ช้ามไปยังส่วนข้อมูลหลัก
การประชุม WHA ปิดฉากลงแล้ว พลังเสียงสนับสนุนไต้หวันจากประชาคมโลกในปีนี้ ชัดเจนกว่าครั้งที่ผ่านมา
2021-06-01
New Southbound Policy。การประชุม WHA ปิดฉากลงแล้ว พลังเสียงสนับสนุนไต้หวันจากประชาคมโลกในปีนี้ ชัดเจนกว่าครั้งที่ผ่านมา (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)
การประชุม WHA ปิดฉากลงแล้ว พลังเสียงสนับสนุนไต้หวันจากประชาคมโลกในปีนี้ ชัดเจนกว่าครั้งที่ผ่านมา (ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ)

สำนักข่าว CNA วันที่ 31 พ.ค. 64
 
การประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 74 ปิดฉากลงแล้วในวันที่ 31 พ.ค. โดยในปีนี้ พลังเสียงสนับสนุนไต้หวันจากประชาคมโลกชัดเจนกว่าที่ผ่านมา นอกจาก 14 ประเทศพันธมิตรแล้ว สหรัฐอเมริกา แคนาดา และมิตรประเทศอีก 5 ประเทศ ยังได้ระบุถึงไต้หวันในที่ประชุมอย่างเปิดเผย ในจำนวนนี้ อังกฤษ แคนาดา และออสเตรเลีย ต่างทยอยกล่าวถึงไต้หวันในที่ประชุม WHA เป็นครั้งแรก เปี่ยมด้วยนัยยะที่พิเศษยิ่ง
 
การประชุม WHA สมัยที่ 74 เปิดฉากขึ้นผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์นับตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. ซึ่งเดิมมีกำหนดการจัดขึ้นจนถึงวันที่ 1 มิ.ย. แต่เนื่องจากการประชุมดำเนินไปอย่างราบรื่น จึงสามารถปิดการประชุมได้เร็วกว่ากำหนดการ
 
ในประเด็นการเข้าร่วมการประชุม WHA ของไต้หวัน เสียงสนับสนุนจากประชาคมโลกในปีนี้ แข็งแกร่งกว่าที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากสำนักวาติกันในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วมด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป 14 ประเทศพันธมิตรก็ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันด้วยวิธีการยื่นเสนอแผนผลักดันเข้าร่วมการประชุม ส่งหนังสือเรียกร้อง และร่วมเป็นกระบอกเสียงในที่ประชุม
 
ในจำนวนนี้ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ เซนต์คิตส์และเนวิส สาธารณรัฐนาอูรู และราชอาณาจักรเอสวาตินี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของไต้หวันเข้าร่วมการโต้วาทีกับรัฐบาลจีน (Two Plus Two Debate) ในการประชุมคณะกรรมการทั่วไปและการประชุมใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้ WHO เปิดโอกาสให้ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในการประชุม
 
ในส่วนของประเทศที่มีแนวคิคดล้ายคลึงกัน อย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา ต่างก็ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันแบบเปิดเผยในที่ประชุม WHA ในจำนวนนี้ อังกฤษ แคนาดา และออสเตรเลีย ต่างได้ระบุถึงไต้หวันในที่ประชุม WHA เป็นครั้งแรก เปี่ยมด้วยนัยยะที่พิเศษยิ่ง
 
นอกจากนี้ ประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันอย่างเยอรมนี นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐลิทัวเนีย ต่างเน้นย้ำในที่ประชุมว่ามีเพียงทั่วโลกให้การยอมรับซึ่งกันและกัน จึงจะสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นการให้การสนับสนุนไต้หวันในทางอ้อม
 
เมื่อเผชิญหน้ากับพลังเสียงสนับสนุนไต้หวันของประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีบทบาทสำคัญในโลกนานาชาติ ที่ได้ให้การสนับสนุนไต้หวันอย่างชัดเจน ด้านรัฐบาลจีนได้โต้แย้งในที่ประชุมหลายครั้ง  พร้อมชี้ว่ามีบางประเทศที่ต้องการจะท้าทายหลักการจีนเดียว โดยต้องการจะสร้าง “ 2 จีน ” หรือ “1จีน 1 ไต้หวัน”