ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวันและอียูประกาศร่วมจับมือพัฒนาพลังงานลม พร้อมจัดการส้มมนาว่าด้วยพลังงานลมปี 2021 หวังกระชับความร่วมมือในเชิงลึก
2021-04-08
New Southbound Policy。ไต้หวันและอียูประกาศร่วมจับมือพัฒนาพลังงานลม พร้อมจัดการส้มมนาว่าด้วยพลังงานลมปี 2021 หวังกระชับความร่วมมือในเชิงลึก (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน)
ไต้หวันและอียูประกาศร่วมจับมือพัฒนาพลังงานลม พร้อมจัดการส้มมนาว่าด้วยพลังงานลมปี 2021 หวังกระชับความร่วมมือในเชิงลึก (ภาพจากกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน)

กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน วันที่ 7 เม.ย. 64
 
กรมพลังงาน กระทรวงเศรษฐการ (MOEA) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจแห่งยุโรป ในการจัด “การสัมมนาว่าด้วยพลังงานลมระหว่างไต้หวัน-อียู ประจำปี 2021” โดยมีนายเฉินเจิ้งฉี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ Ms. Cristina Lobillo Borrero ผู้อำนวยการด้านการประสานและวางนโยบายด้านพลังงาน สำนักงานพลังงาน คณะกรรมการสหภาพยุโรป และ Mr. Filip Grzegorzewski ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจแห่งยุโรป เดินทางมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด
 
โดยนายเฉินเจิ้งฉีชี้ว่า เพื่อเร่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในไต้หวัน MOEA ได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2025 การใช้พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของพลังงานในประเทศทั้งหมด โดยคาดว่า เมื่อถึงปี 2025 อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีกำลังผลิตรวม 20 GW และมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมด้วยกำลังผลิตรวม 5.7 GW
 
การสัมมนาในครั้งนี้ได้แบ่งหัวข้อหลักออกเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่ “การใช้นโยบายภาครัฐมาสร้างอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน” ซึ่งได้เชิญ นายเฉินฉงเสี้ยน ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีพลังงาน กรมการพลังงาน มาแบ่งปันประสบการณ์ในด้านการผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งใน 3 ขั้นตอน
 
โดยหัวข้อที่ 2 คือ “การก่อตั้งโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม” ได้เชิญ Mr. Rajib Pal ทนายความจาก Sidley Austin LLP ที่ใช้มุมมองจากข้อกฎหมาย มาพิจารณาถึงประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบายด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
 
นอกจากนี้ นายหลินหัวอวี่ ผู้อำนวยการสำนักอุตสาหกรรมเครื่องกลและโลหะ กรมพัฒนาอุตสาหกรรม ก็ได้มาแบ่งปันสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในไต้หวัน พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา สภาบริหารได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ด้าน ซึ่งรัฐบาลจะจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งเขตวิจัยและพัฒนาพลังงานสีเขียว พร้อมเสนอแผนงานเกี่ยวกับพลังงานสีเขียว และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศได้มีโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมในเอเชียต่อไป