ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
ไต้หวัน-สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น-อียู ร่วมจัดงานสัมมนาออนไลน์นานาชาติด้านการจัดตั้ง Supply Chain ขึ้นใหม่และการเงินของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF
2021-04-15
New Southbound Policy。ไต้หวัน-สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น-อียู ร่วมจัดงานสัมมนาออนไลน์นานาชาติด้านการจัดตั้ง Supply Chain ขึ้นใหม่และการเงินของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน)
ไต้หวัน-สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น-อียู ร่วมจัดงานสัมมนาออนไลน์นานาชาติด้านการจัดตั้ง Supply Chain ขึ้นใหม่และการเงินของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้กรอบความร่วมมือ GCTF (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน)

กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 14 เม.ย. 64
 
เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและยกระดับการตอบสนองของผู้ประกอบการ SMEs ในยุคหลังโควิด เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สถาบันอเมริกาในไต้หวัน สำนักงานไทเป (AIT/T) สมาคมแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไต้หวัน สำนักงานเศรษฐกิจและการค้ายุโรป และสถาบันการเงินและการธนาคารไต้หวัน ได้ร่วมกันจัด “งานสัมมนาออนไลน์นานาชาติด้านการจัดตั้ง Supply Chain ขึ้นใหม่และการเงินของผู้ประกอบการ SMEs” ภายใต้กรอบความร่วมมือ Global Cooperation and Training Framework (GCTF)  ขึ้นในไทเป โดยนายอู๋เจาเซี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ Mr. Brent Christensen ผู้อำนวยการ AIT/T ต่างก็เดินทางมาร่วมงานพร้อมกล่าวปราศรัยด้วย
 
โดยนายอู๋เจาเซี่ยกล่าวระหว่างการปราศรัยว่า งานสัมมนาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้แต่ละประเทศได้มีโอกาสเจรจาและสร้างความร่วมมือ เพื่อร่วมกันจัดตั้งห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลายและมีความแข็งแกร่ง ซึ่งรมว.อู๋ฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีและต้อนรับสหภาพยุโรปที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพจัดงานภายใต้กรอบ GCTF เป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายร่วมกันในด้านความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างผลประโยชน์ร่วมในการนำพาให้ทั่วโลกก้าวเดินไปข้างหน้าภายใต้กรอบของ GCTF

รมว.อู๋ฯ ย้ำว่า หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลไต้หวันได้มีมาตรการหลายอย่างในการกระตุ้นเศรษฐกิจและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs จนทำให้ไต้หวันมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีที่สุดในกลุ่ม 4 เสือเศรษฐกิจเอเชียอีกครั้ง จึงหวังว่า ในการจัดสัมมนาของ GCTF ในครั้งนี้ จะได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์ของไต้หวันให้ประเทศอื่นๆ เพื่อให้เหล่าประเทศที่มีแนวความคิดคล้ายกันสามารถยืนขึ้นได้อย่างมั่นคงในยุคหลังโควิด พร้อมทั้งมีความสัมพันธ์ด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกันที่แนบแน่นมากยิ่งขึ้น ภายใต้บริบทของการร่วมแบ่งปันในด้านคุณค่าแห่งประชาธิปไตย เสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและความเป็นนิติรัฐ
 
งานสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการจัดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งมีการก่อตั้ง GCTF เป็นต้นมา ซึ่ง Mr. Thomas Prinz ผู้แทนของ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำไต้หวัน ได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยตัวเอง โดยเป็นการเข้าร่วมใน GCTF เป็นครั้งแรกของเยอรมนีด้วย