ที่เกิดจากความร่วมมือกันของห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยฉางเกิง ที่นำโดยศาสตราจารย์หงจิ่นถัง กับบัณฑิตวิทยาลัยคณะเวชศาสตร์ป้องกัน ศูนย์การแพทย์กลาโหมแห่งชาติ ที่นำโดย ดร.หงอี่เหริน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
 
ศ.หงจิ่นถัง ประจำมหาวิทยาลัยฉางเกิง เปิดเผยว่า ในระยะนี้ มีนักวิชาการของเยอรมนีและอินเดีย ต่างประกาศผลการวิจัยเบื้องต้นที่เกี่ยวกับงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านโควิด-19  นอกจากนี้ Academia Sinica ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยแห่งชาติของไต้หวัน ก็มีการทดลองและยืนยันผลในลักษณะคล้ายคลึงกัน ปัจจุบัน แม้ทั่วโลกจะมีการนำยาเก่ามาใช้ใหม่ และมียาต้าน รวมถึงมีวัคซีนโควิด-19 ออกมาแล้วก็ตาม แต่ปริมาณการผลิตและราคายังคงทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าไม่ถึง ในขณะที่การใช้สารสกัดจากงาขี้ม้อนมาต้านเชื้อโควิด-19 มีข้อดีหลายประการ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะแก่การนำมาใช้ในการทำสงครามกับเชื้อไวรัสชนิดนี้อย่างยิ่ง
 
ศ.หงจิ่นถังยังกล่าวอีกว่า งาขี้ม้อนสามารถนำมาใช้ในการรักษาแบบรีโทรไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง (Highly Active Antiretroviral Therapy ,HAART) ที่เป็นวิธีรักษาแบบตะวันตกผสมผสานกับแบบตะวันออก ซึ่งได้ผลดีและมีเสถียรภาพ ไม่จำเป็นต้องจัดเก็บแบบควบคุมอุณหภูมิ ต้นทุนการขนส่งสินค้าต่ำ ใช้ได้ผลดีกับเชื้อโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ปัจจุบันผลการทดลองในหนูแฮมสเตอร์ยืนยันแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อโควิด-19  โดยเฉพาะ “น้ำชาขี้ม้อน”ซึ่งหลายประเทศมีการจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อีกทั้งการผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายก็ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นยาที่ใช้เพื่อการป้องกันและรักษา
 
มหาวิทยาลัยฉางเกิงเปิดเผยว่า  เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว  ทีมวิจัยของทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการยื่นขอสิทธิบัตรการวิจัยงาขี้ม้อนเพื่อใช้ต้านโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว และในเร็วๆนี้จะทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ P4 แห่งเดียวของไต้หวัน เพื่อทำการสกัดสารจากงาขี้ม้อน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อโควิด-19 สูงถึง 30 เท่า